ชนิตพล

ผู้เขียน : ชนิตพล

อัพเดท: 18 ม.ค. 2014 06.10 น. บทความนี้มีผู้ชม: 1013524 ครั้ง

"ประสบการณ์ยิ่งมากยิ่งมีคุณค่าควรรู้และยิ่งมีค่ามากที่สุดเมื่อถูกถ่ายทอดออกมาจากใจ"


วันที่ 8 ศาสตร์ของการบริหารงาน " " PDCA Cycle / Deming Cycle" (-3-)"

ตอนที่ 25

วันที่ 8

ศาสตร์ของการบริหารงาน (Science of Management)

" PDCA Cycle / Deming Cycle" (-3-)

 

1. GURU บางท่านของศาสตร์ที่ว่าด้วยงานควบคุมคุณภาพ/บริหารคุณภาพ

Vilfredo Pareto (..2392 – 2466) : วิลเฟรโด พาราโต  นักเศรษฐศาสตร์ ชาวอิตาเลียน ในปี 2422 เขาได้ใช้ทฤษฎี การกระจาย ความมั่งคั่งในประเทศอิตาลี อธิบายสิ่งที่ค้นพบว่า 20% ของประชากร จะมีสินทรัพย์และความมั่งคั่งเป็น 80% ของสินทรัพย์ความมั่งคั่งทั้งประเทศ      ต่อมาในปี 2473 -2493  Dr. Joseph M. Juran ผู้เชี่ยวชาญด้าน Quality Management นำแนวความคิดของ Pareto ไปพัฒนาจนกลายมาเป็นหลักการของ Pareto หรือ กฏ 80/20

Dr. Kaoru lshikawa  (.. 2458 – 2532) : ดร.คาโอรุ อิชิคาวา ผู้นำเสนอหลักการ lshikawa Diagram / Cause and Effect Diagram / Fish Bone Diagram  หรือเรียกว่า แผนอิชิคาวา / แผนภาพสาเหตุและผล / แผนก้างปลา …มีชื่อเรียกตามการใช้งาน….ผู้เสนอแนวความคิด…7 QC Tools / QCC / CWQC

 

Dr. W. Edwards  Deming  (.. 2443 – 2536) : ดร.เอ็ดเวิร์ด เดมมิ่ง ผู้พัฒนาวงจร PDCA มาจากวงจรของ ดร.วอลเตอร์ เอ ชิวฮาร์ท จึงได้ชื่อว่า วงจร เดมมิ่ง (Deming Cycle) ซึ่งเป็นพื้นฐานของแนวคิด ของการพัฒนาคุณภาพ

 

Joseph M. Juran : (.. 2447-2551) โจเซฟ เอ็ม จูแรนผู้สนอ ความคิดแก่ฝ่ายบริหารว่ามีภาระกิจหลัก 2 ระดับ…คือภารกิจหลักขององค์กรที่ต้องปรับปรุงให้ได้ คุณภาพและมาตรฐานสูงของสินค้า….ภารกิจหลักของส่วนที่ทำงานที่ต้องปรับปรุงให้มี การผลิตสินค้าที่มีคุณภาพสูงอยู่ตลอกเวลาการผลิต

 

Dr. Walter A. Shewart : (..2434 -2510 )  ดร.วอลเตอร์ เอ ชิวฮาร์ท ในปีพ.ศ.2478 Dr.Walter A. Shewhart แห่งบริษัท Western Electric ได้นำหลักของสถิติประยุกต์มาใช้ในการควบคุมการผลิตและใช้แผนภูมิควบคุม (Control Chart) เหมือนกับที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

Philips Crosby (..2469 – 2544) : ฟิลิปส์ ครอสบี้  ผู้ให้ความหมายของคุณภาพ “Quality is conformance to requirement”  มีความหมายคือเป็นไปตามข้อกำหนดของลูกค้า   เตรียมพร้อมที่จะป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้นมิใช่การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น….คุณภาพต้องมีคุณค่าสมกับราคาสินค้า/บริการ  ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มใดๆ ให้แก่ลูกค้า  และต้องไม่มีข้อบกพร่อง/ข้อบกพร่องต้องเป็นศูนย์ /ZD….เริ่มอย่างถูกต้องทั้งระบบ
 

Armand V. Feigenbaum (..2465 ) : ดร. เฟเกนบาม  ผู้ซึ่งให้ความหมายของ TQC  ว่าเป็นระบบหรือวิธี      การที่รวบรวมความพยายามของกลุ่มต่างๆในองค์กร  ที่เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาทำให้เกิดการผลิตและการ บริการประหยัดที่สุด ภายใต้ความพึงพอใจของลูกค้าอย่างทุกส่วน

 

Prof. Dr. Noriaki Kano (..2483) :  เป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน TQC จาก Science University of Tokyo เขาได้ให้ความหมายของ  TQC  ว่าเปรียบเสมือนการสร้างบ้าน ซึ่งมีองค์ประกอบ เช่น มีพื้นที่เหมาะสม  มีรากฐานที่มั่นคง  มีเสาบ้านที่แข็งแรง และมีหลังคาบ้านที่ ปกคลุมทุกสิ่งได้

 

Adam Smith (พ.ศ. 2244 - พ.ศ. 2343) :  อดัม สมิธ ผู้คิดค้นหลักการแบ่งงานกันทำ( Division of Work) เป็นที่รู้จักกันในนาม…นักทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ลัทธิเสรีนิยม….ที่ประณามสมาคมอาชีพในยุโรป  และเชื่อมั่นในพลังของบุคคลที่มีผลและอิทธิพลต่อตนเอง….ในการสร้างความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจให้กับตนเองและองค์กร    โดยไม่ต้องอยู่ภายใต้การ บังคับจากองค์กรใดๆ ซึ่งทำให้ยุโรปมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่…. ระบบการค้าเสรี โดยให้ผู้ประกอบการรวมตัวกันได้…. เขาได้รับการยกย่องว่าเป็น….บิดาแห่งเศรษฐศาสตร์ยุคใหม่

 

Max Weber  (พ.ศ.2407 -2463) : แมกซ์  เวเบอร์   เป็นผู้วางรากฐานทฤษฎีองค์การที่สำคัญ โดยเฉพาะแนว                       ความคิดในการพัฒนาประสิทธิภาพ ของการทำงานในองค์การขนาดใหญ่ๆ (Bureaucracy) และถือว่าเป็นรูปแบบทฤษฎีขององค์กรในอุดมคติ (The Ideal form of Organization)

 

Elton W. Mayo (พ.ศ.2423-2492 ) : เอลตัน  เมโย เป็นนักทฤษฎีทางการบริหารจัดการ ที่มีชื่อเสียง คนหนึ่งเขา และคณะได้ทำการวิจัยความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะจิตใจ กับร่างกายของผู้ทำงาน กับสภาพแวดล้อม  ในที่ทำงาน  ซึ่งมีผลต่อผลผลิตและคุณภาพของการผลิต  มีการวิจัยโดยการสังเกต  สัมภาษณ์  และการทดลอง  ให้กำหนดตัวแปร  ในเชิงแนวคิดแบบมนุษย์สัมพันธ์   เป็นเสมือนต้นแบบของ…การจัดการแบบมนุษย์สัมพันธ์ (Human Relation)…โดยยึดถือว่าพนักงานทุกคนต้องมีความพึงพอใจในตำแหน่งหน้าที่และมีสภาพจิตใจที่ดี ควบคู่กับการทำงาน

 

Prof. Dr. Noriaki Kano (..2483): โนริอกิ คาโน  เป็นผู้เชี่ยวชาญให้กับบริษัทปูนซิเมนต์ไทย ในปี 2535 โดยใช้ TQC, TQM  บทเขาเป็นที่ปรึกษาด้านคุณภาพในเครือซิเมนต์ไทยมาเป็นเวลายาวนาน  เป็นผู้นำเสนอกลยุทธ์เพื่อปรับปรุงและรักษากระบวนการผลิตให้สม่ำเสมอ  ได้คุณภาพ มีการบริการที่ดี และลดต้นทุนโดยการลดขนาดขององค์กรลงเพื่อลดต้น มีการพัฒนากระบวนการผลิตใหม่ๆเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ และพัฒนาด้านคุณภาพขององค์กร ตามนโยบายหลักและความสำคัญเร่งด่วน ในแต่ละปี  มีการบริหาร  ที่สร้างคุณภาพให้เป็นที่ประทับใจของลูกค้า ที่เรียกว่า Attractive Quality Creation (AQC)

Genichi Taguchi (..2467): เก็นอิชิ ทากูชิ  ให้ความหมายของ คุณภาพในลักษณะของ การเบี่ยงเบน (Deviation) ออกไปจากเป้าหมาย ในการแข่งขันทางเศรษฐกิจถือว่าเป็นการพัฒนาและการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง (Continuous Quality Improvement ; CQI) รวมถึงการลดต้นทุนเป็นสิ่งสำคัญในการประกอบธุรกิจ

 

2. คำที่ใช้ทับคำศัพท์ภาษาญี่ปุ่นในงานควบคุมคุณภาพ/บริหารคุณภาพ

5S = Seiri-เซริ-สะสาง, Seiton-เซตง-สะดวก, Seiso-เซโซ-สะอาด, Seiketsu-เซเคทซึ-สุขลักษณะ, Shitsuke-ซิทซึเคะ- สร้างนิสัย                                                                                                                                                 

KAIZEN : Kai = Continuous , Zen= Improvement - ไคเซ็น คือ การปรับปรุงการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง โดยใช้นวัตกรรมและวิวัฒนาการ อย่างต่อเนื่อง                                                                                                                                                                                                                                                                        

Genchi Genbutsu : เก็นจิ เก็นบุตซึ  คือ การไปสู่จุดกำเนิดเพื่อหาความจริง ซึ่งทำให้สามารถ ตัดสินใจได้ถูกต้อง สามารถทำให้มีข้อสรุปที่ดีและเหมาะสม  เพื่อการบรรลุเป้าหมายได้อย่างรวดเร็ว                                            

MURA:มูระ  คือ ความไม่สม่ำเสมอ :  การผลิตหรือปริมาณการผลิตที่ไม่สม่ำเสมอ                                                          MURI:มูริ  คือ การฝืนทำ : ภาระเกินความสามารถของบุคคลและอุปกรณ์                                                                          MUDA:มูดะ  คือ ความสูญเปล่า : การที่พนักงานมี การเคลื่อนไหวทำให้เสียเวลาในการทำงาน                                            JIDOKA:จิโดกะ  คือ การควบคุมตัวเองโดยอัตโนมัติ :  กระบวนการต้องมีการ ควบคุมคุณภาพ เพื่อไม่ให้เกิดการผลิตที่ผิดพลาด ซึ่งอาจทำให้หยุดสายพานการผลิต

 

 

บทส่งท้ายของตอนที่ 25 :

สภาวะวิกฤติ หมายถึง เหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อ องค์กรหรือสินค้าซึ่งเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว หรือค่อยๆเกิดขึ้นโดยเราไม่รู้ตัว มีผลทำให้ ความสามารถในการดำเนินกิจการไม่เป็นไปตามจุดประสงค์หลักขององค์กรสาเหตุจะมาจากปัจจัยภายในหรือภายนอกองค์กรก็ได้ ……………ซึ่งอาจมีผลร้ายแรงต่อกิจการ

 

/////////////////////////////////////////

6/7/2552

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที