ชนิตพล

ผู้เขียน : ชนิตพล

อัพเดท: 18 ม.ค. 2014 06.10 น. บทความนี้มีผู้ชม: 1009388 ครั้ง

"ประสบการณ์ยิ่งมากยิ่งมีคุณค่าควรรู้และยิ่งมีค่ามากที่สุดเมื่อถูกถ่ายทอดออกมาจากใจ"


"วันที่ 1 ศาสตร์ของการบริหารงาน (-1-)"

การอบรมภาค 1……อาจารย์บรรยาย (วันที่1-วันที่27)

ตอนที่11

วันที่ 1

ศาสตร์ของการบริหารงาน

(Science of Managament)

(..1..)

วันที่1:ศึกษาศาสตร์ของการบริหารงาน                                                                                                       

 

1. กล่าวนำ (Introduction)                                                                                                                                                        

             ศาสตร์ของการบริหารงาน  คือหลักวิชาความรู้ที่ใช้สำหรับการบริหารงาน ซึ่งนับว่ามีเป็น จำนวนมากโดยเฉพาะในสองทศวรรษที่ผ่านมานี้  มีการกล่าวอ้างพร้อมกับการพัฒนาศาสตร์ทางด้านนี้มามากมายจากหลายหลักการ….หลายทฤษฎีและมีผู้พยายามสรุปเป็นวิธีการกลยุทธ์โดยส่วนใหญ่ก็เป็นความรู้ที่มาจากชาวตะวันตก  เมื่อมีการถูกกล่าวอ้างถึงและมีผู้นำมาประยุกต์ใช้ กับวิธีการทำงานโดยสร้างเป็นทฤษฎีใหม่ๆ.…พร้อมกับมีการปฏิรูปพัฒนาการควบคู่กันไป….เพื่อให้เข้ากับการบริหารงานแนวใหม่ ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน  เรามักจะเรียกทั้งผู้เป็นต้นความคิดต้นแบบแม้กระทั้งผู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้แล้วทำให้เกิดสำริดผลได้จริงๆ เราเรียกท่านเหล่านั้นว่า….“Guru”… “คุรุ    ผมขอยกตัวอย่างเพียงบางท่านที่มักจะถูกกล่าวถึงในวงการธุรกิจการบริหารงานและในศาสตร์อีกหลายแขนง….ครับ (มักใช้อ้างอิงในการอธิบายที่มาของศาสตร์ต่างๆเหล่านั้น)                                                                                                                                                                                  

 

2. กูรูที่มักถูกกล่าวถึงในศาสตร์ของการบริหารงาน (Management Guru)  

 

เพลโต(Plato): นักปรัชญาและนักวิทยาศาสตร์ชาวกรีกโบราณ...เป็นศิษย์ของ โสกราติส (Socrates) เป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียนอะเคดามี (Academy) ณกรุงเอเธนส์ (Athens) หลักปรัญญาของเขาเป็นเสมือนแม่บทของวิชาปรัชญา การปกครอง กฎหมายและการบริหาร……จนกล่ายเป็น… “ลัทธิเพลโตหรือ สัจนิยม …..ถือว่าเป็นเจ้าพ่อของผู้รวมศาสตร์ทุกศาสตร์ในสมัยนั้นผลงานของ เพลโต จะเป็นรูปของบทสนทนา….บันทึกจดหมายและคำคมต่างๆ ผ่านทางตัวละครที่กล่าวอ้าง….และที่น่าสนใจที่สุดคือ       อภิปรัชญาแบบทวิโลกมีมุมมอง 2 แบบ1. โลกที่เป็นรูปแบบ (form) จะไม่เปลี่ยนแปลง และอยู่ในสภาวะสมบูรณ์แบบเสมอ….2. โลกที่รับรู้ได้  ซึ่งเป็นเพียงแบบร่างที่ยังไม่สมบูรณ์ของโลกที่เป็นรูปแบบ ที่เป็น                            แนวความคิด และต้องใช้สติปัญญาทำความเข้าใจ                                                                                                     

              ปรัชญาของ เพลโต ว่ากันว่าเป็นการคิดต่อจากอาจารย์ โสเครตีส ที่คิดไว้ และมีการกล่าวอ้างซึ่งกันและกันอย่างต่อเนื่อง….จากปรัชญาของท่านทั้งสองแล้ว ….จะสรุปเป็นลัทธิหรือสัจนิยม ก็สุดแล้วแต่ผู้ที่จะนำไปอ้างอิงในทฤษฏีใดของศาสตร์ใดๆก็ตาม….แต่ก็ยังอยู่บนพื้นฐานของคำศัพท์ที่ใช้เพื่ออ้างอิงท่านทั้งสอง เช่น….form…ideas…good…concept…words…และการรับรู้ของจิตเพื่อให้ได้มาซึ่ง           ความรู้มี 4 ขั้นตอนได้แก่… imagining or perception … belief… reasoning… perfect intelligence   ยิ่งถ้ากล่าวถึง อภิปรัชญาของเพลโต..โลกมีอยู่ 2 แบบ คือ1. โลกของวัตถุ (Material World) หรือ (Subjective Reality) เป็นโลกที่ประสาทสามารถสัมผัสได้ทางกายภาพคือหูตา จมูก ลิ้น ทำให้รู้ถึงรูปรสกลิ่น เสียงและการสัมผัส เป็นโลกผัสสะ (Sensible World)  ที่มีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา……  2. โลกที่สมบูรณ์แบบ เป็นโลกแห่งความมีสติซื่อตรง ( Absolute Reality) ไม่คิด คดโกง โกหก หรือหลอก                             ลวง และรักษาคำมั่นสัญญา นั่นคือโลกในรูปแบบ (Form / Pattern World)  จะว่าเป็นโลกเหนือธรรมชาติ            (Transcendental World) เป็นโลกแห่งมโนคติ ( Idea World) หรือเป็นทฤษฎีแห่งมโนคติ (Idea)………  ซึ่งนับว่าเป็นแก่นแท้หรือสาระของสรรพสิ่งต่างๆในโลกนี้……………และเป็นจุดเริ่มของวิชาปรัชญานั่นเอง                                                                                                                                                                                           

ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud):  เป็นชาวเชโกสโลวะเกีย แล้วไปเติบโตอยู่ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เรียนจนจบแพทย์ศาสตร์ที่นั่น  เขาชอบค้นคว้า  และพัฒนาทางด้าน แพทย์ศาสตร์ และจิตวิทยาทางการแพทย์  เรียกได้ว่าเป็นบิดาแห่งทษฏีจิตแพทย์ ……...จิตวิเคราะห์ทางบุคคลิกภาพ และพลังจิตใต้สำนึกที่มีผลต่อพฤติกรรมของแต่ละบุคคล ทำให้เกิดความแตกต่างกัน ในองค์ประกอบของพลังจิต 3 ส่วนได้แก่ …….อิด (Id) หรือสิ่งชักจูงทำให้เกิดความต้องการ เช่น ความโกรธเกียจ และความรักใคร่…….อีโก (Ego) ทำหน้าที่ เลือกแนวทางและตัดสินใจ…….ซูเปอร์อีโก (Super Ego) ควบคุมได้ทุกอย่าง เช่นมีสติ   ควบคุมอารมณ์ และความรู้สึก………รู้จักผิด ชอบ ชั่ว ดี

อริสโตเติล (Aristotle) เป็นนักปราชญ์ชาวเมืองสตากิรา แคว้นมาซีโดเนีย ประเทศกรีซ  เป็นนักปราชญ์ที่มีชื่อเสียงมากเป็นลูกศิษย์ของเพลโต (Plato) แห่ง สำนักอะคาเดมี (Academy) ที่กรุงเอเธนส์ และเป็นอาจารย์                                                                                                                                    ของกษัตริย์ อาเล็กซานเดอร์มหาราช      มีบิดาชื่อว่า นิโคมาคัส (Nicomacus) เป็นแพทย์ประจำราชสำนัก ผู้ซึ่งถ่ายทอดความรู้ส่วนใหญ่ให้เขา   อริสโตเติลจะใช้เวลาส่วนใหญ่กับ การอ่านและการเขียนหนังสือ   มีความเฉลียวฉลาดและมีความรอบรู้อย่างกว้างขวาง  ทางด้าน ปรัชญา ตรรกศาสตร์ เศรษฐศาสตร์  การเมืองการปกครอง  ดาราศาสตร์ กลศาสตร์ ชีววิทยา และสัตววิทยา ตั้งทฤษฎีที่สำคัญต่างๆ ไว้จำนวนมาก เป็นผู้นำทางชีววิทยา  ตามทฤษฎีของเขาแบ่งสัตว์ออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ สัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง และสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง   แต่ในทฤษฎีของอริสโตเติล เป็นการรวบรวมความรู้ต่างๆ ที่เขามีอยู่ มาตั้งเป็นทฤษฎี จากนั้นก็หาเหตุผลมาประกอบตามหลักตรรกวิทยา โดยขาดการทดสอบจากความเป็นจริง บางทฤษฎีจึงมีข้อผิดพลาดอยู่บ้าง แต่ก็ยังมีผู้เชื่อถืออยู่มาก และมีผลต่อแนวความคิดของผู้คนในยุคนั้นมาเป็นเวลากว่าพันปี                    

คาร์ล อาร์ โรเจอร์ส (Carl R.Rogers ) และอับราฮัม เอ็ช มาสโลว์ (Abraham H. Maslow) เป็นผู้นำในกลุ่มมนุษย์นิยม (Humanism) เป็นนักจิตวิทยา และมีความเชื่อว่า…..มนุษย์ เป็น สัตว์โลกประเภทหนึ่ง มีจิตใจ ที่มีความเข้าใจ สามารถแสดงคุณสมบัติเฉพาะตัวออกมาในรูปของพฤติกรรม การกระทำที่แตกต่างกัน และก็มีขีดจำกัดต่างกันออกไป   ต้องการความรัก ความอบอุ่นและการตอบสนอง……มนุษย์ทุกคนมีความ                                                เข้าใจตนเอง (Self actualization) และยอมรับในความสามารถในการรับรู้ การประพฤติภายใต้จิตของ                          ตนเอง……. จากหลักการเหล่านี้ได้มีการนำไปปรับใช้ ในการพัฒนาหลักสูตร หลักการเรียนการสอน โดยให้นักเรียน  เรียนรู้และแสดงออกอย่างเต็มที่ แสดงความสามารถในการช่วยเหลือตนเอง และมีความอิสระในการพัฒนาการของครู  ผู้แนะแนวความคิด  ของกลุ่มมนุษย์นิยมซึ่งมีบทบาทสำคัญ ต่อการกำหนด การวางตัวให้เหมาะสมกับสถานะภาพของครูและศิษย์                                                                                                       

 

เคน วิลเบอร์(Kenneth Earl Wilber Jr.) เป็น นักปรัชญา นักจิตวิทยา ชาวอเมริกัน เกิดที่เมืองโอคลาโฮมาซิตี ผู้บัญญัติทฤษฎีกระบวนทัศน์แม่บท (meta-paradigm) …. “ ทุกคนถูกต้อง”….สร้างAQAL Model โดย แบ่ง                                                                             เป็นสี่เหลี่มพฤติกรรม ครึ่งบนเป็นพฤติกรรมบุคคล และครึ่งล่างเป็นพฤติกรรมกลุ่ม………..โดยจัดกลุ่มข่าว                                          

สารข้อมูลเป็นสี่ส่วน...สองส่วนครึ่งบนคือ...เจตนา (interior-individual) และพฤติกรรม (exterior-individual)                                       …..สองส่วนครึ่งล่างคือสังคม (exterior-collective) และวัฒนธรรม(interior-collective)……………AQAL (All Quadrant All Level) หรือSTEEP Analysis เป็นกระบวนการรับข่าวสารแบบ…. Environmental scanning….ที่อยู่บนพื้นฐานของ Social, Politics, Economics , Environment  และ Technology                             

 

จอห์น ดูอี (John Dewey) เป็นนักปรัชญา นักจิตวิทยา และนักการศึกษาชาวอเมริกัน เป็นอาจารย์สอนที่มหาวิทยาลัยชิคาโก และเป็นผู้บุกเบิกแนวคิดและวิธีการสอนแบบใหม่ๆ โดยให้มีการทดสอบและพัฒนา…….มีการวิเคราะห์ทฤษฎีที่เกี่ยวกับการเรียนและการสอน……และเขายังเป็นนักปรัชญาทางการศึก                         ษาที่อยู่ในแนวหน้า…..มีปรัชญามากมายเกี่ยวกับการศึกษาและมีการแตกแขนงออกไปเป็นจำนวนมาก

 

อีวาน เปโตรวิช ปาฟลอฟ (Evan Petervic Paflof) เป็นนักจิตวิทยา ประสาทวิทยา และนักวิทยาศาสตร์ที่ค้นคว้าทางสรีรวิทยา ชาวรัสเซีย หลังจากที่เขาจบที่มหาวิทยาลัยเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก เขาได้ทำการค้นคว้า การทำงานของกระเพาะอาหาร…...และสภาวะการขับน้ำลายของสุนัขก่อนอาหารจะเข้าปาก….เรียกว่าการขับทางจิต (psychic secretion)……เขาเน้นศึกษาทางด้านจิตจนได้มาซึ่ง…..กฎของรีเฟล็กซ์เรียนหรือ……conditional reflexes…….เป็นผู้นำในการสร้างผลงานค้นคว้าโดยสร้างแบบจำลอง…..เพื่อให้เห็นสภาพเป็นจริงมากที่สุดผลงานของเขามีมากมายที่เกี่ยวกับ.........reflex actions, temperament, classical conditioning…....โดยเฉพาะทางอารมณ์ได้แก่…… sanguine , melancholic, phlegmatic, choleric…….การตอบสนองทางธรรมชาติของร่างกายคน ……… shut down , transmarginal inhibition….human reached to shut down point and quick to shut down depend on different type of nervous system…….                                                                                    

 

ซุนวู (Sun Tzu) หรือปราชญ์แซ่ซุน จากนักเขียนตำราประวัติศาสตร์จีนซือหม่าเชียนกล่าวว่าซุนวูเป็นแม่ทัพอยู่ในรัฐอู๋ อยู่ในช่วงศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล ซุนวูเป็นผู้เขียนตำราพิชัยสงครามอันโด่งดัง และมีการกล่าวไว้ในหลายตอนของนิยายเรื่อง....สามก๊ก…. และตำราพิชัยสงครามนี้เองได้ถูกประยุกต์ใช้เป็นแผนของการบริหารงานในยุคปัจจุบันหลายสาขา……จนทำให้เกิดกลยุทธ์ใหม่ๆแตกแขนงออกไป ทั้งที่ใช้กับการบริหารงานในด้านการค้า   การปกครอง  การศึกษาและอื่นๆอีกมาก…..ในเนื้อหาของตำราพิชัยสงครามนั้นแบ่งสรุปเป็น 13 ตอน(บรรพ)…..หนึ่ง พิเคราะห์และประเมินสภาพการรบ…..สอง วางแผนเพื่อทำศึก……สาม ใช้ยุทธศาสตร์การรบเชิงรุก……สี่ รู้สถานะภาพตนเองว่าต้องชนะเสมอและไม่ประมาท…..ห้า เตรียม พร้อมเรื่องพลรบเพื่อโจมตีจุดอ่อนของข้าศึกและเสริมจุดแข็งให้กองทัพ…..หก การเตรียมสนามรบให้พร้อมเพื่อชักจูงข้าศึกเข้าสู่กับ ดักในสนามรบ…..เจ็ด แปลเปลี่ยนสนามรบให้มีสภาพของการได้เปรียบตามแผนกลยุทธ์…..แปด เตรียมพร้อมกับชัยภูมิเก้าประการแม่ทัพรับโองการ/ไม่รับบางโองการ  ( ไม่ตั้งค่ายในทำเลไม่ดีพึงหามิตรในที่ๆมีโอกาสไม่พักกองทัพในที่กันดาร….ใช้กลยุทธ์ในพื้นที่โอบล้อม….สู้ตายในพื้นที่มรณะ….ไม่ผ่านเส้นทางบางสาย….ไม่ตีกองทัพบางกอง….ไม่บุกหัวเมืองบางเมือง….และไม่ชิงชัยภูมิบางแห่ง )……เก้า การเดินทัพต้องเลือกทางเดินให้ถูกต้องเลือกวิธีการให้เหมาะสมกับพื้นที่(เขา  น้ำ  โคลนตมและที่ราบเรียบ)……สิบ ภูมิประเทศเลือกที่เหมาะสมกับการรบ…..สิบเอ็ด พื้นที่ต่างกันเก้าอย่างต้องทำยุทธภูมิ เก้าแบบ( ซ่านเซ็นเบาเยื้อแย่งคาบเกี่ยวสัญจรหนักวิบากโอบล้อมและมรณะ)….สิบสอง โจมตีด้วนเพลิง……และสิบสาม การใช้สายลับ                                                                                                            

 

แจ็ค เวลซ์ (Jack  Welch)  เป็นผู้บริหารระดับ CEO (Chief  Executive Officer) ของ จีอี(GE) ในปี ค..1981 ที่มีผู้กล่าวถึงความสำเร็จของการจัดการและบริหารงานของเขามากที่สุดผู้หนึ่งจนเป็น The Best and the Brightest….ในเรื่องของ  “การพัฒนาผู้บริหาร”  หรือ การพัฒนาบุคลากรภายใต้กลยุทธ์ 7 ข้อ…..หนึ่ง
มีการหมุนเวียนของผู้บริหารภายในองค์กรเพื่อสร้างการพัฒนา ในแต่ละฝ่าย เกิดความสามัคคี ร่วมแรงร่วมใจ เป็นการบริหารแบบองค์รวม…..สอง ยึดหลัก 4 E (Energyมีพลังงาน, Energizeสามารถเสริมพลังให้ผู้ร่วมงาน , Edgeมีจิตวิญญาณของการแข่งขัน และ Executiveมุ่งมั่นที่จะทำงานให้ได้ผลสำเร็จ)…..สาม จัดให้ผู้บริหาร/ ผู้จัดการทุกคนอบรมในหลักสูตร Workout เพื่อให้เกิดทักษะในแนวความคิดร่วม และการรับรู้ข้อมูลได้เร็ว เมื่อเกิดปัญหาพร้อมที่จะเข้าร่วมโดยจัดWorkshopแก้ด้วย..brainstorm...ทันทีและอยู่บนพื้นฐานของคำตอบสำร็จรูป..เห็นด้วยและนำไปปฏิบัติ..ไม่เห็นด้วย..สรุปข้อมูลมาใหม่พร้อมเพิ่มเติมรายละเอียด…..สี่ ให้ความคิดเห็นของทุกคนมีความสำคัญ…..ห้า สร้างศูนย์พัฒนาผู้นำที่ดีที่สุดและส่งผู้บริหาร/ผู้จัดการใหม่ ๆ ปีละกว่า 10,000 คน เข้าฝึกอบรมเรื่อง Six Sigma (ควบคุมของเสียให้อยู่ในค่าที่กำหนด) นานถึง สัปดาห์ และยังมีหลักสูตรเฉพาะสำหรับผู้บริหารระดับสูงที่ต้องการพัฒนา ทำให้มีการพบปะกันในระดับผู้บริหารจากทั่วโลก…...หก ให้ผู้เข้าร่วมอบรม ระดับผู้บริหาร/ผู้จัดการ มีโอกาสได้แสดงความคิดเห็นต่อตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้งและสามารถออกความเห็น โดยนำเสนอแนวทางเลือกให้กับบริษัท…..เจ็ด ในบรรดาผู้บริหาร/ผู้จัดการต้อง ถูกประเมินผลด้านการปฏิบัติงานและการบริการแบ่งผลเป็น เกรด  แบ่งตามเปอร์เซ็นต์ที่ได้โดยสรุปเป็น 3 ระดับคือ A ( มีประมาณ 10%) , B (มีประมาณ 80%) และ C (มีประมาณ 10%) พวกเกรดA(ถือว่าเป็นพวกทุ่มเทให้บริษัท) จะได้รับการคัดเลือกให้เลื่อนต่ำแหน่งในขั้นที่สูงขึ้น ส่วนเกรด C จะถูกพิจารณา ไม่ถูกย้ายก็ให้ลาออก
                                                                                                                                                                         ทอม ปีเตอร์ส (Tom Peters) เป็น Guru ด้านการบริหารและการจัดการ ชาวอเมริกันและเขาได้เข้าร่วมปฏิบัติงานกับกองทัพเรือสหรัฐ (US Navy) ในเวียดนามและกรุงวอชิงตันดีซีในช่วง ปี 1973 ถึ ง 1974  เป็นผู้ให้คำแนะนำการใช้ยาเสพย์ติดในทางที่ผิดที่ทำเนียบขาว และต่อในปี 1977 เขาได้ทำงานและเป็นหุ้นส่วนในบริษัท McKinsey & Co..เขาเป็นนักคิดและเป็นผู้จุดประกายความคิดด้านการจัดการชั้นยอด เขายังเป็นผู้แต่งหนังสือ….In Search of Excellence….จากที่เขาเป็นทั้งนักคิด นักเขียน และนักพูด…..นี้เองทำให้ทอมมีส่วนสำคัญอย่างมากในการจุดประกายและสร้างแนวคิดใหม่ๆ ทางด้านการจัดการให้แก่วงการนักธุรกิจจนเขาได้รับการขนานนามจาก Business Week ว่าเป็น….Business best friend and worst nightmare….เป็นทั้งสุดยอดเพื่อนคู่คิดและสุดยอดฝันร้าย…..และในงานสำคัญๆของลีดดิ้ง มายด์ (Leading Minds) ผู้บรรยายสำคัญของรายการมักจะมีทอม ปีเตอร์สรวมอยู่ด้วย                                                                                                                                

 

ฟิลิป คอตเลอร์ (Philip Kotler) Guru ชาวอเมริกันและเป็นศาสตราจารย์ด้านการตลาด ที่มีชื่อเสียงของโลก ผู้ซึ่งมองการตลาดไปในอนาคตอยู่ตลอดเวลา………ผลิตท่ามกลางตลาดองค์กรที่สามารถนำอุตสาหกรรมเข้าไปเลือกเป้าหมายของลูกค้าได้อย่างแท้จริง   พร้อมทั้งให้ลูกค้าจ่ายเงินอย่างมีคุณค่าดีที่สุด   นั่นคือผู้นำการตลาดตัวจริง………....การตลาดในอนาคต ต้องมีการเปลี่ยนแปลง  ตามการเปลี่ยนแปลงของกำลังซื้อของลูกค้า  เขาวิเคราะห์สภาวะของกลุ่มลูกค้าในสหรัฐอเมริกาว่า….กลุ่มประชากรที่มีอายุ 55 ปีขึ้นไป จะมีกำลังซื้อเฉลี่ยสูงขึ้นตามอายุที่สูงขึ้น และตามการเติบโตทางเศรษฐกิจจนในที่สุด….คนกลุ่มนี้ก็จะจับจ่ายใช้สอยอย่าง ต่อเนื่องจนกลายเป็นการเคลื่อนย้ายตลาด…. จากลุ่มขนาดใหญ่มาเป็นกลุ่มขนาดเล็กที่มีกำลังซื้อสูง (Niche)………..การคาดการณ์ตลาดในอนาคตเป็นสิ่งสำคัญมาก……จะเป็นแนวทางที่ฉายภาพต่างๆออกมาเพื่อ…. ออกมากระตุ้นในการวางยุทธศาสตร์…. เพื่อเลือกตลาดที่ถูกต้องด้วย สินค้า/บริการ ของเรา โดยกำหนดให้ สินค้า/บริการ  มีมูลค่าสูงที่สุดสำหรับผู้บริโภค….เฉพาะกลุ่มนั้นๆ…………………...

………การตลาดต้องขึ้นกับBrandสินค้าของเรา….ว่าจะเน้นขายเฉพาะร้านที่เป็น ร้านค้าปลีก(Retail Chain)…..หรือ…? เพราะร้านค้าปลีกมีหลักการตลาดอยู่ว่า…..สินค้าทุกตัวต้องขายได้เร็ว (ตัวอย่างการวางตลาดคือbrandของเถ้าแก่น้อย)…..และถ้าเราเลือกวางตลาดประเภทนี้เท่ากับว่า………เรามีเทคโนโลยีมัลติมีเดีย ในการ Promote สินค้าไปพร้อมๆกับการ……ปรับเปลี่ยนรูปแบบสินค้าให้ป็นแบบ…..Tailored Made / Customized Goods…….และหลักการเลือกสินค้าเข้าร้านของ Retail Chain ก็ยังอยู่บนหลักของ….. Brand Loyalty …….สุดท้ายตลาดประเภทนี้จะมีเพียง 2 กลุ่ม……คือลูกค้ารายได้สูงและลูกค้ารายได้ต่ำ ส่วนกลุ่มลูกค้าระดับกลางจะลดลง ( ตลาดผู้มีรายได้สูงต้องการสินค้าคุณภาพดี/ บริการเป็นส่วนตัว / ราคาสูงส่วน ตลาดผู้มีรายได้ต่ำต้องการสินค้าคุณภาพธรรมดา/ ราคาต่ำสุด )………..การตลาดขายตรง (Direct and Personalized Market) จะมีบทบาทและมีการขยายตัวอย่างกว้างขวางด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีมัลติมีเดียจะทำให้ผู้ซื้อและผู้ขายใกล้ชิดกันมากขึ้น….ลักษณะและรูปแบบของสินค้าก็จะมาลงตัวที่……..           ….Tailored made / Customized Goods……..และต่างก็ต้องคำนึงถึง CSR มากขึ้น

ปีเตอร์ เอฟ. ดรักเกอร์ (Peter F. Drucker) Guru ทางด้านการจัดการสมัยใหม่เกิดที่ออสเตรียเมื่อปี 1909และเคยเป็นศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก ด้าน บริหารธุรกิจ เขามุ่งมั่นกับการสอน การเขียนหนังสือ (หนังสือเล่มแรกคือ The End of Economic Man)และเป็นที่ปรึกษาทางด้านการบริหารธุรกิจนานถึง 21 ปี (1950-1971)………..นำเสนอการบริหารงานของ ผู้บริหาร/ผู้จัดการในหัวข้อของการกระจายอำนาจในองค์กร…..Concept of the Corporation…. องค์กรต้องมุ่งสู่การใช้หรือการเป็นอุตสาหกรรม สารสนเทศ….อุตสาหกรรมการขนส่ง…..อุตสาหกรรมวัตถุดิบเช่นพลาสติก และอุตสาหกรรม Knowledged Worker  เป็น เรื่องของพลังงานทางจิตใจ ผู้บริหาร/ผู้จัดการ ต้องบริหารงานแบบ makro แบบรวมศาสตร์…..มีกลยุทธ์ มีมุมมองและภาพรวมของธุรกิจแบบบูรณาการ…….มีความท้าทาย …….และมีอายุของตัวสินค้า/ ธุรกิจ……สร้างทีมงานและส่งข้อมูลได้รวดเร็ว….. ต้องหาความถนัดของตนเองให้เจอ และนำสภาวะแวดล้อม มาใช้เป็นกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ………ผลงานที่สำคัญของเขาเช่น "The Concept of the Corporation" (1946), "The Practice of Management" (1954), และ "The Effective Executive" (1964)   โดยหนังสือเหล่านี้ใช้เป็นแม่บทของวิชาด้านบริหารธุรกิจในปัจจุบัน    หนังสือ "The Concept of the Corporation" ได้รับต้นแบบจากการศึกษา….การทำงานของบริษัทเจเนอรัล มอเตอร์ส(GE)………….เขาสรุปไว้ว่า……บริษัทในปัจจุบันต้องเป็นองค์กรของมนุษย์ภายใต้…….การบริหารจัดการและปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน ต้องมีการกระจายอำนาจในการบริหาร และมีการจูงใจพนักงานให้รู้สึกว่า มีส่วนร่วมในการบริหาร………การบริหารสิ่งแวดล้อมที่ดีย่อมทำให้การบริหารองค์กรได้รับความสำเร็จได้ไม่ยากนัก………………… ปีเตอร์ เอฟ. ดรักเกอร์  มีตรรกศาสตร์การบริหารงานที่ สื่อความคิดข้ามศตวรรษและยังใช้ได้ผลมาจนทุกวันนี้  สามารถสรุปเป็นข้อกำหนดและรูปแบบในการทำงานได้ 7 กระบวนวิธี ดังนี้…….หนึ่ง การจัดการอย่างมีวัตถุประสงค์(Management by Objectives - MBO) ผู้บริหาร/ผู้จัดการ ต้องดึงความสามารถของทีมงานให้ออกมาในรูปของการทำงานเป็นทีม โดยมี…. Reports….. Procedures…..สอง การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (Privatization)  ว่ารัฐมีหน้าที่อะไร….? ทำอย่างไรไม่ให้ใหญ่โตเกินกว่าหน้าที่การให้บริการด้านสวัสดิการ…..นอกเหนื่อจากนั้นควรให้เอกชนเป็นผู้บริหารและเป็นที่ยอมรับกันในหลายประเทศในเวลาต่อมา……..สาม การบริหารและการจัดการต้องเป็นมืออาชีพ(Professional Management)โดยแยกกันระหว่าง..ประสิทธิภาพกับประสิทธิผล..  ผู้บริหาร/ผู้จัดการต้องมองจากภายนอกเข้ามาหาองค์กร..ถึงการตลาดในอนาคต ชนิดของลูกค้า การจัดจำหน่าย และพฤติกรรมการใช้สินค้า..แล้วมามองภายในเกี่ยวกับการเติบโตขององค์กร ปัญหา โดยรับฟังความคิดเห็นและหาวิธีการแก้ ไข มีแนวนโยบายเพื่อสร้างประสิทธิภาพของพนักงาน..ให้ได้ผลงานเป็นที่ยอมรับความรับผิดชอบของผู้บริหารงาน/ผู้จัดการ และพนักงานทุกคนต่อหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมาย..ปรับเปลี่ยนตำแหน่งผู้บริหารและสร้างความเป็นมืออาชีพให้แก่เขาเหล่านั้น ด้วยระบบขององค์กร   สี่ แรงงานสมอง(Knowledge workers) จาก  The Age of Discontinuity : 1968   มีการเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตคนกว่าค่อนโลกในศตวรรษที่ 20 เพื่อเปลี่ยน                                                                                                             เป็นยุคของคอมพิวเตอร์อย่างแท้จริง..ที่เกิดความรู้ในเชิงลึกของข้อมูลข่าวสาร..มีการนำเอาเครื่องมือที่ทันสมัยต่างๆมาใช้ มากมายและเป็นอย่างรวดเร็วก้าวกระโดด.. ทำให้แรงงาน/การจ้างงาน ต้องเปลี่ยน..วิถีชีวิตในการทำงาน.. ความเป็นอยู่ และสังคม..โดยยึด..Productivity..เป็นหลัก..เปลี่ยนจากManual Workers..เป็น..Knowledge Workers.. ที่ใช้ทักษะมาแทนมากขึ้น  ห้า เป็นสังคมของความรู้ Knowledge Based Society จาก..The Next Society..ศตวรรษที่ 21เป็นเวลาที่โลกจะเข้าสู่ สังคม..Knowledge….ที่ไร้พรมแดน..ช่วยปรับสถานะภาพของคน และช่วยให้มีโอกาสในความสำเร็จ/ล้มเหลวได้พร้อมๆกัน  หก การเปลี่ยนแปลงของประชากร (Demographic Changes)  ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจโลก    เจ็ด การศึกษาต่อเนื่องแบบออนไลน์ (Webucation)  เป็นการศึกษาแบบนอกห้องเรียน ทำให้เข้าถึงหลักสูตรได้ง่ายขึ้นและรวดเร็ว ลดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย     

วอร์เรน บัฟเฟตต์ (Warrant Buffett) มีชื่อเต็มว่า วอร์เรน เอ็ดเวิร์ด บัฟเฟตต์  เขาเกิดในค.ศ. 1930 ที่เมืองโอแมฮา ในรัฐเนแบรสกา  และเรียนจบปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยเนแบรสกาและเรียนโท สาขาเศรษฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ได้เรียนกับอาจารย์ BenjaminGraham ผู้เขียนหนังสือ The Intelligent Investor และจบปริญญาโททางด้านเศรษฐศาสตร์ในปี ค.ศ. 1951……เริ่มชีวิตการทำงานเป็นเซลล์แมนในบริษัทของพ่อเขาเอง (โฮเวิร์ด บัฟเฟตต์) และต่อมาทำงานเป็นนักวิเคราะห์ความเสี่ยงที่บริษัท Graham-Newman Corp. ในกรุงนิวยอร์ก  จากนั้นเขาได้ใช้ ตำรา…………. The Intelligent Investor  เป็นเสมือนแม่บทสำหรับอาชีพนักลงทุนในหุ้น…..value investors…. ในปี 1957 เขาได้ก่อตั้งบริษัทลงทุนที่มีชื่อว่า Buffett Partnership, Ltd. มีผู้ร่วมทุนมากมาย จุดประสงค์คือต้องการเอาชนะดัชนีดาวโจนส์ ซึ่งเขาก็ทำได้สำเร็จในปี 1969 อัตรากำไรที่บริษัทเขาทำได้นั้นสูงถึง  29.5 % ในขณะที่ดัชนีดาวโจนส์ แค่ 7.4 % เท่านั้น……..เขามองว่าแหล่งระดมเงินทุนเพื่อใช้ในธุรกิจก็คือ..ตลาดหุ้น.. หลักการที่สำคัญอยู่ที่การหาผู้บริหารหุ้นที่ดี..มีความซื่อสัตย์..ยุติธรรม..ต้องเป็นหุ้นของธุรกิจที่ไม่ถูกกระตุ้นเกินความจริง..มีความคงเส้นคงวา..และต้องเป็นการลงทุนระยะยาว…..โดยดูจากมูลค่าและตัวของหุ้นเองเป็นหลัก….เขาเล่นหุ้นในระยะเวลานานถึง 49 ปี….เป็นมหาเศรษฐีหุ้นที่รวยที่สุดในโลก….เขาบริจาคเงินและทรัพย์สินกว่า 3,700 ล้านเหรียญ….แก่สาธารณะกุศลซึ่งเป็นการคืนผลประโยชน์แก่สังคมและเป็นตัวจริงของผู้นำทาง……...CSR                                               

นอกจากท่านที่กล่าวมานี้ก็ยังมี Investment Guru อีกหลายท่านที่น่าสนใจซึ่งสามารถหาอ่านประวัติของท่านเหล่านั้นได้ไม่ยากนัก…..อาธิเช่นฟิลลิป ฟิชเชอร์ (Philip A. Fisher ) และ ชาร์ลส์ เมอร์ริล (Charles Merrill) และเจ้าพ่อผู้สร้าง….brandตัวจริงอย่าง….ฮาวาร์ด  ชูลท์ซ และ เรย์  คร็อก ซึ่งอาจมีการยกตัวอย่างบ้างในตอนต่อๆไป……

 

ส่งท้ายตอนที่ 11 (-1-)

วันที่1: ศึกษาศาสตร์ของการบริหารงาน……ขอแบ่งเป็นสองตอนครับ และทดลองตอบคำถามสัก 6 ข้อดังต่อไปนี้:-                                                                                                       

1.  ในฐานะที่ท่านเป็นผู้บริหาร/ผู้นำ…..จากหลักปรัชญาของ เพลโต ท่านจะรู้ได้อย่างไรว่า ท่านเป็นผู้ที่มี…………คุณธรรม…?                                                                                                                                     

2.  จากบรรพที่ แปดในตำราพิชัยสงครามของ ซุนวู เตรียมพร้อมกับชัยภูมิเก้าประการ”…แม่ทัพรับโองการ/ไม่รับบางโองการ  ( ไม่ตั้งค่ายในทำเลไม่ดีพึงหามิตรในที่ๆมีโอกาสไม่พักกองทัพในที่กันดาน….ใช้กลยุทธ์ในพื้นที่โอบล้อม….สู้ตายในพื้นที่มรณะ….ไม่ผ่านเส้นทางบางสาย….ไม่ตีกองทัพบางกอง….ไม่บุกหัวเมืองบางเมือง….และไม่ชิงชัยภูมิบางแห่ง )  ในเมื่อท่านเป็นผู้รับโองการจากผู้บังคับบัญชา ในการนำทัพ….ท่านมีสิทธิที่จะปฏิเสธโองการหรือไม่และ…..ในข้อใดบ้าง…….?                                                                                       

3.  หลักที่ฟิลิป คอตเลอร์ พยายามสรุปทุกครั้งในการบรรยายกลยุทธ์ของการทำการตลาดแนวใหม่คือ…….1. การพัฒาการตลาดที่มีผลต่อ……..? ขององค์กร/บริษัท  2. โอกาสการตลาดใหม่ๆเน้นที่การหาพื้นที่ใด……..?  3. การหาหนทางและรูปแบบใหม่ๆในการสื่อสารจะคู่ไปกับ…….?  4. การนำเทคโนโลยีมาใช้ เป็นการสร้างมาตรวัดเพื่อประเมินผลการทำงานและใช้เป็นอะไร…..……....?                                           

4.  จาก AQAL Model ของเคน วิลเบอร์   แบ่งการจัดกลุ่มของข่าวสารเป็น 4 ส่วน สองส่วนบนเป็น                 พฤติกรรมส่วนบุคคล.….เจตนา (interior-individual) และพฤติกรรม (exterior-individual)…..สองส่วนล่างเป็นพฤติกรรมกลุ่ม…..สังคม (exterior-collective) และวัฒนธรรม(interior-collective)………AQAL (All Quadrant All Level)….กระบวนการรับข่าวสารแบบ…. Environmental scanning……Social, Technology, Environment, Economics และ Politics หรือเรียกอีกอย่างว่า STEEP analysis………..ผู้บริหาร/ผู้นำ  จะต้องกระจายพฤติกรรมทั้ง 4 ข้อนี้ออกเป็น matter to body to mind to soul to spirit และอยู่บนพื้นฐานของ STEEP จะช่วยให้……….เราจะเห็นองค์กรของเราเป็นอย่างไร…..? (คำตอบสั้นๆ)

5. เมื่อท่านต้องการ….launch… สินค้าตัวใหม่ท่ามกลางทะเลเลือด….ท่านจะทำอย่างไร……?ใช้กลยุทธ์ของซุนวูบรรพที่……? และต้องมีแผนการของคอตเลอร์ทางการตลาดอย่างไร…..? และการแจงพฤติกรรมของผู้บริโภค….ตามหลักของเคน วิลเบอร์จะช่วยได้อย่างไร….?
6. ดรักเกอร์ และ คอตเลอร์ มีมุมมองตลาดในอนาคตอย่างไร…….?                                                                                                                                                                                                                    

 สองทศวรรษต่อจากนี้ไปน่าจะเป็นยุคของเพลโต และซิกมันด์ ฟรอยด์

และกูรูชาวตะวันตก                                                                                                                                                  ส่วนแผนกลยุทธ์ของชาวตะวันออกก็ยังมีใช้ต่อไป

 

15  เมษายน 2552

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที