ตอนที่ 47
วันที่ 14
ศาสตร์ของการบริหารงาน (Science of Management) (3)
(Theory of Management) Strategic Management
1. การจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management)
การจัดการเชิงกลยุทธ์ เป็นกระบวนการ
วางแผนงานและมีการปฏิบัติให้เป็นไปตามแผน / ระบบงาน ภายใต้การควบคุมตามแผนงานนั้นๆ
เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ขององค์การ ตามที่ได้กำหนดไว้ทุกประการ
เริ่มจาก
การกำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) พันธกิจ (Mission) วัตถุประสงค์ (Objective) เป้าหมาย (Goal) ขององค์การ
ในช่วงเวลาที่กำหนด มีการวางแผนของกิจกรรมตามกระบวนการ
และพันธะกิจ เพื่อนำไปสู่การบรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย
.โดยมีการคำนึงถึง
การเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมของธุรกิจ
.และนำเอาโอกาส หรืออุปสรรคที่มีผลต่อ องค์การ มาพิจารณาร่วมกัน
เพื่อหาจุดแข็งหรือจุดอ่อน
.เป็นการป้องกัน / แก้ไข
ปัญหา / อุปสรรค
.ที่อาจจะเกิดขึ้น
มีการใช้โอกาสที่มีอยู่นั้น
ให้เป็นประโยชน์ได้มากที่สุด
เพื่อประกอบในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ ซึ่งจะมีผลต่อการดำเนินงานขององค์การในระยะยาว
.การจัดการเชิงกลยุทธ์จึงเป็นการบริหารงานที่ต้องคำนึงถึงปัจจัยหลักขององค์การได้แก่
ลักษณะของกิจการ / ประเภทของธุรกิจ
การวางแผน / การจัดการ / การดำเนินงาน
.สภาวะการตลาด / สภาพแวดล้อม / การแข่งขัน
การจัดการต่อทรัพยากรที่มีอยู่ / การสรรหา
.และการปฏิบัติตามแผนเพื่อให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์
ตามแผนเชิงกลยุทธ์ ขององค์การ
2. รายละเอียดของการจัดการเชิงกลยุทธ์
.ตามที่ได้กล่าวมาแล้วว่า
การจัดการเชิงกลยุทธ์ มีองค์ประกอบและวิธีการ เพื่อดำเนินงานได้ 5 ประการ ได้แก่
.1. การกำหนดทิศทาง (Direction Setting)
..2. ประเมินสถานการณ์ จากสภาพแวดล้อม(Environment Scanning)
..3. การวางแผน / กำหนดวิธีการ / การปฏิบัติงาน ของกลยุทธ์ (Strategy Formulation)
..4. การปฏิบัติตามแผนกลยุทธ์(Strategy Implementation)
..5. การควบคุมและประเมินผล (Control and Evaluation ) .....ดังมีรายละเอียดของการดำเนินงานทั้ง 5 ประการดังนี้ :-
2.1 การกำหนดทิศทาง (Direction Setting)
เป็นการกำหนดกรอบการดำเนินงาน
. เปรียบเสมือนแนวทาง / ทิศทางขององค์การ ซึ่ง ประกอบด้วย
.การกำหนดวิสัยทัศน์ (Vision)
การกำหนดพันธกิจ / ภารกิจ ( Mission)
.โดยมีเป้าหมาย (Gold) ในอนาคต
.ที่มีระยะเวลากำหนดเป็นช่วงหนึ่งช่วงใด ที่แสดงให้เห็นถึง
จุดประสงค์ (Objective) ของการดำเนินธุรกิจอย่างชัดเจน
วิสัยทัศน์ (Vision) เป็นภาพในอนาคต / ที่แสดงถึงแนวคิด / สถานภาพใหม่ ๆ ขององค์การ ที่บุคคลระดับบริหาร / ผู้นำ / สมาชิกในองค์การ มีความมุ่งหวังที่จะเป็น / พึงปรารถนา
.และสามารถทำให้เกิดความเป็นจริงได้
ด้วยการกำหนดเป้าหมาย ที่สอดคล้องกับภารกิจหลัก
ขององค์การ
บุคคลที่มีวิสัยทัศน์
..คือบุคคลที่สามารถใช้เหตุและผล
ของปัจจัยที่มีอยู่ / ในสถานภาพปัจจุบัน
เป็นข้อมูลเพื่อคาดการณ์ว่า
จะเกิดการเปลี่ยนแปลงในอนาคตไปอย่างไร / ในทิศทางไหน / และ สามารถที่จะนำสิ่งต่างๆเหล่านั้น / มาสร้างโอกาสเพื่อเป็นประโยชน์ให้กับองค์การ
วิสัยทัศน์ที่ดี
..ต้องมาจากบุคคลที่มีวิสัยทัศน์ที่สามารกำหนด
..แนวทาง / วิถีทาง
ให้กับอนาคตขององค์การได้อย่างชัดเจนและแม่นยำ
.สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง
สร้างความเป็นผู้นำทางธุรกิจ / กิจการ ให้กับองค์การและทุกคนในองค์การ
มีส่วนร่วมในแนวทางตามวิสัยทัศน์
..มีผลงานเป็นที่ยอมรับทั้งภายใน / ภายนอกองค์การ
.เกิดการให้บริการที่ดีแก่ลูกค้า
.สร้างความก้าวหน้าให้กับพนักงานในองค์การ
.และทำให้ธุรกิจ / กิจการ
. มีแรงผลักดัน / มีแรงกระตุ้น / สร้างกำลังใจ
ให้กับทุกคนในองค์การ
วิสัยทัศน์ที่ดี
..ไม่จำเป็นต้องมาจากผู้นำ / ผู้บริหาร
.เสมอไป
. แต่ผู้นำ / ผู้บริหาร
..จำเป็นที่จะต้องเป็นผู้สร้างความเป็นหนึ่งเดียวของ
วิสัยทัศน์นั้น / ต้องเป็นผู้ปลุกเล้า / ก่อให้เกิดแรงกระตุ้น
.มีการระดมความคิด / ในการทำงานให้บรรลุเป้าหมายตามแนวทางของวิสัยทัศน์
และที่สำคัญผู้นำต้องสามารถ ถ่ายทอด / และสื่อสารวิสัยทัศน์ทั้งหมดขององค์การ
..ให้กับพนักงานทุกระดับ
.ได้โดยง่ายและให้ทุกคนเข้าใจ
จึงเรียกได้ว่าเป็นวิสัยทัศน์ที่ดีขององค์การ !
การกำหนดวิสัยทัศน์
..ผู้นำ / ผู้บริหาร
ต้องยอมให้มีการกำหนดวิสัยทัศน์ย่อยๆภายในขององค์กร
..แต่ ต้องเป็นวิสัยทัศน์ที่สนับสนุนวิสัยทัศน์หลักขององค์การด้วย
.โดยให้เป็นไปตาม
ภารกิจหลัก / จุดประสงค์ / และผลที่คาดว่าจะได้ ขององค์การ
พันธกิจ / ภารกิจ (Mission) หมายถึง ขอบเขต / ข้อกำหนด / หน้าที่
.ที่ต้องทำ ในปัจจุบัน / ยาวนานไป ถึงในอนาคต
ตรงตามวิสัยทัศน์ / เป้าหมายขององค์การ
ภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยมีความสอดคล้องกับรูปแบบของการจัดองค์การเพื่อนำไปสู่ความเป็นเลิศ
.ในการทำงาน / ให้บริการ
.ได้ดีกว่าคู่แข่ง
พันธกิจ
..ที่ดีจะต้องสามารถสะท้อนให้เห็นว่า
ผู้นำ / ผู้บริหาร
ขององค์การ มีวิสัยทัศน์และปรัชญาในการบริหารอย่างไร
.เพื่อนำพาองค์การไปสู่ เป้าหมาย ตรงตามวัตถุประสงค์
ที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม
ทั้งภายใน / ภายนอก
และสามารถกำหนดเป็นแผนการบริหารงานเชิงกลยุทธ์ขององค์การได้
พันธกิจ
..ที่ตรงตามวัตถุประสงค์ และบรรลุตามเป้าหมาย
.นั้น สามารถส่งผลต่อ
การบริหารงาน / การให้บริการ / ยอดการขาย
..ตามวิสัยทัศน์ขององค์การ
.และเป็นผลสะท้อนจาก ผู้ร่วมงาน / ลูกค้า / คู่แข่งทางการค้า / คู่เปรียบเทียบของการให้บริการ
..และการยอมรับของระดับบริหารเป็นประการสำคัญด้วย
การกำหนดพันธกิจ
จุดสำคัญในการกำหนดพันธกิจให้ตรงตาม
เป้าหมาย
วัตถุประสงค์
.ของการบริหารเชิงยุทธศาสตร์
..จะต้องผ่านการวิเคราะห์ในหัวข้อต่างๆเหล่านี้ คือ
..มีการวิเคราะห์หาพันธกิจ / ภารกิจ
..ที่เป็นภารกิจหลักและภารกิจรอง
.ทุกคนในองค์การต้องไม่สับสนในประเด็นนี้
..และบอกได้ว่า
.1. องค์การของเรามีจุดประสงค์เพื่อ
ทำการค้า / ธุรกิจ / ผลิตอะไร / บริการอะไร
.โดยวางจุดมุ่งหมายอะไรไว้
..2. สินค้านั้นผลิตเพื่อให้บริการแก่ใคร / ขายใคร
..สินค้า / การบริการ นั้นมีจุดเด่นอะไร / จุดแข็งของการบริการคืออะไร
3. องค์การมีทิศทาง
ของกานดำเนินงาน / การผลิต / การบริการ ทั้งในปัจจุบัน / ในอนาคต คืออะไร / ไปในทางไหน
.เป็นส่วนไหนของตลาด / มีการทำการตลาด อย่างไร
และมีการเปลี่ยนแปลง
สถานภาพขององค์การ / การดำเนินงาน
..มาอย่างไร / พัฒนามาในรูปใด
.4. แนวทางและปรัชญาขององค์การที่มีผลกับการบริหารงานภายใน / ต่อสังคมส่วนรวม
อุปสรรค
การพัฒนาองค์การ
.ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
.ทั้งแก่ผู้บริหารทุกระดับ / พนักงาน / ผู้บริหาร / ผู้ถือหุ้น
.จุดที่ต้องการชี้เฉพาะ / เน้นลงไปในรายละเอียด
..แต่ต้องสอดคล้องกับจุดประสงค์หลักขององค์การ
..5. มีการระดมความคิดเห็นเพื่อวิเคราะห์เป็นประเด็นๆ ให้ครบทุกหัวข้อแล้ว
.นำผลสรุปที่ได้มาเขียนเป็น พันธกิจ / ภารกิจ
.โดย ผู้นำ / ผู้บริหาร
นำมาถ่ายทอดเบื้องต้น
เพื่อปรับแต่งให้ดีขึ้น
.ทุกภาคส่วนเข้าใจและนำไปปฏิบัติได้
เป้าหมาย (Gold) คือความต้องการ / ผลลัพธ์
ที่จุดหมายปลายทาง
ของการดำเนินงาน / การทำงาน
ตามพันธกิจ / ภารกิจ ขององค์การภายใต้นโยบายที่มาจากมุมมอง / หลักการ
ของผู้นำ / ผู้บริหาร ที่มีวิสัยทัศน์
บอกถึงความพยามในการทำงาน ในอนาคต
.และสามารถไปถึง / บรรลุถึงจุด
ที่มีความชัดเจน ตรงตามประเภทของ กิจการ / ธุรกิจ และที่สำคัญ
เราสามารถ
ที่จะวัดผล / ตรวจสอบได้
หลักการกำหนดเป้าหมาย
..ต้องตรงตามวิสัยทัศน์
นำไปปฏิบัติได้
.และสามารถสร้างความสำเร็จในอนาคต
.ในระยะเวลาที่เหมาะสม
.ผลนั้นเป็นที่พอใจของพนักงานภายใน / ลูกค้า / ผู้รับบริการ
..และสามารถเป็นผู้นำ / สามารถมีผล
.ที่จะก้าวถึงผู้นำทาง
.ธุรกิจ / การค้า / การบริการ / ผู้ผลิตสินค้า
.ได้โดยมีการพัฒนารูปแบบสินค้า / การผลิต / การตลาด
.พร้อมสร้างแรงจูงใจให้แก่พนักงาน / ในการก้าวไปสู่การเป็นผู้นำ
ในสายธุรกิจ / การค้า / การบริหารองค์การของตน
วัตถุประสงค์ (objective) คือ ผลที่เกิดขึ้นในอนาคตจากการแปลเปลี่ยน วิสัยทัศน์และพันธกิจ ให้เป็นแนวทาง / วิธีการ / และหลักในการปฏิบัติ
ตรงตามความ ต้องการ / ประโยชน์
ของกลุ่มเป้าหมาย
. และมีผลต่อแผนงาน เชิงกลยุทธ์ / การบริหารงานเชิงกลยุทธ์
การกำหนดวัตถุประสงค์
..ต้องเป็นไปตามข้อสรุปของพันธกิจ / ภารกิจขององค์การ
..ตามแผนกลยุทธ์
..โดยรู้ว่าองค์การต้องการทำ
อะไร / เป็นอย่างไร
.จุดยืนคืออะไร / อยู่ที่จุดไหน
..และมีอะไรเป็นเป้าหมายหลัก / เป้าหมายรอง
.อนาคตที่องค์การที่ต้องการ
และผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้
มีการวางแผนเพื่อบรรลุถึงเป้าหมายที่ชัดเจน
..นำไปปฏิบัติ
.และมีการตรวจสอบ
พร้อมที่จะมีการปรับปรุง / เปลี่ยนแปลง
.หรือสรุปตามภารกิจหลักขององค์การคือ
.1. ใช้การตลาดเป็นตัวกำหนดวัตถุประสงค์
โดยใช้ความแตกต่าง / จุดแข็ง / ความพยายาม / ความขยัน / ความอดทน
.เป็นหลักพิจารณา
2. โดยใช้เป้าหมายทางการเงิน
จากการทำกำไรจากยอดขาย / การแปลองค์ความรู้เป็นมูลค่า / โดยมีการตั้งกรอบเวลาของวัตถุประสงค์นั้นๆ / มีระบบควบคุมและมีตัวชี้วัด
..4. ต้องมีความยืดหยุ่นตามสถานการณ์ / เปิดช่อง / ทางออก ให้กับทุกๆ การตัดสินใจ ....บนพื้นฐานของเหตุ และผล
..โดยต้องไม่สร้างความขัดแย้ง
แต่ในทางกลับกัน
.ต้องสร้างความสามัคคีให้กับหมู่คณะในองค์การ
โอกาส (Opportunity) เปรียบเสมือนทางเดิน
ที่เราจะเลือกหรือไม่
..อาจจะมีอยู่ในขณะนั้นหรือเกิดขึ้นในระหว่างการ ดำเนินงาน / กิจการ
.ในช่วงเวลาที่พอดี
ในสถานที่ ที่เหมาะสม และ ในสถานการณ์ เอื้ออำนวย
.ซึ่งเป็นผลดีต่อองค์การ
ทั้งด้านการดำเนินงาน ตามปกติ / ตามแผนกลยุทธ์ / ด้านการตลาด / ด้านการเงิน / มีการเปลี่ยนแปลงสิ่งใหม่ๆ ภายในองค์การ / มีช่องทางที่จะทำยอดขาย / เอาชนะคู่แข่งได้ / หรือมีความได้เปรียบอื่นๆ
อุปสรรค (Threat) สิ่งที่ไม่คาดคิด / เหตุการณ์ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ และสามารถทำความเสียหายต่อ กิจการ / ระบบการบริหารงาน / ผลกระทบต่อองค์การทั้งภายใน / ภายนอก
.เราสมารถคิด / คาดคะเน
.แต่เราไม่สามารถรู้ล่วงหน้าได้ว่าใน อนาคตจะมีอุปสรรคอะไรจะเกิดขึ้นบ้าง
การเตรียมความพร้อมอยู่ตลอด จะเป็นทางออกที่ดีที่สุดสำหรับการเผชิญกับอุปสรรคในอนาคต
บทส่งท้ายตอนที่ 47: ในการกำหนดทิศทางของการบริหารงานเชิงกลยุทธ์นี้
.ต้องกำหนดด้วยปัจจัยความพร้อมขององค์การเป็นหลัก
.ซึ่งจะทำให้เป้าหมาย
.และวัตถุประสงค์
.มีความเป็นไปได้ ในทางปฏิบัติ
การกำหนดวิสัยทัศน์นั้น
..จะสุดยากเพียงใด !......ถ้าเราแบ่งเป้าหมาย
.ออกเป็นช่วงๆในระยะเวลาที่เหมาะสมแล้ว
.และสามารถทำให้ทุกคนได้ใช้ ความสามารถเฉพาะตัว / ความขยัน/ ความคิดริเริ่ม
..ก็จะทำให้แผนการบริหารเชิงกลยุทธ์นี้สัมฤทธิ์ผลได้
.โดยไม่ยาก !
ผู้นำ / ผู้บริหาร
.ต้องพร้อมรอคอยความสำเร็จ
.ในเวลาที่ทุกคนขององค์การทำได้จริง
.จะทำให้ระบบเข้มแข็งและมีการพัฒนา / ต่อยอด
อย่างต่อเนื่อง
..การเดิน / ขับเคลื่อน ของระบบ
..การบริหารเชิงกลยุทธ์นั้นถึงแม้ว่าจะเริ่มที่บุคคลก็ตาม
..แต่ต้องใช้ระบบเป็นตัวขับเคลื่อนในที่สุด !
/////////////////////////////////////////
29/10/2552
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที