วันที่ 30 บทสรุปความเป็นเลิศของการบริหารองค์กร (6)
ตอนที่ 121
วันที่ 30
บทสรุปความเป็นเลิศของการบริหารองค์กร (6)
อาจารย์แดน : ศีล สมาธิ และปัญญา…..เป็นองค์รวมของมรรคแปด ตามที่ท่านอาจารย์ดอนได้กล่าวในตอนที่แล้ว……การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อใช้กับองค์กรนั้น….ท่านอาจารย์ดอน ได้กล่าวมาหลายตอนแล้ว แต่หลักของ ศีล สมาธิและปัญญา นับเป็นองค์รวมของหลักธรรมที่ง่ายต่อการเข้าใจและปฏิบัติ….เริ่มที่องค์กรต้องสร้าง กัลยาณมิตร แล้วสร้างกิจกรรมการเรียนรู้ แบบโยนิโสนมสิการ……คือการเรียนรู้หลักธรรมด้วยการใช้ความคิดอย่างถูกวิธี
อาจารย์ดอน : ความตั้งใจฟังธรรมก็เป็นการเรียนรู้หลักธรรมวิธีหนึ่ง ผลของการฟังธรรมด้วย…โยนิโสนมสิการ ทำให้เกิดบุญและการอุทิศบุญ…เกิดความรู้และสร้างอุปนิสัยที่ดี….เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ
อาจารย์แดน : การเรีนรู้หลักธรรม อย่างถูกวิธี เป็นการคิดอยู่ภายใน ด้วยความพิจารณาถึงเหตุทั้งกระบวนการอย่างการวินิจ วิเคราะห์ ด้วยปัญญาคิดเป็นระเบียบเป็นกระบวนการ เพื่อให้เห็นถึง สิ่งนั้นๆ หรือปัญหานั้นๆ ตามสภาวะและตามความสัมพันธ์แห่งเหตุและปัจจัย ประมวลความคิดรอบด้านจนกระทั่งสรุปออกมาได้ว่าสิ่งนั้นควรหรือไม่ควร…. ดีหรือไม่ดี….เป็นธรรมที่นำไปสู่ปัญญา….ช่วยการกลั่นกรองข้อมูล…..เป็น ปรโตโฆสะ….. เป็นจุดกำเนิดเกิดของสัมมาทิฐิ คือพูด ฟัง คิด อย่างมีเหตุผลไม่งมงาย ….โดยอาศัยโยนิโสมนสิการช่วยกำกับดูแล
อาจารย์ดอน : เมื่อกล่าวถึงความหมายตามสภาวะ …..โยนิโสมนสิการ เป็นการใช้ความคิดนำทางเพื่อให้ปัญญาทำงาน…..เจตสิก เป็นสภาวะของ อารมณ์ต่างๆ ที่เข้ามาเยี่ยมจิต มีการ เกิดดับ เกิดดับ มี 52 ชนิด มีทั้งอารมณ์ดี /ไม่ดี…อารมณ์ตื่นตัว/เฉยเมย…สดชื่น/ซึมเศร้า…เป็นไปตาม สภาพ/สภาวะของร่างกายและสิ่งแวดล้อมส่วน….ปัญญาเจตสิก เป็นการให้ความสำคัญแก่ความรู้ เพื่อใช้เหตุผลแห่งความจริงตามสภาวะธรรม ไม่หลงผิด ยึดถือความรู้เป็นใหญ่…..สามารถปกครอง สหชาตธรรม ทั้งปวงได้เป็น ลักขณาทิจตุกะ หรือ วิเสสลักษณะ
มีความรู้แจ้ง แห่งสภาวธรรม เป็นลักษณะ ไม่มีความมืด ไม่หลงผิด / ไม่เห็นผิด….เป็นผลมาจากการมีสมาธิ…..ปรโตโฆสะ ต้องมีโยนิโสมนสิการคอย กำกับ จึงจะสามารถรู้ และแยกแยะ…เฉพาะปรโตโฆสะฝ่ายดี คือ ที่เป็นจริง มีเหตุผล เป็นประโยชน์ มีความหวังดี …..ส่วนปรโตโฆสะ ฝ่ายไมดี ที่เป็นเท็จ ไม่มีเหตุผล ไม่เป็นประโยชน์ มุ่งทำลาย ก็ไม่ควรไปยุ่งเกี่ยวแต่อย่างใด
อาจารย์แดน : เจตสิก เป็นธรรมชาติชนิดหนึ่งซึ่งประกอบกับจิต…ปรุงแต่งจิตให้มีความเป็นไปตามสภาพร่างกายและสภาพแวดล้อมต่างๆ อาการที่ประกอบกับจิตนั้นคือ เกิดพร้อมกับจิต….ดับพร้อมกับจิต….มีอารมณ์เดียวกับจิต….และอาศัยวัตถุเดียวกับจิต
อาจารย์ดอน : การบริหารงานในองค์กรโดยใช้หลักไตสิขา…..เพื่อทำให้เกิดความสุขท่ามกลางวัฒนธรรมองค์กร……ก็เหมือนกับการบริหารโดยยึดหลักธรรมะ มาใช้ในการบริหารงานตามที่ได้กล่าวมาแล้วในหลายตอนที่ผ่านมา….หลักไตรสิกขาเป็นเสมือนแก่นของหลักธรรมที่…..ผู้บริหารสามารถนำมาใช้ได้อย่างยั่งยืนไม่ว่าวัฒนธรรมองค์กรของท่านจะเป็นอย่างไร….และการบริหารงานขององค์กรจะเป็นอย่างไร เช่น การบริหารแบบใช้ความขัดแย้งในการทำงานเพื่อให้เกิดการตรวจสอบซึ่งกันและกัน หรือการบริหารแบบใช้แผนกลยุทธ์โดยหวังผลสำเร็จนำก็ตาม…..ต่อไปนี้เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการนำหลักธรรมะมาใช้กับการบริหารเบื้องต้น !......เมื่อกล่าวถึงหลักการบริหารงานก็ต้องกล่าวถึงสิ่งที่สำคัญ 3 ประการ ดังนี้….1. ภาวะผู้นำของผู้บริหาร….2. แบบแนวคิดของการบริหารและวิธีการบริหาร….3. คุณลักษณะ – คุณธรรม - ธรรมะ สำหรับนักบริหาร…..
1. ไตรสิกขากับภาวะผู้นำของผู้บริหาร…..เป็นการนำ ศีล สมาธิและปัญญา มาเป็นสิ่งยึดเหนี่ยว และถือปฏิบัติเป็นกิจวัตร……ผู้นำต้องมีศีลและรักษาศีล…..ศีลเบื้องต้นคือศีล5…ปาณาติปาตาเวรมณี…อทินนาทานาเวรมณี…กาเมสุมิสฉาจาราเวรมณี…มุสาวาทาเวรมณี…และ สุราเมรยมัฌชปะมาทัตถานาเวรมณี…ผู้นำที่ขาดศีล5 สามารถนำไปสู่การขาดความเมตตารุณา มีความประพฤติทุจริต เป็นผู้ที่ไม่น่าคบหาสมาคมด้วย สร้างความเดือนร้อนให้กับผู้ใต้บังคับบัญชาและบริวารทั้งปวง…. เกิดความอยุติธรรมในองค์กร ขาดความเจริญก้าวหน้าของงานที่ทำทั้งหมด…ขาดความสุขภายในองค์กร รวมถึงการดำเนินชีวิต และความเป็นอยู่ของครอบครัวก็ไม่มีความสุขเช่นเดียวกัน… เพราะฉะนั้น ศีล จึงเป็นพื้นฐานของผู้นำที่ดี เพื่อการบริหารงานและการอยู่ร่วมกัน เพื่อทำความดี และรักษาไว้ให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข เป็นที่เคารพนับถือของบริวารและผู้คบค้าสมาคมด้วย
อาจารย์แดน : ภาวะผ้นำของผู้บริหารองค์กรต้องเริ่มจากตัวผู้นำที่ต้องมีไตรสิกขา….และข้อแรกคือต้องมีศีลจึงทำให้การมีภาวะผู้นำ อย่างมั่นคงถาวร!
อาจารย์ดอน : ครับ!...การที่ผู้บริหารมีเพียงศีล5…ก็ช่วยให้องค์กรมีความสุขท่ามกลางวัฒนธรรมองค์กรได้ และที่สำคัญกว่านั้นคือ…จะเกิดความสุขกายสบายใจ สามารถตั้งจิตใจของเราอย่างมีสติ ทำให้เกิดสมาธิ สามารถคิดเรื่องราวรายละเอียด ของงานได้ดีและรอบคอบมากยิ่งขึ้น
อาจารย์แดน : เมื่อเรามีสมาธิ วิเคราะห์เรื่องราวรายละเอียด ของงานได้ดี เราก็สามารถใช้ความรู้หรือปัญญา สร้าง ความเข้าใจในเรื่องนั้นๆอย่างมีเหตุมีผลและใช้เหตุและผลนั้นตัดสินความถูก ผิด เพื่อตัดสินใจว่าสิ่งใดควรทำ สิ่งใดไม่ควรทำ……อาจารย์ดอน ครับ!...มิติของ ศีล ที่มีต่อภาวะผู้นำสำหรับโลกนี้คือแนวทางไหนครับ!
อาจารย์ดอน : การกระทำและการแสดงออกสามารถบอกได้ว่า ผู้นำ/ผู้บริหาร ผู้นั้น มีหลักไตรสิกขา ในข้อใดบ้างและพร่องในข้อใดบ้าง!.....ตามที่ได้เคยยกตัวอย่างผู้นำด้านความคิด การพัฒนาและการสร้างนวัตกรรมทางด้านคอมพิวเตอร์อย่าง…บิล เกตส์…โดยเฉพาะหลักวิธีคิด ปรัญญา และแนวทางการดำเนินธุรกิจของ บิล เกตส์ ที่ว่า …“ เราต้องไม่ลืมตัว ไม่ลืมผู้ทำงานในองค์กร และสิ่งที่สำคัญก็ต้องไม่ลืมโลกภายนอกองค์กร ทุกเวลาที่เราสาละวนกับการแก้ปัญหาธุรกิจของตัวเอง ก็อาจจะลืมผู้ที่สนับสนุนเราอยู่ตลอดเวลา ทั่วทั้งโลก ”…..หลักของ…ศีล…ของบิลเกตส์ แสดงออกในรูปคุณธรรมและจริยธรรม สื่อสารออกมาทาง การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ด้วยการจัดตั้งมูลนิธีมูลค่ากว่า 28 พันล้านเหรียญสหรัฐ ให้ความช่วยเหลือด้าน การพัฒนาทางด้านสุขภาพและอนามัย สนับสนุนทางด้านการเรียนรู้ และความคิดสร้างสรรค์…..เขาทำหน้าที่เป็น แฟมิลี่แมน ที่ดีของครอบครัว…..มิลินด้าผู้เป็นภรรยา กับเกตส์ ตกลงกัน เพื่อบริจาคเงินกว่า 3.6 พันล้านเหรียญให้กับองค์กรอนามัยโลก และกว่า 2 พันล้านเหรียญ เพื่อการพัฒนาด้านการเรียนรู้…มีการจัดตั้งห้องสมุด (Gates Library ) มีการสนับสนุนการฝึกอบรมทางด้านคอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เนท สำหรับชุมชนที่มีรายได้น้อย และโครงการอื่นๆอีกมากมาย ถือได้ว่า เกตส์ เป็นผู้นำทางธุรกิจที่เป็นตัวอย่างที่ดีทางด้านความเมตตากรุณาและการให้ทาน โดยการบริจาคเพื่อการกุศลและกิจกรรมเพื่อสังคมอย่างแท้จริง
นี้คือศีลของผู้อาศัยโลกอยู่ !.....การที่มนุษย์ผู้ซึ่งเป็นผู้นำมีศีลมีธรรม ทำให้องค์กร ทุกระดับ….ปราศจากการเบียดเบียน และการเห็นแก่ตัว เอารัดเอาเปรียบกัน มีการสร้างสมบัติไว้เพื่อหล่อเลี้ยงองค์กร และบุคคลขององค์กร….สังคมภายนอกก็ได้รับผลดีของการบริหารองค์กร…..เมื่อขยายใหญ่โตออกไปก็คือ สังคมของมนุษย์โลก…ผู้คนของทุกสังคมทั่วโลก มีความต้องการ…การมีชีวิตที่สงบสุข ปราศจากทุกข์โทษ ภัย ใดๆ…ศีล จะเป็นเครื่องควบคุมกาย วาจา ของมนุษย์ให้เรียบร้อย ไม่มีการเบียดเบียนทุกชีวิตในสังคม ทำให้เกิดความสุข และความปลอดภัย ……..มนุษย์โลกต้องมีศีล รักษาและยึดถือปฏิบัติ โดยเริ่มจากตนเองและสังคมของตนอย่างมั่นคงจึงจะทำให้เกิดความสุขที่แท้จริงในสังคม
นี้คือศีลกับอนาคตบนฟ้า !.....ศีลจะเป็นเครื่องควบคุมความประพฤติของมนุษย์ในสังคมเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข…ทำให้มนุษย์มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง สมบูรณ์ และมีอายุขัยที่เหมาะสม ไม่มีการทำร้ายซึ่งกันและกัน ทุกคนทำความดี รักษาทรัพย์และใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างเต็มที่…บรรลุเป้าหมายในภพชาตินี้และภพชาติเบื้องหน้า หลุดพ้น หนีห่างจากอบายภูมิ มุ่งสู่สุคติโลกสวรรค์เท่านั้น
///////////////////////////////////////
25/6/2556
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที
- ตอนที่ 1 : กล่าวนำ
- ตอนที่ 2 : "ทำความเข้าใจตนเองว่าอยู่ในฐานะใด....?และพร้อมที่จะทำ....?"
- ตอนที่ 3 : "ทดสอบความเป็นผู้นำ"
- ตอนที่ 4 : "ทดสอบธรรมาภิบาล"
- ตอนที่ 5 : "ท่านเป็นผู้บริหารแบบไหน"
- ตอนที่ 6 : " การฝึกความคิดอย่างมี.....สติ....ของผู้นำ"
- ตอนที่ 7 : "10 ผู้นำ/CEO
คติที่น่านำไปใช้"
- ตอนที่ 8 : "10 ผู้นำ/CEO
(..2..)คติที่น่านำไปใช้ "
- ตอนที่ 9 : "10 ผู้นำ/CEO
(..จบ..)คติที่น่านำไปใช้ "
- ตอนที่ 10 : "บทสรุปและเตรียมตัวเพื่อ
Change in 30 day"
- ตอนที่ 11 : "วันที่ 1 ศาสตร์ของการบริหารงาน (-1-)"
- ตอนที่ 12 : "วันที่ 1 ศาสตร์ของการบริหารงาน (-2-)"
- ตอนที่ 13 : "วันที่ 2 ศาสตร์ของการบริหารงาน (-1-)"
- ตอนที่ 14 : "วันที่ 2 ศาสตร์ของการบริหารงาน (บทแทรกของตอนที่13)"
- ตอนที่ 15 : "วันที่ 2 ศาสตร์ของการบริหารงาน (-2-)"
- ตอนที่ 16 : "วันที่ 2 ศาสตร์ของการบริหารงาน (บทแทรกของตอนที่15-1-)"
- ตอนที่ 17 : "วันที่ 2 ศาสตร์ของการบริหารงาน (บทแทรกของตอนที่15-2-)"
- ตอนที่ 18 : วันที่ 3 ศาสตร์ของการบริหารงาน "การประยุกต์ใช้ ISO (-1-)"
- ตอนที่ 19 : วันที่ 4 ศาสตร์ของการบริหารงาน "การประยุกต์ใช้ ISO (-2-)"
- ตอนที่ 20 : วันที่ 5 ศาสตร์ของการบริหารงาน "การประยุกต์ใช้ ISO (-3-)"
- ตอนที่ 21 : วันที่ 6 ศาสตร์ของการบริหารงาน "การประยุกต์ใช้ ISO (-4-)"
- ตอนที่ 22 : วันที่ 7 ศาสตร์ของการบริหารงาน "การประยุกต์ใช้ ISO (-5-)"
- ตอนที่ 23 : วันที่ 8 ศาสตร์ของการบริหารงาน " PDCA Cycle / Deming Cycle (-1-)"
- ตอนที่ 24 : วันที่ 8 ศาสตร์ของการบริหารงาน " PDCA Cycle / Deming Cycle (-2-)"
- ตอนที่ 25 : วันที่ 8 ศาสตร์ของการบริหารงาน " " PDCA Cycle / Deming Cycle" (-3-)"
- ตอนที่ 26 : วันที่ 8 ศาสตร์ของการบริหารงาน " " PDCA Cycle / Deming Cycle" (-4-)"
- ตอนที่ 27 : วันที่ 8 ศาสตร์ของการบริหารงาน " " PDCA Cycle / Deming Cycle" (-5-)"
- ตอนที่ 28 : วันที่ 8 ศาสตร์ของการบริหารงาน " " PDCA Cycle / Deming Cycle" (-6-)"
- ตอนที่ 29 :
- ตอนที่ 30 : วันที่ 9 ศาสตร์ของการบริหารงาน (2)" สรุป Deming Cycle"
- ตอนที่ 31 : วันที่ 10 ศาสตร์ของการบริหารงาน (1)"5S , Fish Bone Diagram , Pareto Chart , Check Sheet "
- ตอนที่ 32 : วันที่ 10 ศาสตร์ของการบริหารงาน (2)"5S , Fish Bone Diagram , Pareto Chart , Check Sheet "
- ตอนที่ 33 : วันที่ 10 ศาสตร์ของการบริหารงาน (3)"5S , Fish Bone Diagram , Pareto Chart , Check Sheet "
- ตอนที่ 34 : วันที่ 11 ศาสตร์ของการบริหารงาน (1)"QC Story"
- ตอนที่ 35 : วันที่ 11 ศาสตร์ของการบริหารงาน (2)"QC Story"
- ตอนที่ 36 : วันที่ 11 ศาสตร์ของการบริหารงาน (3)Stiglitz vs E. Porter "QC Story"
- ตอนที่ 37 : วันที่ 11 ศาสตร์ของการบริหารงาน (4)Stiglitz vs E. Porter "QC Story"
- ตอนที่ 38 : วันที่ 12 ศาสตร์ของการบริหารงาน (1)(5S -5G- 3M-1J )"QC Story"
- ตอนที่ 39 : วันที่ 12 ศาสตร์ของการบริหารงาน (2)(Paul R. Krugman )"QC Story"
- ตอนที่ 40 : วันที่ 12 ศาสตร์ของการบริหารงาน (3)( QC Step of Change)"QC Story"
- ตอนที่ 41 : วันที่ 12 ศาสตร์ของการบริหารงาน (4)(Problem Solving )"QC Story"
- ตอนที่ 42 : วันที่ 13 ศาสตร์ของการบริหารงาน (1)Strategic Management
- ตอนที่ 43 : วันที่ 13 ศาสตร์ของการบริหารงาน (2)( strategic vocab) Strategic Management
- ตอนที่ 44 : วันที่ 13 ศาสตร์ของการบริหารงาน (3)( Management and Strategic Management ) Strategic Management
- ตอนที่ 45 : วันที่ 14 ศาสตร์ของการบริหารงาน (1)( Theory of Management ) Strategic Management
- ตอนที่ 46 : วันที่ 14 ศาสตร์ของการบริหารงาน (2)( Diagram of Maslows and McGregors Theory ) Strategic Management
- ตอนที่ 47 : วันที่ 14 ศาสตร์ของการบริหารงาน (3)(Theory of Management ) Strategic Management
- ตอนที่ 48 : วันที่ 14 ศาสตร์ของการบริหารงาน (4)(Theory of Management ) Strategic Management
- ตอนที่ 49 : วันที่ 15 ศาสตร์ของการบริหารงาน (1)(Strategy Formulation) Strategic Management
- ตอนที่ 50 : วันที่ 15 ศาสตร์ของการบริหารงาน (2)(Strategy Implementation-1) Strategic Management
- ตอนที่ 51 : วันที่ 15 ศาสตร์ของการบริหารงาน (3)(Strategy Implementation-2) Strategic Management
- ตอนที่ 52 : วันที่ 15 ศาสตร์ของการบริหารงาน (4)(Evaluation and Control -1) Strategic Management
- ตอนที่ 53 : วันที่ 15 ศาสตร์ของการบริหารงาน (5)(Evaluation and Control -2) Strategic Management
- ตอนที่ 54 : วันที่ 16 ภาคปฏิบัติของการบริหารงาน (Practical Management) (BSC & KPI -1)
- ตอนที่ 55 : วันที่ 16 ภาคปฏิบัติของการบริหารงาน (Practical Management) (BSC & KPI -2)
- ตอนที่ 56 : วันที่ 16 ภาคปฏิบัติของการบริหารงาน (Practical Management) (BSC & KPI -3)
- ตอนที่ 57 : วันที่ 16 ภาคปฏิบัติของการบริหารงาน (Practical Management) (BSC & KPI -4)
- ตอนที่ 58 : วันที่ 17 ภาคปฏิบัติของการบริหารงาน (Practical Management)(1), (Case Study -1)
- ตอนที่ 59 : วันที่ 17 ภาคปฏิบัติของการบริหารงาน (Practical Management)(2), (Case Study -2)
- ตอนที่ 60 : วันที่ 17 ภาคปฏิบัติของการบริหารงาน (Practical Management)(3), (Case Study -3)
- ตอนที่ 61 : วันที่ 17 ภาคปฏิบัติของการบริหารงาน (Practical Management)(4), (Case Study -4)
- ตอนที่ 62 : วันที่ 18 ภาคปฏิบัติของการบริหารงาน (Practical Management)(1), (Case Study -5)
- ตอนที่ 63 : วันที่ 18 ภาคปฏิบัติของการบริหารงาน (Practical Management)(2), (Case Study -6)
- ตอนที่ 64 : วันที่ 18 ภาคปฏิบัติของการบริหารงาน (Practical Management)(3), (Case Study -7)
- ตอนที่ 65 : วันที่ 18 ภาคปฏิบัติของการบริหารงาน (Practical Management)(4), (Case Study -8)
- ตอนที่ 66 : วันที่ 19 ภาคปฏิบัติของการบริหารงาน (Strategy Plan)(1), (Case Study -9)
- ตอนที่ 67 : วันที่ 19 ภาคปฏิบัติของการบริหารงาน (Strategy Plan)(2), (Case Study -10)
- ตอนที่ 68 : วันที่ 19 ภาคปฏิบัติของการบริหารงาน (Strategy Plan)(3), (Case Study -11)
- ตอนที่ 69 : วันที่ 20 ภาคปฏิบัติของการบริหารงาน (Strategy Plan)(4), (Case Study -12)
- ตอนที่ 70 : วันที่ 20 ภาคปฏิบัติของการบริหารงาน (Strategy Plan)(5)(Case Study -13)
- ตอนที่ 71 : วันที่ 20 ภาคปฏิบัติของการบริหารงาน (Strategy Plan)(6), (Case Study -14)
- ตอนที่ 72 : วันที่ 20 ภาคปฏิบัติของการบริหารงาน (Strategy Plan)(7), (Case Study -15)
- ตอนที่ 73 : วันที่ 21 ภาคปฏิบัติของการบริหารงาน (Strategy Plan)(8), (Case Study -16)
- ตอนที่ 74 : วันที่ 21 ภาคปฏิบัติของการบริหารงาน (Strategy Plan)(9), (Case Study -17)
- ตอนที่ 75 : วันที่ 21 ภาคปฏิบัติของการบริหารงาน (Strategy Plan)(10), (Case Study -18)
- ตอนที่ 76 : วันที่ 21 ภาคปฏิบัติของการบริหารงาน (Strategy Plan)(11), (Case Study -19)
- ตอนที่ 77 : วันที่ 21 ภาคปฏิบัติของการบริหารงาน (Strategy Plan)(จบ)
- ตอนที่ 78 : วันที่ 22 ภาคประยุกต์แผนเชิงกลยุทธ์ (Applied Strategy )(1)
- ตอนที่ 79 : วันที่ 22 ภาคประยุกต์แผนเชิงกลยุทธ์ (Applied Strategy )(2)
- ตอนที่ 80 : วันที่ 22 ภาคประยุกต์แผนเชิงกลยุทธ์ (Applied Strategy )(3)
- ตอนที่ 81 : วันที่ 22 ภาคประยุกต์แผนเชิงกลยุทธ์ (Applied Strategy )(4)
- ตอนที่ 82 : วันที่ 22 ภาคประยุกต์แผนเชิงกลยุทธ์ (Applied Strategy )(5)
- ตอนที่ 83 : วันที่ 22 ภาคประยุกต์แผนเชิงกลยุทธ์ (Applied Strategy )(6)
- ตอนที่ 84 : วันที่ 23 ภาคประยุกต์แผนเชิงกลยุทธ์ (Applied Strategy )(1)
- ตอนที่ 85 : วันที่ 23 ภาคประยุกต์แผนเชิงกลยุทธ์ (Applied Strategy )(2)
- ตอนที่ 86 : วันที่ 23 ภาคประยุกต์แผนเชิงกลยุทธ์ (Applied Strategy )(3)
- ตอนที่ 87 : วันที่ 23 ภาคประยุกต์แผนเชิงกลยุทธ์ (Applied Strategy )(4)
- ตอนที่ 88 : วันที่ 24 ภาคประยุกต์แผนเชิงกลยุทธ์ (Applied Strategy )(1)
- ตอนที่ 89 : วันที่ 24 ภาคประยุกต์แผนเชิงกลยุทธ์ (Applied Strategy )(2)
- ตอนที่ 90 : วันที่ 24 ภาคประยุกต์แผนเชิงกลยุทธ์ (Applied Strategy )(3)
- ตอนที่ 91 : วันที่ 24 ภาคประยุกต์แผนเชิงกลยุทธ์ (Applied Strategy )(4)
- ตอนที่ 92 : วันที่ 25 ภาคประยุกต์แผนเชิงกลยุทธ์ (Applied Strategy )(1)
- ตอนที่ 93 : วันที่ 25 Buddhism and Scientific Management (2)
- ตอนที่ 94 : วันที่ 25 Buddhism and Scientific Management (3)
- ตอนที่ 95 : วันที่ 25 Buddhism and Scientific Management (4)
- ตอนที่ 96 : วันที่ 26 Emptiness Management (1)
- ตอนที่ 97 : วันที่ 26 Emptiness Management (2)
- ตอนที่ 98 : วันที่ 26 Emptiness Management (3)
- ตอนที่ 99 : วันที่ 26 Emptiness Management (4)
- ตอนที่ 100 : วันที่ 26 Emptiness Management (5)
- ตอนที่ 101 : วันที่ 27 การบริหารงานแบบปล่อยวาง (1)
- ตอนที่ 102 : วันที่ 27 การบริหารงานแบบปล่อยวาง (2)
- ตอนที่ 103 : วันที่ 27 การบริหารงานแบบปล่อยวาง (3)
- ตอนที่ 104 : วันที่ 27 การบริหารแบบปล่อยวาง(4)
- ตอนที่ 105 : วันที่ 27 การบริหารแบบปล่อยวาง(5)
- ตอนที่ 106 : วันที่ 28 การบริหาร..ความสุขบนโลกของจักรวาล(1)
- ตอนที่ 107 : วันที่ 28 การบริหาร..ความสุขบนโลกของจักรวาล(2)
- ตอนที่ 108 : วันที่ 28 การบริหาร..ความสุขบนโลกของจักรวาล(3)
- ตอนที่ 109 : วันที่ 28 การบริหาร..ความสุขบนโลกของจักรวาล(4)
- ตอนที่ 110 : วันที่ 28 การบริหาร..ความสุขบนโลกของจักรวาล(5)
- ตอนที่ 111 : วันที่ 28 การบริหาร..ความสุขบนโลกของจักรวาล(6)
- ตอนที่ 112 : วันที่ 28 การบริหาร..ความสุขบนโลกของจักรวาล(7)
- ตอนที่ 113 : วันที่ 28 การบริหาร..ความสุขบนโลกของจักรวาล(8)
- ตอนที่ 114 : วันที่ 29 ความสุขท่ามกลางวัฒนธรรมองค์กร (1)
- ตอนที่ 115 : วันที่ 29 ความสุขท่ามกลางวัฒนธรรมองค์กร (2)
- ตอนที่ 116 : วันที่ 29 ความสุขท่ามกลางวัฒนธรรมองค์กร (3)
- ตอนที่ 117 : วันที่ 29 ความสุขท่ามกลางวัฒนธรรมองค์กร (4)
- ตอนที่ 118 : วันที่ 29 ความสุขท่ามกลางวัฒนธรรมองค์กร (5)
- ตอนที่ 119 : วันที่ 29 ความสุขท่ามกลางวัฒนธรรมองค์กร (6)
- ตอนที่ 120 : วันที่ 30 บทสรุปความเป็นเลิศของการบริหารองค์กร (1)
- ตอนที่ 121 : ตอนที่ 118 วันที่ 30 บทสรุปความเป็นเลิศของการบริหารองค์กร (2)
- ตอนที่ 122 : วันที่ 30 บทสรุปความเป็นเลิศของการบริหารองค์กร (3)
- ตอนที่ 123 : วันที่ 30 บทสรุปความเป็นเลิศของการบริหารองค์กร (4)
- ตอนที่ 124 : วันที่ 30 บทสรุปความเป็นเลิศของการบริหารองค์กร (5)
- ตอนที่ 125 : วันที่ 30 บทสรุปความเป็นเลิศของการบริหารองค์กร (6)
- ตอนที่ 126 : วันที่ 30 บทสรุปความเป็นเลิศของการบริหารองค์กร (7)
- ตอนที่ 127 : วันที่ 30 บทสรุปความเป็นเลิศของการบริหารองค์กร (8)
- ตอนที่ 128 : วันที่ 30 บทสรุปความเป็นเลิศของการบริหารองค์กร (จบ)