ชนิตพล

ผู้เขียน : ชนิตพล

อัพเดท: 18 ม.ค. 2014 06.10 น. บทความนี้มีผู้ชม: 1008533 ครั้ง

"ประสบการณ์ยิ่งมากยิ่งมีคุณค่าควรรู้และยิ่งมีค่ามากที่สุดเมื่อถูกถ่ายทอดออกมาจากใจ"


วันที่ 28 การบริหาร..ความสุขบนโลกของจักรวาล(8)

อนที่ 110

วันที่ 28

การบริหาร..ความสุขบนโลกของจักรวาล (8)

 

ศิษย์โดม :  ท่านอาจารย์ครับ!....การดำเนินชีวิตประจำวันโดยเฉพาะการปฏิบัติตัวอยู่ในสังคมขององค์กรมีหลักปฏิบัติที่จำง่ายๆไม่ซับซ้อนอย่างไรครับ!...เพราะเมื่อซับซ้อนก็ยากต่อการจดจำ และการปฏิบัติก็ทำได้ยากด้วย!                                                                                                                                                            

อาจารย์ดอน :  จากหลักการบริหารแบบปล่อยวาง….และการบริหารความสุขบนโลกของจักรวาล ในวันที่ 27,28  สามารถนำมาใช้เป็นหลักการปฏิบัติในชีวิตจริงได้หลายบท…..เห็นได้ว่าเวลาที่พระอาจารย์แต่ละรูปท่านแสดงธรรม ท่านมักยกตัวอย่างธรรมที่แตกต่างกันออกไป…แสดงว่าธรรมแต่ละบทก็มีความเหมาะสมตามเหตุและสถานการณ์นั้นๆ….จากตัวอย่างคำตอบของโดมและพิมพ์สุชา….ที่ให้ความหมายของ การคิดให้เป็น……พิมพ์สุชาตอบในแนวข้อปฏิบัติของการคิด….ส่วนโดมตอบหลักของการคิด….ซึ่งโดยรวมแล้ว…..หลักของการคิดให้เป็น..…ก็คือการคิดอย่างมีวิจารณญาณ…..ขึ้นกับแต่ละท่านจะนำหลักข้อใดมาปฏิบัติตามความถนัด ความพร้อม ความเข้าใจในการเริ่มคิดของแต่ละครั้ง..…และต้องเริ่มจากการฝึกการคิดให้เป็น อย่างกิจวัตรก่อน                                                                                                                                

     “โดมและพิมพ์สุชา ทดลองสรุปหลักของการคิดในเชิง….การบริหารความสุขบนโลกของจักรวาล….โดยใช้หลักของ…….“ปุริสธรรม” หรือธรรมของคนดี....มาเป็นแนวทางในการปฏิบัติตน…เพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคม!”             

ศิษย์โดม :  ครับ!....ธรรมของคนดี หรือ สัปปุริสธรรมมี 7 ข้อ เป็นธรรมที่ทำให้เป็นสัตบุรุษหรือคนดี ประกอบด้วย :  1.ธัมมัญญุตา คือการรู้จักเหตุ….รู้ว่าเหตุที่เกิดนี้จะส่งผลอย่างไร หรือรู้ว่าผลที่ได้นี้มาจากสาเหตุอะไร….เป็นหลักของความจริง ที่คนดีจะต้องรู้แล้วคิด วิเคราะห์ให้ได้…ว่าการทำงานที่ได้ผลงานออกมานั้นมาจากสาเหตุอะไร….ถ้าผลที่ได้ออกมาเป็นผลเสียก็ย่อมแสดงว่าสาเหตุมาจากการกระทำที่ไม่ดี ทำผิดพลาด  ทำในสิ่งที่ตนไม่ชำนาญ…..โยงถึงความคิดก่อนทำและขณะทำว่ามีจินตภาพนั้นมาจากเหตุใด?
 

ศิษย์พิมพ์สุชา :  นั้นหมายความว่าผู้ที่คิดไม่ดี คิดผิด คิดร้ายต่อผู้อื่น ก็ไม่ใช่ธัมมัญญุตา…..เป็นการคิดไม่เป็นซี่งไม่ทำให้เกิดความสุขบนโลกนี้ได้ใช่ไหมค่ะ!....ถึงแม้ว่าเป็นเพียงแค่เหตุจากการคิดเท่านั้น!

 

อาจารย์ดอน :   ใช่!....ตรงข้ามกับคนที่คิดอย่างมีธัมมัญญุตาต้องคิดอย่างคนดี….คิดดีทำดีเท่านั้น…แต่คนไม่ดี โจร ผู้ร้าย เราไม่เรียกว่าคิดอย่าง ธัมมัญญุตา…..คิดและทำตามเหตุของโจร ก็จะเกิดผลร้าย ความเสียหาย แก่ผู้อื่น….!

ศิษย์พิมพ์สุชา :   การทำตาม…เหตุของโจร ผู้ร้าย คืออะไรค่ะ!....

 

อาจารย์ดอน :   คือทำ….ตามความต้องการของโจรเท่านั้น!....จะเกิดผลร้ายแก่ผู้อื่นสนใจแค่….ขอให้ได้ ตามที่ตนประสงค์ก็พอ!.....เพราะฉนั้นการบริหารความสุขบนโลกของจักรวาล….ด้วยการคิดให้เป็น…ในแง่ของ ธัมมัญญุตา คือคิดอย่างมีวิจารณญาณ…ด้วยการใช้สติและสัมปชัญญะ…หาเหตุ….รู้เหตุ และก่อเฉพาะเหตุที่ทำให้เกิดผลดีตามมา!....เช่นรู้จักหลักธรรมชาติที่ว่า…เมื่อเราตัดต้นไม้มากๆ เป็นสาเหตุทำให้เกิดภัยแล้งและน้ำท่วมมากยิ่งขึ้น เราจึงต้องเร่งรณรงค์ปลูกป่าให้มากขึ้นเพื่อลดเหตุของภัยพิบัติเหล่านั้น เป็นต้น

 

ศิษย์โดม :   2. อัตถัญญุตา คือรู้จักผลของเหตุที่ทำ….และ 3. อัตตัญญุตา คือ รู้จักตนเอง ตัวของตน.…               
คนดีที่มี
อัตถัญญุตา รู้ผลลัพธ์ของสิ่งที่พิจารณา ตามความถนัด ความสามารถ ประสบการณ์ที่มีความเข้าใจผลที่ได้จาก…ธัมมัญญุตาว่าสาเหตุนี้ได้ผลอะไรออกมา…ตรงตามประโยชน์ตามเป้าประสงค์หรือไม่?...ใช้วิจารณญาณพิจารณาวิเคราะห์ผล….เช่น อิทธิบาทธรรม4….ประกอบด้วยหลักใดบ้าง….แต่ละข้อมีความหมาย และมีจุดประสงค์เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จด้วยหลักปฏิบัติอย่างไร....และผลที่ได้จากการปฏิบัติ / การครองตนด้วย  อิทธิบาทธรรม4…จะได้ผลอะไรกับผู้ปฏิบัติ

              อัตตัญญุตา รู้ตัวตนว่า….อยู่ในฐานะใด มีสถานภาพ  และภาวะของตัวตน ว่าในขณะปัจจุบันมีหน้าที่ ความรับผิดชอบ มีความรู้และความสามารถ ที่ต้องทำตามหน้าที่หรือภาระกิจ….ให้เหมาะสม ถูกต้อง และพร้อมที่จะปรับปรุงแก้ไขตามผลที่ได้โดยตลอด                                                            
                                           

ศิษย์พิมพ์สุชา :  4. มัตตัญญุตา คือรู้จักประมาณ และ 5. กาลัญญุตา คือรู้จักกาล                                           
การอยู่ร่วมกันในองค์กรของสังคมหนึ่งๆ….เมื่อรู้ถึงทั้งเหตุและผลพร้อมกับการวางตนให้เหมาะสมกับฐานะและความรับผิดชอบต่อหน้าที่….ก็ต้องมี มัต
ตัญญุตา เป็นการประมาณตนให้เกิดความพอดี ตามหน้าที่และภาระกิจ เช่น นักเรียน นักศึกษา ก็ต้องประมาณตนให้เหมาะสมกับฐานะ ทั้งการจับจ่ายใช่สอยและ หน้าที่ ที่ต้องปฏิบัติต่อตนเอง เพื่อน ผู้ปกครอง และครูบาอาจารย์ เป็นต้น

                กาลัญญุตา เป็นความรับผิดชอบต่อเวลาตามหน้าที่ของแต่ละบุคคล ด้วยความเหมาะสม พอดี ที่องค์กร / สังคม ยอมรับ!

 

อาจารย์ดอน :  อีก 2 ประการคือ…6. ปริสัญญุตา คือรู้จักกลุ่มคณะ สังคมและชุมชน  7. ปุคคลปโรปรัญญุตา คือรู้จักบุคคล  ในสองประการนี้เป็นการทำความรู้และความเข้าใจกับ บุคคล หมู่คณะและสังคมโดยรวมพร้อมๆกับมีหลักปฏิบัติ…..เพื่อการเอื้ออาทรและอำนวยประโยชน์ ให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขในสังคมบุคคลในสังคมต้องรู้จักตัวของตนดีพอๆกับรู้จักตัวตนของผู้อื่น….เพื่อไม่ให้เกิดการละเมิดสิทธิ์ และไม่ขัดต่อประเพณี จนทำลายความรู้สึกดีๆที่มีต่อกันในสังคม….ตนเองก็ต้องทำตามสิทธิ์และหน้าที่ของตนให้ดีที่สุดอย่างมีสติและสัมปชัญญะ…..รักษากติกาและคุณธรรมของสังคม…ผลที่ได้จะมีการขัดเกลา ปรับปรุงเปลี่ยนแปลง และมีการปฏิบัติต่อๆกันมา จนเกิดเป็นวัฒนธรรมของ องค์กร/สังคม เพื่ออยู่ร่วมกันในสังคมนั้นๆ จะมีวิธีปฏิบัติตนอย่างไร…การปฏิบัติตนต่อบุคคลร่วมกันในสังคมอย่างไร ก็เพื่อตามความประสงค์ให้สังคมนั้น…มีเกิดความสงบสุขนั่นเอง!

                                                                                                                                                                               

ศิษย์โดม :  ที่ว่าความสุขบนโลกของจักรวาลคือบนโลก(Earth)ใบนี้และจักรวาล(Universe)นี้หรือครับ!    

ศิษย์พิมพ์สุชา เป็นจักรวาลของระบบสุริยะ(Solar System)!                                                                           

อาจารย์ดอน :   วันนี้จบตอนที่ 8  ของวันที่ 28 ภาค…ความสุขบนโลกของจักรวาล ไว้เพียงเท่านี้….ท่านอาจารย์แดนจะช่วยมาต่อในหัวข้อ “คิดให้ได้” เพื่อนำไปสู่….reliability…and…happiness in workplace ต่อไป                                                                                                                                                                  

สรุปโดยรวมว่า :….การสร้างความสุขของชีวิต ในการดำรงชีวิตอยู่ในโลกใบนี้…อาศัยหลักธรรม หลัก                    ธรรมชาติ  หลักปรัญญาใดๆก็ตาม ก็ต้องเริ่มจาก สมอง สติ จิต  บนพื้นฐานของ…ความคิดให้เป็นก่อน….จึงจะเริ่มการคิดให้ได้….ระบบของความคิดตามทฤษฏีต่างๆ…..เช่นการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 5 ขั้นตอน , หลักของการคิด…ของโดม 5 ข้อ และหลักปฏิบัติ…ของพิมพ์สุชา 5 ข้อ….หลักการคิดตามหลักปุริสธรรม….หรือตามหลักอริยสัจสี่….ทุกข์ – สมุทัย - นิโรธ - มรรค….และอีกหลายๆหลักธรรมที่สามารถนำมาประกอบเป็นแนวในการเริ่ม…กระบวนการคิดให้เป็น….ทั้งหมดนี้ต้องคิดอย่างมีวิจารณญาณ…ด้วยการมีสติและสัมปชัญญะ….ภายใต้จิตสำนึกและเสริมพลังความคิดด้วยจิตใต้สำนึกที่เปี่ยมล้นด้วยพลังสร้างสรรค์และความสำเร็จ (powerful creativity  and success)                                                                                          

                ความสุขบนโลกจะดับสูญไปกับเหตุแห่งการดับของโลก…ด้วยไฟของโลภเหตุ….น้ำแห่งโทสะเหตุ และลมทำลายล้างของโมหะเหตุ….ตามผลของการกระทำของมนุษย์ที่นำไปสู่ความสุขที่มนุษย์ปรารถนาได้หรือไม่!…..ขึ้นอยู่กับการตอบรับ…ธรรม…ธรรมชาติ…..เมื่อมนุษย์ตอบรับและปฏิบัติตนโดยมีธรรม เพื่อให้อยู่กับธรรมชาติได้แล้ว!…โลกของจักรวาลนี้…ก็จะมอบความสุข ความสงบ  การมีอายุยืนยาว ให้อยู่ในภพนี้จักรวาลนี้…กระทั้งภพอื่นจักรวาลอื่น…แม้ในภพสวรรค์ที่มนุษย์ต้องการจะไปให้ถึง….ซึ่งสามารถไป และเกิดได้ในจักรวาลที่มี…สุขนิรันด์…สุดที่ความว่างเปล่า คือ นิพพาน การหลุดพ้นจากวัฏจักร…การเวียนว่ายตายเกิด

                สุดท้ายนี้ การบริหาร..ความสุขบนโลกของจักรวาล..ทั้ง 8 ตอนเป็นเพียงก้าวแรกของ“หลักการคิดให้เป็น” ….ซึ่งการคิดให้เป็นและการคิดให้ได้…ตามที่ได้กล่าวมาทั้งหมด…ท่านอาจารย์แดน..จะได้มาเสริมในหลักการและรายละเอียดอื่นๆในตอนต่อไป…ครับ!

การบ้านท้ายบท : ให้สรุปหลักปฏิบัติของการ คิดให้เป็น เพื่อใช้ในองค์กร…บนพื้นฐานของ ธัมมัญญุตา คือคิดอย่างมีวิจารณญาณ…ด้วยการใช้สติและสัมปชัญญะเพื่อนำไปสู่….reliability…and…happiness in workplace                                                                            

 

////////////////////////////////////////

7/5/2555

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที