ตอนที่ 89
วันที่ 24
ภาคประยุกต์แผนเชิงกลยุทธ์ (Applied Strategy )(2)
1.3 การนำแผนกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคลลงสู่การปฏิบัติ (HR Strategy Implementation and action )
เป็นการนำแผนกลยุทธ์ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ที่จัดไว้ทั้งหมด ลงสู่ขั้นการปฏิบัติสามารถดำเนิน ตามหลักการเบื้องต้นได้ดังนี้
...1. การกำหนดรายละเอียดของงาน
ที่มีวิธีการดำเนินงาน
.มีการกำหนดงบประมาณของโครงการ
.จัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่เดิมและที่จัดหาใหม่
..บางองค์การอาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนระบบการบริหารขององค์การในบางส่วนบ้าง
เพื่อให้เป็นไปในแนวเดียวกันกับแผนการบริหารทรัพยากรบุคคล
.เช่น มีการศึกษาและเปิดการฝึกอบรมพนักงาน เพื่อส่งเสริมให้เกิดแรงกระตุ้นบุคลากรให้มี
..แรงขับเคลื่อนและประสิทธิภาพ
.ในการทำงานอย่างเต็มที่
...2. การสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ เพื่อกระจายแผนกลยุทธ์ ให้บุคลากรทุกคนในองค์การรับทราบ
.พร้อมกับให้ความร่วมมือ
และเต็มใจปฏิบัติ
.โดยต้องประสานและสอดคล้องกับหน้าที่หลักของแต่ละหน่วยงาน
.กับต้องให้เกิดความชัดเจนและสร้างความเข้าใจได้ง่ายแก่บุคลากรทุกๆระดับ
ดังนั้นเพื่อทำให้แผนกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคล
ประสบความสำเร็จได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
.ผู้บริหาร/ ผู้นำ จำเป็นต้องให้ผู้ที่รับผิดชอบโครงการ
.กระจายแผนนี้ให้ทั่วทุกส่วนขององค์การ โดยผู้นำของแต่ละส่วนต้องทำงานร่วมกัน
..และเป็นผู้แปลงเป้าหมายเชิงกลยุทธ์หลัก (Main Strategic goals)
..เป็นเป้าหมายกลยุทธ์ย่อย (Sub- Strategic goals) ที่เหมาะสมกับกลุ่มย่อยๆนั้น
โดยสาระของเนื้อหาต้อง มีวิธีการดำเนินงาน
.บอกถึงหน้าที่และวิธีการปฏิบัติ
.แสดงให้เห็นถึงผลลัพธ์และผลประโยชน์ที่ทุกคนจะได้รับอย่างชัดเจน
3. การมอบหมายผู้รับผิดชอบเพื่อดำเนินกิจกรรมตาม แผนกลยุทธ์ การบริหารทรัพยากรบุคคล ต้องมีผู้รับผิดชอบตามหน้าที่และสายการบังคับบัญชาในแต่ละหน่วยงาน
..มีการจัดสรรทรัพยากรที่จำเป็นต่อการดำเนินกิจกรรม
..และมีตารางของแผนงาน พร้อมกำหนดเวลาในการดำเนินงาน
.มีเป้าหมายและตัวชี้วัดที่ชัดเจน
..ที่ใช้ปฏิบัติงานได้ และมีการจัดลำดับ การทำงาน เป็นขั้นตอ
.โดย ผ่านกระบวนการเก็บข้อมูล ประเมินผล และวัดผลสำเร็จของงานออกมาได้
..และที่สำคัญผู้บริหารจะต้องจัดสรรทรัพยากรให้เหมาะสมและเป็นธรรม แก่ทุกๆฝ่าย
การนำแผนกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคล ขององค์กร / องค์การ ไปปฏิบัติ จะประสบความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพได้นั้น
บุคลากรฝ่าย HR ก็ต้องมีคุณภาพ
.และเป็นกลจักรที่สำคัญในการขับเคลื่อน
..มีหลักการประยุกต์ของแผนทั้งระบบ
..เพื่อให้สามารถนำมาปฏิบัติได้
..มีการทำงานและประสานงานกับผู้บริหารระดับสูง และผู้บริหารของทุกฝ่ายได้ดี
.สร้างความร่วมมือกันเพื่อช่วยในการ
กำหนดแนวทาง
.วิธีการปฏิบัติ ตามแผนงาน
มีการสั่งการ / มอบหมายงาน ตามสายบังคับบัญชา
..มีการติดตามงาน / ประเมินและวัดผลของงาน / มีการปรับปรุงแผนงาน
และประการสำคัญที่ทำให้แผนกลยุทธ์ประสบผลสำเร็จได้
ไม่ใช่ให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดทำเท่านั้น......แต่ต้องให้บุคลกรของทุกฝ่าย
.ช่วยกันทำโดย มีการฝึกฝน อบรม จนมีความรู้ และปฏิบัติจนเกิดทักษะ
..ในที่สุดต้องมีความเข้าใจ และก่อให้เกิดความสามัคคีของหมู่คณะ
..ซึ่งจะนำความก้าวหน้าและการพัฒนา ระบบบริหารเชิงกลยุทธ์ขององค์การอย่างยั่งยืนต่อไป !
1.4 การติดตามและรายงานผลดำเนินการ (HR Strategy Control and Evaluation)
เป็นขั้นตอนที่สำคัญ ของแผนกิจกรรม ตามแผนกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคล เป็นการติดตามความก้าวหน้า ประเมินและสรุปผล ของการดำเนินงาน
.ควรกำหนดเป็นช่วงทุกเดือน โดยพิจารณาจากเวลาตามตารางแผนงาน
..ตัวอย่างเช่น ให้ระยะเวลาของแผนงานกำหนดภายใน 1 ปี
.ก็ควรสรุปเป็นผลของงาน
ย่อยๆทุกเดือน และประเมินผลเหล่านั้นทุกๆ 3 เดือน
.รวบรวมผลจากการประเมินทั้ง 4 ครั้ง มาสรุปเป็นผลงานรายปี
และในการประเมินผลย่อยๆ ทุก 3 เดือน ถ้าจะต้องมีการปรับแผนกลยุทธ์ทั้งใน แผนหลัก และแผนรอง ก็ย่อมทำได้
..ซึ่งไม่จำเป็นที่จะต้องรอจนถึงเวลาสิ้นสุด ตามตารางของแผนงาน
..การสรุปผล เมื่อครบกำหนดเวลาตามแผนงานกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคล
ต้องมีการวางแผนงานอย่างต่อเนื่อง ในปีถัดไป
.เพื่อให้มีการปรับปรุงและพัฒนาองค์การให้มีความเจริญขึ้นในทุกๆปี
.โดยมีการวางนโยบายของแผนกลยุทธ์ไว้อย่างต่อเนื่อง
...การสร้างระบบการบริหารงานขององค์การ
ที่มีแผนกลยุทธ์ของ HRD ควบคู่กับแผนกลยุทธ์หลักขององค์การ..
.เป็นส่วนหนึ่งของหน้าที่หลัก ของผู้นำ / ผู้บริหาร
..ที่จะต้องปรับปรุง ระบบดังกล่าว อย่างนุ่มนวล ค่อยเป็นค่อยไป และให้ซึมซับจนกลายเป็นประเพณีขององค์การได้ในที่สุด
ขั้นตอนของการควบคุม ติดตามผลและการปรับปรุงแผนกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคล ประกอบด้วย
..1. การติดตามผลการควบคุมกลยุทธ์ เป็นการเก็บข้อมูลและตรวจสอบข้อมูลทั้งหมด ในบางองค์การใหญ่ๆ อาจจะจะต้องมีการจัดตั้งศูนย์ประสานงานเพื่อดูแลแผนกลยุทธ์นี้โดยตรง
..มีบุคลากรทำงานประจำเพื่อรับผิดชอบเต็มเวลา โดยต้องมีความรู้และความสามารถ
.พร้อมทั้งทุ่มเทเวลาให้กับการติดตามและประเมินผลนี้อย่างเต็มที่
..การคัดเลือกควรมาจากฝ่ายวางแผนและพัฒนาซึ่งมีผู้บริหารระดับสูงดูแลอยู่
.. โดยการทำงานในหน้าที่นี้ต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายตลอดเวลา
..บางแห่งจำเป็นต้องใช้ตัวแทนจากหลายๆฝ่าย มาทำงานในศูนย์ประสานงานนี้
..เพื่อให้เกิดการย่อมรับจากบุคลากรของทุกฝ่ายได้ดีขึ้น
.2. รวบรวมข้อมูลและประเมินผล นำข้อมูลมาสรุป โดยมีการ กำหนดเกณฑ์มาตรฐานเพื่อวัดผลการดำเนินการ ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
ข้อมูลที่ได้มาทั้งหมดต้องมาจากผลของการใช้ระบบนี้จริงๆซึ่งย่อมมีทั้งข้อมูลทั้ง ลบและบวก ผู้รับผิดชอบรวบรวมข้อมูล ต้องมีความเป็นธรรมและตั้งใจทำหน้าที่นี้เพื่อให้ได้ผลสรุปที่ตรงตามความเป็นจริง
3. นำผลที่ได้มาเป็นแนวทางในการปรับปรุงพัฒนา ระบบการบริหารงานภายในองค์การ
..ผู้นำ /ผู้บริหาร ต้องมีส่วนทำหน้าที่สำคัญนี้ด้วย
..ซึ่งต้องมีความรอบคอบ และระมัดระวัง
.เพราะมีหลายๆหน่วยงานมักจะให้ฝ่าย HR เป็นผู้ทำหน้าที่นี้เพียงฝ่ายเดียว
.จนดูเสมือนว่าระบบการบริหารงานขององค์การ
.ถูกกำหนดโดยฝ่าย HR
.และประการสำคัญ เมื่อผลสรุปของแผนกลยุทธ์ออกมาแล้ว
ก็ต้องสื่อสารออกไปให้ทุกคนเข้าใจ
..แม้ว่าผลที่ได้ออกมายังไม่สู้จะดีนักก็ตาม
.ถ้ามีการถ่ายทอดออกมาในเชิงให้กำลังใจและกระตุ้น ให้เกิดความมุ่งมั่นที่จะทำงานตามโครงการนี้ต่อไป
.ก็เท่ากับว่าได้รับความสำเร็จไปกว่าครึ่งหนึ่งแล้ว
เพราะมีหลายหน่วยงานเกิดความท้อแท้ เมื่อผลงานสรุปออกมาไม่เป็นที่พอใจ
..ผู้บริหาร / ผู้นำจะต้อง ช่วยสร้างแรงผลักดันเหล่านี้ด้วย
.เพราะกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคลนี้ จะช่วยให้บุคลากรและระบบการบริหารงานเชิงกลยุทธ์หลักขององค์การ
.ประสบความสำเร็จได้ยั่งยืน อย่างแน่นอน!
การดำเนินงานตามกลยุทธ์บริหารทรัพยากรบุคคล เป็นการปูพื้นฐาน
.และกลจักรสำคัญที่สุดของระบบก็คือ
.คน / พนักงาน / บุคลกร ซึ่งเป็นทรัพยากรขององค์การ
.พึ่งระลึกอยู่เสมอว่า
.กลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคลนี้ เป็นส่วนหนึ่งของระบบ
..การบริหารงานเชิงกลยุทธ์หลัก
.ซึ่งต้องแบ่งแยกกันอย่างชัดเจน เพราะอย่างน้อยระบบการบริหารงานแบบเดิม
.ที่ใช้อยู่ก็สามารถทำให้หน่วยงาน / ธุรกิจ / กิจการ ของเราได้ดำเนินมาจนถึงทุกวันนี้
..ผู้บริหารมักมักสับสนในแง่คิดที่ว่า
..ระบบการบริหารของเราจะเดินต่อไปได้อย่างไร ? ในสภาวะที่มีการแข่งขันทางการตลาดสูง
.และคิดต่อไปถึงว่า องค์การ / บริษัท ของเรา
.จะดำเนินกิจการไปได้ตลอดรอดฝั่งด้วยวิธีใด?
..ก่อนที่ท่านจะใช้ระบบ การบริกหารงานเชิงกลยุทธ์ ร่วมกับ กลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคล
ท่านเคยถามความคิดเห็นของบุคคลากรในองค์การของท่านหรือยังว่า
.พอใจและเต็มใจให้มีการปรับเปลี่ยนแผนงานในระดับใดหรือไม่
.มิเช่นนั้นท่านอาจจะได้ชื่อว่า
. เป็นผู้บริหารจอมเผด็จการ
ที่ทุกคนต้องทำตามท่านในทุกๆเรื่องเสมอไป
ซึ่งอาจเป็นจุดเริ่มของความเปราะบางและล่อแหลมขององค์การท่าน
.ในการที่จะอยู่รอดและทนต่อสภาวะปัจจุบัน
ข้อสรุปตอนที่ 89: จะเห็นว่าการบริหารงานไม่ว่าจะอยู่ระบบใดก็ตาม สุดท้ายแล้ว
..ก็ขึ้นอยู่ความต้องการของท่านเอง ที่จะให้องค์การ
. เป็นไปในทิศทางที่ท่านต้องการอย่างไร?
..ถ้าท่านต้องการให้องค์การเดินไปด้วยระบบของการบริหาร (ไม่ว่าจะแบบเดิม หรือการบริหารเชิงกลยุทธ์) พร้อมๆกับการปรับให้เกิดสมดุลในการทำงานด้วยแล้ว
.ก็ต้องค่อยๆปรับเปลี่ยนระบบการบริหารงาน ที่มีอยู่เดิม เพื่อให้เข้าสู่ / อยู่ได้ ในสภาวะ
.ของการแข่งขันในขณะนี้
.โดยเกาะไปกับกระแสการเปลี่ยนแปลงทางการตลาด และกระแสการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
..หรือท่านต้องการให้เดินไปในแนวทางของท่านเอง
ซึ่งคิดว่าเดินมาถูกทางอยู่แล้ว
ท่านเอง ในฐานะเป็นผู้นำ / ผู้บริหาร ก็คือผู้กำหนดทิศทาง / จุดยืน ต่างๆเหล่านั้น
.ถึงแม้ว่า HR ไม่ใช่แกนหลักของการจัดการองค์การเชิงกลยุทธ์ก็ตาม
..แต่ก็เป็นแกนหลักของการพัฒนา ทางด้านความรู้ และบอกถึงขีดความสามารถขององค์การ
โดยเฉพาะในสภาวะที่มีการแข่งขันสูง
.ทรัพยากรบุคคล จึงมีความสำคัญต่อการพัฒนาองค์การเป็นอย่างมาก
.ทั้งหมดนี้ก็ขึ้นอยู่กับมุมมองและนโยบายของท่านด้วยว่า
.จะจัดความสำคัญของบุคลากรของท่าน
..ให้อยู่ในฐานะใด
.ถ้าจัดให้เป็นต้นทุนทางการค้า (Human Capital) ก็ต้องให้ความสำคัญของการจัดการ ทางด้านทรัพยากรมนุษย์ ( เปรียบเสมือนเป็นต้นทุนอย่างหนึ่ง ) พร้อมๆกับการจัดการด้านอื่นๆตามไปด้วย !
คำถามท้ายตอนที่ 89: ในฐานะที่ท่านเป็นผู้บริหารองค์กร / องค์การ
.ท่านสามารถเปรียบเทียบและปรับหลักการบริหารงานเชิงกลยุทธ์ กับแผนกลยุทธ์ด้าน การบริหารทรัพยากรบุคล
..ให้ใช้ร่วมกันได้อย่างไร? เพื่อให้เหมาะสมและใช้งานได้จริง
..! ( การเริ่มแผนงานด้านกลยุทธ์ ที่ฝ่าย HR นั้น
อย่ามองว่า
.เป็นการเสริมอำนาจหน้าที่ให้ HR เพียงด้านเดียว
..ลองมองที่ความสำคัญและหน้าที่หลัก
.เช่นการคัดเลือกเตรียมพนักงานเข้าทำงานในองค์กร การฝึกอบรมพนักงาน และการจัดการด้านสวัสดิการและคุณภาพชีวิตและอีกหลายๆด้าน
..ซึ่งเป็นงานและหน้าที่ของ HR โดยตรง)
////////////////////////////////////////
1/11/2553
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที