ชนิตพล

ผู้เขียน : ชนิตพล

อัพเดท: 18 ม.ค. 2014 06.10 น. บทความนี้มีผู้ชม: 1009281 ครั้ง

"ประสบการณ์ยิ่งมากยิ่งมีคุณค่าควรรู้และยิ่งมีค่ามากที่สุดเมื่อถูกถ่ายทอดออกมาจากใจ"


วันที่ 23 ภาคประยุกต์แผนเชิงกลยุทธ์ (Applied Strategy )(1)

ตอนที่ 84

วันที่ 23

ภาคประยุกต์แผนเชิงกลยุทธ์ (Applied Strategy )(1)

                  สืบเนื่องจากตอนที่ 78  วันที่ 22 : ในหัวข้อที่ 3 ยังขาดหัวข้อของ  Good Governance  , HR  Technique และ Buddhism  and  Science in Management  ซึ่งจะกล่าวพอเป็นแนวทางเพื่อนำไปปรับใช้ในการทำงาน …..ในวันที่ 23 นี้ ราว 4 -5 ตอน….ตามรายละเอียดดังต่อไปนี้                                                                                                                            

                 1.  ธรรมาภิบาล (Good Governance) มีความหมายโดยรวมคือ การจัดการและการบริหารงานที่ดี มีคุณธรรม ถูกต้องตาม ศีลธรรมและจริยธรรม  หมายรวมถึงภาครัฐ และเอกชน โดยมีการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ อย่างถูกต้องโปร่งใส และคุ่มค่า เพื่อสนับสนุน การบริหารงานภาคสังคม และเศรษฐกิจ  มีผลก่อให้เกิด การพัฒนาและความเจริญก้าวหน้า ต่อองค์กร / องค์การ และประเทศชาติ   เสริมสร้างความมั่นคง บนพื้นฐานของความรักและความสามัคคีของสังคมโดยรวม  ที่มีการเกื้อหนุนของทุกภาคส่วน  อย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืน

                  เราสามารถใช้ธรรมาภิบาลในการบริหารงานได้ทุกระดับ ทั้งภาครัฐและเอกชน อาทิเช่น…….การบริหารงานระดับบริษัทจะอยู่ในรูปของ บรรษัทภิบาล (Corporate Governance)ซึ่งหมายถึง องค์กร / องค์การ ที่มีการกำกับดูแล อย่างมีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิด ความเจริญก้าวหน้า  อยู่บนพื้นฐานของผลกำไรและผลประโยชน์ ของกิจการเป็นหลัก โดยยึดเงื่อนไขของ…ความถูกต้อง…ความโปร่งใส…และมีจริยธรรมที่ดีเอื้อประโยชน์ต่อสังคมอย่างมีเหตุผล……..คำว่า… “ อภิบาล”… เป็นการปกครองที่คำนึงถึงคุณค่าของความเป็นมนุษย์…..โดยยึดหลักของการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขระหว่างผู้ปกครองและผู้อยู่ภายใต้การปกครอง…..ท่ามกลางความโอบอ้อมอารี ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่  และความเอื้ออาทรที่มีต่อกัน   

                  สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ( ก.พ.ร.) ได้เน้นในหลักของการบริหารงานในส่วนของภาครัฐ โดยยึดหลัก ธรรมาภิบาล เป็นแนวทาง รวมทั้งระบบการบริหารงาน และที่ตัวบุคคลผู้ให้บริการ  เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแสดงความคิดเห็น ซึ่งก่อให้เกิดความถูกต้อง โปร่งใส ยังผลให้ของระบบราชการมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และมีการพัฒนา  กับทั้งช่วยส่งเสริมให้คนในสังคมมีคุณธรรมและจริยธรรม อย่างกว้างขวาง

                   ธรรมาภิบาล…..ตามความหมายของการปกครอง เป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้องจัดให้มี การบริหารงานที่ดี มีระบบงานที่โปร่งใส พร้อมด้วย บุคลากรที่มีคุณธรรมและคุณภาพ……พร้อมให้ความยุติธรรม แก่ประชาชน เสมอภาคเท่าเทียมกันทุกคน เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการออกความคิดเห็นทางการเมืองและสังคม……อันจะนำมาซึ่งประโยชน์ที่สูงสุด แก่ปวงชนและผู้ปกครองบ้านเมือง…… ประเด็นสำคัญของ ธรรมาภิบาล ส่วนการบริหารของภาครัฐอยู่ที่…..การบริหารที่มุ่งทำความดีงาม เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่รัฐ และประชาชนภายใต้กฎหมายมหาชน สามารถตรวจสอบได้มี ประสิทธิภาพ และประสิทธิผล  เปิดโอกาสให้ปวงชนได้มีส่วนร่วม  เป็นมาตรฐานของการปกครองที่มีการยอมรับกัน อย่างทั่วถึง !

                   เมื่อพูดถึงการปกครองด้านประชารัฐหรือการปกครองที่รัฐเป็นตัวแทนของประชาชนโดยอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชน….ธรรมาภิบาล….ก็ต้องประกอบด้วย….รัฐและประชาชน….รัฐต้องมีระบบบริหารราชการที่ดี และต้องมีผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนรัฐก็คือข้าราชการที่ดี…..และประชาชนก็คือพลเมืองของประเทศ และต้องให้ข้าราชการระลึกอยู่เสมอว่าตนก็คือประชาชนหรือพลเมืองของประเทศผู้หนึ่งเช่นกัน !...........จะเห็นว่าคำว่า ธรรมาภิบาล นั้น มีความหมายครอบคลุมทุกภาคส่วนของสังคม….และเมื่อเข้าใจความหมายอย่างกว้างขวางของ ธรรมาภิบาล….เราจึงจะเข้าใจว่า ธรรมาภิบาล จะเกิดขึ้นได้อย่างไร….เหมาะสมกับที่ใดและกลุ่มสังคมไหน….แล้วจึงจะให้ความหมายของ ธรรมาภิบาล ได้ถูกต้อง…….กล่าวโดยรวมแล้ว…..รัฐก็ย่อมหมายถึง รัฐบาล  หน่วยงานและองค์การของรัฐ  รัฐวิสาหกิจ  ผู้แทนราษฎร สภาทั้งสองสภา องค์กรบริหารราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น และที่สำคัญต้องรวมถึงองค์การ ภาคเอกชน และประชาชนทุกภาคส่วนด้วย……ส่วนประชาชนก็ต้องรวมถึง ผู้คนทั้งหมดของประเทศ ทุกระดับ ทุกๆหมู่เหล่าที่เป็นราษฎรภายใต้การปกครองของรัฐ ซึ่งครอบคลุมทั้งคนสามัญชน และคนที่สังกัดองค์การ / องค์กร ทั้งของภาครัฐและเอกชนด้วย

                  จะเห็นว่าเมื่อให้ นิยามคำว่า…รัฐ และรัฐบาล…แล้วย่อมจะต้องรวมถึงประชาชนภายใต้การบริหารและ การปกครองของรัฐ ด้วย….จึงทำให้ความหมายของ ธรรมาภิบาล มุงไปที่การบริหารราชการที่ดีโดยมีประชาชนมีส่วนร่วมภายใต้การปกครองที่…..มีความยุติธรรมและมีความเสมอภาค….ภายใต้การบริหารงานของข้าราชการที่ มีความซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใส่ สามารถตรวจสอบได้ …..มีระบบบริหารที่ดี และตัวข้าราชการก็ต้อง ทำงานด้วยความขยันหมั่นเพียร  มีปะสิทธิภาพ  ก่อให้เกิดผลงานเป็นที่น่าพอใจ และถูกต้อง ให้บริการแก่ประชาชาของประเทศโดยทั่วถึงกันทั้งระบบ

/////////////////////////////////////////////////////////////

30/8/2553


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที