ตอนที่ 22
วันที่ 7
ศาสตร์ของการบริหารงาน (Science of Management)
"การประยุกต์ใช้ ISO" (-5-)
มาถึงวันที่ 7 แล้ว
เรียกได้ว่าครบ 1 สัปดาห์พอดี
..มีเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับเราๆ ท่านๆอีกมากครับ!.......ขอให้เป็นตอนสบายๆอีกซัก 1 ตอน
..และต้องขอขอบคุณ TPA Writer ที่เปิดโอกาสให้แก่ นักเขียนทั้งหลาย
.ได้มีเวทีแสดงออกอีกทางหนึ่ง
.ซึ่งนับเป็นแหล่งรวมของศาสตร์แขนงต่างๆ
.ที่หลากหลายความคิด
หลากหลายเรื่องราว
และเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจทั่วไปจริงๆ
..ยังมีเรื่องราวที่ผู้เขียนอยากจะแบ่งประสบการณ์และสิ่งที่ได้รู้มาอีกหลายๆเรื่อง
..แต่ก็ไม่ทราบว่าจะมีผู้อ่านสนใจเพียงใด
..ตัวอย่างของเรื่องเหล่านั้นเช่น
รากเหง้าของคนสองถิ่น
(ไทย-จีน)
.. 99+1 กลยุทธ์โลก
ผู้บริหารวิถีพุทธ
..2009
พลังงานทดแทนของโลก
. เอทานอลหรือไบโอดีเซลที่เป็นพระเอกเมื่อโลกวิกฤต
เข้าใจคนจึงเข้าใจศาสนา
. พ่อบอกให้อดทน
. นำหลักช่างมาประยุกต์ใช้ในบ้าน
.. Early Retire Bank
และอีกหลายๆเรื่องซึ่งไม่ทราบว่าจะเริ่มเขียน
..ได้เมื่อไร?.....อย่างไรแล้วก็ต้องให้จบเรื่องนี้ก่อนครับ!
ในตอนที่ 22 นี้ขอให้ท่าน
.ย้อนไปในตอนที่ 1121
.ลองรวบรวมเนื้อหาเพื่อหาความ สัมพันธ์และหน้าที่หลักของบุคคลากรในองค์กรที่มีต่อ
.มาตรฐานระบบการบริหารคุณภาพ ISO9001:2000 โดยใช้หลักพื้นฐาน 4 ข้อ ตามที่ได้กล่าวในตอนที่แล้ว คือ
.ความต้องการของผู้ใช้ (Customer Requirement)
.วางแผนใช้การจัดการที่ดี ( Management Planning)
.กระบวนจัดการขององค์กรเพื่อควบคุมการให้บริการ/การผลิต (Process Control System)
.และสินค้า/การบริการ ถูกใจผู้ใช้ (Customer Contentment)
.แล้วสรุปเป็นchart ง่ายๆเน้นหน้าที่ / ความรับผิดชอบของผู้บริหารเป็นหลัก
.โดยจัดเป็นกระบวนการของการจัดทำ
.มาตรฐานระบบการบริหารคุณภาพ ISO9001:2000
.ใน chart ควรประกอบด้วย
ขั้นตอนภาคปฏิบัติ
..การอบรม ISO
.. ตั้งทีมงาน ISO
..วิเคราะห์สิ่งขาดในระบบ ISO.....เขียนเอกสารและปฏิบัติ ISO
.ตรวจสอบและแก้ไข ISO. ช่วยกันทำ
น่าจะได้ chart ของ ISO9001:2000 ที่น่าสนใจไว้ใช้ในองค์กรของท่านหลายๆรูปแบบอย่างแน่นอน!.....ติดตามกันในวันที่ 8 ของตอนที่ 23 ครับ!
หลักการของ ISO 9001:2000 ที่ใช้ในการเขียน Chart มีดังนี้:
ISO9001-2000 เป็นระบบการบริหารคุณภาพ/และการจัดการ
มุ่งเน้นการสร้างความพอใจ .............. ..ให้ผู้ใช้
วางแผนให้ระบบเป็นกลไกลขับเคลื่อน
.. โดยอัตโนมัติ
มุ่งพัฒนาการปรับปรุงระบบภายใน
.....อย่างต่อเนื่อง
เป็นคู่มือและแนวทางการบริหารแบบง่ายๆ
.ใช้ได้จริงในทุกการผลิต
ปัจจัยที่มีผลต่อการประยุกต์ใช้:
ฝ่ายบริหาร
ต้องมีความแนวแน่และพร้อมเพรียงกัน
ทีมงาน
..ร่วมมือ/ร่วมใจและพัฒนาเสริมสร้างความรู้
เขียนเอกสาร
.
สะดวกง่าย
ไม่ยืดเยื้อ
ให้ใช้งานได้จริงๆ
ปฏิบัติ
...ตามที่กำหนดได้จริง
บันทึก
...ตามที่ได้ปฏิบัติงานจริง
วิเคราะห์
...ข้อมูลจากการปฏิบัติงานที่บันทึกไว้
แก้ไขและปรับปรุงป็นมาตรฐาน
.
..เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
คิดอยู่เสมอว่า
ผู้ทำงานคือ
Auditor
.ต้อง audit ทุกวัน
บทส่งท้ายของตอนที่ 22:
ในตอนที่16 ได้กล่าวถึง อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) เมื่อย้อนดูแล้ว เขาเกิดในปี พ.ศ. 2422 ซึ่งในปีต่อมา พ.ศ. 2423 เป็นปีพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ ซึ่งทรงมีพระปรีชาญาณมากในศาสตร์หลายแขนง
..ผู้เขียนจึงขออัญเชิญพระราชประวัติของพระองค์ท่าน มาพอสังเขป
..เพราะอย่างน้อยความเจริญรุ่งเรืองและวิวัฒนาการของโลกก็สามารถสร้างศาสตร์
ที่หลากหลายให้แก่ มวลมนุษยชาติ ได้มากมาย
..อยู่เสมอมา!
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสมภพเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2423 เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
.และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ
.มีพระนามว่า
..สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ
เมื่อพระชนมายุได้ 8 พรรษา ทรงได้รับสถาปนาเป็น
สมเด็จเจ้าฟ้า กรมขุนเทพทวาราวดี และเมื่อพระชนมายุได้ 11 พรรษา ได้เสด็จไปศึกษายังประเทศอังกฤษ ที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด (University of Oxford) และศึกษาวิชาการทหารบก ที่โรงเรียนนายร้อยแซนด์เฮิสต์(RMA Sandhurst) และเสด็จกลับประเทศไทยในปีพ.ศ. 2437 ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระบรม โอรสาธิราชสยามมงกุฎราชกุมาร ทรงเข้ารับราชการในกองทัพบก
. ดำรงพระยศพลเอก ในตำแหน่งจเรทัพบก และทรงบัญชาการทหารมหาดเล็ก
.ทรงเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 6 ทรงพระนามว่า "พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว"
(ในช่วง พ.ศ. 2453-2468)
พระองค์ทรงอภิเษกสมรสกับ เจ้าจอมสุวัทนา (คุณเครือแก้ว อภัยวงศ์) ในปี พ.ศ. 2467 หรือพระนางเจ้าสุวัทนา ทรงมีพระราชธิดา 1 พระองค์ คือ
สมเด็จฯ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงพระประชวรด้วยพระโรคพระโลหิตเป็นพิษในพระอุทรมาตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 และสวรรคต ณ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมานเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 พระชนมพรรษาได้ 46 พรรษาและดำรงสิริราชสมบัติได้เพียง 15 พรรษา
.ทรงมีพระราชกรณียกิจอันทรงคุณค่า
.เป็นคุณประโยชน์แก่ประเทศและประชาชนชาวไทยมากมาย
นานับปการ
พระราชกรณียกิจอันทรงคุณค่า ใน 15 พรรษาที่ทรงครองราชย์
ทรงสถาปนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทยในปี พ.ศ.2459
.ทรงโปรดเกล้าให้จัดตั้งโรงเรียนเพาะช่าง
..ในปีพ.ศ.2464 ทรงตราพระราชบัญญัติประถมศึกษา
ทรงโปรดเกล้าให้จัดตั้งธนาคารออมสินขึ้น
..และพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ซื้อหุ้นของ ธนาคารสยามกัมมาจล ทุนจำกัด (ธนาคารไทยพาณิชย์)
..ยกเลิกบ่อนการพนัน และ หวย ก.ข.และลดการค้าฝิ่น
..และให้ตราพระราชบัญญัติ นามสกุล พ.ศ. 2456 เพื่อให้คนไทยมีนามสกุลใช้
..ทรงริเริ่มตั้ง บริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด
.ทรงพยายามจัดเตรียมแสดงสินค้าไทย และทรงจัดตั้งสภาเผยแผ่พาณิชย์(สภาพัฒนาการเศรษฐกิจ)
..ทรงให้มีการแสดงความคิดเห็นและวิพากษ์วิจารณ์ผ่านหนังสือพิมพ์
.และทรงให้ข้าราชบริพารทดลองทำ การปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยให้มีพรรคการเมือง และมีการเลือกตั้ง ทดลองในใช้เมืองจำลอง
ดุสิตธานี
ทรงจัดตั้งกองเสือป่าใน พ.ศ. 2454 เพื่อฝึกอบรมข้าราชการให้มีระเบียบวินัย มีความสามัคคี มีน้ำใจมีความประพฤติตนดี
มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
.ทรงจัดตั้งกองลูกเสือ เพื่อฝึกเยาวชนให้มีความสามัคคี
.มีความมานะอดทน เสียสละเพื่อส่วนรวม
..ทรงให้ตั้งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และวชิร พยาบาล
..ทรงเปิดสถานเสาวภา ในปีพ.ศ. 2465 เพื่อผลิตวัคซีนและเซรุ่ม
และทรงเปิดการประปากรุงเทพฯ ในปีพ.ศ. 2457
..ทรงรวมกรมรถไฟให้เป็น กรมรถไฟหลวง และเปิดกิจการเดินรถไฟสายกรุงเทพฯ- เชียงใหม่ และ
สายใต้ติดต่อกับมาเลเซีย
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานพระราม 6
.ในปี พ.ศ. 2463 ทรงจัดตั้งกรมอากาศยาน มีการขนส่งไปรษณียภัณฑ์ทางอากาศระหว่างกรุงเทพฯ - นครราชสีมา
ในปี พ.ศ. 2457 เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ประเทศไทยประกาศตนเป็นกลาง
.และในปี พ.ศ. 2460 พระองค์ทรงประกาศสงครามกับเยอรมนี และออสเตรีย- ฮังการี เพื่อรักษาสิทธิของประเทศ และเพื่อความเป็นธรรมของโลก
..ทรงส่งอาสาสมัครทหารไทยไปร่วมรบและไทยเป็นฝ่ายชนะสงคราม
..ทำให้ประเทศมหาอำนาจยอมให้มีการแก้ไข
.สนธิสัญญาสิทธิสภาพนอกอาณาเขต
.สนธิสัญญาจำกัดอำนาจการเก็บภาษีของประเทศไทย
..ไทยจึงพ้นจากสภาพการเสียเปรียบทางภาษี
Philosopher King
พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญานามว่า พระมหาธีรราชเจ้า
กษัตริย์นักปราชญ์
พระสารประเสริฐ (ตรี นาคะประทีป)เป็น
ผู้ที่คิดพระสมัญญาถวาย
..และรัฐบาลได้ประกาศให้วันคล้ายวันสวรรคตของพระองค์ท่าน เป็น "วันสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า"
เป็นวันที่ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งประชาชนทุกหมู่เหล่า ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมโดยพร้อมเพรียงกัน
.
พระอัจฉริยะภาพทางด้านศิลปะ และวรรณกรรม
..ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯตราพระราชบัญญัติการพิมพ์ใน พ.ศ. 2465
เรียกว่าพระราชบัญญัติสมุดเอกสารและหนังสือพิมพ์
.ทรงตั้งกรมมหรสพ และโรงละครหลวง ขึ้น เพื่อฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมและเพื่อส่งเสริมการแสดงละคร
.ทรง ให้ออกแบบอาคารทรงไทย ใช้สร้างตึกอักษรศาสตร์ และอาคารเรียนโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย
..ทรงมีผลงานพระราชนิพนธ์ทั้งที่เป็นร้อยแก้ว และร้อยกรอง ในรูปสารคดี และนิยาย
มีบท ละครร้อง ละครลำ ละครพูด ทั้งที่เป็นภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ทรงพระราชทาน
.บทความให้หนังสือพิมพ์เป็นจำนวนมาก
.ถือเป็นวรรณกรรม ที่มีคุณค่า ควรอ่าน ชื่นชมสืบทอดกันมา สมกับ
.พระสมัญญานามว่า
..สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า
. และ องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ก็ได้ยกย่องพระเกียรติคุณของพระองค์เป็น
.ปราชญ์สยาม
ตัวอย่างพระราชนิพนธ์: มัทนะพาธา บทละครเรื่องรามเกียรติ์ จากฉบับของอินเดีย (รามายณะ) มาพระราชนิพนธ์ เป็นบ่อเกิดรามเกียรติ์ การเสด็จจากพระนคร ความเป็นชาติโดยแท้จริง เมืองไทยจงตื่นเถิด รถสี่ล้อมั่นคงกว่ารถสองล้อมิใช่หรือ ? ประโยชน์แห่งถนนในหัวเมือง ลัทธิเอาอย่าง โคลนติดล้อ เป็นต้น
/////////////////////////////////////////
15/6/2552
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที