ชนิตพล

ผู้เขียน : ชนิตพล

อัพเดท: 18 ม.ค. 2014 06.10 น. บทความนี้มีผู้ชม: 1008524 ครั้ง

"ประสบการณ์ยิ่งมากยิ่งมีคุณค่าควรรู้และยิ่งมีค่ามากที่สุดเมื่อถูกถ่ายทอดออกมาจากใจ"


วันที่ 29 ความสุขท่ามกลางวัฒนธรรมองค์กร (6)

 

ตอนที่ 116

วันที่ 29

ความสุขท่ามกลางวัฒนธรรมองค์กร (6)

 

อาจารย์แดน : ตอนสุดท้ายของวันที่ 29…..เป็นเรื่องสมดุลชีวิตการทำงานเบื้องต้น….ที่ควบคู่ไปกับหลักคิดของไคเซ็น….ศิษย์โดม มีข้อสงสัยอะไรเพิ่มเติมอีกบ้าง!

ศิษย์โดม :  ผมสงสัยว่า…ความเป็นปัจเจกบุคคล จะส่งเสริมหรือมีความขัดแย้งกับ แนวทางของนโยบาย…สร้างความสุขให้เป็นวัฒนธรรมขององค์กร….ครับ!

อาจารย์แดน : แน่นอน หลักของ Human Resource มีอยู่หลายวิธีการที่สามารถพัฒนามนุษย์เป็น Person Resource เมื่อเข้าใจวิธีคิดของความเป็น ปัจเจกบุคคล ที่มีความเป็นตัวตนสูง!.....(จะรวบรวมไว้ในตอนของวันที่ 30 ทั้งหมด)….ซึ่งเป็นบทสรุปของความสำเร็จของการจัดการ…..ความเป็นเลิศของการบริหารองค์กร

ศิษย์โดม :  human resource และ person resource…ต่างกันอย่างไรครับ!

อาจารย์แดน :   human resource ว่าด้วย HRM และHRD เป็นระบบการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ขององค์กรซึ่งเป็นการ สรรหา และการคัดเลือกพนักงานการกำหนดและพิจารณา เงินเดือน ค่าตอบแทน ดูแลเรื่องสุขภาพอนามัยและสวัสดิการความเป็นอยู่….กิจกรรมร่วมทั้งภายในและภายนอกองค์กร และการวัดผลงานด้วยระบบประเมินผลจากการปฏิบัติงาน…..รวมถึงการฝึกอบรมและพัฒนาพนักงาน ผู้บริหารทุกระดับขององค์กร….ส่วน person resource…จะเน้นการบริหารและพัฒนาเชิงลึกถึงความเป็น…ปัจเจกของพนักงานแต่ละบุคคลขององค์กร จนกลายเป็นทรัพยากรปัจเจกบุคคล……ที่มีความสามารถและมีความเป็นตัวตนสูง…อย่างสมบูรณ์แบบ...มีความคล่องตัวและท่วงทันทุกสถานการณ์...(ได้เคยสรุปศัพท์ และความหมายที่เกี่ยวข้องกับ HR ไว้ในตอนที่ 92 วันที่ 25)

                       หลักการและระเบียบการบริหารงานของ HRM  เป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กร
 …………เพราะมีความเข้าใจและเอาใจใส่ในการดำเนินชีวิตของบุคลากรทุกระดับขององค์กร….การสร้างความเข้าใจระหว่างผู้ร่วมงานด้วยกัน  และบุคคลากรกับระบบขององค์กร……เงินเดือน ค่าตอบแทน สวัสดิการ และความพึงพอใจของทั้งสองฝ่าย เป็นสิ่งสำคัญเบื้องต้น ที่ช่วยสร้างความผูกพันระหว่างบุคคลากรกับองค์กร….ประกอบกับการสร้างความสุขท่ามกลางวัฒนธรรมองค์กร…..ช่วยให้บุคคลากรที่เก่งปัญญาและเก่งงานอยู่คู่กับองค์กร….องค์กรก็จะได้ความตั้งใจในการทำงานอย่างเต็มความสามารถ...เพราะมีพลังขับเคลื่อนจากบุคคลรอบข้าง...มีการพัฒนาด้านการเรียนรู้อยู่เสมอ…..องค์กรจะได้ทรัพยากรบุคคลชั้นเยี่ยมไว้ร่วมงานตลอดไป...!

                      ปัจเจกบุคคลที่มีคุณภาพย่อมคู้ควรกับองค์กรที่มีระบบ มีความสุขในการทำงาน (เหนื่อยแต่มีพลังและแรงสนับสนุน) และมีวัฒธรรมองค์กรที่ดี ส่งเสริมการทำงานไปในทิสทางเดี่ยวกันและก้าวไปพร้อมๆกัน….และมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาองค์กรโดยตลอด !

ศิษย์โดม :  ปัจเจกบุคคล มีความสัมพันธ์กับ…สมดุลชีวิตการทำงาน…ในองค์กรมากน้อยเพียงใดครับ!

อาจารย์แดน :….ยิ่งองค์กรที่มีการจัดระเบียบการบริหารงานและมีระบบการปฏิบัติงานกับการใช้ชีวิต….ของบุคลากรในองค์กรที่เหมาะสมลงตัว ย่อมส่งผลให้….มีปัจเจกบุคคลคุณภาพที่ เพียงพอสำหรับการพัฒนาองค์กรได้อย่างต่อเนื่องและก้าวไกล…!

                   ในรูปขององค์กร….การทำงานที่มีความสมดุลระหว่างบุคลากรขององค์กรกับ…นโยบายหลักเพื่อพาองค์กรไปสู่การพัฒนา….และมีความเจริญก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง…มีหมายความไม่เพียงว่า….บุคลากรทุกคนต้องทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุดและเป็นผู้รอรับเงินเมื่อสิ้นสุดของแต่ละเดือนเท่านั้น!…..ความเป็นปัจเจกของแต่ละบุคคลย่อมสร้างหนทางแห่งความสำเร็จให้กับบุคคลเหล่านั้นได้….ซึ่งเหมาะสมแล้วกับการเสียสละและความทุ่มเทของปัจเจกที่ไม่มีเงื่อนไขใดๆ….มีแต่เพื่อต้องการเห็นความสำเร็จขององค์กร….นั่นก็คือความเป็นเฒ่าแก่ปัจเจกจะค่อยๆสะสมเพิ่มพูนขึ้นเป็นลำดับๆ…..ซึ่งก็สวนทางกับเวลาขององค์กรที่เหลือน้อยลง เป็นเพียงการรอให้เฒ่าแก่น้อยเหล่านั้นค่อยๆเติบโตขึ้น!......วัฏจักรวงล้อเดิมก็จะใกล้เข้ามาจนถึงเวลาที่เหมาะสม….ภาพแล้วภาพเล่าก็จะเกิดซ้ำๆกัน…เพียงแต่เปลี่ยนผู้แสดงใหม่เข้ามาในวัฎจักรเดิมเท่านั้น….ผู้บริหารระดับสูงต้องเข้าใจและเล็งเห็นความสำคัญของวัฏจักรเหล่านี้….กับการเปิดเวทีเพื่อให้เขาเหล่านั้นมีโอกาสได้แสดง…!

                 สมดุลชีวิตการทำงานหรือ.…balance of  work  and  life….มีความหมายความที่มีความแตกต่างกันไปของแต่ละบุคคล….ขึ้นอยู่กับกติกาการดำรงชีวิตว่า….แต่ละชีวิตมีสมดุลระหว่าง การทำงานกับการมีชีวิตส่วนตัว/ครอบครัว…ในแต่ละวัน แต่ละเดือนและแต่ละปีเป็นอย่างไร….จะมีสัดส่วนเท่าๆกันหรือจะหนักไปทางส่วนใดส่วนหนึ่ง ขึ้นอยู่กับลักษณะงานที่ทำ ให้ความสำคัญของงานและการใช้ชีวิตที่แตกต่างกัน….ตามความเป็นปัจเจกของแต่ละบุคคล…..ที่เป็นศาสตร์แห่งศิลป์ ผนวกกับกฎระเบียบ ข้อกำหนดและกติกาของสังคมโดยรวม ตามสภาพแวดล้อมที่มีอยู่ทั้งภายนอกและภายในองค์กร….บนรากเง่าของมนุษย์ทุกคนจะมีปัจเจกศิลป์ต่างกันไป….การอยู่รวมกันด้วยกติกาของสังคมย่อมลดความเป็นปัจเจกชนลง….และกติกาของสังคมก็คือ…..ข้อกำหนดและระเบียบวิธีปฏิบัติ ที่สามารถใช้เป็นกฎข้อบังคับของคนในสังคม ที่สามารถปฏิบัติได้….ต่อเมื่อคนในสังคม/องค์การ/องค์กร หรือในครอบครัว สามารถมีวิถีชีวิต…ระหว่างชีวิตการทำงานกับชีวิตส่วนตัว/ครอบครัว….เกิดความสมดุลตามประเพณีขององค์กรนั้นๆ

                  ชาวตะวันตกพยายามหาสมดุลเหล่านี้มานานหลายสิบปี….เพื่อบรรญัติกฎระเบียบของการอยู่ร่วมกันใน สังคม/องค์การ/องค์กร….โดยรัฐบาลต้องตรากฏหมาย ออกมาหลายมาตรา  เช่นมาตราที่ว่าด้วย สิทธิและความรับผิดชอบของข้าราชการต่อสังคม  ของนิติบุคคลต่อลูกจ้าง ที่ว่าด้วยค่าตอบแทน และการให้โอกาสแก่ผู้ใช้แรงงาน….. มาตราที่ว่าด้วย สุขภาพ ความปลอดภัย และการชีวอนามัย ของลูกจ้าง เป็นต้น…..ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจ…ของการมีคุณภาพชีวิต  และคุณภาพของการทำงาน.....Quality of Work Life and Productivity   

ศิษย์โดม :  ผมพอเข้าใจความหมายของ…สมดุลชีวิตการทำงานเบื้องต้นแล้วว่า…..เป็นการจัดชีวิตส่วนตัว ให้มีคุณภาพชีวิตการทำงานที่ดี….หรือ การจัดชีวิตการทำงานให้มีคุณภาพชีวิตส่วนตัวที่ดี …. เป็นการทำ balance sheet ของ work demands family  resources  และ family demands work resources !

อาจารย์แดน :….เป็นความสมดุล ของคุณภาพการดำรงชีวิตส่วนตัว/ครอบครัวและชีวิตการทำงาน….. Quality of work life and family life  Balance….ซึ่งมีความเป็นศาสตร์แห่งศิลป์มาก!....สมดุลที่กลมกลืนในเชิงอุปสงค์ อุปทาน (Equilibrium and  harmony)….เป็นทรัพยากรในการใช้ชีวิตส่วนตัว/ครอบครัวและทรัพยากร ของการทำงาน Family resources and work resourcesเพียงพอต่ออุปสงค์ในการใช้ชีวิตครอบครัวและการทำงาน…Family demand and Work demand…มีดุลยภาพบนความเหมาะสม ซึ่งก็ไม่จำเป็นต้อง 50:50….! แต่เป็นดุลยภาพที่ครบทั้ง 3 ด้านคือ….ต้องมีเวลา  มีส่วนร่วม และ มีความพึงพอใจ…กับการมีชีวิตครอบครัว /ส่วนตัว ที่เกื้อหนุนกัน…..หรือการจัดความสมดุลของทรัพยากรกับอุปสงค์

ศิษย์โดม :  องค์กรเป็นผู้กำหนดและจัดหา/จัดเตรียม…ทรัพยากรที่ใช้ในการทำงาน….ผู้บริหารสูงสุดมีผลอย่างไรกับการกำหนด/กำกับ/ควบคุม…นโยบาย การจัดทรัพยากรเพื่อใช้ในการทำงาน….สนับสนุนการได้มาซึ่งความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ของมาสโลว์….ได้อย่างมีประสิทธิภาพได้เพียงใดและอย่างไร?

อาจารย์แดน :….องค์กรต้องมีนโยบายด้านการสนับสนุนบุคลากรขององค์กร….จากผู้บริหารระดับสูง ในแนวตั้งลงมาถึง ผู้จัดการ หัวหน้างาน และพนักงาน….มีการสนับสนุมจากผู้ร่วมงานระดับเดียวกัน…ที่เห็นความสามารถและการเจริญเติบโตของบุคคล…มีการยอมรับในระดับพนักงาน !   เปิดให้เกิดการระดมสมอง ให้มีอิสระทางความคิดและวิธีปฏิบัติที่อยู่ในกรอบการทำงานขององค์กร……มีการยกย่องผู้ที่ทำความดีเสียสละให้กับองค์กร ด้วยการให้เวลาและการทุ่มเทความคิดและความสามารถ….มีการส่งเสริมสร้างความรักองค์กรเพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจในหน้าที่การงาน….ในขณะที่ได้รับการยอมรับจากสังคมรอบข้าง ที่มีผลต่อการดำเนินชีวิตเช่น สังคมของงานและ สังคมของครอบครัว ที่เข้าใจการเสียสละและการทุ่มเท เหล่านั้น ด้วยการรักษาสถานภาพและความเป็นอยู่ ส่วนตัว/ครอบครัว ไว้ได้เป็นอย่างดี ซึ่งเป็น ศาสตร์แห่งปัจเจกศิลป์ของวิถีความสมดุลของมนุษย์ นั่นเอง!

////////////////////////////////////////

17/12/2555


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที