OpenSourceInitial

ผู้เขียน : OpenSourceInitial

อัพเดท: 12 ม.ค. 2009 08.17 น. บทความนี้มีผู้ชม: 482540 ครั้ง

ปัจจุบันองค์กรหลายแห่งในประเทศไทยมีการใช้โปรแกรม โอเพ่นซอร์ส เป็นเครื่องมือหลักในการดำเนินธุรกิจ และสามารถใช้งานได้ดี มีเสถีนรภาพสูง สิ่งนี้เป็นสิ่งยืนยันได้ว่า โปรแกรมโอเพ่นซอร์สเป็นทางเลือกที่เป็นไปได้ในเชิงธุรกิจ นอกจากนี้ปัจจุบันผู้ใช้ทั่วไปก็เริ่มเล็งเห็นความสำคัญในการใช้โอเพ่นซอร์สมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมโอเพ่นซอร์สที่สามารถลงในวินโดว์ได้อย่าง OpenOffice.org ที่เริ่มมีการใช้อย่างแพร่หลาย หรือว่าเป็น โอเพ่นซอร์ส OS ตัวใหม่ที่ได้ความนิยมขณะนี้อน่าง Ubuntu


การปรับใช้ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สในเมืองไทย


          ารที่มีข้อมูลเปรียบเทียบเกี่ยวกับความสามารถของซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สประเภทต่างๆ ให้ค้นหาไม่มากนัก อาจทำให้บางองค์กรเกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สเชิงพาณิชย์ว่าจะยั่งยืนได้แค่ไหน ทำให้ไม่กล้าตัดสินใจนำซอฟต์แวร์เหล่านี้มาใช้งานอย่างจริงจัง แต่ความจริงก็คือ หากยังคงใช้งานซอฟต์แวร์แบบปิดในระบบประมวลผลของคุณต่อไป องค์กรของคุณก็จะต้องเผชิญกับปัญหาค่าใช้จ่ายราคาแพงที่ต้องจ่ายให้ซอฟตืแวร์ชนิดนี้ รวมทั้งขาดความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนซอฟต์แวร์ให้เหมาะสมกับความต้องการต่อไป 

          อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนไปใช้ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สทั้งองค์กรแบบทันทีทันใดก็ไม่ใช่วิธีที่เหมาะสมมากนัก ทางออกของการนำเอาซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สมาใช้ในระยะแรกๆ จึงเป็นการใช้งานร่วมกับซอฟต์แวร์แบบปิดไปก่อน แล้วจึงค่อยๆ เพิ่มอัตราส่วนการใช้ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเป็นการสร้างสมประสบการณ์ และการเรียนรู้เกี่ยวกับซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สให้มากขึ้น 

          ตัวอย่างคลาสสิกขององค์กรในประเทศไทยที่ได้รับความสำเร็จในการนำเอาซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สมาใช้งานคือ บริษัท กฟผ. จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นองค์กรแรกๆ ที่นำซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สมาใช้งานอย่างจริงจังนับตั้งแต่ปี พ.ศ.2537 โดยเริ่มจากการใช้ลีนุกซ์บนอินทราเน็ทเซิร์ฟเวอร์ที่มีทั้งเมล์ ftp และเว็บเซิร์ฟเวอร์ต่างๆ บนลีนุกซ์ จากนั้นก็มีความพยายามสนับสนุนให้เกิดการใช้งานโอเพ่นซอร์สบนเดสก์ท็อปแต่ไม่ประสบความสำเร็ขเท่าที่ควรจนกระทั่งมีซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สที่ทำงานบนวินโดวส์ออกมา 

          ภายใต้การทำงานของคณะทำงานชุดหนึ่งที่ กฟผ. ตั้งขึ้นมาเพื่อดูแลเรื่องซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สโดยตรง และติดตามความคืบหน้าเกี่ยวกับซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สบนวินโดวส์ทั้งหมด ส่งผลให้ กฟผ. สามารถลดต้นทุนที่ต้องจ่ายเป็นค่าลิขสิทธิ์ซอฟแวร์แบบปิดได้หลายล้านบาท 

          นอกจากนี้ กฟผ. ยังใช้ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สในการพัฒนาซอฟต์แวร์ต่างๆ เช่น ระบบ e-Learning และระบบ Search engine ที่กำลังพัฒนาต่อยอดให้สามารถค้นภาษาไทยได้ ค้นคำพ้องได้ และใช้ AI (Artificial Intelligence) ช่วยในการสืบค้น รวมถึงการพัฒนาระบบบริหารจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management) ให้เป็นโอเพ่นซอร์สทั้งหมด

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที