ชนิตพล

ผู้เขียน : ชนิตพล

อัพเดท: 18 ม.ค. 2014 06.10 น. บทความนี้มีผู้ชม: 1009435 ครั้ง

"ประสบการณ์ยิ่งมากยิ่งมีคุณค่าควรรู้และยิ่งมีค่ามากที่สุดเมื่อถูกถ่ายทอดออกมาจากใจ"


วันที่ 23 ภาคประยุกต์แผนเชิงกลยุทธ์ (Applied Strategy )(3)

ตอนที่ 86

วันที่ 23

ภาคประยุกต์แผนเชิงกลยุทธ์ (Applied Strategy )(3)

ปัญหาตอนที่85:

                จากรูปผู้เขียนขอใช้คำว่า…. “ธรรมาภิบาลแบบเบ็ดเสร็จ”….จัดให้เป็นระบบที่ใช่ในการทำงานภายในโลกใบนี้…….ประเทศชาติ สังคมและชุมชน  บริษัท และ บุคคล  มีความเจริญและพัฒนา ในด้านเศรษฐกิจ  สังคม และสิ่งแวดล้อม …..จะเป็นการเติบโตที่เดินควบคู่กันไปทั้งระบบ พร้อมๆกันซึ่งจะไม่ทำให้เกิดการหยุดชะงักขึ้นได้…...เป็นการเติบโตที่มั่นคงและยั่งยืน ของสังคม(social sustainability) โดยจะเริ่มจากสังคมเล็กๆคือครอบครัว…..หรือจะเริ่มที่ส่วนใดส่วนหนึ่งใน Whole Good Governance ที่มีความพร้อมก็สามารถทำได้ก่อน….เปรียบเสมือนการสร้างภูมิคุ้มกันของสังคม หรือขององค์กรเล็กๆก่อน….และเมื่อทุกส่วนพร้อมก็สามารถ นำมาปรับใช้สู่สังคมที่ใหญ่กว่าได้…….จนในที่สุดก็สามารถหลอมรวมให้เข้ากันเป็นหนึ่งเดียวกันทั่วทั้งภูมิภาค…..ซึ่งเป็นหนทางหนึ่งที่นำไปสู่…..ความเป็นสังคมที่ มั่นคง มั่งคั่ง ทุกระดับ  ทุกองค์การ/ องค์กร อย่างยั่งยืน (corporate sustainability) สืบเนื่องต่อไปสู่ระดับประเทศและระดับโลก…..ในที่สุด

                 2. HR  Technique:  กล่าวโดยสรุปเพื่อเป็นแนวทางให้ ผู้บริหาร / ผู้นำ มีความเข้าใจว่า HR ในยุคโลกาภิวัตน์/ โลกานุวัตร….มีความสำคัญต่อ องค์การ/ องค์กร เป็นอย่างมาก….คำว่า “HR”  ตามความหมายที่เข้าใจกันก็คือ… Human Resources….หรือทรัพยากรมนุษย์….เรียกรวมๆว่าฝ่าย HRD หรือ  Human Resources Department…….หรือ ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์…… ซึ่งต้องมีหน้าที่กว้างหลากหลายและมีความรับผิดชอบมากขึ้น….มีหน้าที่จัดการด้านบุคคลขององค์การ เริ่มตั่งแต่ สรรหา คัดเลือก จัดแผนด้านสวัสดิการ ดูแลความเป็นอยู่ด้านคุณภาพชีวิต จัดแผนพัฒนาตามความต้องการขององค์การ  ทั้งด้านความรู้ในการทำงาน ประสิทธิภาพ และคุณภาพของบุคลากร เพื่อให้ได้ผลงานตามวัตถุประสงค์หลักขององค์การนั้นๆ……หน้าที่ทั้งหมดนี้มีวิวัฒนาการมาจากฝ่ายบุคคลในอดีต…..เพื่อให้ทันกับกระแสโลกาภิวัตน์ ทันกับการเปลี่ยนแปลงทั่วถึงกันทั้งโลก…… HRD จะต้องไม่เพียงแต่เอาชนะการพัฒนาการด้าน เทคโนโลยีเท่านั้น แต่ต้องคำนึงและมุ่งสู่การพัฒนาด้านจิตใจ คุณภาพของบุคลากรควบคู่กันไป…….และจะดียิ่งขึ้นต้องเข้าถึงวัฒนธรรม และความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับชุมชน ท้องถิ่นให้ได้……..เปรียบเสมือนการหล่อหลอมความรักถิ่นฐานที่เกิดมาเชื่อมโยงกับการรักองค์การซึ่งเป็นจุดเริ่มของระบบ CSR ขององค์การ…..โดยจัดให้เป็นไปอย่างเป็นธรรมชาติและไม่ปล่อยให้เป็นไปตามกระแส……กล่าวโดยรวมแล้ว การเอาชนะกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างเดียวนั้นยังไม่เพียงพอ……แต่ต้องคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจของคนในองค์การ คนในสังคม และคนในประเทศควบคู่กันไปด้วย…..HRD ที่ดีจะต้องสามารถเริ่ม CSR อย่างเป็นธรรมชาติในสังคมขององค์การก่อน และขยายสู่สังคมภายนอกต่อไป…! ( ทบทวนข้อมูลจากบทส่งท้ายของตอนที่ 45)

               จากหลักการบริหารงานเชิงกลยุทธ์…..ผู้บริหาร / ผู้นำ….ต้องวาง พันธกิจ / ภารกิจ (Mission) ของ HRD คือวางขอบเขต / ข้อกำหนด / หน้าที่หลัก ….ที่จะต้องทำ ให้ตรงตามวิสัยทัศน์ / เป้าหมายขององค์การ…..โดยมีความสอดคล้องกับการจัดการ ตามรูปแบบขององค์การ……กับต้องสามารถสะท้อน…..ให้บุคลากรทุกคนขององค์การ มีความเข้าใจและพร้อมที่จะปฏิบัติตาม…..วิสัยทัศน์และปรัชญาองค์การ   เพื่อนำไปสู่ เป้าหมายที่ตรงตามวัตถุประสงค์นั้นๆ…….และต้องพึงระลึกอยู่เสมอว่า….การมอบหน้าที่ความรับผิดชอบในระดับที่มีผลได้ผลเสียต่อองค์การโดยตรงให้กับ HRD….ในที่สุดแล้ว ผู้บริหาร / ผู้นำ……ก็คือผู้รับผิดชอบผลงานของ HRD ทั้งหมดนั่นเอง…..!

                หน้าที่หลักของ HRD คือการบริหารงานบุคคล (Personnel Administration) เพื่อให้สามารถทันกับยุค globalization  ซึ่งมีการแข่งขันทั้งการให้บริการของหน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ และในการค้าขายของภาคธุรกิจทุกด้าน…..HRD ต้องเน้นเรื่องคุณภาพชีวิตของพนักงานใน องค์การ / องค์กร……ควบคู่กับสิทธิมนุษยชน….ประกอบกับการบริหารงานบุคคล……และในที่สุดจึงเปลี่ยนมาเป็น ระบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management)…….โดยกำหนดวัตถุประสงค์ (objective ) ตาม organization of  strategy plan ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์……..พอสรุปเป็น Principle of  HR  Technique ได้ 2 ประเด็นหลัก คือ….1. ต้องบริหารวัตถุประสงค์ขององค์การ…..2.  ต้องรับผิดชอบในหน้าที่หลักของ HRD 

                วัตถุประสงค์ของ HRD มี 3 ข้อคือ……1. สรรหาบุคลากรที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพตรงตามหน้าที่การทำงานขององค์การ ……2. วางแผนจัดการทรัพยากรมนุษย์ เพื่อให้แสดงความสามารถ และประสิทธิภาพในการทำงาน  พร้อมทั้งจัดแผนการอบรมและพัฒนาพนักงาน ทุกๆฝ่ายเพื่อเสริมสร้างความรู้และประสิทธิภาพ…....3.  สร้างแผนบริหารทรัพยากรมนุษย์ เพื่อให้เข้าใจนโยบายหลักขององค์การ พร้อมทั้งสร้างแรงจูงใจและสร้างขวัญกำลังใจให้แก่พนักงานขององค์การ

                 นำวัตถุประสงค์ของ HRD  มาสรุปเป็นหน้าที่หลักที่ต้องรับผิดชอบได้ 2 หมวด คือ…….1. หมวดการวางแผนและบริหารบุคลากรขององค์การ (HR Planning and Management)…..2. หมวดการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรขององค์การ (HR Training and Development)

////////////////////////////////////////

3/10/2553


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที