CXO.Asia

ผู้เขียน : CXO.Asia

อัพเดท: 20 ต.ค. 2006 18.06 น. บทความนี้มีผู้ชม: 5258 ครั้ง

จากบทนำ ลองพิจารณาดูว่า ความเชื่อ ศรัทธา ศาสนา มาจากธรรมชาติในตอนแรก เช่นกัน
เริ่มและเกิดขึ้น ในแหล่งที่ต่างกัน โดยเข้าใจ รับรู้ แปลความหมาย แตกต่างกันออกไป
เหมือนสายน้ำทุกสาย ที่อาจมีแหล่งกำเนิด คนละแหล่ง คนละที่ แตกต่างกันไป

ไหลหล่อเลี้ยงผู้คน เป็นวิธีชีวิต เป็นความเชื่อ เป็นศรัทธา เป็นศาสนา ตามแผ่นดินที่ไหลผ่านไป
กลายเป็นความแตกต่าง ในช่วงกลาง ตามแผ่นดินที่ไหลผ่านไป ตามผู้คนที่ไหลผ่านไป

ในตอนท้าย สายน้ำทุกสาย ย่อมไหลรวมกัน ลงสู่พื้นมหาสมุทรอันเดียวกัน
เช่นเดียวกัน ศาสนาทุกสาย ศาสนาทุกศาสนา ย่อมจะไหลมารวมกัน เป็นศาสนาเดียว ในที่สุด


ตอนที่ ๑

 

บทนำ - ที่มาที่ไปของเหตุและผล

 

มนุษย์เรานั้น ไม่ว่ายากดีมีจน เชื้อชาติ ศาสนา ยุคใด สมัยใด ก็ตาม

มักจะประสบ ปัญหาพื้นฐาน หรือความทุกข์ อันเดียวกันเสมอ เป็นเพราะเหตุใดกันแน่

 

มนุษย์เรานั้น มาจากแม่คนเดียวกัน และกลับสู่แม่ คนเดียวกันเสมอ

นั่นก็คือ ธรรมชาติ เป็นดังมารดา ของทุกสิ่ง คอยโอบกอดทุกสิ่งไว้ นั่นเอง

 

ความเชื่อ ศรัทธา ศาสนา เชื้อชาติ ยากดีมีจน นั้น

เป็นเพียงการมอง การรับรู้ การแปล ผ่านแว่นที่ต่างกัน และเกิดขึ้นมา ทีหลังทั้งสิ้น

หากถอดแว่นของเราออก ก็ย่อมจะมองเห็น ทุกสิ่ง เหมือนกัน ตามความเป็นจริง

 

จะเห็นว่า มนุษย์เรานั้น มีความเป็นคน เท่าเทียมกัน ทุกคน ตั้งแต่เกิด

จึงไม่ควรแบ่งแยกกันโดย ความเชื่อ ศรัทธา ศาสนา เชื้อชาติ ยากดีมีจน ทั้งปวง

หากถอดแว่นของเราออก ก็ย่อมจะมองเห็น ความเป็นจริง ความเท่าเทียมกัน

 

เพราะเรามาจากแม่ และกลับสู่จากแม่ คนเดียวกัน

เราทุกคนจึงมีความเป็นคน เท่าเทียมกัน เราได้รับสิ่งต่างๆ จากแม่ เท่าเทียมกัน

 

ภายนอกนั้น ด้านกาย เรามีสุขและทุกข์จาก การเกิด แก่ เจ็บ ตาย เท่าเทียมกัน

ภายในนั้น ด้านใจ เรามีสุขและทุกข์จาก ความกลัว ความอยาก ความโกรธ เท่าเทียมกัน

 

ดังนั้น ความสุขและทุกข์พื้นฐาน ของเราทุกคน จึงเท่าเทียมกัน ไม่ต่างกันเลย

 

การเกิดมาในฐานะมนุษย์เรานั้น ย่อมพอใจ เป็นสุขยิ่ง เมื่อความอยากต่างๆ ได้รับการตอบสนอง

การเกิดมาในฐานะมนุษย์เรานั้น ย่อมไม่พอใจ เป็นทุกข์ยิ่ง เมื่อความสุข มีอุปสรรค จืดจาง หมดสิ้นไป

 

ความพอใจ และความสุขนั้น ย่อมเกิดขึ้นมา จากมูลเหตุ ความอยากต่างๆ ตามเงื่อนไข

ความไม่พอใจ และความทุกข์นั้น จึงเกิดขึ้น จากการสิ้นสุดของ ความพอใจ และความสุข นั่นเอง

 

มนุษย์เรานั้น มักจะหัวเราะ เมื่อมีความพอใจ ในความสุข เิกิดขึ้น

แต่มนุษย์เรานั้น กลับต้องร้องให้ เมื่อความพอใจ ในความสุขนั้น ได้สิ้นสุดลง

 

ความทุกข์และความสุข ของมนุษย์เรา มีขึ้น มีลง มีเกิด มีสิ้นสุด ไปเรื่อยๆ

เป็นดุจคลื่นความสุข ความทุกข์ ในทะลอันไร้ฝั่ง ไม่มีสิ้นสุด

 

ดังนั้นใน ความสุขและทุกข์อันไม่สิ้นสุดนี้ จึงกลายเป็น ปัญหาหลัก ของมนุษย์เราทุกคน

 

จุดมุ่งหมาย ในการเกิดมาเป็น มนุษย์

 

เพื่อให้เราทุกคน ได้รับประโยชน์สูงสุด จากการเกิดมาเป็น มนุษย์

สัตว์โลกเผ่าพันธุื์อื่นนั้น มีวงจรชีวิต แค่ กิน ขี้ ปี้ นอน เท่านั้น

แต่มนุษย์เรา เป็นสัตว์โลก ที่ต่างออกไป ไม่จำเป็นต้อง กิน ขี้ ปี้ นอน อย่างเดียว

สามารถฝึก พัฒนา เพื่อเป็นผู้มีจิตใจสูง เื่พื่ิอได้รับประโยชน์สูงสุด จากการเกิดมาเป็น มนุษย์ได้

 

มนุษย์เราทุกคน ย่อมเกิดมากับ พรสวรรค์โดยกำเนิด ของเผ่าพันธุ์มนุษย์

จิตใจของมนุษย์เรา เป็นดุจกล่องที่คอยเก็บ พรสวรรค์ ทั้งปวงนั้น

แต่มนุษย์เราทุกคน มักไม่รู้ มักโดนปิดกั้น โดนปิดล็อก ตามมูลเหตุ เงื่อนไข ต่างๆกันไป เช่น

ความกลัว ความอยาก ความโกรธ ความเชื่อ ศรัทธา ความงมงาย และปมในใจ ต่างๆกันออกไป

 

เมื่อใจเราโดนล็อก มีปมในใจ มีเงื่อนไข ต่างๆกันออกไป การปลดล็อก ย่อมต่างกัน ตามมูลเหตุ ตามเงื่อนไข

แต่ละคนย่อมต้องค้นหา ชุดกุญแจ อันเฉพาะของตนเอง เพื่อปลดล็อก ปมในใจ ที่ต่างกันออกไป

หากเราดื้อดึง ใช้กุจแจชุดเดียวกัน เพื่อปลดล็อก ใจคนทุกคน

ย่อมไม่ตรงตามมูลเหตุ ตามเงื่อนไข ตามความเป็นจริง และย่อมเกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา มากมาย

 

ชุดกุญแจพื้นฐาน เพื่อเบิกทางแก่ กุญแจชุดอื่นๆ

 

เพื่อให้เราพิจารณาและปฎิบัติจริง ต่อไปอย่าง สั้น กระชับ เข้าใจง่าย เชื่อมโยงง่าย

ใช้งานง่าย ตรวจสอบง่าย ถ่ายทอดง่าย เราต้องมี ชุดกุญแจพื้นฐาน ก่อน

 

สติปัญญา กล้าหาญ ซื่อตรง กาย วาจา ใจ  ที่ดี เข้มแข็ง บริบรูณ์นั้น

ย่อมเป็น ชุดกุญแจพื้นฐาน เื่พื่อเบิกทาง แก่กุญแจชุดอื่นๆ

เพื่อช่วย ส่องสว่าง นำทิศทาง ที่ถูกต้อง ตามจริง เพื่อใช้ไขความลับ เบื้องต้น ของสิ่งต่างๆ

 

เคล็ดประจำตัว  เพื่อใช้ไขความลับ เบื้องหน้า ของสิ่งต่างๆ ว่า “ความคิด ความรู้ ภูมิปัญญา ความเชื่อ ศรัทธาใด และสิ่งใดๆ

ที่เป็นของจริงแท้ ย่อมทน ย่อมเต็มใจ ย่อมเปิดกว้าง ต่อการพิสูจน์ โต้แย้ง ไม่ขึ้นกับสถานที่ บุคคล ยุคสมัยและกาลเวลา”

 

 

ภาคสาม บทที่ ๒ ศาสนา ทุกศาสนาล้วนมุ่งหน้าสู่จุดหมายเดียวกัน ไหลรวมเป็นศาสนาเดียวกัน ในที่สุด

 

อันดับแรก ที่ไปที่มา ของทุกศาสนา

 

จากบทนำ ลองพิจารณาดูว่า มนุษย์เราทุกคนล้วน มาจากธรรมชาติในตอนแรก

และต้องกลับสู่ธรรมชาติในต้อนท้าย อย่างเท่าเทียมกัน ไม่ต่างกัน

 

จากบทนำ ลองพิจารณาดูว่า ความเชื่อ ศรัทธา ศาสนา มาจากธรรมชาติในตอนแรก เช่นกัน

เริ่มและเกิดขึ้น ในแหล่งที่ต่างกัน  โดยเข้าใจ รับรู้ แปลความหมาย แตกต่างกันออกไป

เหมือนสายน้ำทุกสาย ที่อาจมีแหล่งกำเนิด คนละแหล่ง คนละที่ แตกต่างกันไป

 

ไหลหล่อเลี้ยงผู้คน เป็นวิธีชีวิต เป็นความเชื่อ เป็นศรัทธา เป็นศาสนา ตามแผ่นดินที่ไหลผ่านไป

กลายเป็นความแตกต่าง ในช่วงกลาง ตามแผ่นดินที่ไหลผ่านไป ตามผู้คนที่ไหลผ่านไป

 

ในตอนท้าย สายน้ำทุกสาย ย่อมไหลรวมกัน ลงสู่พื้นมหาสมุทรอันเดียวกัน

เช่นเดียวกัน ศาสนาทุกสาย ศาสนาทุกศาสนา ย่อมจะไหลมารวมกัน เป็นศาสนาเดียว ในที่สุด

 

อันดับสอง การแบ่งแยก ความขัดแย้ง ความแตกแยก ทางศาสนา

 

มนุษย์เราย่อมยึดถือ ยึดมั่น ในแม่น้ำที่ไหลผ่านตนเอง เป็นวิถีชีวิตตนเอง

เช่นเดียวกัน มนุษย์เราย่อมยึดถือ ยึดมั่น ความเชื่อ ศรัทธา ศาสนาที่ไหลผ่านตนเอง เป็นวิถีชีวิตตนเอง

 

ศาสนาที่ไหลผ่านตนเอง เป็นวิถีชีวิตตนเอง ย่อมกลายเป็นความจริง อย่างไม่ต้องสงสัย สำหรับเราเอง

ศาสนาที่ไหลผ่านผู้อื่น  เป็นวิถีชีวิตผู้อื่น ย่อมกลายเป็นความจริง อย่างไม่ต้องสงสัย สำหรับผู้นั้น

 

แต่หากศาสนาที่ไหลผ่านแตกต่างกัน วิถีชีวิตย่อม แตกต่างกัน

เป็นมูลเหตุให้ ยึดมั่นในวิถีชีวิตที่ต่างกัน กลายเป็นความจริงที่ต่างกัน  

หากไม่เข้าใจ ไม่เปิดกว้างพอ ย่อมก่อให้เกิด

การแบ่งแยก ความขัดแย้ง ความแตกแยก ทางศาสนา อย่างเลี่ยงไม่ได้

 

อันดับสาม ความหลากหลายของศาสนา ตามธรรมชาติ

 

มนุษย์เราล้วนมีหลากหลาย จากหลากหลายแหล่ง ต่างๆกันไป

เช่นกัน ศาสนาล้วนมีหลากหลาย จากหลากหลายแหล่ง ต่างๆกันไป

 

จะเห็นว่า เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เป็นความหลากหลายตามธรรมชาติ

หากเราไม่เข้าใจจุดนี้ ย่อมเกิด การแบ่งแยก ความขัดแย้ง

ความแตกแยก ทางศาสนา อย่างเลี่ยงไม่ได้ เช่นกัน

 

เนื่องจากศาสนา มีมากมา่ย มีความหลากหลายตามธรรมชาติ

ย่อมจะมีพัฒนาการที่ต่างกัน มีความจำเป็น ตามเงื่อนไข

ตามสภาพแวดล้อม และผู้คน ขอยกแค่บางส่วน เช่น

 

เช่น บูชาธรรมชาติ นับถือเทพเจ้า

ซึ่งจะเห็นว่า สามารถ ตอบสนองเบื้องต้น ในยุคต่างๆ ทำให้รู้สึกมั่นคงปลอดภัย

 

เช่น การนับถือพระศาสดา นับถือพระเจ้า

ซึ่งจะเห็นว่า สามารถ ตอบสนองการเกิด การตายได้

สามารถตอบสนอง ด้านวิถีชีวิต ด้านสันติภาพ ด้านศีลธรรม

คุณธรรม จริยธรรมได้

 

เช่น การนับถือพระศาสดา นับถือความจริง

ซึ่งจะเห็นว่า สามารถ ตอบสนองการเกิด การตายได้

สามารถตอบสนอง ด้านวิถีชีวิต ด้านสันติภาพ ด้านศีลธรรม

คุณธรรม จริยธรรมได้

สามารถตอบสนอง ต่อความอยาก ความโกรธ ไปอีกได้ เป็นต้น

 

จะเห็นว่า การรับ การนับถือศาสนาใดนั้น ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม

ขึ้นอยู่กับวิถีชีวิต ของแต่ละคน

เปรียบดัง อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ทางจิตใจ

ที่แตกต่างกันออกไป ตามแต่ละบุคคล

 

อันดับสี่ เงื่อนไข ที่ทำให้ศาสนาทุกศาสนา ไหลมารวมกัน

 

ลองพิจารณาดู จะเห็นว่า ขึ้นกับ เวลา และความจำเป็น

 

อย่างแรก เวลาที่เปลี่ยนไป ศาสนาทุกศาสนา ไหลเข้ามาไกล้กันทุกที

ย่อมเกิดกัน ซึมซับ แลกเปลี่ยน ซึ่งกันและกัน โดยอัตโนมัติ

เมื่อนานเข้า ย่อมไหลรวมกัน เป็นมหาสมุทรอันเดียวกัน

 

อย่างสอง ความจำเป็น

หากศาสนานั้น ไม่สามารถตอบสนอง ความต้องการบางอย่างได้

หรือไม่สามารถพัฒนา ไปสู่ยังจุดที่ต้องการได้

หากจุดนั้นเป็นปัญหาอันใหญ่หลวง ไม่สามารถหลุดพ้นได้ด้วย

ข้อจำกัดของปัจจุบัน ย่อมเป็นแรงเร่งให้เกิด การไหลรวมกันเร็วขึ้น

 

อันดับห้า สันติภาพ ความสงสุข อันยั่งยืน ไปไกลกว่าขอบเขตของ ศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม

 

หากลองพิจารณา ทุกศาสนาในปัจจุบัน ย่อมมุ่งเน้นให้ทุกคนเป็นคนดี

ประกอบด้วยหลัก ศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม ต่างๆ

แตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อม ตามเงื่อนไข

 

อย่างไรก็ตาม ขอบเขตของ ศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม นั้น

ไม่สามารถทำให้เกิด สันติภาพ ความสงสุข อันยั่งยืนได้

เพราะมนุษย์เรายังประกอบ ด้วยแรงต้าน คือความอยาก ความโกรธอยู่

เมื่อใดที่เราประมาท พลังและขอบเขต ของความอยาก ความโกรธ นั้น

จะไหลบ่าทับ กำแพงของ ของ ศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม ได้

 

ดังนั้น สันติภาพ ความสงสุข อันยั่งยืน ของมนุษย์เรา

ย่อมขึ้นอยู่กับว่า เราเข้าใจ พลังและขอบเขต ของความอยาก ความโกรธ

มากน้อยเพียงใด

ย่อมขึ้นอยู่กับว่า เราปฎิบัติ พลังและขอบเขต ของความอยาก ความโกรธ

อย่างไร

 

ขอให้ทุกท่านมีพลังกาย พลังใจที่ดี

 

 

แสดงความคิดเห็นและดูทั้งหมด ๒๐ บทความ ได้ที่

http://www.tpa.or.th/writer/author_des.php?passTo=e7c730f5848300fc6f352f248796df86&authorID=63

และ

http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=cxoasia&group=1

 

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที