วันที่ 30 บทสรุปความเป็นเลิศของการบริหารองค์กร (8)
ตอนที่ 123
วันที่ 30
บทสรุปความเป็นเลิศของการบริหารองค์กร (7)
อาจารย์แดน : บุญบารมี……เป็นการสร้างกุศลธรรมอย่างแน่วแน่และต่อเนื่องตามลำดับของ…ความตั้งใจและการปฏิบัติ…คือ การให้ทาน การรักษาศีล และการเจริญภาวนา…..ปัญญาบารมี เป็นความรอบรู้ อย่าง มีเหตุ มีผล เพื่อเข้าใจในสภาวะความเป็นจริงของสิ่งทั้งปวงที่ปรากฏในโลก ที่มากระทบผัสสะทั้ง6 เป็นหนทางไปสู่การกำจัดกิเลสอาสวะให้หมดสิ้นไปจากใจ…..ก่อให้เกิด“ นิรามิสสุข ”
อาจารย์ดอน : ปัญญาบารมี…ทำให้มนุษย์มีความรู้อย่างถ่องแท้ในตัวตนในธรรมชาติ….ไม่หลงตน…เกิดความสว่างหลุดพ้น จากความลุ่มหลง มัวเมา หลงผิด ในกิเลสทั้งปวง มุ่งสู่ทางแห่งความสว่างไสว และความเจริญรุ่งเรืองของชีวิต….ที่สุดคือความสงบและสุขที่ยั่งยืน
ปัญญาบารมี…ของมนุษย์เกิดได้สามระดับ…..ระดับเริ่มต้นคือ สุตมยปัญญา ที่เกิดจากการจดจำ ท่องจำ และการกระทำจนเคยชิน….ระดับกลาง มีการพัฒนาจนสามารถคิด หาเหตุและผลมาอ้างอิงในความคิดเป็น จินตมยปัญญา…..ระดับเจริญปัญญา ด้วยตนเองเกิดจากการมีสติเพื่อให้จิตมีสมาธิและทำภาวนา เป็นปัญญาที่รู้ในเหตุ และผล อย่างแท้จริง คือ ภาวนามยปัญญา….ซึ่งต้องอาศัยการอบรม ฝึกฝน การพร่ำสอนจากอริยบุคคล และด้วยความเพียร มานะ ของตนเองเป็นที่ตั้ง…… การสร้างปัญญาบารมี สามารถเริ่มจากการกราบ ครูบาอาจารย์ที่เป็นอริยบุคคล และอริยสงฆ์ ซึ่งเป็นผู้รู้จริงและรู้แจ้ง ในสัจธรรม ในธรรม ผู้นำพาความสว่าง ในการเบิกธรรม การเตรียมจิตให้กระจ่างในธรรมญาณ
อาจารย์แดน : บารมีคือ ความดีที่พึงบำเพ็ญ เพื่อยกระดับจิตใจของมนุษย์ จากปุถุชนเป็นอริยชนมี 6 ประการ คือ…..ทานบารมี เป็นการสร้างบุญด้วยการให้สิ่งที่ผู้อื่นมีความต้องการหรือขาดแคลน –ศีลบารมี การยึดถือปฏิบัติตามหลักของพุทธธรรม –ขันติบารมี เป็นการยึดมั่นกับสิ่งดีงาม อดทนต่อการกระทำที่ผิดศีลและสิ่งที่ไม่เป็นธรรมทั้งปวง เพื่อสู่ความสุขกายและจิต –วิริยะบารมี ความตั้งมั่นในการรักษาและทำความดีไม่ย่อท้อ ทั้งการปฏิบัติดี การพูดดี มีน้ำใจดีงาม ที่สุดคือเป็นพลเมืองดีของสังคม–ฌานบารมี เป็นการถือครองสติ รักษาศีล เพื่อเจริญสมาธิ -ปัญญาบารมี มีความรู้ที่ถูกต้องในสิ่งที่เห็น ที่เป็น ที่สัมผัส มีความศรัทธา และปฏิบัติอย่างแท้จริงในความรู้ เห็นเป็นสัจจธรรม เพื่อการครองสติ และสร้างความเจริญทางปัญญา เพื่อประโยชน์และสันติสุขของมวลมนุษย์
อาจารย์ดอน : ความละเอียดอ่อนของระดับปัญญาบารมี….เป็นไปตามสภาพทางผัสสะ…..ทั้งที่เป็นปฏิฆะสัมผัส – คือ สิ่ง/อารมณ์ ที่มากระทบอย่างปกติ…และที่เป็นอธิวจนะสัมผัส – คือเวทนาและตัณหาที่เป็นผลจากปฏิฆะสัมผัส เมื่อเข้าถึงจิต….. ขึ้นกับ การรักษาปกติภาวะของตน สภาวะแห่งจิต และการเจริญปัญญา….ของสัปปุริสหรือสัตบุรุษ จนถึงอริยบุคคล….จึงจะมีชัยต่อโลกทั้งสี่ได้!
ศิษย์โดม : ท่านอาจารย์ครับ….ความปกติของ อริยบุคคล และสัตบุรุษ….ทำไมจึงต้องชนะโลกทั้งสี่….ผู้นำ/ผู้บริหารองค์กร….สามารถเป็นได้ไหมครับ!
อาจารย์ดอน : สัตบุรุษ และ สัปปุริส หมายถึง….ผู้ที่มีศีล มีธรรม เป็นบุคคลที่ประพฤติ ปฏิบัติดี ทั้ง ทางกาย วาจา และใจ ส่วน…..อริยบุคคล หมายถึง ผู้เจริญ ผู้ที่ประเสริฐ และไกลจากกิเลส เช่น อริยสงฆ์ ผู้บรรลุธรรม บรรพชิต นักบวช หรือฆราวาสที่ได้พบผู้แนะนำคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ถูกต้องและนำมาปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ เรียกว่า พบสัตบุรุษ…เมื่อนำมาปฏิบัติก็ย่อม เอาชนะผัสสะได้ เป็นการชนะตนเองและโลกทั้งสี่….คือเอาชนะปัจจุบันโลก หรือมนุษย์โลก เทวโลก พรหมโลก และมารโลก นั่นเอง !
ศิษย์โดม : เราสามารถนำบารมีพึงปฏิบัติของของคนดี….มาประยุกต์ ใช้กับหลักการบริหารเพื่อความสำเร็จและความเป็นเลิศได้อย่างไรครับ!
อาจารย์แดน : อาจารย์ถือว่า….เป็นหลักกว้างๆในการประยุกต์จะเป็น….ปุถุชนหรืออริยชน…..ก็สุดแต่การพึงบำเพ็ญบารมีทั้ง 6 ประการ….ของผู้นำ / ผู้บริหาร….แต่ละบุคคล ในองค์กร ที่ปฏิบัติ ดังนี้
-
ทานบารมี….ผู้นำ / ผู้บริหาร ต้องเป็นบุคคลที่มีการให้ทาน….เป็น อามิสทาน คือ ให้สิ่งของเป็นทาน ธรรมทาน คือ ให้ธรรมะเป็นทาน และ วิทยาทาน คือ ให้ความรู้เป็นทาน อภัยทาน คือ ให้อภัยไม่ถือโทษโกรธเคืองเป็นทาน….ให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา ผู้ร่วมงาน และสมาชิกในองค์กร หรือบุคคลอื่นที่เห็นสมควรจะได้รับ…..การให้ต้องมีวาระ โอกาส และเวลา ที่เหมาะสม ซึ่งผู้รับทานนั้นมีความต้องการ หรือขาดแคลน
-
ศีลบารมี….ผู้นำ / ผู้บริหาร ต้องเป็นบุคคลที่มีการประพฤติตนอยู่ในทำนองครองธรรมด้วยการใช้….คุณธรรม จริยธรรม ในการบริหารองค์กร….เป็นการใช้หลักธรรมปฏิบัติ อย่างเสมอภาคต่อพนักงาน และผู้บริหาร ทุกระดับ ได้ผลดีทั้งคุณภาพและประสิทธิภาพสูง……:ซึ่งเป็นคุณลักษณะความเป็นผู้นำที่ดี (Good Leadership) ก่อให้เกิด ความเจริญรุ่งเรือง สันติสุข และความมั่นคงถาวรขององค์กร!......หลักธรรมเบื้องต้นตามที่ได้เคยกล่าวมาแล้ว คือ หลักธรรม 4 ประการได้แก่…หลักการครองตน…หลักการครองงาน…หลักการครองคน และ หลักธรรมาภิบาล เป็นต้น
-
ขันติบารมี ของ ผู้นำ / ผู้บริหาร…..คือ การมีความอดทน อดกลั้น ต่อสิ่งที่ไม่ดีทั้งปวงและอดทนต่อการกระทำความดีทั้งปวง….ด้วยหลักเบื้องต้นของการทำงานคือ ความอดทนและอดกลั้น….ความอดทน คือ ความความตั้งใจแน่วแน่ในการทำงาน ด้วยความสม่ำเสมอเป็นระยะเวลานาน ไม่ย่อท้อ แม้ประสบปัญหาและอุปสรรคใดๆก็ตาม!…..ความอดกลั้น คือ การข่มใจในเวลาที่มีเหตุการณ์หรือเผชิญกับปัญหาต่างๆ…..รวมถึงกิเลสที่เข้ามาครอบงำรบกวนสมาธิของเรา…..ซึ่งอาจจะทำให้ไม่เกิดความเสียหายหรือเป็นต้นเหตุแห่งการทำความผิด หรือทุจริตในหน้าที่….. จิตใจที่มี ความเข้มแข็ง และหนักแน่นสามารถที่จะยืนหยัดต่อสู้กับอุปสรรค ทุกสภาพและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้….ในที่นี้รวมถึงความอดทนและอดกลั้นต่อความเจ็บป่วย ความลำบากตรากตรำ โดยไม่แสดงอาการใดๆออกมา!
-
วิริยะบารมี ของ ผู้นำ / ผู้บริหาร….. คือการถึงพร้อมด้วยความพยายาม ความไม่ย่อท้อในการทำความดี ความชอบ…..ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว วิริยะ…อยู่ในหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาในหมวด….อิทธิบาท 4 (ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา) ซึ่งเป็น คุณธรรมที่นำไปสู่จุดมุ่งหมายและความสำเร็จที่ได้บำเพ็ญมา! ผู้นำ / ผู้บริหาร ที่ต้องการความเป็นเลิศในการปกครองการบริหารองค์กร….ควรเริ่มต้น ด้วยการมี ความเพียร ความพยายาม และความกล้าที่จะใช้ภาวะความเป็นผู้นำ ต่อองค์กรของตนเอง…. และใช้เป็นแนวทางให้ดำเนินงานเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จตามประสงค์
ศิษย์โดม : ผู้นำ / ผู้บริหาร…..จำเป็นต้องปฏิบัติตนให้เป็นตัวอย่างที่ดี ต่อพนังงานและเจ้าหน้าที่ทุกระดับในองค์กร…ลงมือปฏิบัติงานด้วยความพากเพียรพยายาม ไม่ย่อท้อ มีความกล้าหาญ ที่จะเผชิญกับความทุกข์ยาก ปัญหาและอุปสรรคที่จะเกิดขึ้น จนกว่าจะบรรลุเป้าหมายและผลความสำเร็จของงานและนำพาความเจริญก้าวหน้ามาสู่องค์กรให้ได้!
อาจารย์แดน : บารมี ข้อที่ 5 คือ…..สมาธิบารมี คือความถึงพร้อมด้วยสติ ความสงบ การรู้ตัว…ว่าขณะนี้เราเป็น ผู้นำ/ผู้บริหาร….องค์กร เราต้องทำอะไร/ทำอย่างไร/ …..จึงเกิด สมาธิ ตามที่ได้ตั้งใจไว้ ตั้งมั่นไว้ วางแผนไว้ เพื่อให้ใจสงบ……จนเกิดตัว..สติ..ที่เป็น เจตสิกสามารถทำงานอย่างอัตโนมัติ…มีหน้าที่ดึงความจำของสัญญามากระทบผัเพื่อให้อยู่กับปัจจุบัน…..ตามมรรค8…..สุดแล้วแต่ที่สติจะแสดง ความจริง หรือความเห็นที่ชอบออกมา….ตามระดับของ สมถะภาวนา คือฝึกให้เกิดความสงบ..…วิปัสสนาภาวนา คือฝึกให้เกิดปัญญาเท่าทันตัวตนและความจริง…..ท่านอาจารย์ดอนจะช่วยเสริมในข้อนี้ได้ดี !
อาจารย์ดอน : สมาธิ คือการตั้งมั่นของจิต…. เพราะฉะนั้น การฝึกสมาธิก็คือการปฏิบัติเพื่อ ทำจิตให้นิ่ง จิตเมื่อหยุดนิ่งก็ทำให้เกิด ศูนย์รวมของ…พลังสมองที่ควบคุมความคิดและการกระทำ….ตามที่ปรารถนา สมาธิที่ใช้ในการบริหารองค์กร มี 3 ระดับ ได้แก่…..ขณิกสมาธิ สมาธิขั้นต้นที่ใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน….เป็นสมาธิที่ทุกคนในองค์กรต้องมีเพื่อใช้ในการทำงานตามหน้าที่…..เป็นจุดเริ่มของการเจริญวิปัสสนา ซึ่งทุกคนในองค์กรจำเป็นต้องมี….อุปจารสมาธิ สมาธิที่มีการตั้งมั่นของจิตจนสามารถกำจัดเครื่องกั้นความดีไม่เข้าถึงจิตคือนิวรณ์5….ผู้นำ/ผูบริหาร ผู้สร้างความเจริญให้กับตน….จนสามารถสร้างความเจิญให้กับองค์กรได้ และเป็นก้าวแรกที่เข้าสู่ อัปปนาสมาธิ
ศิษย์โดม : ท่านอาจารย์ช่วยขยายนิวรณ์ที่ ผู้นำ/ผูบริหาร จำเป็นต้องกำจัด….ด้วยครับ!
อาจารย์ดอน : นิวรณ์ เริ่มที่…การหลงใหลยึดมั่น ถือมั่น กับความพอใจใน กามฉันทะ….ซึ่งเมื่อมัวเมาลุ่มหลงแล้วย่อมทำให้เกิดความไม่พอใจในสิ่งที่ทำให้ตนไม่สมปรารถนา เสมือนมีบ่วงกรรมคอยคล้องคอ อยู่ตลอดเวลาจนทำให้เกิดความ พยาบาท อาฆาต ….ผู้นำ/ผูบริหาร จำเป็นต้องตัดทั้งสองประการนี้ให้หลุดออกจากวงจรชีวิตการบริหารองค์กร ให้ได้…..ผลที่เกิดขึ้นทำให้ไม่หลงใหลไปกับคนที่ประจบสอพอ ดีแต่พูด ใส่ร้ายผู้อื่น พูดเอาอกเอาใจเก่ง โยนความผิดให้ผู้อื่น ไม่ค่อยทำงานให้เกิดความสำเร็จได้เท่าที่ควร ก่อให้เกิดความแตกแยกภายในองค์กร….ข้อที่สำคัญของผู้นำคือต้องกำจัด…ถีนมิทธะ คือ การขาดพลังขับเคลื่อน ในการสร้างกำลังใจให้กับสมาชิกขององค์กร ความสิ้นหวัง ท้อแท้ในการต่อสู้กับอุปสรรคทั้งปวงในการพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ…ผู้นำ/ผู้บริหาร ต้องสามารถปฏิบัติตนให้ เป็นตัวอย่างของบุคลากรขององค์กรได้…..สองประการสุดท้ายคือ วิจิกิจฉา คือความรวนเรไม่แน่นอน ขาดความตั้งใจ มั่นใจ ในการดำรงอยู่ ตั้งอยู่ และปฏิบัติการใดๆ พร้อมกับ อุทธัจจะกุกกุจจะ คือการขาดความคิดที่มั่นคง ฟุ้งซ่าน ขาดความสุขุมรอบคอบ…..อุปจารสมาธิ เป็นการเจริญกรรมฐาน ที่ทำให้จิตตั้งมั่น โดยละนิวรณ์ทั้ง5 ได้ ถ้ามองในแง่การกำหนดอารมณ์กรรมฐาน ก็เป็นช่วงที่เกิดปฏิภาคนิมิต คือพร้อมจะแน่วแน่โดยสมบูรณ์ คือใกล้จะถึงฌาน ย่างเข้าสู่ อัปปนาสมาธิ หรือองค์แห่งฌาน เป็นสมาธิที่แน่วแน่สงบนิ่งโดยแท้ (attainment concentration) เป็นผลสำเร็จของการเจริญสมาธิ
ศิษย์โดม : ท่านอาจารย์ครับ…การเจริญสมาธิ ต่างจากการเจริญสติปัญญา อย่างไร ครับ!
อาจารย์ดอน : สองประการนี้ดูเหมือนคล้ายกันแต่มีความแตกต่างกัน…..เริ่มที่เข้าใจใน ไตรลักษณ์ (ได้เคยกล่าวใน Emptiness Management ) ซึ่งเป็น ธรรมชาติ ของสรรพสิ่ง มีความธรรมดาของลักษณะที่ปรากฏอยู่ในโลกมนุษย์ เป็นสังขารธรรม มี 3 ประการ อนิจจตา….หรืออนิจจลักษณะ….คือความไม่เที่ยงของขันธ์….สิ่งที่เกิดกระทบกับขันธ์…อาการที่เกิดขึ้นคงอยู่และเสื่อมลงกับขันธ์….
ทุกขตา….เป็นทุกขลักษณะ…..เป็นทุกข์ของขันธ์ที่ถูกเปลี่ยนแปลงไป ทำให้เกิดการขัดแย้งกับความรู้สึกจนเกิดความไม่คงที่ของขันธ์และปัจจัยปรุงแต่…..
อนัตตตา…..เป็นอนัตตลักษณะ….การไม่มีตัวตน หลุดจากขันธ์ ไม่มีสิ่งกระทบขันธ์ จึงไม่ทุกข์และไม่มีอำนาจจึงไม่มีผลที่จะมาพึ่งพิงขันธ์…….เมื่อเข้าใจไตรลักษณ์แล้ว….มาเข้าใจ เจตสิก ที่ประกอบกับจิตอยู่ เกิดในจิต มีความเป็นไปต่อเนื่องกับจิต ปรุงแต่งประกอบกับจิต ด้วยลักษณะการ เกิดและดับ พร้อมกับจิต…อาศัยอยู่และมีอารมณ์ ร่วมเดียวกับจิต…..สติถือว่า เป็นเจตสิก ทำหน้าที่ดึงความจำ ที่เป็นทั้งความจริงและความเห็น ในรูปของสัญญาในจิตออกมา….เมื่อรับกระทบกับผัสสะ ก็สามารถดึงความจริงและความเห็นเหล่านั้น ออกมากระจ่าง แจ่มแจ้ง ได้สะดวก กว่าผู้ที่ไม่มีสัญญาในเจตสิก
///////////////////////////////////////
2/1/2557
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที
- ตอนที่ 1 : กล่าวนำ
- ตอนที่ 2 : "ทำความเข้าใจตนเองว่าอยู่ในฐานะใด....?และพร้อมที่จะทำ....?"
- ตอนที่ 3 : "ทดสอบความเป็นผู้นำ"
- ตอนที่ 4 : "ทดสอบธรรมาภิบาล"
- ตอนที่ 5 : "ท่านเป็นผู้บริหารแบบไหน"
- ตอนที่ 6 : " การฝึกความคิดอย่างมี.....สติ....ของผู้นำ"
- ตอนที่ 7 : "10 ผู้นำ/CEO
คติที่น่านำไปใช้"
- ตอนที่ 8 : "10 ผู้นำ/CEO
(..2..)คติที่น่านำไปใช้ "
- ตอนที่ 9 : "10 ผู้นำ/CEO
(..จบ..)คติที่น่านำไปใช้ "
- ตอนที่ 10 : "บทสรุปและเตรียมตัวเพื่อ
Change in 30 day"
- ตอนที่ 11 : "วันที่ 1 ศาสตร์ของการบริหารงาน (-1-)"
- ตอนที่ 12 : "วันที่ 1 ศาสตร์ของการบริหารงาน (-2-)"
- ตอนที่ 13 : "วันที่ 2 ศาสตร์ของการบริหารงาน (-1-)"
- ตอนที่ 14 : "วันที่ 2 ศาสตร์ของการบริหารงาน (บทแทรกของตอนที่13)"
- ตอนที่ 15 : "วันที่ 2 ศาสตร์ของการบริหารงาน (-2-)"
- ตอนที่ 16 : "วันที่ 2 ศาสตร์ของการบริหารงาน (บทแทรกของตอนที่15-1-)"
- ตอนที่ 17 : "วันที่ 2 ศาสตร์ของการบริหารงาน (บทแทรกของตอนที่15-2-)"
- ตอนที่ 18 : วันที่ 3 ศาสตร์ของการบริหารงาน "การประยุกต์ใช้ ISO (-1-)"
- ตอนที่ 19 : วันที่ 4 ศาสตร์ของการบริหารงาน "การประยุกต์ใช้ ISO (-2-)"
- ตอนที่ 20 : วันที่ 5 ศาสตร์ของการบริหารงาน "การประยุกต์ใช้ ISO (-3-)"
- ตอนที่ 21 : วันที่ 6 ศาสตร์ของการบริหารงาน "การประยุกต์ใช้ ISO (-4-)"
- ตอนที่ 22 : วันที่ 7 ศาสตร์ของการบริหารงาน "การประยุกต์ใช้ ISO (-5-)"
- ตอนที่ 23 : วันที่ 8 ศาสตร์ของการบริหารงาน " PDCA Cycle / Deming Cycle (-1-)"
- ตอนที่ 24 : วันที่ 8 ศาสตร์ของการบริหารงาน " PDCA Cycle / Deming Cycle (-2-)"
- ตอนที่ 25 : วันที่ 8 ศาสตร์ของการบริหารงาน " " PDCA Cycle / Deming Cycle" (-3-)"
- ตอนที่ 26 : วันที่ 8 ศาสตร์ของการบริหารงาน " " PDCA Cycle / Deming Cycle" (-4-)"
- ตอนที่ 27 : วันที่ 8 ศาสตร์ของการบริหารงาน " " PDCA Cycle / Deming Cycle" (-5-)"
- ตอนที่ 28 : วันที่ 8 ศาสตร์ของการบริหารงาน " " PDCA Cycle / Deming Cycle" (-6-)"
- ตอนที่ 29 :
- ตอนที่ 30 : วันที่ 9 ศาสตร์ของการบริหารงาน (2)" สรุป Deming Cycle"
- ตอนที่ 31 : วันที่ 10 ศาสตร์ของการบริหารงาน (1)"5S , Fish Bone Diagram , Pareto Chart , Check Sheet "
- ตอนที่ 32 : วันที่ 10 ศาสตร์ของการบริหารงาน (2)"5S , Fish Bone Diagram , Pareto Chart , Check Sheet "
- ตอนที่ 33 : วันที่ 10 ศาสตร์ของการบริหารงาน (3)"5S , Fish Bone Diagram , Pareto Chart , Check Sheet "
- ตอนที่ 34 : วันที่ 11 ศาสตร์ของการบริหารงาน (1)"QC Story"
- ตอนที่ 35 : วันที่ 11 ศาสตร์ของการบริหารงาน (2)"QC Story"
- ตอนที่ 36 : วันที่ 11 ศาสตร์ของการบริหารงาน (3)Stiglitz vs E. Porter "QC Story"
- ตอนที่ 37 : วันที่ 11 ศาสตร์ของการบริหารงาน (4)Stiglitz vs E. Porter "QC Story"
- ตอนที่ 38 : วันที่ 12 ศาสตร์ของการบริหารงาน (1)(5S -5G- 3M-1J )"QC Story"
- ตอนที่ 39 : วันที่ 12 ศาสตร์ของการบริหารงาน (2)(Paul R. Krugman )"QC Story"
- ตอนที่ 40 : วันที่ 12 ศาสตร์ของการบริหารงาน (3)( QC Step of Change)"QC Story"
- ตอนที่ 41 : วันที่ 12 ศาสตร์ของการบริหารงาน (4)(Problem Solving )"QC Story"
- ตอนที่ 42 : วันที่ 13 ศาสตร์ของการบริหารงาน (1)Strategic Management
- ตอนที่ 43 : วันที่ 13 ศาสตร์ของการบริหารงาน (2)( strategic vocab) Strategic Management
- ตอนที่ 44 : วันที่ 13 ศาสตร์ของการบริหารงาน (3)( Management and Strategic Management ) Strategic Management
- ตอนที่ 45 : วันที่ 14 ศาสตร์ของการบริหารงาน (1)( Theory of Management ) Strategic Management
- ตอนที่ 46 : วันที่ 14 ศาสตร์ของการบริหารงาน (2)( Diagram of Maslows and McGregors Theory ) Strategic Management
- ตอนที่ 47 : วันที่ 14 ศาสตร์ของการบริหารงาน (3)(Theory of Management ) Strategic Management
- ตอนที่ 48 : วันที่ 14 ศาสตร์ของการบริหารงาน (4)(Theory of Management ) Strategic Management
- ตอนที่ 49 : วันที่ 15 ศาสตร์ของการบริหารงาน (1)(Strategy Formulation) Strategic Management
- ตอนที่ 50 : วันที่ 15 ศาสตร์ของการบริหารงาน (2)(Strategy Implementation-1) Strategic Management
- ตอนที่ 51 : วันที่ 15 ศาสตร์ของการบริหารงาน (3)(Strategy Implementation-2) Strategic Management
- ตอนที่ 52 : วันที่ 15 ศาสตร์ของการบริหารงาน (4)(Evaluation and Control -1) Strategic Management
- ตอนที่ 53 : วันที่ 15 ศาสตร์ของการบริหารงาน (5)(Evaluation and Control -2) Strategic Management
- ตอนที่ 54 : วันที่ 16 ภาคปฏิบัติของการบริหารงาน (Practical Management) (BSC & KPI -1)
- ตอนที่ 55 : วันที่ 16 ภาคปฏิบัติของการบริหารงาน (Practical Management) (BSC & KPI -2)
- ตอนที่ 56 : วันที่ 16 ภาคปฏิบัติของการบริหารงาน (Practical Management) (BSC & KPI -3)
- ตอนที่ 57 : วันที่ 16 ภาคปฏิบัติของการบริหารงาน (Practical Management) (BSC & KPI -4)
- ตอนที่ 58 : วันที่ 17 ภาคปฏิบัติของการบริหารงาน (Practical Management)(1), (Case Study -1)
- ตอนที่ 59 : วันที่ 17 ภาคปฏิบัติของการบริหารงาน (Practical Management)(2), (Case Study -2)
- ตอนที่ 60 : วันที่ 17 ภาคปฏิบัติของการบริหารงาน (Practical Management)(3), (Case Study -3)
- ตอนที่ 61 : วันที่ 17 ภาคปฏิบัติของการบริหารงาน (Practical Management)(4), (Case Study -4)
- ตอนที่ 62 : วันที่ 18 ภาคปฏิบัติของการบริหารงาน (Practical Management)(1), (Case Study -5)
- ตอนที่ 63 : วันที่ 18 ภาคปฏิบัติของการบริหารงาน (Practical Management)(2), (Case Study -6)
- ตอนที่ 64 : วันที่ 18 ภาคปฏิบัติของการบริหารงาน (Practical Management)(3), (Case Study -7)
- ตอนที่ 65 : วันที่ 18 ภาคปฏิบัติของการบริหารงาน (Practical Management)(4), (Case Study -8)
- ตอนที่ 66 : วันที่ 19 ภาคปฏิบัติของการบริหารงาน (Strategy Plan)(1), (Case Study -9)
- ตอนที่ 67 : วันที่ 19 ภาคปฏิบัติของการบริหารงาน (Strategy Plan)(2), (Case Study -10)
- ตอนที่ 68 : วันที่ 19 ภาคปฏิบัติของการบริหารงาน (Strategy Plan)(3), (Case Study -11)
- ตอนที่ 69 : วันที่ 20 ภาคปฏิบัติของการบริหารงาน (Strategy Plan)(4), (Case Study -12)
- ตอนที่ 70 : วันที่ 20 ภาคปฏิบัติของการบริหารงาน (Strategy Plan)(5)(Case Study -13)
- ตอนที่ 71 : วันที่ 20 ภาคปฏิบัติของการบริหารงาน (Strategy Plan)(6), (Case Study -14)
- ตอนที่ 72 : วันที่ 20 ภาคปฏิบัติของการบริหารงาน (Strategy Plan)(7), (Case Study -15)
- ตอนที่ 73 : วันที่ 21 ภาคปฏิบัติของการบริหารงาน (Strategy Plan)(8), (Case Study -16)
- ตอนที่ 74 : วันที่ 21 ภาคปฏิบัติของการบริหารงาน (Strategy Plan)(9), (Case Study -17)
- ตอนที่ 75 : วันที่ 21 ภาคปฏิบัติของการบริหารงาน (Strategy Plan)(10), (Case Study -18)
- ตอนที่ 76 : วันที่ 21 ภาคปฏิบัติของการบริหารงาน (Strategy Plan)(11), (Case Study -19)
- ตอนที่ 77 : วันที่ 21 ภาคปฏิบัติของการบริหารงาน (Strategy Plan)(จบ)
- ตอนที่ 78 : วันที่ 22 ภาคประยุกต์แผนเชิงกลยุทธ์ (Applied Strategy )(1)
- ตอนที่ 79 : วันที่ 22 ภาคประยุกต์แผนเชิงกลยุทธ์ (Applied Strategy )(2)
- ตอนที่ 80 : วันที่ 22 ภาคประยุกต์แผนเชิงกลยุทธ์ (Applied Strategy )(3)
- ตอนที่ 81 : วันที่ 22 ภาคประยุกต์แผนเชิงกลยุทธ์ (Applied Strategy )(4)
- ตอนที่ 82 : วันที่ 22 ภาคประยุกต์แผนเชิงกลยุทธ์ (Applied Strategy )(5)
- ตอนที่ 83 : วันที่ 22 ภาคประยุกต์แผนเชิงกลยุทธ์ (Applied Strategy )(6)
- ตอนที่ 84 : วันที่ 23 ภาคประยุกต์แผนเชิงกลยุทธ์ (Applied Strategy )(1)
- ตอนที่ 85 : วันที่ 23 ภาคประยุกต์แผนเชิงกลยุทธ์ (Applied Strategy )(2)
- ตอนที่ 86 : วันที่ 23 ภาคประยุกต์แผนเชิงกลยุทธ์ (Applied Strategy )(3)
- ตอนที่ 87 : วันที่ 23 ภาคประยุกต์แผนเชิงกลยุทธ์ (Applied Strategy )(4)
- ตอนที่ 88 : วันที่ 24 ภาคประยุกต์แผนเชิงกลยุทธ์ (Applied Strategy )(1)
- ตอนที่ 89 : วันที่ 24 ภาคประยุกต์แผนเชิงกลยุทธ์ (Applied Strategy )(2)
- ตอนที่ 90 : วันที่ 24 ภาคประยุกต์แผนเชิงกลยุทธ์ (Applied Strategy )(3)
- ตอนที่ 91 : วันที่ 24 ภาคประยุกต์แผนเชิงกลยุทธ์ (Applied Strategy )(4)
- ตอนที่ 92 : วันที่ 25 ภาคประยุกต์แผนเชิงกลยุทธ์ (Applied Strategy )(1)
- ตอนที่ 93 : วันที่ 25 Buddhism and Scientific Management (2)
- ตอนที่ 94 : วันที่ 25 Buddhism and Scientific Management (3)
- ตอนที่ 95 : วันที่ 25 Buddhism and Scientific Management (4)
- ตอนที่ 96 : วันที่ 26 Emptiness Management (1)
- ตอนที่ 97 : วันที่ 26 Emptiness Management (2)
- ตอนที่ 98 : วันที่ 26 Emptiness Management (3)
- ตอนที่ 99 : วันที่ 26 Emptiness Management (4)
- ตอนที่ 100 : วันที่ 26 Emptiness Management (5)
- ตอนที่ 101 : วันที่ 27 การบริหารงานแบบปล่อยวาง (1)
- ตอนที่ 102 : วันที่ 27 การบริหารงานแบบปล่อยวาง (2)
- ตอนที่ 103 : วันที่ 27 การบริหารงานแบบปล่อยวาง (3)
- ตอนที่ 104 : วันที่ 27 การบริหารแบบปล่อยวาง(4)
- ตอนที่ 105 : วันที่ 27 การบริหารแบบปล่อยวาง(5)
- ตอนที่ 106 : วันที่ 28 การบริหาร..ความสุขบนโลกของจักรวาล(1)
- ตอนที่ 107 : วันที่ 28 การบริหาร..ความสุขบนโลกของจักรวาล(2)
- ตอนที่ 108 : วันที่ 28 การบริหาร..ความสุขบนโลกของจักรวาล(3)
- ตอนที่ 109 : วันที่ 28 การบริหาร..ความสุขบนโลกของจักรวาล(4)
- ตอนที่ 110 : วันที่ 28 การบริหาร..ความสุขบนโลกของจักรวาล(5)
- ตอนที่ 111 : วันที่ 28 การบริหาร..ความสุขบนโลกของจักรวาล(6)
- ตอนที่ 112 : วันที่ 28 การบริหาร..ความสุขบนโลกของจักรวาล(7)
- ตอนที่ 113 : วันที่ 28 การบริหาร..ความสุขบนโลกของจักรวาล(8)
- ตอนที่ 114 : วันที่ 29 ความสุขท่ามกลางวัฒนธรรมองค์กร (1)
- ตอนที่ 115 : วันที่ 29 ความสุขท่ามกลางวัฒนธรรมองค์กร (2)
- ตอนที่ 116 : วันที่ 29 ความสุขท่ามกลางวัฒนธรรมองค์กร (3)
- ตอนที่ 117 : วันที่ 29 ความสุขท่ามกลางวัฒนธรรมองค์กร (4)
- ตอนที่ 118 : วันที่ 29 ความสุขท่ามกลางวัฒนธรรมองค์กร (5)
- ตอนที่ 119 : วันที่ 29 ความสุขท่ามกลางวัฒนธรรมองค์กร (6)
- ตอนที่ 120 : วันที่ 30 บทสรุปความเป็นเลิศของการบริหารองค์กร (1)
- ตอนที่ 121 : ตอนที่ 118 วันที่ 30 บทสรุปความเป็นเลิศของการบริหารองค์กร (2)
- ตอนที่ 122 : วันที่ 30 บทสรุปความเป็นเลิศของการบริหารองค์กร (3)
- ตอนที่ 123 : วันที่ 30 บทสรุปความเป็นเลิศของการบริหารองค์กร (4)
- ตอนที่ 124 : วันที่ 30 บทสรุปความเป็นเลิศของการบริหารองค์กร (5)
- ตอนที่ 125 : วันที่ 30 บทสรุปความเป็นเลิศของการบริหารองค์กร (6)
- ตอนที่ 126 : วันที่ 30 บทสรุปความเป็นเลิศของการบริหารองค์กร (7)
- ตอนที่ 127 : วันที่ 30 บทสรุปความเป็นเลิศของการบริหารองค์กร (8)
- ตอนที่ 128 : วันที่ 30 บทสรุปความเป็นเลิศของการบริหารองค์กร (จบ)