เมตตา

ผู้เขียน : เมตตา

อัพเดท: 04 ก.พ. 2009 20.18 น. บทความนี้มีผู้ชม: 28916 ครั้ง

ตัวมาตรฐาน ISO 9001 มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเป็นระยะ ๆ เพื่อให้มาตรฐานมีการพัฒนา และทำให้ผู้นำมาตรฐานไปใช้งานมีการพัฒนาตามไปด้วย ลองมาดูว่า มาตรฐาน ISO 9001 มีวิวัฒนาการอย่างไร


การเปลี่ยนแปลงของมาตรฐาน ISO9001 ในแต่ละ Version

มาตรฐาน ISO 9000 versionแรก ปี 1987 ข้อกำหนดจะเน้นให้องค์กรต้องพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการทำงานทุกหน่วยงานให้สามารถตอบสนองข้อกำหนดของลูกค้า  จะเห็นว่าเน้นเรื่องลูกค้าเป็นหลัก  และเรียกผู้ผลิตว่า ผู้ส่งมอบ

ต่อมาเมื่อปี 1994 ได้มีการปรับปรุงชุดมาตรฐานระบบคุณภาพ ISO 900 ใหม่ โดยแบ่งเป็น
            - ISO
9000 เป็นแนวทางในการประยุกต์ใช้
            - ISO
9001 เป็นข้อกำหนดสำหรับองค์กรที่มีการผลิต ติดตั้ง และพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยตนเอง
           - ISO 9002  เป็นข้อกำหนดสำหรับองค์กรที่มีการผลิต 
และติดตั้งเท่านั้น
           - ISO
9003 เป็นข้อกำหนดสำหรับองค์กรที่ให้บริการไม่มีการผลิตสินค้าด้วยตนเอง
           มาตรฐาน ISO 9000 version นี้จะเน้นการแสดงกระบวนการประสานงานระหว่างหน่วยงานที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพ เพราะเชื่อว่าการตอบสนองลูกค้าได้ดีต้องมีการประสานงานภายในที่ราบรื่น เป็นการให้ความสำคัญกับกระบวนการ และ การกำหนดหน้าที่ของพนักงานแต่ละตำแหน่งให้ชัดเจน

Version ต่อมา คือ ISO 9001 ปี 2000 เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เพราะมีการยุบ ISO 9002 และ ISO 9003 เข้าไว้ใน ISO 9001 ฉบับเดียว ทั้งนี้อาจจะเห็นว่าไม่มีประโยชน์อะไรในการแยกมาตรฐาน เพราะองค์กรส่วนใหญ่ก็จะนิยมเลือกขอรับรองเป็น ISO 9002 เป็นส่วนมาก เพราะกลัวกันว่าถ้าต้องทำถึงขนาด ISO 9001 จะมีข้อกำหนดบังคับมากเกินไป 
           ในฉบับนี้ข้อกำหนดมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก ให้ความยืดหยุ่นในการทำงานมากขึ้นไม่ต้องจัดทำเอกสารมากมาย แต่เน้นเนื้อหาเรื่องการวัดผลกระบวนการทำงานขององค์กรเพื่อนำมาปรับปรุงองค์กรอย่างต่อเนื่องและเพิ่มศักยภาพของหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อให้เป็นมาตรฐานที่เป็นประโยชน์สำหรับองค์กรจริง เพราะมีการเปลี่ยนคำนิยามขององค์กรว่าเป็นผู้ผลิต และให้ความหมายคำว่าผลิตภัณฑ์ขยายกว้างออกไปว่าเป็นผลลัพธ์จากกระบวนการ ดังนั้นมาตรฐาน ISO 9001 ฉบับนี้จึงมีความเหมาะสมกับธุรกิจทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการผลิต หรือ บริการ
            ในปี 2008 ISO ได้มีการประกาศใช้ฉบับใหม่ ISO
9001: 2008 ในเดือนพฤศจิกายน ฉบับนี้มีการปรับเปลี่ยนเล็กน้อย ส่วนใหญ่เป็นการขยายความให้ชัดเจนมากขึ้น จุดเปลี่ยนแปลงแก้ไขที่สำคัญที่เพิ่มเติมเข้ามาคือ
           
1. ขยายข้อปฏิบัติให้ต้องปฏิบัติตามกฎหมายร่วมไปถึงพระราชบัญญัติของประเทศนั้นด้วย (รวมไปถึงมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. และ กฎหมายเกี่ยวกับลิขสิทธิ์)
            2. การ Out source
กระบวนการหรือขั้นตอนงานบางอย่างออกไปภายนอก ต้องมีการคัดเลือกและประเมิน เหมือนการคัดเลือกและประเมินผู้ขาย
            3. ให้ความสำคัญกับระบบสารสนเทศ (MIS) โดยถือว่า ระบบสารสนเทศเป็น Infrastructure ที่ต้องมีการดูแลรักษา 

  4. ข้อมูลส่วนตัวของลูกค้า ถือเป็นทรัพย์สินของลูกค้า ห้ามนำไปใช้ประโยชน์โดยไม่ได้รับการยินยอม
            5. เน้นเรื่องประสิทธิผลของการอบรมว่า อบรมแล้วได้มีการนำไปใช้งานได้จริง และ สามารถทำให้พนักงานมีความสามารถในการทำงานได้จริงหรือดีขึ้น ไม่เน้นปริมาณในการฝึกอบรม
            6. กระบวนการ Verification และ Validation
ของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ต้องมีครบทั้งสอง แต่สามารถเขียนรายงานรวมกันได้
            7. การแก้ไขและป้องกัน ให้ความสำคัญกับประสิทธิผลของกระบวนการป้องกันการเกิดซ้ำมากขึ้น 
อาจจะเป็นเพราะที่ผ่านองค์กรที่ได้รับการรับรองมักให้ความสำคัญแต่การแก้ปัญหาเฉพาะ ไม่ได้ขยายขอบเขตไปถึงการป้องกัน จึงทำให้ปัญหากลับมาเกิดซ้ำได้อีก
       

การขอการรับรองหรือขอต่ออายุใบรับรองตามมาตรฐาน ISO 9001 version 2000 สามารถทำได้จนถึง พฤศจิกายน พ.ศ.2552 เป็นเวลา 1 ปีหลังจากประกาศใช้มาตรฐานฉบับใหม่ และ อายุใบรับรองที่ตรวจตาม Version เก่า สามารถอยู่ในแค่พฤศจิกายน พ.ศ.2553 หรือ 2 ปีหลังจากประกาศมาตรฐานฉบับใหม่แล้ว 

           ในความคิดเห็นส่วนตัวแล้ว การทำปรับปรุงระบบงานตามกิจกรรมคุณภาพใด ๆ ก็ตาม ไม่ว่าจะเป็น ISO 9001 , TPM , TQM , ไคเซน , 5ส , QCC ถ้าสามารถปฏิบัติได้ถึงที่สุดแล้วองค์กรต้องมีการพัฒนาอย่างเห็นได้ชัดแน่นอน
          


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที