ชนิตพล

ผู้เขียน : ชนิตพล

อัพเดท: 18 ม.ค. 2014 06.10 น. บทความนี้มีผู้ชม: 1010325 ครั้ง

"ประสบการณ์ยิ่งมากยิ่งมีคุณค่าควรรู้และยิ่งมีค่ามากที่สุดเมื่อถูกถ่ายทอดออกมาจากใจ"


วันที่ 11 ศาสตร์ของการบริหารงาน (3)Stiglitz vs E. Porter "QC Story"

ตอนที่ 36

วันที่ 11

ศาสตร์ของการบริหารงาน (Science of Management) (3)

(Stiglitz vs E. Porter ) "QC Story"

 

Two Gurus  of   “Two Thai PM”

โจเซฟ สติกลิตซ์ (Joseph  Eugene Stiglitz)

           สติกลิตซ์  เกิดเมื่อวันที่ 9  กุมภาพันธ์ ..2485  ที่เมืองแกรี่(Gary) มลรัฐอินเดียนา (Indiana) ประเทศสหรัฐอเมริกา  ปัจจุบันมีอายุ 67 ปี    เมื่ออายุ 22 ปี ได้จบการศึกษาระดับปริญญาตรีที่ วิทยาลัย แอมเฮิร์ส (Amherst College) มลรัฐแมสซาชูเซ็ท (Massachusetts) และในปี พ..2509  ได้จบระดับปริญญาเอกที่ MIT (Massachusetts Institute of Technology) ขณะที่มีอายุเพียง 24 ปี   เขาเป็นอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัยต่างๆหลายแห่ง เช่นวิทยาลัย เซนต์ แคเทอรีน (St. Catherines College) , วิทยาลัยออลโซล (All Souls College) , มหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด (Oxford University) , มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Standford University) ,  มหาวิทยาลัยพรินส์ตัน (Princeton University)  และในปี พ.. 2544 จนถึงปัจจุบัน  เป็นศาสตราจารย์ สังกัด มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย (Columbia  University)    

           สติกลิตซ์  เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่ในกลุ่มนักเศรษฐศาสตร์ของอเมริกา  จัดให้เขาเป็นผู้ที่อยู่ในสาย   Neo - Keynesian ซึ่งเชื่อว่าภาครัฐสามารถแทรกแซงกลไกลตลาด   ด้วยนโยบายทางการเงินและการคลัง   โดยเศรษฐศาสตร์แบบเคนส์ (Keynesian Economics ) เป็นทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ของจอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ (John Maynard Keynes)  นักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษ ซึ่งได้กล่าวไว้ว่า “ ภาครัฐสามารถรักษาอัตราการเจริญเติบโตและความมั่นคงทางเศรษฐกิจได้ด้วยระบบเศรษฐกิจแบบผสม ”      ระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน    ทั้งสองส่วนมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจมากพอๆกัน  เศรษฐศาสตร์แบบเคนส์นี้สามารถอธิบายวิกฤติเศรษฐกิจต่างๆที่เกิดขึ้นหลายครั้งหลายหน และมีนักเศรษฐศาสตร์  หลายท่านที่ยอมรับและ นำมาใช้อธิบาย ปัญหาความล้มเหลวของ ตลาดเสรีหรือลัทธิเสรีนิยมใหม่ (neo-liberalism)  หรือกล่าวไว้ว่า “การตลาดจะต้องเป็นของภาคเอกชนที่ทำได้ดีกว่า ภาครัฐโดยรัฐจะต้องไม่เข้ามาแทรกแซงการตลาดใดๆ”  

           ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์แบบเคนส์ นี้ได้ปรากฏตีพิมพ์ครั้งแรกใน “ The General Theory of Employment, Interest and Money ” ตั้งแต่ปี พ.. 2479     มีบทพิสูจน์ที่ว่านโยบายของภาครัฐสามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้โดยการเพิ่มอุปสงค์รวม ซึ่งเป็นการเพิ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ลดการว่างงาน และช่วยแก้ภาวะเงินฝืด โดยใช้ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ของเคนส์นี้  ซึ่งจะช่วยกระตุ่นและลดปัญหาการว่างงานอย่างรุนแรงในประเทศอังกฤษได้ในช่วงปี 2463  และในสหรัฐอเมริกาช่วงปี 2473 และล่าสุดในปี 2551 นี้เอง วิกฤติ  "ซับไพรม์" (subprime mortgage loan) หรือ การปล่อยสินเชื่อด้อยคุณภาพ ให้กับ ลูกหนี้เครดิตต่ำ ของภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเกิดจากสถาบันการเงินเป็นผู้ปล่อยกู้ให้ลูกหนี้กู้เอง    เพื่อนำไปซื้อบ้านด้วยการจำนอง  ซึ่งทำให้ระบบการเงินต้อง เสียหายไปทั่วทุก ธนาคารในสหรัฐอเมริกา จนทำให้ธนาคารเล็กๆ ต้องปิดตัวไปเป็นจำนวนมาก และส่งผลไปทั่วโลก  ประเมินความเสียหาย ไว้มากกว่าแสนล้านดอลลาร์สหรัฐ

           ทำให้ระบบทุนนิยมเล่นพวก (crony capitalism) และลัทธิเสรีนิยมใหม่ (neo-liberalism) ต้องหันมามอง นโยบายเศรษฐกิจแบบ "เคนเชียน" (Keynesian economics) นี้ต่อไป  ซึ่งเคนส์ได้เคยเสนอวิธีการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำด้วยการกระตุ้น ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนให้มีการลงทุน ด้วยการลดอัตราดอกเบี้ย และการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ( Infrastructure)  เป็นการอัดฉีดเม็ดเงิน ลงไปสู่การใช้จ่ายที่เป็นจริงและมีปริมาณ มากพอในระบบเศรษฐกิจ ทำให้มีการผลิตและการลงทุน   ก่อให้เกิดรายได้และการใช้จ่ายมากขึ้น เกิดสภาวะหมุน เวียนของเงินอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีผลต่อระบบเศรษฐกิจ และสร้างมูลค่าเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับไป

           สติกลิตซ์ เป็นผู้ให้การสนับสนุนรัฐบาลบารัค โอบามา ( Barack Obama )  เขาเป็นสมาชิกของสภาที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจ และต่อมาก็ได้เป็นประธานของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจ ในช่วงปี 2536- 2540 ในยุครัฐบาลบิล คลินตัน (Bill Clinton)  และเคยได้รับตำแหน่ง รองประธานธนาคารโลก หรือที่เรียกว่า หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ (Chief Economist) ในช่วงปี 2540 - 2543  และเคยเป็นประธานคณะกรรมการ มันสมองโลก (Committee on Global Thought) ของมหาวิทยาลัยของอเมริกา

           สติกลิตซ์ ได้พบปะกับ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะในงาน World Economic Forum  เมื่อต้นปีนี้          (2552) ที่เมืองดาวอส ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ( Davos , Switzerland)  และสติกลิตซ์ รับปากว่าจะมาเป็นที่ปรึกษาทางด้านเศรษฐกิจให้กับ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และได้ตอบรับคำเชิญเมื่อ เดือนกุมภาพันธ์  .. 2552  โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ …..โจเซฟ สติกลิตซ์…… แนะนำให้ประเทศไทยต้องมีทิศทางเป็นของตนเอง และหาตัวชี้วัดในรูปแบบใหม่ของสังคม…. ที่ไม่ยึดติดกับ  จีดีพี (GDP: Gross Domestic Product) หรือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ…..กับต้องสร้างเศรษฐกิจและสังคม ที่มีการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน…. โดยเลิกพึ่งพาการส่งออก….พร้อมเตือนการอัดสภาพคล่องเข้าระบบ ของนายอภิสิทธิ์…..ว่าต้องระวัง แต่ก็ยังมีความเชื่อมั่นเศรษฐกิจของไทยว่า…….จะเดินหน้าและผ่านทะลุปัญหาต่างๆที่มารุมเร้าในขณะนี้ไปได้….

            เขาเป็นนักเศรษฐศาสตร์ (American economist ) เจ้าของ "ทฤษฎีข้อมูลที่ไม่สมมาตรกัน" (Theory of information Asymmetry)  เป็นความไม่เท่าเทียมกันของข้อมูล  ที่ผู้บริโภคมีข้อมูลข่าวสารน้อยกว่าผู้ขาย ทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อสินค้าอย่างไม่มีประสิทธิภาพ  จนทำให้ผลที่ได้ไม่สมประโยชน์อย่างแท้จริง…….. …Brand …จึงเป็นเครื่องมือหนึ่งของธุรกิจในการช่วยให้ผู้บริโภค ตัดสินใจได้ง่ายขึ้นในสภาวะไม่สมดุลเช่นนี้ แนวคิดนี้อาจสามารถทำลายสิ่งกรีดกั้น ของนักเศรษฐศาสตร์กลุ่มที่เห็นด้วยกับการแทรกแซงของภาครัฐ ซึ่งได้พัฒนาทฤษฎีเกี่ยวกับการล้มเหลวของตลาด (market failure) โดยโต้แย้งว่า รัฐบาลจำเป็นต้องเข้ามาแทรกแซง เนื่องจากกลไกตลาดสามารถล้มเหลวได้ ด้วยทฤษฏีอสมมาตรของข้อมูลข่าวสาร (asymmetric information) ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ตลาดล้มเหลวมาหลายต่อหลายครั้ง…….  แล้ว !             

ผลงานและเกียรติคุณของสติกลิตซ์  :

ในปี 2522…สติกลิตส์ได้รับรางวัล John Bates Clark Medal  จากสมาคมเศรษฐศาสตร์แห่งสหรัฐอเมริกา (American Economic Association) เป็นรางวัลที่ให้แก่นักเศรษฐศาสตร์รุ่นอายุระหว่าง 30 - 40 ปี นักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำของอเมริกา ส่วนใหญ่จะได้รับรางวัลนี้                                                                                       

ในปี 2544…สติกลิตส์แห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ (Nobel Memorial Prize in Economic Sciences) ร่วมกับยอร์จ อเกอร์ลอฟ (George A. Akerlof) แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย และไมเคิล สเปนส์ (Michael A. Spence) แห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด บุคคลทั้งสามได้รับรางวัลจากผลงานการวิเคราะห์การตลาดที่มี สารสนเทศที่ไม่สมมาตร (Markets With Asymmetric Information)

ในปี 2523… เขียนหนังสือ Lectures in Public Economics (McGraw-Hill, 1980)  ร่วมกัน แอนโทนี แอตกินสัน (Anthony B. Atkinson) อาจารย์แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ซึ่งปัจจุบันไปเป็น Master ของ Nuffield College แห่งมหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด

ในปี 2524…เขียนหนังสือ  The Theory of Commodity Prize Stabilization (Oxford University Press, 1981) ร่วมกับ เดวิด นิวเบอร์รี่ (David M.G. Newberry) ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ Department of Applied Economics แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์

สติกลิตซ์…ใช้หนังสือ Globalization and Its Discontents and  Making Globalization Work เพื่อถ่ายทอดความคิดของเขา และได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก….สาระของ Globalization and Its Discontents จะเป็นการวิจารณ์การทำงานของ IMF (International Monetary Fund)ในปี 2540 ว่าล้มเหลว แต่กลับกลายเป็นต้นเหตุของความยากจนโดยไม่มีที่สิ้นสุดในเวลาต่อมา  ส่วนสาระของ  Making Globalization Work  เป็นการเสนอให้ใช้กระบวนการโลกาภิวัตน์ (Globalization) ปรับปรุงระบบ การเงิน การค้า และการพัฒนาเศรษฐกิจของสังคมโลกยุคใหม่
สติกลิตส์
…กับ ลินดา บิลเมส (Linda Bilmes) ร่วมกันแต่งหนังสือ สงครามราคาสามล้านล้านเหรียญ : ต้นทุนที่แท้จริงของความขัดแย้งในอิรัก หรือ “ The Three Trillion Dollar War ” เป็นการวิเคราะห์และวิจารณ์ต้นทุนของสงครามอิรัก เป็นภาระของประเทศสหรัฐอเมริกา และคนทั้งโลก  และนำเสนอยุทธศาสตร์การถอนทหารออกจากประเทศอิรัก
สติกลิตซ์………เป็นผู้ต่อต้านทุนนิยมใช่หรือ…?.....เขาไม่เคยบอกเลยว่าเขาไม่ยอมรับระบบทุนนิยม (capitalism)…ทั้งหมด……!.......แต่บอกว่า มีข้อเสียที่การตลาดไม่สามารถตรวจสอบข้อมูลได้จริง….
ถึงอย่างไรทุนนิยมก็ยังให้โอกาสแก่ผู้ที่ต้องการอยู่เสมอมา….!

ข้อสรุปของ….สติกลิตซ์…แนะนำ 4 คัมภีร์หลักเพื่อกอบกู้เศรษฐกิจไทยยุควิกฤติแฮมเบอเกอร์…คือ 4 ลด

1. ลดการพึ่งพา การส่งออกสินค้า ไปขายยังสหรัฐอเมริกา และยุโรป …..แต่เราจะใช้มาตรการอะไร…?กระตุ่นเศรษฐกิจไทยเพื่อให้คนไทย…..มีกิน…ก่อนการใช้มาตรการเศรษฐกิจพอเพียง………หรือเศรษฐกิจยุคมาร์ค                  

2. ลดการนำเข้าสินค้า ที่ฟุ่มเฟือย มีการใช้สอยสินค้าที่ผลิตภายใน ประเทศระดมการผลิตตามความพร้อม…และความถนัดเพื่อไม่เสีย….ดุลการค้า (Balance of  Trade)……ไม่เกิดภาวะขาดดุล (Balance of  Trade Deficit)….ความคล่องตัวของการจับจ่ายใช้สอยส่วนหนึ่งมาจากการไหลเวียนของเงินในระบบ….แต่เราจะทำอย่างไรให้มีเม็ดเงินนี้ ?....กู้มาหมุนเวียน…..เท่าไรจึงจะพอ….จะเอาเงินที่ไหนใช้คืน…..หรือให้ดึงเงินออมของชาวบ้านมาหมุนเวียน…..จะเพิ่มรายได้อย่างไร….เพื่อให้ภาคเอกชน / คนทำงาน / ชาวบ้าน …มีเงินมาจ่ายภาษีให้รัฐ….ต้องรื้อฟื้นระบบเศรษฐกิจกันใหม่ทั้งหมดหรือไม่..?

3. ลดการขยายตลาดในอเมริกา และยุโรป โดยเพิ่มการค้าภายในภูมิภาคเอเชีย…..เราจะขายให้ใครในเมื่อทุกประเทศในเอเชียต่างก็เป็นผู้ผลิตกันเป็นส่วนใหญ่….?......แนวทางใหม่การขยายการค้าในภูมิภาค…..สามเลี่ยม / สี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ…..ทางหลวงสายอินโดจีนเกิดขึ้นจริงๆหรือและเมื่อไร?…..ไทยจะมีรัฐที่เป็นเอกภาพ จริงๆเสียที !

4. ลดการนำเข้าเครื่องมือและเทคโนโลยี ที่จะทำให้ใช้จ่ายเงินไปโดยได้รับผลตอบแทนไม่คุ้มค่า…..แต่ต้องสร้างเครื่องมือเพื่อใช้ภายในประเทศ….. เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและการตลาดภายใน….โดยต้องเสริมความพร้อมภายในประเทศทั้งของภาครัฐ และเอกชน ให้สร้างงานและดึงดูดเงินตราจากต่างประเทศเข้า ระลอกใหม่ใน…..ต้องรู้ว่าใครเป็นผู้เสริมความพร้อมนี้ !....... ในรูปของ……?.....ขายสินค้าอะไร…..วัฒนธรรม ?....สินค้า OTOP ?.....ขายการมี GHP แทน GDP ?.....ใครเป็นผู้บอกว่า GHP….จากคน 63 ล้านคนจะมีได้จริง….หรือจะทำได้เมื่อไร ?

บทส่งท้ายของตอนที่ 36 :   การบริหารงานที่เอาความสำเร็จของคน / ความมีชื่อเสียงของคน / มาเป็นระบบ / ระเบียบแบบแผน ในการจัดกระบวนทัศน์ โดยขาดการไตรตรองของ…..ผู้นำแล้วละก็ ต้องมาดูว่าผู้นำคือใครด้วยหรือไม่….?.....เอาอย่างได้แต่อย่าเอาเยี่ยง…..!......บริหารแบบไทยๆต้องตามสไตล์สบายๆเปลี่ยนได้ทุกรัฐบาล…..!......ไม่ต้องไปฟังใครๆ พูด / บอกก็ได้ กระมัง !…..จงทำตามนโยบายที่เรามีอยู่เพราะเราใช้…sufficiency economy ..มานานแล้ว !.......เว้นแต่ว่าเรามี……good government…..แล้วหรือยัง ?

 

///////////////////////////////////////////

28/8/2552


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที