ชนิตพล

ผู้เขียน : ชนิตพล

อัพเดท: 18 ม.ค. 2014 06.10 น. บทความนี้มีผู้ชม: 1011541 ครั้ง

"ประสบการณ์ยิ่งมากยิ่งมีคุณค่าควรรู้และยิ่งมีค่ามากที่สุดเมื่อถูกถ่ายทอดออกมาจากใจ"


วันที่ 26 Emptiness Management (5)

ตอนที่ 99

วันที่ 26

 Emptiness Management (5)

สรุปความสัมพันธ์….ทุกข์กับความว่างเปล่า…และการนำมาประยุกต์ใช้….กับการบริหารงานแบบ… Emptiness Management…พิจารณาจากรูปด้านล่างที่แสดง  Emptiness Management….เกี่ยวข้องกับ..ความว่างเปล่า..ที่จตุราริยสัจ เฉพาะส่วนของ…ทุกข์…ซึ่งมีสังขารธรรม คือ อนิจจตา ทุกขตา และอนัตตตา มี เกิด แก่ เจ็บ และตาย เป็นปัจจัย   และเมื่อพิจารณาแยกละเอียดลงไปในทุกข์….แสดงตามรูปล่างสุด  Emptiness Management ….เกี่ยวข้องกับ..ความว่างเปล่า..ส่วนของทุกข์ และแยกขันธ์ที่…สังขาร…โดยมี..ความตาย และอนัตตา..เป็นส่วนทำให้เกิดการละทิ้งธาตุทั้งสี่…จึงเกิดความว่างเปล่าขึ้น..!          

  90275_111.png

 รูปแสดงEmptiness Management : ที่ความว่างเปล่ามาจากทุกข์เกิดที่สังขารธรรม

 

 90275_222.png

รูปแสดงความว่างเปล่า : มาจากทุกข์และสิ้นสุดที่ ความตายหรือธาตุดับสลาย

สรุปนิยาม …Emptiness Management… “ คือหลักของการบริหารทรัพยากรมนุษย์…ที่ได้จากปัญญาและความรู้จริงในงาน..ภายใต้สภาวะการหนึ่งๆ….สามารถถ่ายทอดสู่คนที่ต้องการรับรู้ได้ และนำไปใช้ในการบริหารงานภายใน...องค์การ/องค์กร..เรียกว่า…“ การบริหารงานแบบปล่อยวาง” …..คือหลักการบริหารที่เข้าใจสังขารธรรมของมนุษย์….โดยมีความตายและอนัตตาเป็นทางสู่…ความว่างเปล่า…!                                           
สรุปการนำไปประยุกต์ดังนี้
:                                                                                                                                                  
1. เป็นการบริหารที่ยึดถือการทำงานของมนุษย์โดยพิจารณาจากสังขารให้พอดี จนไม่ก่อให้เกิดเหตุของทุกข์
2. เป็นการบริหารที่ยึดจิตเป็นตัวตั้ง…เกิดความตั้งใจ…มีสติ ปัญญา และสมาธิในการทำงาน…ย่อมลดของเสียหาย และความผิดพลาดในการทำงาน                                                                                                                    
3. เนื่องจากเข้าใจสังขารธรรมดี จึงเข้าใจในขันธ์…และเข้าใจใน ทุกข์ ดี เช่นกัน ทำให้ทั้งผู้นำและผู้ตามทำงานด้วยการใช้…ปัญญาเป็นตัวนำ                                                                                                                                 
4. การให้เกิดความผิดพลาดจากการ…สื่อสาร…จากการทำงาน หรือ จากการไม่เข้าใจในงานอย่างแท้จริง…จะมีน้อยมาก หรือไม่มีเลย…ทุกอย่างสิ้นสุดที่…ความว่างเปล่านั่นเอง

สรุปคำตอบ…ในหัวข้อที่ 3 ดังนี้ :                                                                                                                               
1.  รูป….เป็นส่วนประกอบของธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ…ร่างกายคือ ขน ฟัน เล็บ ผม หนัง กระดูก และโลหิตเป็นต้น…..                                                                                                                                                                  
ตอบโดยสรุป…การทำงานภายใต้ความกดดันหนึ่งๆก็ย่อมขึ้นกับสังขาร จะเป็นรูปร่างภายนอกหรืออวัยวะภายในใดๆก็ได้….โดยมีจิตเป็นตัวควบคุม (เกิดได้ทันที)

2. เวทนา….เป็นระบบรับรู้ความรู้สึก และอารมณ์…จากประสาทสัมผัส  หู ตา จมูก ลิ้น กาย และใจ….    
ตอบโดยสรุป
…มีการรับรู้จากสมองส่วนรับความรู้สึกหรือ…Neocortex…ถ้าให้มีการพัฒนาต่อถึง… Brain Stem…..ต้องมีการฝึกในระดับจิต…จนทำให้เกิดการประมวลผลของสมองอย่างต่อเนื่อง….จะเห็นว่าเมื่อ เวทนา เกิดขึ้นโดยระบบการรับรู้จากประสาทสัมผัส…จะก่อให้เกิดการทำงานตาม….ที่ได้รับมอบหมายจากองค์กรภายหลังที่ได้ผ่านการอบรม  เกิดการเรียนรู้  จนปฏิบัติงานได้จริง….เวทนาที่ผ่านทางประสาทสัมผัส…จะต้องได้รับการฝึกสมอง ให้คิดเป็น  ฝึกจิตให้เข้าถึงสมาธิ…..จึงจะเกิดผลรูปธรรมในขั้นสุดท้าย(เกิดภายหลังการฝึกฝน)

3. สัญญา….เป็นการกำหนดให้รับรู้ในอารมณ์และมีความรู้สึกในอารมณ์รับรู้ใน….รูป  รส  กลิ่น เสียง หนาว ร้อน และยินดี….                                                                   
ตอบโดยสรุป…การรับรู้เพื่อให้เกิดสัญญาเป็นเพียงการทบทวนเวทนา…จะเป็นสิ่งที่ควรจดจำหรือไม่…ก็ขึ้นอยู่กับ รูป  รส  กลิ่น เสียง หนาว ร้อน ยินดี โกรธ โมโหไม่พอใจ หรือแล้วแต่สิ่งที่กำหนดเป็นสัญญาที่ควบคุมได้โดย…conscious  (เกิดเมื่อได้รับเวทนา)

4. สังขาร…..เป็นระบบการคิดปรุงแต่ง ทางจิต โดยมีเจตนา เป็นตัวแยกแยะสิ่งที่รับความรู้สึกและจดจำเพื่อ ปรุงแต่งคุณภาพของจิต ให้เป็น….กุศลหรือคุณธรรม…อกุศลหรือกิเลส และอัพยากฤตหรือสภาพกลางๆ…       
ตอบโดยสรุป…เจตนาที่ถูกจิตปรุงแต่งด้วยคุณธรรมและกุศลธรรม…ย่อมทำให้ธาตุคู่กายรู้หน้าที่ได้ดีตรงตามเจตนาของจิต….จิตจะละสังขารได้เมื่อใด รูปและเวทนาก็แยกจากสังขารได้ (เกิดเมื่อจิตปรุงแต่งตามผัสสะและอารมณ์ ไม่ว่าจะอยู่ในสภาวะใด…ก็ต้องถูกควบคุมโดยสติและปัญญาที่เป็นปัจจุบัน…เป็นความว่างเปล่าหรือไม่ก็ได้)

 

5. วิญญาณ…..เป็นการรับรู้สิ่งที่เป็นความรู้แจ้ง…ทางอารมณ์มีการแยกแยะการรับรู้อารมณ์เหล่านั้น…ผ่านทางอายตนะ6  คือ หู ตา จมูก ลิ้น กาย และใจ แปลงผ่านสื่อสัมพันธ์ ออกมาทางอารมณ์…เช่นอายตนะจาก การมองเห็นด้วย..ตา …เมื่อสัมผัสกับ..รูปแล้ว…สื่อและส่งถึงประสาท…เข้าสู่..ใจ….จึงแปลงออกมาเป็นอารมณ์ ซึ่งเปรียบเสมือนผลของสังขารธรรม….เป็นจิตที่รับรู้ถึง  รูป เวทนา  สัญญา และสังขาร…..ในส่วนรูปที่มากระทบ หู ตา จมูก ลิ้น และกาย  และสูงสุดของการรับรู้คือ….นิพพาน

ตอบโดยสรุป…เป็นสังขารธรรมขั้นสุดท้ายไม่ว่าเมื่อได้รับผ่านทางอายตนะก็ย่อมหาทางหลุดพ้นออกจากวังวนด้วยสมาธิ…สุดท้ายก็คือการย่อยสลายของธาตุ และการดับสูญของจิต…(เกิดขึ้นและเป็นไปตามกระบวนการควบคุมกลไกของจิต….หรือความหลุดพ้นจากสังขาร)

                                                                                       
6. สาเหตุของทุกข์….ที่มาจาก…..เกิด – แก่ – เจ็บ – ตาย - การพบกับสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา -  การพลัดพรากจากของรัก  - ความไม่สมหวังในสิ่งต้องการ…                                                                    
ตอบโดยสรุป…เกิด แก่ เจ็บ เป็นสังขารธรรม และสุดท้ายที่ธาตุดับสูญ…คือการตาย….แต่จิตไม่ดับสูญ….สัญญาและวิญญาณ….ถูกกำหนดทิศทางไป….ตามกุศลกรรมและทุกข์…ตามเหตุแห่งทุกข์และสิ่งไม่พึงปรารถนา ไม่สมหวัง ไม่ควรให้เป็นสัญญาแห่งจิตที่จะต้องจดจำ…ปล่อยให้ขังขารนำไปในทางที่ควรจะเป็นตามอินทรีย์ธาตุ.…(การนำจิตสู่ความว่างเปล่าได้ก็เท่ากับว่า….หลุดจากความเป็นตัวตนไปได้ก็ ไม่มี…เกิด…แก่…เจ็บ ตาย…นั้นก็คือความว่างเปล่า)

 

7. สังขารธรรม…คือไตรลักษณ์  ได้แก่ อนิจจตา ทุกขตา และ อนัตตตา…….

อนิจจตา….หรืออนิจจลักษณะ….คือความไม่เที่ยงของขันธ์….สิ่งที่เกิดกระทบกับขันธ์…อาการที่เกิดขึ้นคงอยู่และเสื่อมลงกับขันธ์….                                                                                    
ทุกขตา….เป็นทุกขลักษณะ…..เป็นทุกข์ของขันธ์ที่ถูกเปลี่ยนแปลงไป ทำให้เกิดการขัดแย้งกับความรู้สึกจนเกิดความไม่คงที่ของขันธ์และปัจจัยปรุงแต่…..

อนัตตตา…..เป็นอนัตตลักษณะ….การไม่มีตัวตน หลุดจากขันธ์ ไม่มีสิ่งกระทบขันธ์ จึงไม่ทุกข์และไม่มีอำนาจจึงไม่มีผลที่จะมาพึ่งพิงขันธ์…

ตอบโดยสรุป…ความขัดแย้งกันของจิตที่ถูกปรุงแต่งกับความไม่เที่ยงของสังขารทำให้เกิด….การติดยึดในขันธ์ซึ่งพาไปสู่ความทุกข์ในขันธ์และความไม่เที่ยงของขันธ์….และทางเดียวที่ช่วยให้ขันธ์ปราศจากทุกข์ต้องหยุดที่ศีล สมาธิ และปัญญา….ถึงแม้ว่ามองดูขันธ์แล้วไม่มีความว่างเปล่า แต่จิตว่างเปล่าได้ด้วย….ทางของอนัตตา ความไม่มีตัวตน และวิญญาณที่หลุดพ้น ที่สุดคือนิพพาน…(การนำจิตที่หลุดจากขันธ์ที่อุดมด้วย สัญญาแห่งศีล สมาธิ และปัญญา คือความว่างเปล่าที่ปรารถนา….เป็นทางที่นำไปใช้)

 

////////////////////////////////////////

19/4/2554

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที