ตอนที่ 49
วันที่ 15
ศาสตร์ของการบริหารงาน (Science of Management) (1)
(Strategy Formulation) Strategic Management
มาถึง ของวันที่ 15
ซึ่งเป็นเวลาครบครึ่งเดือนพอดี
และเป็นวันที่ควรจะจบภาคทฤษฏีของการบริหารงานเชิงกลยุทธ์เบื้องต้นนี้
.การทบทวนความรู้พื้นฐานของหลักการบริหารของ องค์การ / บริษัท
.ที่ใช้กันทั่วไป
..ตลอดจนหลักการเอาชนะในการแข่งขันกัน
.เชิงทำธุรกิจ
.หรือการให้บริการของหน่วยงานของภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และองค์การภาคเอกชนต่างๆ
ด้วยหลักของการบริหารงานแบบเดิม / การบริหารเชิงกลยุทธ์นั้น
..ผู้บริหาร/ ผู้นำองค์การ / เจ้าของกิจการ
.ต้องรู้เสมอว่า องค์การของท่านอยู่ในฐานะใด
.มีการบริหารอย่างไร
.การที่จะสรุปแผนการบริหารงานโดยใช้ ระบบการบริหาร / หลักบริหาร แบบดั่งเดิม
ร่วมกับการบริหารเชิงกลยุทธ์
..ต้องไม่สร้างความวิตกกังวนจนเกินไป
.โดยเฉพาะองค์การที่มีผลประกอบการ / ผลงาน ดีเลิศอยู่แล้ว
.เพียงแค่
ห้ามตกอยู่ในความประมาท และต้องหมั่นเสริมหลักการของ
การบริหารงานเชิงกลยุทธ์
บางข้อ / บางหลักการ
เข้าไปบ้าง
.ก็จะทำให้ธุรกิจของเรา / องค์การของท่าน
ก้าวทัน / ล่วงรู้ความเคลื่อนไหวของตลาด
.ได้ตลอดเวลา และที่สำคัญการศึกษาจากประสบการณ์ ตัวอย่างในแง่มุมต่างๆ
.ของการนำหลักการ / ทฤษฏีเหล่านี้ ไปใช้ก็จะช่วยให้เราเข้าใจในกลไกลของตลาด
ในยุคนี้ได้ดียิ่งขึ้นด้วย !
การบริหารงานตามแผนกลยุทธ์
เมื่อเรากำหนดทิศทาง และ วิเคราะห์สภาพแวดทั้ง
ภายใน / ภายนอก ขององค์การ / บริษัท แล้ว
..ทำให้รู้ถึง
พันธกิจ เป้าหมาย และวัตถุประสงค์
โดยนำผลจากการวิเคราะห์ในข้อที่ได้เปรียบมาใช้สร้างกลยุทธ์ในการแข่งขัน ในขณะที่เรา สามารถ
แก้หรืออุดรอยรั่ว / จุดบกพร่อง
ให้เหลือน้อยที่สุด / หมดไป
..ผู้บริหารจะต้อง แบ่งระดับของการจัดการ เพื่อให้เกิดความเหมาะสม กับขนาด ลักษณะ และปัจจัยที่มีอยู่
ขององค์การ / บริษัท
โดยมีการกำหนดกลยุทธ์ไว้ดังนี้
2.3 การกำหนดกลยุทธ์ (Strategy Formulation) : เพื่อให้เกิดการพัฒนาตรงตามพันธกิจได้รับผลตามวัตถุประสงค์
..มีการกำหนดได้ 3 ระดับ ดังนี้
1.กลยุทธ์ระดับองค์การ / บริษัท (corporate strategy) กำหนดโดยมาจากนโยบายหลักขององค์การ
ผู้บริหารระดับสูงมักจะเป็นผู้กำหนดมาจาก วิสัยทัศน์ และพันธกิจหลักขององค์การ โดยให้ผู้จัดการและหน่วยงานภายในทั้งหมดรับมาดำเนินงาน และวางแผนกลยุทธ์
แบบรวมยอดครบวงจรตามประเภทธุรกิจนั้นๆ
.มีการใช้ปัจจัยและทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเต็มที่ / ครบทุกส่วน
..ซึ่งเมื่อองค์การเข้าสู่แผนกลยุทธ์แล้ว
.อาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนสภาพการทำงานใหม่ทั้งหมดก็เป็นไปได้
.บางส่วน / บางฝ่าย
.ที่เป็นจุดด้อย / จุดอ่อน
อาจจะต้องถูกยุบ / ยกเลิก
แต่ส่วนที่เป็นจุดเด่น / จุดแข็ง ขององค์การ จะต้อง
ถูกผลักดัน / พัฒนาอย่างเต็มที่
.ในเวลาเดียวกันส่วนที่ยังดำเนินการโดยไม่มีผลกระทบใดๆ
.ก็ต้องพัฒนาตามไปด้วย
.มีการใช้แบบจำลองของMcKinsey 7 S Model
เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดกลยุทธ์ขององค์การ
..โดยสร้างความสอดคล้องของตัวแปรทั้ง 7 เริ่มตั้งแต่การกำหนดกลยุทธ์
กำหนด เป้าหมาย
.กำหนดวิธีการ / ระบบการดำเนินงาน / ทักษะที่ใช้ในการทำงาน
.รวมถึงบุคลากรและธรรมเนียมในการปฏิบัติ
.ปัจจัย ทั้ง 7 ประกอบด้วย
1. กลยุทธ์ (Strategy)
2. โครงสร้าง (Structure)
3. ระบบ (System)
4. รูปแบบ (Style)
5. การจัดการบุคคลเพื่อทำงาน (Staff)
6. ทักษะ (Skill)
และ 7. ค่านิยมร่วม ( Shared value)
และบางองค์การ / บริษัท ก็ใช้ BCG Growth-Share Matrix
..ในการกำหนดกลยุทธ์ขององค์การโดยใช้
BCG Approach เพื่อเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของอัตราการเจริญเติบโตของตลาด (Market growth rate) กับส่วนแบ่งของตลาดเปรียบเทียบ (Relative market share)
โดยเทียบกับคู่แข่งที่เป็นรายใหญ่
ทำเป็นตารางกลยุทธ์ทางการตลาด (CG Growth-Share Matrix)
เพื่อครอบครองส่วนแบ่งการตลาดให้มากที่สุด
..มีหลายองค์การ / บริษัท ใช้การวิเคราะห์ GE Business screen
ใช้หลักการวิจัยการตลาดที่กว้างครอบคลุม
มีความละเอียด และซับซ้อนลงลึกกว่าBCG Matrix
..โดยใช้ ขนาดมูลค่าของตลาด
มาหาส่วนแบ่งทางการตลาด
และสร้างอัตราการเจริญเติบโต
.ภายใต้สภาพในการแข่งขัน พร้อมทั้งโอกาสที่เอื้อให้สามารถสร้างกำไร
..จากการมีเทคโนโลยีและศักยภาพในการ
ผลิตสินค้า / เพื่อให้มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับของ ลูกค้า / ผู้ใช้
..เป็นเทคนิคที่เหมาะสมกับการผลิตสินค้าหลากหลายแบบ จำนวนมากๆ
.ที่ต้องการเอาชนะคู่แข่งในการจัดจำหน่าย
!
สรุป: การกำหนดกลยุทธ์ในระดับองค์กร (Corporate Strategy) แบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ
.1. กลยุทธ์การขยายตัว / การเติบโต (Directional Strategy) ในรูปแบบต่างๆ
. เช่น Alliance , Merger , Acquisition , Diversification และ Concentration
..2. กลยุทธ์การลงทุนในหลายธุรกิจ (Portfolio Strategy หรือ Multi-business) เป็นกลยุทธ์การลงทุน
เพื่อกระจายความเสี่ยง
โดยใช้วิธีการวิเคราะห์คือ
BCG Growth-Share Matrix , Mckinsey Matrix / GE Business screen 3. กลยุทธ์การขยายกิจการแบบ บริษัทแม่-บริษัทลูก (Parenting Strategy) เป็นหลักการขยายกิจการและการทำงานแบบบริษัทในเครือ
สรุป: การกำหนดกลยุทธ์ในระดับธุรกิจ (Business Strategy) แบ่งเป็น กลยุทธ์เพื่อการแข่งขัน (Competitive strategy) และ กลยุทธ์เพื่อความร่วมมือ (Co- operative strategy).....กลยุทธ์เพื่อการแข่งขัน (Competitive strategy) ก็คือ - Differentiation , Lower cost / Cost leadership , Focus and Quick Response
..กลยุทธ์เพื่อความร่วมมือหรือการเป็นพันธมิตร (Co- operative strategy) มี 2 แบบคือ
การร่วมมือกัน,ฮั้วกัน (Collusion)
..การเป็นพันธมิตรทางการค้า (Alliances)
ในลักษณะ
Mutual service Consortia
Joint venture
. Licensing Arrangement
.Value Chain Partnership ระหว่าง Supplier , Manufacturer และDistributor เพื่อ Long term relationship
3. กลยุทธ์ระดับหน้าที่ / ปฏิบัติการ (functional / Operational Strategy) กำหนดกลยุทธ์ในระดับลงลึกในหน่วยงานย่อยที่มีผลต่อสินค้าและงานบริการตามหน้าที่หลักของแต่ละส่วนของ
องค์การ / บริษัท
..และต้องอยู่ในข้อกำหนดพันธกิจ วัตถุประสงค์ และเป้าหมายหลัก ตามแผนกลยุทธ์ขององค์การด้วย
มีการแบ่งหน้าที่ / กิจกรรม เป็นส่วนๆเพื่อใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ อย่างมีประสิทธิภาพ คุ้มค่ากับการลงทุน สอดคล้องกับกลยุทธ์ในระดับที่ 1 และ 2
.แผนงานจะถูกจัดตามส่วนของการผลิต
.โดยทั่วๆไปที่ใช้ก็คือ
แผนงานของฝ่ายบริหารโรงงาน
.เพื่อควบคุมการ ผลิต / จัดเตรียม วัตถุดิบ
.ฝ่ายจัดซื้อ / จัดหา
ฝ่ายควบคุมคุณภาพ
..ฝ่ายวางแผน / พัฒนา
.ฝ่ายบุคลากร / กำลังพล( ทรัพยากรมนุษย์ )
ตลอดจนฝ่ายบัญชี / การเงิน
ฝ่ายขนส่ง
และที่สำคัญต้องมีฝ่ายการตลาดที่เป็นสื่อกลาง / ระบาย /ขายสินค้า...ให้ลูกค้า / ผู้ใช้สินค้า / ใช้บริการ
.
สรุป: การกำหนดกลยุทธ์ในระดับหน้าที่ (Function Strategy) แบ่งตามหน้าที่ของหน่วยงานในองค์การ / บริษัท
.หลักๆ 7 หน่วยงานคือ
Strategy Management / Production / Operations / Logistics
. Marketing
. Purchasing / Supply Chain management
. Financial
. MIS (Information System strategy)
R&D
HRM
บทส่งท้ายตอนที่ 49: ในการกำหนดแผนการบริหารงานเชิงกลยุทธ์ทั้ง 3 ข้อตามที่ได้กล่าวมานี้ ต้องอยู่บนพื้นฐานของ
.ความเป็นจริงและความเป็นไปได้
ของข้อมูลทั้งหมด
..โดยเริ่มจาก
วิสัยทัศน์
.พันธกิจ
เป้าหมาย
และหลักปฏิบัติ 3 ข้อคือ
1. แผนปฏิบัติการ
ต้องสอดคล้อง / เหมาะสม / พอดี กับ
สภาวะแวดล้อมทั้งภายใน / ภายนอก
กับปัจจัยหลักที่มีอยู่ขององค์การ / บริษัท
โอกาสที่เอื้ออำนวย / เปิดทางให้
คุ้มค่ากับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ / ต้องมีวิธีป้องกัน / แก้ไข
เตรียมไว้
2. ความสามารถหลัก ขององค์การ / บริษัท
ต้องสอดคล้องกับ ธรรมเนียม / ค่านิยม / ทัศนคติที่ดี
สามารถดึงจุดเด่นของปัจจัยที่มีอยู่ ออกมาได้
ทั้งจาก
บุคลากร / เทคนิค / วัตถุดิบ
. และ 3. การสร้างความเข้าใจให้กับทุกระดับสายงาน
.ให้สามารถปฏิบัติได้ เพื่อความเหมาะสมกับ
ความสามารถหลัก / แต่ต้องสร้างแรงกระตุ้น / แรงจูงใจ / และมีรางวัลของผลงานตามสมควรไว้ด้วย
เพื่อให้ทุกส่วนขององค์การเดินไปตามแผนพร้อมๆกันได้
.ก็ต้องมีการแบ่งระดับกลยุทธ์เพื่อเริ่มดำเนินงาน
..องค์การที่มีขนาดใหญ่
ที่มีความซับซ้อนของกระบวนการทำงานมากๆ
.ก็ต้องใช้แผนกลยุทธ์ทั้ง 3 ระดับ โดยเริ่มจาก
ผู้บริหารระดับสูง / เป็นผู้กำหนดกลยุทธ์หลัก
.ต้องควบคุม กลยุทธ์ระดับองค์การ / บริษัท
ผู้บริหารระดับกลาง / ผู้กำหนดกลยุทธ์ในส่วนฝ่ายปฏิบัติการ
.ต้องควบคุม กลยุทธ์ระดับธุรกิจ
ผู้บริหารระดับล่าง / ผู้กำหนดกลยุทธ์ภาคผู้ปฏิบัติงาน
.
.ต้องควบคุม กลยุทธ์ระดับหน้าที่ ปฏิบัติการ
อย่างไรก็ดีหัวใจของการแบ่งระดับกลยุทธ์อยู่ที่
.การสร้างความเข้าใจ / การสื่อสารภายใน / ภายนอกองค์การ / หรือบริษัท
ด้วยความมุ่งมั่นและพัฒนาของผู้บริหารระดับสูง
.ถึงแม่ท่านอาจจะไม่ได้ลงมือทำเอง
.แต่ท่านจะเป็นแรงส่ง / แรงผลักดัน
ที่ดีเยี่ยมสำหรับ องค์การ / บริษัทของท่าน
..
ประการสำคัญ ต้องใช้เทคนิคการวิเคราะห์ตำแหน่งการแข่งขันให้ถูกต้อง
ก็จะได้ข้อมูลที่แสดงสถานภาพของ องค์การ / บริษัท
โดยใช้
1. BCG Matrix
2. Mckinsey Matrix (GE Business screen)
.3. 5 forces Model
rival intensity
barrier to entry
threats of substitution
bargaining power of buyers
bargaining power of suppliers
!
/////////////////////////////////////////
13/11/2552
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที