ชนิตพล

ผู้เขียน : ชนิตพล

อัพเดท: 18 ม.ค. 2014 06.10 น. บทความนี้มีผู้ชม: 1008521 ครั้ง

"ประสบการณ์ยิ่งมากยิ่งมีคุณค่าควรรู้และยิ่งมีค่ามากที่สุดเมื่อถูกถ่ายทอดออกมาจากใจ"


วันที่ 28 การบริหาร..ความสุขบนโลกของจักรวาล(6)

ตอนที่ 109

วันที่ 28

การบริหาร..ความสุขบนโลกของจักรวาล (6)

ศิษย์พิมพ์สุชา :  หลักธรรมเพื่อใช้บริหารองค์กรหรือ อิทธิบาทธรรม4….เป็นธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จตามที่ประสงค์…การไปสู่ความสำเร็จก็ต้องมีคุณธรรม ปฏิบัติตนให้มีความสมบูรณ์ด้วย อิทธิบาท 4 คือ…1.ฉันทะ มีความพอใจ รักและถือว่าเป็นสิ่งที่ดีสำหรับตน…2. วิริยะ ความพากเพียรในการทำสิ่งใดๆอย่างต่อเนื่องจนได้รับความสำเร็จ …3. จิตตะ ความเอาใจใส่ ฝักใฝ่ในสิ่งที่ประสงค์ทำให้เกิดผลเด่นชัด…4. วิมังสา ความหมั่นสอดส่อง  อย่างมีเหตุมีผลจนได้รับความสำเร็จ กระให้กิจการดียิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ท่านอาจารย์ค่ะ!...จากความหมายของอิธิบาท 4…."สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการบริหารองค์กรในแง่ของการบริหารอย่างมีความสุขบนโลกของจักรวาล…ได้อย่างไร?"

อาจารย์ดอน :   ฉันทะในแง่การบริหารอย่างมีความสุข…..ทำให้เกิดความรักงาน ...คือ เอาใจใส่และกระตือรือร้นในการเรียนรู้งาน และหาวิชาความรู้…มีความสามารถในการทำงานตามที่ได้รับมอบด้วยความรับผิดชอบมุ่งมั่นสู่ความสำเร็จเรียบร้อย…เป็นจุดเริ่มของความรู้ลึกรู้จริง…เป็นการสร้างคุณธรรมและนำไปสู่ความสุขบนโลก

                         วิริยะ…ในแง่การบริหารอย่างมีความสุข…..ทำให้เกิดความเพียรพยายาม โดยเริ่มจากวินัยของบุคคล มีความขยันหมั่นเพียร  ด้วยความอดทนต่อความยากลำบากในการทำงานตามหน้าที่จนได้รับความสำเร็จและมีความเจริญก้าวหน้า…ความเพียรพยายามนำมาซึ่งความมั่นใจ มุ่งมั่นอย่างเด็ดเดี่ยวเพื่อนำพาองค์กรให้บรรลุสู่ความสำเร็จ

                          จิตตะในแง่การบริหารอย่างมีความสุข….ทำให้เกิดความสนใจอยู่กับการทำงาน สร้างระบบการติดตามงานอย่างต่อเนื่อง…ทำให้งานมีประสิทธิภาพนำไปสู่ความสำเร็จ….มีการดำเนินชีวิตด้วยการมีสมาธิทำให้ตัวเรามีความสุขอยู่ตลอดเวลา….ส่งผลให้เกิดความสุขบนโลกอย่างแท้จริง                                                                                                       

                     

                          วิมังสา…ในแง่การบริหารอย่างมีความสุข….ทำให้เกิดการดำรงชีพบนเหตุและผล ทำหน้าที่ของตนเองให้ดีทีสุด วางตนเป็นผู้ใต้บังคับบัญชา หรือเป็นผู้บังคับบัญชาที่ดี  ทำตามนโยบายและแผนงานขององค์กร ช่วยกันนำพาไปสู่ความสำเร็จ เป็นขั้นของการใช้ปัญญา ในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ งานทั้งระบบ พร้อม ปรับปรุง แก้ไข ด้วยเหตุและผล มีการสร้างวินัยอย่างชัดเจนในการตัดสินเหตุที่เกิด…..ด้วยปัญญาความสุขที่ได้ในองค์กรก็คือเกิดความสามัคคี การนำพาองค์กรเพื่อให้มีการปรับปรุงและพัฒนาสู่ความเจริญก้าวหน้าเป็นลำดับยิ่งๆขึ้นไป

 

ศิษย์พิมพ์สุชา : ท่านอาจารย์ค่ะ!.....แสดงว่าผลของ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ นำมาสู่การมีวิมังสา….คือความเป็นผู้รู้จักพิจารณาเหตุสังเกตุผล….ใช่ไหมค่ะ?

 

ศิษย์โดม : ท่านอาจารย์ครับ!...ท่านผู้รู้บางท่านได้กล่าวถึงภาวะผู้นำที่ดีตามหลักพุทธธรรม….ว่าผู้นําที่ดีต้องยึดหลักคุณธรรมของพรหมวิหาร4 ธรรมาธิปไตย พละ4  และ…สัปปุริสธรรม7….เพื่อการปฏิบัติตนและใช้ในการดําเนินกิจการงานทุกๆประเภท นำความสำเร็จและความเจิญถาวรมาสู่องค์กร อย่างยั่งยืนได้ตลอดไป
 

อาจารย์ดอน :  ใช่! พิมพ์สุชา....วิมังสา เป็นผลของการปฏบัติตน ตามสายอิธิบาท4…เราสามารถขยายความและผลของอิธิบาท4…ได้ตามการเรียนรู้และการประยุกต์…เพื่อใช้ให้เหมาะสมกับกาลเวลา สถานที่ ขององค์กรและสังคม

                         โดม!…เห็นมั๊ยว่า….ความวิเศษสุดของหลักธรรมของพุทธศาสนาดีอย่างไร…มุ่งสอนให้คนเป็นมนุษย์ และเป็นมนุษย์ที่มีหลักธรรม โดยมีจุดหมายอยู่ที่…นิพพาน…หลักธรรมมีหลายฐานะ…ที่ใช้ในการดำเนินชีวิต ขึ้นกับผู่ที่นำมาใช้…..จะเป็นใคร และตั้งต้นด้วยหลักธรรมข้อใด…ต่างก็เพื่อ…ใช้ในการดำเนินชีวิต และบริหารองค์กร…ผู้รู้สามารถนำหลัก ธรรมที่ตนเลือก….มาใช้ได้อย่างแนบแน่น เกิดประโยชน์ สูงสุด เหมาะสมกับเวลา สถานที่และเหตุการณ์
 

ศิษย์พิมพ์สุชา : ท่านอาจารย์ช่วยยกตัวอย่างการประยุกต์…หลักธรรม …“วิมังสา”… มาสู่การบริหารยุคใหม่…ยุคแห่งนวัตกรรมและการแข่งขันเชิงกลยุทธ์…!

 

อาจารย์ดอน หลักธรรม…. วิมังสาสามารถสรุปในแง่ของ…ฐาน…ทางความคิดและการประยุกต์ใช้…สามารถทำความเข้าใจได้ดังนี้

เริ่มจาก…..มนุษย์ต้อง ประกอบสัมมาอาชีวะ…มีเหตุผลทุกกรณี…จึงต้องมีสติและปัญญาคู่กับตน…นำปัญญามาสร้างงานโดย ผ่านกระบวนการวิเคราะห์ สังเคราะห์  โดยการสร้างกิจกรรมให้มีผลออกมาเป็น…ผลที่แสดงว่า มาจากมนุษย์ที่มี…ฐาน…ความคิดทางปัญญา…ทำให้มีผลตรงต่อ…จิตกับสติและสัมปชัญญะ…

จิตกับสติสติระลึกรู้อารมณ์ที่ปรากฏกับจิต ในขณะที่รับรู้ ไม่ว่าจะเป็น รัก โลภ โกรธ หลง สุข  ทุกข์สมหวัง ผิดหวัง กลัว และกล้า เป็นต้น….จิตเป็นธรรมชาติ…สติเป็นคุณธรรม…กำหนดที่อดีตกาลและอนาคตกาล
สัมปชัญญะคือ รู้ตัวขณะปัจจุบัน ทุกขณะที่เห็นที่เกิดขึ้นในกายผ่านจิตมีการเปลี่ยนแปลง เกิดอารมณ์อะไรก็ตามแล้วให้ผ่านไปโดยรู้สึกตัวอยู่เสมอ….ว่าเป็นตัวปัญญา เพื่อรับรู้ทุกขณะอย่างเห็นชัดเจน…สัมปชัญญะเป็นคุณธรรม….กำหนดที่ปัจจุบันกาล

จิตกับสติ สัมปชัญญะและวิมังสา…..สามารถสร้างฐานของทุนทางปัญญาของมนุษย์ (Human capital based)….1. เป็นผู้คิดริเริ่ม สร้างสรรค์ (Initiatives and creative based)…..2. เป็นนักพัฒนา (Human developer based)….3. เป็นผู้มีจิตสำนึกความรับผิดชอบ และมีความเชื่อมั่นต่อหน้าที่ (Self confidence and responsibilities based)

 

ศิษย์พิมพ์สุชา :   แสดงว่ารากฐานของทุนมนุษย์ที่เป็นส่วนของ…ทุนทางสังคม….ต้องมาจากจิตกับสติ สัมปชัญญะและวิมังสา…ซิค่ะ!

 

ศิษย์โดม :   และที่โลกมนุษย์นั้นวุ่นวายมากในขณะนี้…ก็เพราะมนุษย์ขาด…จิตกับสติ สัมปชัญญะและวิมังสา…..หรือครับ!

 

อาจารย์ดอน :  พละ4….เป็นหลักธรรมเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต…เพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จ….เราใช้เฉพาะ ปัญญาพละ…เป็นกำลังทางปัญญา เพื่อนำความรู้ที่ดีเป็นประโยชน์ต่อสังคม…ทั้งใหม่และเก่า…มาปฏิรูปใช้ร่วมสมัย…. กับต้องนำมาเป็นแนวทางปฏิบัติตน…ในสภาวะปกติ…เพื่อการดำรงชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างมีความสุข

                ปัญญาพละต้องทำด้วยความเต็มใจ….ฝึกฝนและสร้างด้วยการเรียนรู้ในสิ่งที่ถูกต้องนั้นๆจากแหล่งที่ถูกต้องเหมาะสมและเป็นธรรม…ดังนี้คือ….1. ปัญญาที่เกิดจากการศึกษาเรียนรู้…อบรม อ่าน เขียน จนแตกฉาน สามารถถ่ายทอดสู่ลงภาคปฏิบัติได้.…2. ปัญญาที่เกิดจากการมีเหตุผลด้วยการใช้สติ สัมปชัญญะ และวิมังสา ใช้พละ4 ในการสร้างฐานการเรียนรู้….3.  ปัญญาที่เกิดจากการปฏิบัติโดยนำปัญญาจากการเรียนรู้…วิธีการใช้ปัญญาที่มีเหตุผล…..รวบรวมปัญญาทุกด้านมา…ปฏิรูปสู่ภาคปฏิบัติ….

               เพราะฉนั้นเราใช้….จิตกับสติ สัมปชัญญะและวิมังสา….พิจารณาจนเกิดปัญญาเพื่อสร้าง…..“ปัญญาพละ”…..มาถึงตอนนี้แล้วให้ โดม และพิมพ์สุชา สรุป…การบริหาร…ความสุขบนโลกของจักรวาล….ว่ามีความเข้าใจในระดับใด!

 

ศิษย์โดม :   ครับ!...ในวันที่ 28 นี้เป็นการทบทวนหลักของการ……“คิดให้เป็น”…..และ…..“คิดให้ได้”…..แล้วนำมาประยุกต์กับการบริหารและการจัดการองค์กร เพื่อสร้าง…reliability…and…happiness in workplace….โดยปรับให้เข้ากับระบบของแต่ละองค์การ/องค์กร…..การคิดให้เป็น…คือคิดอย่างใช้ทุนทางปัญญา ใช้วิจารณญาณ ทักษะ ลักษณะ และ….กระบวนการคิด….ภายใต้ จิตกับสติ สัมปชัญญะและวิมังสาทั้งหมดเป็นฐานของ…ทุนมนุษย์…ที่เป็นส่วนของ…ทุนทางสังคมเมื่อมนุษย์ที่มีทุนทางสังคมมาอยู่รวมกันเป็น กลุ่ม สังคม เมือง รัฐ และประเทศ….ก็ย่อมทำให้เกิดสังคมที่มีความสุข มีความเข้าใจซึ่งกันและกัน ภายในสังคม…ทำให้โลกของจักรวาลนี้เกิดความสุขที่ยังยืน

 

ศิษย์พิมพ์สุชา :   happiness in workplace จะเกิดขึ้นได้จริง ต่อเมื่อบุคคลากรในองค์กรต้องมี…ฐานของทุนมนุษย์…ทำให้เกิดการคิดเป็นกระบวนการมี จิตกับสติ สัมปชัญญะและวิมังสา เป็นจุดเริ่มต้น….เพื่อลงสู้การดำเนินงานตามกระบวนการต่อไป

 

////////////////////////////////////////

16/4/2555

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที