ชนิตพล

ผู้เขียน : ชนิตพล

อัพเดท: 18 ม.ค. 2014 06.10 น. บทความนี้มีผู้ชม: 1011123 ครั้ง

"ประสบการณ์ยิ่งมากยิ่งมีคุณค่าควรรู้และยิ่งมีค่ามากที่สุดเมื่อถูกถ่ายทอดออกมาจากใจ"


วันที่ 14 ศาสตร์ของการบริหารงาน (1)( Theory of Management )“ Strategic Management”

ตอนที่ 45

วันที่ 14

ศาสตร์ของการบริหารงาน (Science of Management) (1)

( Theory of Management ) “ Strategic Management”    

                                                                                                                                                                        

           ก่อนถึงรายละเอียดของกระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์นั้น จะกล่าวถึงทฤษฏีของกูรูบางท่านรวมทั้งกฎ และข้อสรุปบางประการ   ที่เรามักนำมาใช้กับการบริหารบุคคล ซึ่งเป็นหัวใจหลัก ของการบริหารงานขององค์การ  โดยที่ทฤษฏีเหล่านี้มักจะถูกนำไปอ้างอิงในการสร้างแผนงานบริหารโดยทั่วไป และแผนการบริหารเชิงกลยุทธ์                                                                                                                                            

Some Theory of Management :                                                                                                       

           1. ทฤษฎีจูงใจของมาสโลว์ ( Maslow’s Hierarchy of Needs Theory ) อับราฮัม มาสโลว์  (Abraham Maslow), (2451-2513) เป็นนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ในปี 2497 เขาได้ศึกษาพื้นฐานของจิตวิทยามนุษย์นิยม (humanistic psychology)  หรือความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์  ที่เรียกว่าทฤษฎี  “ Maslow's hierarchy of needs ” เกี่ยวกับ พฤติกรรม การกระทำ ความต้องการขั้นพื้นฐาน ที่มีส่วนประกอบของ แรงจูงใจ  และสิ่งบันดาลใจ ที่ทำให้เกิดพลังภายในของคน   โดยแสดงออกมาในรูปของการกระทำ กล่าวไว้ว่า….มนุษย์มีลำดับความต้องการ (Hierarchy of Needs Theory) โดยสามารถจูงใจด้วยความต้องการห้าระดับ คือ…1. ความต้องการด้านกายภาพ (Physiological Needs)…2. ความต้องการความปลอดภัย (Safety Needs)…3. ความต้องการทางสังคม (Belongingness Needs4. ความต้องการเกียรติยศ ชื่อเสียง (Esteem Needs)…5. ความต้องการความสำเร็จ (Self-actualization Needs)                                                                                          

           2. ทฤษฎีความต้องการที่แสวงหาของแมคเคลแลนด์ (Acquired-Needs Theory) :  เดวิด ซี แมคเคลแลนด์ (David C. McClelland) , (2460-2541)   นักจิตวิทยาชาวอเมริกา ในปี 2483 ได้ใช้แบบทดสอบการรับรู้ของบุคคลหรือที่เรียกว่า…TAT ( Thematic Apperception Test)  เป็นเทคนิคการเสนอภาพต่างๆ โดยให้บุคคลเขียนเรื่องราวตามที่เขาเห็น และจากการศึกษาพบว่า คนที่มีแรงจูงในการทำงานเพื่อผลสัมฤทธิ์…มีความต้องการอยู่ 3 ประการ แล้วสรุปเป็นทฤษฎีความต้องการที่แสวงหา (Acquired-Needs Theory) คือ…1. ความต้องการความสำเร็จ ( Need for achievement)...2. ความต้องการอำนาจ (Need for power) …3. ความต้องการความผูกผัน(Need for affiliation)  สรุปได้ว่าพนักงานที่มีแรงจูงใจมีความหวังผลสัมฤทธิ์สูง…ต้องการทำงานใน 3 ลักษณะคือ  1. งานที่มีความรับผิดชอบเฉพาะส่วน / มีความอิสระในการตัดสินใจ / แก้ปัญหาด้วยตนเองได้…2. ต้องการทำงานตรงตามความสามารถของตนเอง ไม่ยาก / หรือง่าย จนเกินไป มีโอกาสใช้สมองบ้าง …3. ต้องการงานที่มั่นคง สามารถสร้างผลงานได้ ….มีโอกาสแสดงความสามารถ / จนเกิดความก้าวหน้าในหน้าที่การงานได้                                                                                                               

           3. ทฤษฎีสองปัจจัยของเฮอร์ซเบอร์ก (Herzberg’s Two Factor Theory) : เฮอร์ซเบอร์ก (Frederick Herzberg) , (2466-2543)  เป็นนักจิตวิทยาชาวอเมริกา เขามุ่งมั่นที่จะศึกษาเรื่องแรงจูงใจในการทำงานและมีผลงานออกมา ในปี 2509 -2511  โดยสรุปว่าการให้ค่าแรงต่ำจะทำให้คนส่วนมากไม่พอใจ ในขณะที่เมื่อจ่ายค่าแรงให้สูงก็ไม่ทำให้คนทำงานมากขึ้น ฉะนั้น ทั้งเงิน และความมั่นคงของอาชีพ ก็ไม่ใช่สิ่งจูงใจที่สูงสุดของผู้ที่ทำงาน….เขาจึงตั้งทฤษฎีเพื่ออธิบายและให้ความสำคัญแก่  2  ปัจจัย (Two-factor Theory) คือ…..ตัวกระตุ้น / ปัจจัยจูงใจ  (motivators / Motivation Factor) และ….ปัจจัยค้ำจุน / การบำรุงรักษา / ปัจจัยอนามัย (Maintenance Factor / hygiene) ซึ่งมีผลและส่งอิทธิพลต่อความสำเร็จของงานได้เป็นอย่างดี ผู้บริหาร / ผู้จัดการ ขององค์การ ต้องเข้าใจหลักนี้และสามารถนำไปใช้อย่างได้ผลแก่คนทุกระดับ…..ปัจจัยอนามัย (Hygiene Factors)  เป็นความไม่เต็มใจ / ไม่พอใจในการทำงาน (job dissatisfaction)ได้แก่ รายได้ / เงินเดือน (Salaries) , ตำแหน่ง / ความมั่นคง (Job security),นโยบาย / แนวทาง ขององค์การ (Organization  policy), สภาพแวดล้อมในการทำงาน (Environment  conditions), ความสัมพันธ์ของเพื่อนร่วมงาน (Interpersonal relationship)  และการสั่งงาน / บังคับบัญชา (Supervision) ……..ปัจจัยจูงใจ (Motivating Factors) เป็นความเต็มใจ / พอใจในการทำงาน (job satisfaction)ได้แก่ ผลงาน / ความสำเร็จของงาน (Achievement), ความก้าวหน้า / ความเจริญในหน้าที่  (Advancement & Growth)                                           

ได้รับการยอมรับ / ชื่นชม  (Recognition),  ประเภทของงาน / ท้าทาย / ส่งผลชัดเจน  (Interesting and Challenging Job), ทำงานอย่างเต็มหน้าที่ / มีความเป็นเอกภาพ / มีความอิสระและต้องรับผิดชอบงาน  (Freedom and Responsibility)                                                                                                                           

           4. ทฤษฎีการจูงใจของแมคเกรเกอร์ (McGregor’s Theory X and Theory Y) : แมคเกรเกอร์ (Douglas McGregor),  (2449-2507)  เป็นศาสตราจารย์วิชาการบริหารของ MIT (Massachusetts Institute of                     Technology) , Sloan School of Management ….เขาได้เขียนทฤษฎีการจูงใจในการทำงาน จากพฤติกรรมการทำงานของมนุษย์ ไว้ในหนังสือ…The Human Side of the Enterprise…โดยกล่าวไว้ว่า ผู้บริหาร / ผู้นำ ต้องเข้าใจและรู้ถึงความต้องการของมนุษย์….ในขั้นพื้นฐาน / ซึ่งต้องการแรงจูงใจ โดยต้องทำให้บุคคลากรในองค์การ เกิดความพอใจ / เต็มใจ / และมุ่งมั่น  ที่จะทำงานโดยยึดตามนโยบาย / เป้าหมาย ขององค์การเป็นหลัก เพื่อให้องค์การบรรลุความสำเร็จ ……โดยแบ่งเป็น 2 ทฤษฎีคือ….ทฤษฎี X  เป็นทฤษฎี ที่ใช้ข้อไม่ดี / มุมมอง ของมนุษย์มาสรุปเป็นแนวความคิดได้เป็น 3 ประการ คือ….1. ตามพฤติกรรมโดยทั่วไปของมนุษย์นั้นไม่ชอบทำงาน และจะหาทางหลบหลีกอยู่ตลอดเวลา…..2. มนุษย์ส่วนใหญ่ไม่ชอบเป็นผู้นำ ชอบรับคำสั่งโดยไม่ชอบรับผิดชอบใดๆ ไม่มีความหวังในความก้าวหน้า / ต้องการความมั่นคง / และความปลอดภัย….3. การที่จะให้งานบรรลุวัตถุตามเป้าหมาย ต้องมีการสั่งการ มีกฎข้อบังคับ  มีการควบคุม / ตรวจตรา และมีการลงโทษ                                                                                                                                    

          จากมุมมองในทฤษฎี X  นี้สรุปได้ว่า….การจะมอบหมายงานให้ใครทำงานนั้นจะต้อง มีคนควบคุม / ภายใต้กฎ / ระเบียบ / มีการตรวจตรา / มีสายบังคับบัญชาที่เข้มงวด …..งานจึงจะได้ผลตามวัตถุประสงค์ ถ้างานไม่ได้ผลก็ต้องมีบทลงโทษ ทฤษฎีนี้มองมนุษย์ส่วนใหญ่ที่อยู่ในกลุ่มนี้ในแง่ลบ …..ทฤษฎี Y  เป็นทฤษฎีที่ มองมนุษย์ในแง่ดี โดยสรุปเป็น 4 ประการ คือ….1. มนุษย์ทุกคนย่อมมีความแตกต่างกันทางความคิด  ตามความรู้ / ความสามารถ  แต่จะมีจุดเด่นเฉพาะตัวไม่เหมือนกัน ถ้ารู้จักใช้จะได้ประโยชน์….. และมนุษย์ส่วนใหญ่ จะต้องทำงาน และบางจำพวกมีความขยันเป็นพิเศษ ( ที่เรียกว่าบ้างาน) เสียด้วยซ้ำ แต่การที่เขาไม่อยากทำงาน…อาจจะมาจากสภาพแวดล้อม / ลักษณะของงาน / ความเข้มงวดของกฎระเบียบ / ความไม่พอดีของนายจ้าง / หรือการถูกกดดันจากผู้บังคับบัญชามากจนเกินไป….งานสามารถตอบสนองความสุข ทางกายและทางใจได้ รวมไปถึงการมีเพื่อนและคู่ครองเมื่อถึงวัย / เวลา อันสมควร ซึ่งมีความพร้อมทางด้านเศรษฐกิจด้วย……2. ปกติมนุษย์ส่วนใหญ่ชอบทำงานเป็น ทีม / คณะ / กลุ่ม  องค์การที่จัดการให้มีการทำงาน…ตรงกับพฤติกรรม / ธรรมชาติการอยู่ร่วมกันในสังคมของมนุษย์ ก็มักจะประสบความสำเร็จได้ไม่ยาก / โดย เฉพาะอย่างยิ่งงานที่ต้องทำเป็นระบบ / สายการผลิต / การรวมกันออกแรงทำงานต่างๆ …..3. มนุษย์ต้องการ การทำงานด้วยความคิด / ความสามารถ / การเป็นตัวของตัวเอง / มีความรับผิดชอบ / ไม่จำเป็นต้องถูกบังคับเคี่ยวเข็น / หรือควบคุมเหมือนถูกจับผิด  แต่ต้องรู้ว่าวัตถุประสงค์หลัก  ขององค์การคืออะไร…เขาก็จะทำงานนั้นให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ได้…และองค์การเองก็ต้องเข้าใจในความคิด / ความต้องการในส่วนนี้ด้วย…และความพึงพอใจ / ความภาคภูมิใจจะเกิดขึ้นทุกครั้งที่มนุษย์ทำงานตาม วัตถุประสงค์นั้นได้สำเร็จ…….4. ประสบการณ์ / การเรียนรู้ …การรู้จักรับผิดชอบในการทำงาน / ในหน้าที่ของตน / จะทำให้เกิดความก้าวหน้าทั้งหน้าที่และรายได้ ….การหนี / ไม่สู้กับปัญหา / ขาดการใส่ใจ ก็ไม่ใช่ นิสัยที่แท้จริงของมนุษย์…..ความคิดอันฉลาดแหลมคม / มองโลกในแง่ดี รู้จักสร้างสรรค์สิ่งแปลกใหม่……ก็สามารถสร้างผลงานดีๆออกมาได้ ….สรุปว่า…..ทฤษฎี X  เหมาะสมกับการวางแผนงาน /  การพัฒนารูปแบบของการทำงาน / ในเชิงความคิดเพื่อบริหารจัดการ (Management Thinking) ……ส่วนทฤษฎี Y นั้นจะมุ่งเน้นเรื่องการพัฒนาความคิด / ความสามารถ  ที่ตัวบุคคลของผู้ทำงาน  โดยเฉพาะผู้ที่ฉลาด / ขยัน /  มีความคิดดี ก็จะทำให้พนักงานขององค์การ   มองการทำงานในแง่ดีโดยตลอด  และพร้อมที่เสียสละในการทำงานเพื่อองค์การให้ บรรลุตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ แต่ในขณะเดียวกันพนักงานที่มีไฟ…ก็ต้องการโอกาส / ความปรารถนา / มีเป้าหมาย…..ที่ต้องการให้ตนเองประสบความสำเร็จด้วยเช่นเดียวกัน                      

           5. ทฤษฎีแรงจูงใจใต้สำนึกของฟรอยด์ (Freud’ Psychoanalytic Theory) : ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud),( 2399-2482)  เป็นชาวเชโกสโลวะเกีย แล้วไปเติบโตอยู่ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เรียนจนจบแพทย์ศาสตร์ที่นั่น  เขาชอบค้นคว้า  และพัฒนาทางด้าน แพทย์ศาสตร์ และจิตวิทยาทางการแพทย์  เรียกได้ว่าเป็นบิดาแห่งทฤษฏีจิตแพทย์ ……...จิตวิเคราะห์ทางบุคลิกภาพ และพลังจิตใต้สำนึกที่มีผลต่อพฤติกรรมของแต่ละบุคคล ทำให้เกิดความแตกต่างกัน ในองค์ประกอบของพลังจิต 3 ส่วนได้แก่ …….อิด (Id) หรือ…สิ่งชักจูงทำให้เกิดความต้องการ เช่น ความโกรธเกียจ และความรักใคร่…….อีโก (Ego) ทำหน้าที่ เลือกแนวทางและตัดสินใจ…….ซูเปอร์อีโก (Super Ego) ควบคุมได้ทุกอย่าง เช่นมีสติ   ควบคุมอารมณ์ และความรู้สึก………รู้จักผิด ชอบ ชั่ว ดี ……..เขาได้ศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับจิตใจของมนุษย์  ซึ่งมีผลต่อการควบคุมพฤติกรรม  ….ของมนุษย์ ใน 3 ลักษณะ คือ….1. จิตในสำนึก (Conscious mind) เป็นสภาวะจิตที่รู้ตัวตน เช่นการแสดงพฤติกรรม ของมนุษย์  ในขณะที่อยู่ในสภาพความเป็นจริง..….2. จิตกึ่งสำนึก (Subconscious mind) เป็นสภาวะจิตที่ระลึก / จำเหตุการณ์ ต่างๆ โดยยังไม่ได้ แสดงออกมา…เป็นพฤติกรรมในขณะนั้น / แต่ก็สามารถที่จะนำออกมาใช้ในเวลาหนึ่งเวลาใดก็ได้ …..3. จิตใต้สำนึก (Unconscious mind) เป็นสภาวะจิตที่ไม่รู้สึกตัว และระลึกถึงไม่ได้ / แต่เป็นสิ่งที่ฝังลึกอยู่ในจิตใจ ซึ่งจะมีอิทธิพล ในการจูงใจ / ส่งผลต่อพฤติกรรม ของมนุษย์…..และเขาได้ตั้งทฤษฎีแรงจูงใจใต้สำนึก….เพราะเขารู้ว่า จิตใต้สำนึก (unconscious mind) มีผลมากที่ทำให้เกิดแรง ผลักดันภายใน….จนทำให้เกิดพฤติกรรมของมนุษย์ต่างๆมากมาย  เช่น การที่พนักงานลืมคำสั่งงานของหัวหน้างานอยู่เสมอๆ……นั่นก็เป็นพฤติกรรมของการหลงลืม ….การที่เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย มักไม่ได้เรียกคืนเก็บบัตรของผู้มาติดต่อกับ  โรงงาน / บริษัท ก็แสดงว่าเป็นการเผลอเลอ ของพนักงานอย่างหนึ่ง ….. ซึ่งบางกรณีก็เป็นผลร้าย / ผลเสียได้  การสั่งงานให้ผู้รับมอบ มาทำงานบางอย่าง…แล้วผู้รับมอบนั้นลืมทำ……แต่คำตอบที่เราในฐานะผู้บังคับบัญชามักได้ยินอยู่เสมอว่า …..ผมลืมทำครับ / ขอโทษแล้วผมจะแก้ตัวใหม่ …..แต่ที่สำคัญ ผู้บังคับบัญชา / ผู้จัดการ จะต้องมีบทบาทในการที่จะพิจารณาดูว่า…..การที่พนักงานคนนั้น….มักจะลืม / และกล่าวอ้างเหตุผลอยู่เสมอๆ  ที่แท้จริงแล้วมาจากสาเหตุอะไรกันแน่ !                                                             

           6. ทฤษฎีความคาดหวังของวรูม (Vroom Expectancy Theory) : วิคเตอร์ เอช วรูม (Victor H.Vroom),( 2475)  เป็นนักจิตวิทยาในกลุ่ม ความรู้ความเข้าใจ (Cognitivism) หรือพุทธินิยม (Cognitive Psychology) เน้นเรื่องการเรียนรู้เป็นสำคัญ ….โดยเชื่อว่าการเรียนรู้ จะสร้างความเข้าใจให้กับกระบวนการภายในของจิตใจ  ซึ่งสามารถทำให้มนุษย์ เกิด….ความรู้เพื่อคิดสิ่งต่างๆได้ตามมา  โดยให้ปัจจัยตัวกลางภายนอก เช่น สิ่งเร้าและการตอบสนองตามความรู้สึก / นึกคิด   มีความสำคัญในระดับลองลงมา…..ในปี 2507 วรูมได้ ทำการวิจัยการทำงานของ พนักงาน / เจ้าหน้าที่ / คนงาน ของโรงงานอุตสาหกรรม โดยตั้งเป็น….ทฤษฎีความคาดหวัง….ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของผลงานวิจัย ต่างๆตามออกมาอย่างต่อเนื่อง  เกี่ยวกับเรื่องแรงจูงใจ…ของผู้ที่ทำงาน ในโรงงานอุตสาหกรรม…..โดยพยายามอธิบายเกี่ยวกับ…ความคิดของคนที่มีผลต่อแรงจูงใจและพฤติกรรมซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญ…มากกว่าสิ่งเร้าภายนอก เช่น ตำแหน่งหน้าที่  เงินเดือน และโบนัส …..วรูม จะเน้นความคิดให้อยู่ในรูปของ…ความคาดหมาย / คาดหวัง   ของคน แทน ความคิดเรื่องการวางแผนงาน  หรือการตั้งเป้าหมาย ในการทำงานตามหน้าของแต่ละคน  วรูมได้สรุปเป็น  2  ประการสำคัญคือ…...1. “ค่านิยม” ที่มาจาก…ความคาดหวังในการทำงาน…เช่น เมื่อ ทำงานด้วยความขยันหมั่นเพียร / ซื่อสัตย์สุจริต แล้วจะได้อะไร….ตามมา…อาจจะเป็น ตำแหน่งหน้าที่ / เงินเดือน / ความภาคภูมิใจ / ได้รับการชมเชย ….หรืออื่นๆ…..2. “ แรงจูงใจ” เป็นสิ่งกระตุ้นหรือความพยายาม โดยความสามารถของตน ที่จะทำให้   ได้ผลสำเร็จตามค่านิยม ที่ได้คาดหวังไว้ ……เปรียบเสมือนว่า….ความคาดหวังเป็นสิ่งจูงใจจากภายนอก…ที่ต้องทำให้ ค่านิยมและแรงจูงใจประสบความสำเร็จได้   

           7. ทฤษฎีกลไกของเดการ์ต  : เดการ์ต (Descartes),( 2139-2193)  เป็นนักปรัชญาชาวฝรั่งเศสที่มีแนว  ความคิดที่เริ่มจากการ มีความสงสัยในทุกสรรพสิ่งในโลก …..เริ่มจากการสงสัยในตัวเองก่อนว่า มีอยู่จริง …สงสัยว่ามีโลกนี้และมีนอกโลก…มีโลกอื่นๆ…มีพระผู้เป็นเจ้า.….มองทุกอย่างด้วยความสงสัย  และจะสิ้นสุดที่ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าสิ่งนั้น มีอยู่ / เป็นความจริง……..และถือได้ว่าเขาเป็นบิดาของวิชา…ปรัชญาสมัยใหม่  หนังสือ…Discourse on Method…ที่เขาเขียน เป็นการสรุป หลักตรรกวิทยา 4 ข้อ คือ…1. การที่ไม่ยอมรับความจริงในสิ่งที่ยังไม่ได้พิสูจน์ / จนกว่าจะได้เห็นชัดเจน / โดยไม่ต้องสงสัยอีกต่อไป…2. การที่จะพิจารณาว่าสิ่งใดเป็นจริงนั้นจะเริ่มจากการมองสรรพสิ่งจากง่ายไปหายาก เพราะจะทำให้สมองค่อยๆรับความสลับซับซ้อนของสิ่งนั้นๆเป็นขั้นๆไป ….3. ความทรงจำที่ดี และสิ่งที่ได้พิสูจน์แล้วว่าเป็นจริง หรือเหตุการณ์ต่างๆในชีวิต ต้องมีการจดบันทึก และมีการหยิบเอามาใช้ในเวลาอันควรได้….4. ปัญหาที่เกิดขึ้นในสภาวะใดๆก็ตาม ควรที่จะมีการแบ่งแยกตามความสำคัญ  โดยแยกออกเป็นข้อๆ เพื่อง่ายต่อการวิเคราะห์ และแก้ปัญหา……เดการ์ต ได้พิสูจน์ถึงการมีอยู่จริงของร่างกาย และการมีอยู่ของโลกภายนอก จนสรุปมาเป็นหลักของ จิตวิญญาณของมนุษย์ 3 ข้อคือ….1. วิญญาณที่สร้างขึ้นหรือจิตมนุษย์ …2. วิญญาณที่ไม่มีใครสร้างขึ้นหรือพระเจ้า  และ 3. โลกภายนอกหรือร่างกาย………โดยกล่าวว่า “จิต” เป็นความคิด…“ร่างกาย” มีคุณลักษณะ คือต้องการกินและมีการเคลื่อนที่…..และถือว่าร่างกายมนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของจักรกล…..ที่มีความแตกต่างกับธรรมชาติอื่นๆอยู่บ้าง  แต่ก็ยังต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ของจักรวาล…..และมนุษย์ในมุมมองของเขาก็คือ จิตวิญญาณและร่างกาย….นั่นเอง !                                                                                                   

          8. ทฤษฎีของล็อค :  จอห์น ล็อค (John Locke),( 2175-2247)  เป็นนักปรัชญาชาวอังกฤษ (English philosopher) มีแนวคิด  ทางอิสระภาพและเสรีภาพของมนุษย์  และเป็นสิทธิ์ที่เกิดจากความเป็นผู้มีเหตุผลของมนุษย์   การไม่ยอมรับกฎตามธรรมชาติ นั้น ทำให้มนุษย์พยายามหนีออกจาก…..สภาพธรรมชาติ ของมนุษย์จะใช้เหตุผลในการตัดสินใจ / โดยไม่ต้องมีการบังคับ / ในสภาพธรรมชาติ     พระเจ้าเป็นผู้ให้กฎแห่งเหตุผล / เป็นกฎของสังคม / ทุกคนมีความเสมอภาคที่จะรับมันไว้ …..ไม่ใช่ผู้ปกครอง / หรือรัฐบาล   เป็นผู้ให้  และกฎแห่งเหตุผลนี้ถือว่าเป็นกฎของสังคม    การมีสังคม / มีการปกครอง / มีรัฐบาล… มนุษย์อยู่กับสภาพธรรมชาติมาก่อน…. ธรรมชาติเองก็มีกฎ / ระเบียบแบบแผน  / เหตุผล อยู่ในตัว …มนุษย์ที่อยู่ภายใต้กฎแห่งเหตุผลก็จะต้องเคารพเสรีภาพและไม่ก้าวก่ายสิทธิซึ่งกันและกันด้วย….. สภาพธรรมชาติจึงเป็นสภาพที่สงบสุข ไม่มีสงคราม ไม่มีการ….ทำลายล้าง…ไม่มีการแย่ง ชิงอำนาจ / ผลประโยชน์กัน  เหมือนที่เป็นอยู่ในขณะนี้….. แต่สภาพธรรมชาติ / การปกครองโดยรัฐ ก็ต้องมีกฎธรรมชาติ / กฎหมายการปกครอง เพื่อลงโทษผู้กระทำผิด / ละเมิดสิทธิ / ละเมิดกฎหมาย…..เพื่อให้มนุษย์อยู่กับธรรมชาติ / อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสงบสุข……ในสภาพธรรมชาติมนุษย์ยังมีสิทธิ์ในการครอบครอง….ทรัพย์สินด้วยสิทธิของตนเอง...ด้วยการทำงานด้วยแรงงาน….ของตนเองผสานกับสิ่งที่เป็น…ธรรมชาติที่พระเจ้าให้มา….ก็สมควรที่จะเป็นเจ้าของและครอบครองทรัพย์สินนั้นได้  เป็นสิทธิขั้นมูลฐานตามธรรมชาติของมนุษย์อยู่แล้ว ….รัฐบาล / ผู้ปกครองประเทศ / ผู้นำของสังคม  ไม่มีสิทธ์ในทรัพย์สินเหล่านี้…….ซึ่งจะไปต่อต้านกับลัทธิศักดินา…ที่มอบให้ผู้ปกครอง / กษัตริย์  เป็นเจ้าของที่ดิน / ทรัพย์สินนั้นๆ……ความคิดนี้จึงเป็นที่มาของ หลักกรรมสิทธิ์ / สิทธิส่วนบุคคล ฉะนั้นกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลจึงเป็น….เครื่องบ่งชี้ถึง….เสรีภาพ…..ในการปกครองบ้านเมืองของผู้ปกครองประเทศด้วย …….จากการที่…ล็อค…มีความเห็นว่ามนุษย์มีเสรีภาพและกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ….แต่สภาพทางธรรมชาติก็ยังขาดความสมบูรณ์อยู่ 3 ข้อหลัก คือ…1. มนุษย์มี  เหตุผลที่ไม่เหมือนกันจึงพยายามสร้างกฎข้อบังคับเพื่อสนับสนุนเหตุผลของตนเอง มีการเข้าข้างตนเองเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว…. และมักยึดเอาผลประโยชน์ที่ต้องการเป็นกฎธรรมชาติ…2. การตัดสิน / พิพากษา โดยคนกลางที่ไม่มีผลประโยชน์ เป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหา ข้อพิพาท / ข้อขัดแย้ง ต่างๆ ได้ การปล่อยให้ มนุษย์ตัดสินข้อขัดแย้ง / กันเองนั้น อาจจะทำให้เกิดการทะเลาะวิวาท /  การแก้แค้นขึ้นได้……3. เมื่อเกิดผู้เสียหายขึ้นก็ต้องมีการลงโทษ แต่ถ้าไม่มีการลงโทษ…..ก็ต้องหาพวกพ้อง / กลุ่ม และต้องพยายามออกจากสภาพธรรมชาติ และเข้าหา….กลุ่มที่เป็นตัวแทน /  ปากเสียง ให้ตนได้….เพื่อทำการแทน ทั้งการเมือง / การปกครอง โดยอยู่ภายใต้กติกาเดียวกัน…..โดยการตกลงภายใต้เงื่อนไข และความยินยอมของสมาชิก และต้องยอมรับเสียงข้างมากในการบริหารสังคม / บ้านเมือง…….ล็อค…ได้ถ่ายทอดความรู้ทางด้านปรัชญา ดังปรากฏอยู่ในหนังสือมากมาย หลายเล่มอาทิ…..เช่น Two Treatises of Government ….ซึ่งกล่าวถึงสิทธิมูลฐานของมนุษย์………. An Essay Concerning the True Original, Extent and End of Civil Government ….เป็นทฤษฎีของการจัดตั้งรัฐบาล โดยประชาชนให้การยอมรับ  โดยรัฐมีมาตรการต่อสวัสดิการของประชาชน…Letters on Toleration เป็นหนังสือเกี่ยวกับการเมือง ….Essay Concerning Human Understanding  เป็นทฤษฎีที่เกี่ยวกับความรู้ที่เน้นในเรื่องของประสบการณ์  โดยให้ความสำคัญกับการรับรู้ทางประสาทสัมผัสในฐานะที่เป็นจุดเริ่มต้นขององค์ความรู้ทั้งหมดเรียกว่า…ทฤษฎีเชิงประจักษ์                                                                                                                                                      

           9. ทฤษฎีการจูงใจว่าด้วย EGR ของแอลเดอร์เฟอร์ : เคลย์ตัน อัลเดอร์เฟอร์ (Clayton Alderfer),(2483 ) เป็นนักจิตวิทยา ชาวอเมริกา ได้ตั้งทฤษฎีการจูงใจ EGR โดยพัฒนามาจากทฤษฎีการจูงใจของ มาสโลว์ (Maslow)  โดยตรง   อัลเดอร์เฟอร์ สร้างจุดเด่นที่ต่างจาก มาสโลว์   โดยแบ่งความต้องการของมนุษย์ เป็น 3 ประเภท ที่ตรงกับความเป็นจริง /  ความต้องการของมนุษย์ ซึ่งประกอบด้วย…1. E (Existence) เป็นความต้องการอยู่รอด / ความต้องการดำรงชีวิต …2. R (Relatedness) เป็นความต้องการมีความสัมพันธ์ทางสังคม /สัมพันธภาพกับผู้อื่น และ…3. G (Growth) เป็นความต้องการความก้าวหน้า / การเจริญเติบโต มี รายละเอียดแต่ละประเภทดังนี้                                                                                                                           
           E – ความต้องการอยู่รอด / ความต้องการดำรงชีวิต…เป็นความต้องการปัจจัย 4 คือความต้องการ ทางด้านร่างกาย  ได้แก่ อาหาร เครื่องใช้/เสื้อผ้า  บ้าน/ที่อยู่  และยารักษาโรค  สำหรับการดำรงชีวิต  เป็นการทำงาน เพื่อต้องการสิ่งตอบแทน เช่นรายได้ / เงินเดือน/ ค่าจ้างเงิน/ ผลประโยชน์ มีตำแหน่งหน้าที่ / การงานดี และมีความปลอดภัย                                                                                                                                      

           R – ความสัมพันธ์ทางสังคม / สัมพันธภาพกับผู้อื่น…เป็นเรื่องของความต้องการทุกชนิดที่มี ความหมาย และความสำคัญ  โดยมนุษย์จะมีความสัมพันธ์ กับสังคม…ทั้งที่บ้าน / ในที่ทำงานขององค์การของเรา ต้องการผู้นำ / ต้องการหัวหน้า ในขณะที่ตนเองจะเป็นผู้ตามที่ดี …..โดยมีสัมพันธภาพกับเพื่อนร่วมงาน  /  ระหว่างบุคคลในองค์การ เพื่อส่งเสริม ความมั่นคง / ความมั่นใจ / ความสบายใจ  / การยอมรับทางสังคม / และได้รับยกย่องจากคนรอบข้าง / ในสังคมที่ตนเองยอมรับ                                                     
           
G – ความต้องการความก้าวหน้า / ความเจริญเติบโต…เป็นความต้องการที่เกิดขึ้นเพื่อความ  เจริญเติบโต / ความก้าวหน้าของผู้ที่ทำงาน…..เป็นความต้องการที่สามารถเริ่มงาน  / และสามารถต่อสู้     เพื่อพัฒนาความรู้ และก่อให้เกิด การเติบโต  / ความสามารถ  / มีความรับผิดชอบในหน้าที่การงาน โดยมีความหวังว่า จะได้รับความสำเร็จทางจิตใจ / หน้าที่การงาน ของตนเองต่อไปในอนาคต                               
          ข้อสมมุติฐานของทฤษฎี ERG  สรุปได้เป็น 3 ประการ คือ…1. ความต้องการ การตอบสนอง (Need satisfaction) เป็นความต้องการระดับที่ได้รับการตอบสนองต่ำ ซึ่งมีความต้องมาก   เช่น พนักงานทีทำงานมาก ที่ได้เงินค่าตอบแทนน้อย ก็ต้องการเงินมากตามขึ้นมาด้วย…2. ขนาดของความต้องการ (Desire   strength) เมื่อคนเรามีความพร้อมแล้ว…..ในเรื่องปัจจัยสี่….สิ่งที่ต้องการต่อไป หรือต้องการมากขึ้น ก็คือ ความมั่นคง / ความยั่งยืน / ความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน มากขึ้นตามมาด้วย …3. ความต้องการที่ไม่ได้รับการตอบสนอง (Need frustration) เป็นสิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้ยาก และอยู่สูงสุดเอื้อม   พนักงานบางระดับไม่สามารถ ปรับระดับ ขึ้นไปถึงได้  เขาเหล่านั้นก็ต้องหา ความต้องการใหม่ / ความสนใจใหม่ / การตอบสนอง / การยอมรับ จากสังคม / ในระดับอื่นๆที่รองลงมาแทนที่เดิม / นั่นหมายถึงอุปสรรคที่เขาคาดว่าจะพบเจอก็จะน้อยลง / และสามารถทำได้จริงๆ  / และอาจจะแปลเปลี่ยนเป็น ความสัมพันธ์ ระหว่างบุคคลในระดับเดียวกัน / เพื่อนร่วมงาน / ผู้ใต้บังคับบัญชา และการยอมรับในสังคมที่เขามีความพอใจ              

           10. ทฤษฎีความเสมอภาคของอดัม : อดัม สมิธ (Adam Smith) ,(2266 –  2333) เป็นนักปรัชญา ชาวอังกฤษ ผู้คิดค้นหลักของการแบ่งงานกันทำ ( Division of Work) เป็นนักทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ลัทธิเสรีนิยม….ที่ประณามสมาคมอาชีพในยุโรป มีความเชื่อมั่นในพลังของบุคคลที่มีผลและอิทธิพลต่อตนเอง….ในการสร้างความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจให้กับตนเองและองค์การ    โดยไม่ต้องอยู่ภายใต้การ บังคับจากองค์การใดๆ ซึ่งทำให้ยุโรปมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่…. ระบบการค้าเสรี (free-market economy) โดยให้ผู้ประกอบการรวมตัวกันได้…. เขาได้รับการยกย่องว่าเป็น….บิดาแห่งเศรษฐศาสตร์ยุคใหม่……..เขาคิดทฤษฎีความเสมอภาคของกระบวนการทางสังคม….บุคลากรทุกคนในองค์การต้องการความเสมอภาค…ความเป็นธรรมจากผู้บริหาร / ผู้นำองค์การ / บุคคลจะรับรู้ว่าตนเองได้รับความเสมอภาค     ก็ต่อเมื่อมีการเปรียบเทียบ ….อัตราส่วนระหว่างปัจจัยที่ใช้ทำงานกับปัจจัยที่ได้จากผลงาน ….มีการเปรียบเทียบอัตราส่วนกันระหว่างบุคคลในองค์การ  ปัจจัยที่ใช้ทำงานก็คือ….ความพยายามที่พนักงานที่ทำให้กับองค์การ…..ออกเป็น…ความทุมเทกำลังกาย / กำลังใจ  / ความรู้ / ความสามารถ  ทั้งหมด  ส่วนปัจจัยที่ได้จากผลงาน ก็คือ…ผลที่ได้จากการทำงาน….ทั้งเงินทอง / หน้าที่การงาน / ความสำเร็จ ในหน้าที่การงาน….พนักงานมักจะคิดถึงความไม่เสมอภาค  และชอบเปรียบเทียบกับผู้อื่นในองค์การ……ผู้นำ / ผู้บริหาร / ผู้จัดการ…ควรทำในสิ่งที่ทำให้ทุกคนยังคง / ยอมรับได้ / ท่ามกลางการไม่เสมอภาคในองค์การ …….โดยมีการเปลี่ยนแปลงการทำงานบางอย่างเช่น…..โดยปรับเปลี่ยนปัจจัยที่ใช้ทำงาน …..ปรับเปลี่ยนปัจจัยที่ได้จากผลงาน …..ปรับเปลี่ยนจุดเปรียบเทียบ…..ปรับเปลี่ยนสถานการณ์ ต่างๆ ในการทำงาน ……..ผลงานของอดัม สมิธ…..ที่น่าสนใจและเป็นเสมือนคัมภีร์ของนักบริหาร เช่น ทฤษฎีว่าด้วยศีลธรรมที่เร้าต่อความรู้สึก (The Theory of Moral Sentiments), (พ.ศ. 2302)….การหาสาเหตุและสืบหาธรรมชาติของความมั่งคั่งของประชาชาติ (An Inquiry Into the Nature and Causes of the Wealth of Nations),( พ.ศ. 2319)…..กล่าวถึงเนื้อหาของปรัชญาของคน (Essays on Philosophical Subjects),(พ.ศ. 2338)….Lectures on Jurisprudence (พ.ศ. 2519)                   

                                                                                                                                                                          

บทส่งท้ายของตอนที่ 45 :   จากทฤษฎีต่างๆที่เน้นเรื่องการเข้าถึงส่วนลึกทางจิตใจของคน เป็นส่วนหนึ่งในการเข้าถึงการวางแผนงานทาง…ทรัพยากรณ์มนุษย์….ซึ่งมีส่วนประกอบที่ซับซ้อนอีกมาก และต้องนำมา  คิด / พิจารณา เป็นหลักเบื้องต้นในการวาง นโยบายในการบริหารงานขององค์การ ไม่ว่าจะเป็นการบริหารแบบปกติ หรือการบริหารงานเชิงกลยุทธ์ก็ตาม เพราะคนเป็นกลไกที่สำคัญและเป็นกลไกเดียวที่มีความไม่แน่นอนและมีการเปลี่ยนแปลงสูงมาก  องค์การ / บริษัท ที่อยู่ในระดับกลางๆ (มีบริษัทย่อยๆในอยู่เครือหลายบริษัท) หลายแห่งที่มีการบริหารองค์การ อย่าง เผด็จการ….เอาตัวเจ้าของกิจการเป็นใหญ่ ! ….และส่วนมาก กว่า 90% ที่มักลืมตัวเอง…หลงละเริงกับความสำเร็จในตัวของตนเอง และถือว่ากิจการทั้งหมด…หามาได้…มีมาได้…โตมาได้…ขยายมาได้…เพราะความเป็นมนุษย์ของตนเองเท่านั้น….เวลาที่เนินนานที่ผ่านไป……ยิ่งเมื่อเขาเริ่มมีอายุมากขึ้น(เริ่มแก่ขึ้น)….เขายิ่งเผด็จการมากขึ้น!….มักชอบมองข้ามหัวคน!….นอกจากคนที่รู้ใจ…..ใกล้ชิดและเอาใจตนเอง….เขาไม่เคยคิดเลยว่า….กิจการ / องค์การ…ที่โตมาได้เพราะใคร?…..ก็เพราะพวกคนที่จงรักภักดีต่อท่าน / องค์การ มิใช่หรือ ?....ที่อยู่ร่วมทุกข์ร่วมสุข กันมาจนกระทั่งมาถึงทุกวันนี้ได้ ……จงอย่ามองว่าคนเก่าๆ เหล่านั้นไม่มีคุณค่า…..ท่านรู้หรือไม่ว่า….พวกวัยทำงานรุ่นใหม่ๆที่…อาจจะมีดีกรีมากกว่าคนรุ่นเก่าๆนั้น….เขากำลังคิดอะไรอยู่…..แน่นอนท่านบอกว่าท่านรู้…..แท้ที่จริงแล้ท่านรู้จริงหรือไม่?….หรือท่านกำลังแกล้งไม่รู้กันแน่! ….เพียงท่านหวนคิดถึงหลักพื้นฐานของความต้องการของมนุษย์ที่ท่าน GURU หลายๆท่านดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น…..ท่านน่าจะเข้าใจความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ ดียิ่งขึ้น…แต่สิ่งที่คนรุ่นใหม่ๆคิดนั้น….มันเลยเถิดกว่าความต้องการนั้นๆไปหลายขั้นแล้วอย่างแน่นอน!…..ถึงแม้ว่าท่านอาจไม่ใส่ใจก็ตาม…เพราะท่านมีเงินมาก / มีสมบัติเหลือล้น พอที่ท่านจะอยู่ได้อย่างสบายไปตลอดชีวิต และที่สำคัญก็เพียงพอที่จะเล่นเกมส์กับคนรุ่นใหม่ๆเหล่านั้นก็ได้…….แต่ท่านจงเข้าใจว่า….คนที่อยู่กับท่าน….ที่มีความภักดีกับท่านคงยังมีความคิดที่ดีกับองค์การของท่านเหมือนเดิม…ตราบที่เขายังทำงานอยู่กับท่าน….เงินอย่างเดียว!  ท่านคิดว่าสามารถซื้อทุกอย่างได้จริงหรือ?…..ที่แน่นอนผู้ที่จงรักภักดีกับท่าน……เขาก็มีทางไป / ทางออก ของเขาอยู่ ….อย่างแน่นอน…..แต่ที่เขายังอยู่กับท่านก็เพราะเขามีความผูกพันทางด้านจิตใจกับองค์การของท่าน มากกว่าความต้องการสิ่งอื่นๆมิใช่หรือ…?....ท่านเคยคิดเคยถามคนเหล่านั้นแล้วหรือยัง ?...... แต่มีผู้บริหาร…ที่ประสบความสำเร็จไม่น้อยที่เริ่มการบริหารองค์การ…..จากการทำความเข้าใจความต้องการขั้นพื้นฐานของบุคลากรในองค์การก่อน….โดยให้ความเสมอภาคกับทุกๆคน ไม่ว่าคนเก่าหรือคนใหม่ก็ตาม / แล้วจึงจะจัดการกับ…ระบบ / ระเบียบ /  และแผนงาน…ขององค์การต่อไป……และที่สำคัญ…..คุณเองจะมีความสุขบนความสุขของทุกๆคนในองค์การ….อย่างแน่นอนโดยเฉพาะความสุขทางใจของคุณเองที่เกิดจากแรงส่ง / เกื้อหนุนและแรงผลักดัน….จากพลังจิตใจของผู้ใต้บังคับบัญชา / พนักงาน ทุกๆคนในองค์การของท่านอย่างแน่นอน !

ปัญหาท้ายตอนที่ 45:  1. ในฐานะที่ท่านเป็นผู้บริหาร / ผู้นำ ท่านมีแนวทางในการสรรหาทรัพยากรมนุษย์มาทำงานในองค์การของท่าน โดยจัดเป็นกระบวนการสรรหาที่สำคัญ…..เพราะท่านเองก็ต้องการผู้ร่วมทีมงานมาจัดตั้ง ระบบการบริหารเชิงกลยุทธ์….?                                                                                                           

                                     2. ทดลองเขียนแผนผังตาม…ทฤษฎีจูงใจของมาสโลว์…และทฤษฎีการจูงใจของแมคเกรเกอร์ ….ดูครับ!                                                                                                                                             

 

/////////////////////////////////////////

18/10/2552


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที