ตอนที่9
10 ผู้นำ/CEO
คติที่น่านำไปใช้ (..จบ..)
8. คุณศิริวัฒน์ วรเวทวุฒิคุณ: อดีต กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์เอเชีย จำกัด หรือบริษัทหลักทรัพย์เอเซียพลัส จำกัด (มหาชน) ในปัจจุบัน และเป็นผู้ก่อตั้งศิริวัฒน์แซนด์วิช คุณสมบัติ/จุดเด่น : ผู้พลิกจากมาดนักธุรกิจมาเป็น
.มาดพ่อค้าติดดินตัวจริง เป็นผู้นำในจำนวน
.ไม่กี่คนที่ชนะใจลูกน้องยอมสละนาวา
.และยอมอยู่เคียงข้างเพื่อต่อสู้ชีวิตในยามหมดตัว
...พ่อค้าขาย
.sandwich
. brand ไทย
ในยคหลังวิกฤติต้มยำกุ้ง
.ลงสู่สามัญชน ถ้าวันนี้ ยังรวยอยู่คงไม่เข้าใจสัจธรรม
ไม่รู้จักคำว่าบุญ
.ทาน
.ช่วยเหลือคนยากจน
..และชีวิตก้าวพ้นวิกฤติต้มยำกุ้งมาได้ก็เพราะ
.ธรรมะของพระพุทธเจ้า
.อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ หรือ..ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน
.จากนั้น
.คำที่ว่าพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส
. ก็จุดประกายขึ้นมาในตัวเขาทันที
.เขาเป็นคนต่อสู้ชีวิต
. ล้มแล้วต้องลุกได้
..มีความขยันหมั่นเพียร
ต้องไม่อาย
ที่จะทำกิน
..สร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ตนเองและผู้ร่วมงานอยู่เสมอ และที่สำคัญต้องพัฒนาตนเอง
ฝึกฝน
..อ่านหนังสือให้มากพร้อมกับหา
คติธรรมเพื่อสอนตนและแบ่งปันให้ผู้อื่นด้วย ผลที่ได้/การนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารองค์กร : ประการแรกของการก้าวสู่การทำธุรกิจ
..คือมีสติรู้ตนเอง
.รับข่าวสาร
..หาความรู้เพิ่มเติม
พัฒนาบุคคลากรขององค์กร
..และไม่ผลีผลามในผลที่เห็นซึ่งอาจเป็นภาพลวงตาที่ไม่ยั่งยืน
.การให้โอกาสผู้ที่ทำผิดและพยายามปรับปรุงตัวให้ดีขึ้น
..ใช้ความผิดเป็นครูในการต้านกับแรงพายุและปัญหา
..ก็ทำให้ประสบความสำเร็จและลุกขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งได้
..ต้องดึงจุดเด่นของตัวเราที่มองไม่เห็นออกมา
..และสร้างเป็นผลสำเร็จในรูปของผลงานให้ได้
2 ผู้นำทางพุทธธรรมและจิตวิญญาณประยุกต์
9. พระพรหมคุณาภรณ์(ประยุทธ์ ปยุตฺโต) "ป.อ.ปยุตฺโต"พระพรหมคุณาภรณ์ดำรงค์ตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์ พิเศษประจำมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย และจำพรรษาอยู่ที่วัดญาณเวศกวัน อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
คุณสมบัติ/จุดเด่น :พระผู้เผยแผร่ธรรมะยุค IT
เป็นพระนักวิชาการ
นักคิดนักเขียน
มีผลงานหนังสือทางพระพุทธศาสนาจำนวนหลายเล่ม
.พระผู้ซึ่งทุ่มเททั้งแรงกาย
..แรงสติปัญญา
.แรงใจ
พัฒนาคำสอนของพระพุทธเจ้ามาเป็นคำพูดที่เข้าใจง่าย
ทันยุคทันเหตุการณ์
ได้รับรางวัลทั้งในประเทศและต่างประเทศมากมาย
เป็นพระนักพัฒนา
.พัฒนาสังคมไทย สู่วัฒนธรรมแห่งความใฝ่รู้และสู้สิ่งยาก
.สังคมไทยปัจจุบัน เผชิญกับปัญหาต่างๆ มากมาย ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ
สังคมการเมือง
.และสิ่งแวดล้อม
บางปัญหาอยู่ในขั้นวิกฤตแล้ว
.แต่ผู้นำไม่ยอมรับ
.เลย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาทางด้านเศรษฐกิจและการเมือง
.ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ ไม่เพียงแต่จะส่งผลกระทบต่อสังคมไทยในวงกว้างเท่านั้น หากแต่กำลังฝังรากลึกลงไปในวัฒนธรรมไทยจนอาจยากต่อการเยียวยาแก้ไข
ผู้นำที่ดีย่อมรัก
..ตัวเราเอง
..รักครอบครัว
รักสังคมไทย
รักประเทศชาติ
รักมนุษย์และธรรมชาติ
โปรดมีธรรมะไว้ในใจของทุกท่านแล้วท่านจะเป็นผู้ที่ได้ชื่อว่า เป็นพุทธบุตรแห่งธรรม
ผลที่ได้/การนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารองค์กร : ความพร้อมของผู้นำ
.ไม่จำเป็นต้องมีหัวโขน
.หรือตำแหน่งหน้าที่
.หากแต่เพียงคิดว่าเราจะ
นำธรรมะมานำพาชีวิตของเรา
.เราก็ได้ชื่อเป็นผู้นำแล้ว
10. พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (บุญถึง) :นามปากก ว.วชิรเมธี ต้นแบบ ธรรมะติดปีก Active Buddhism
อาจารย์พิเศษ...เป็นผู้ก่อตั้งสถาบันวิมุตยาลัย (Vimuttayalaya Institute)
อันเป็นสถาบันเพื่อการศึกษา วิจัย ภาวนา และนำเสนอภูมิปัญญาทางพุทธศาสนาสู่ประชาคมโลกโดยเน้นปรัชญาการทำงานในลักษณะพุทธศาสนาเพื่อสันติภาพโลก (Buddhism for World Peace) และจำพรรษาอยู่ที่วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
คุณสมบัติ/จุดเด่น : มหาวุฒิชัย เป็นพระนักวิชาการ
. เป็นนักคิดนักเขียนพระพุทธศาสนารุ่นใหม่
เป็นนักปฏิบัติธรรม และนักบรรยายธรรมที่ผลิตผลงานออกมาในรูปสื่อโทรทัศน์ และหนังสือออกมาอย่างสม่ำเสมอในยุคIT
เป็นพุทธบุตรที่เผยแผร่พุทธศาสนาได้ตรงยุค ตรงสมัย ทันยุคทันเหตุการณ์
ไม่มีข้อแม้ในการปฏิบัติธรรม
และเผยแผร่ธรรมะ
.ไม่มีเงื่อนไขที่จะให้
มีความมานะอดทน
เรียนรู้จนถึงที่สุดแห่งธรรมะ
พร้อมที่แก้ปัญหา
คน
สังคม
.ประเทศด้วย
..ธรรมะ
ผลที่ได้/การนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารองค์กร : ตราบใดกรุงศรีอยุธยา
ยังไม่สิ้นคนดี ในแผ่นดินไทยเมืองพุทธ ก็ยังมี ผู้นำดี/ ผู้ปฏิบัติชอบ
..และพระผู้เผยแผร่ธรรมะอยู่คู่บ้านเมืองเราตลอดไป
.ความอดทน
.ความขยันหมั่นเพียร
.ศึกษาหาความรู้
.ขยันปฏิบัติ / ทำงาน
.ความสำเร็จของคำว่า ผู้นำ ยังคงมีคู่กับ
ทุกๆท่านตลอดไป
สรุปในตอนที่ 9 นี้ : อยากให้ท่านวิเคราะห์ดูว่า เมื่อ ตัวท่านเอง ต้องการ
.ให้ผู้อื่นเรียกท่านว่า
ผู้นำ
.ท่านพร้อมหรือไม่
?...มีสิ่งใดเป็นที่ยอมรับของ องค์กร/สังคม อยู่แล้ว
ก็ให้ทำต่อไป
และมีสิ่งใดที่ยังขาดตกบกพร่อง
ก็ให้รีบขวายขวนหาทางที่จะปฏิบัติ
.ตามความพอใจและสติปัญญา
.และขอส่งท้ายด้วยตัวอย่างการบันทึกบัญชีคัมภีร์จุดอ่อน
.ดังนี้:-
มีลักษณะเดียวกับ การบันทึกจุดแข็งแต่ต่างกันตรงที่ต้องมีความละเอียดในการหาข้อผิดพลาดและต้องบันทึกวิธีการแก้ปัญหานั้นๆไปด้วย
เล่มที่ 2
สมุดบันทึกจุดอ่อน สมุดบันทึกคำภีร์จุดอ่อนในรอบปี
..พ.ศ
..บันทึกโดยนาย/นางสาว
.
เงื่อนไขที่จดบันทึก
ต้องจดทุกเดือนทุกเหตุการณ์ที่เป็นจุดอ่อน/ปัญหา/วิธีการแก้ปัญหาตาม case นั้นๆ
รายการที่จดบันทึก
..มีดังนี้
1.สรุปความผิดพลาดของ ผู้บริหารเอง ที่ทำในแต่ละเดือนทุกๆเดือนเริ่มจากเดือน
..มกราคม
จนถึงเดือนธันวาคม
เช่น
เดือนมกราคม
.ตัวของเราเองทำอะไรผิดบ้าง
.ผิดต่อตนเองและผู้อื่น
.แม้แต่เรื่องเล็กน้อยก็ต้องบันทึก
เช่นผิดนัดประชุม...ผิดเวลาในการนัดหมาย
ผิดคำพูด
ผิดคำสั่ง
และอื่นๆเป็นต้น(ต้องบันทึกวิธีการแก้ไขในข้อผิดพลาดนั้นๆด้วย) 2. สรุปความผิดพลาดของ ลูกน้อง/ผู้ใต้บังคับบัญชา ที่ทำในแต่ละเดือนทุกๆเดือนเริ่มจากเดือน
..มกราคม
จนถึงเดือนธันวาคม
..ความละเอียดตามขนาดของกิจการ
กล่าวคือถ้ากิจการใหญ่ ก็ให้มีการบันทึกตามสายการบังคับบัญชา
..ผู้บริหารจะบันทึกเฉพาะระดับผู้จัดการก็ได้ (ต้องบันทึกวิธีการแก้ไขในข้อผิดพลาดนั้นๆด้วย) 3. สรุปความผิดพลาดของ องค์กร ที่ทำในแต่ละเดือนทุกๆเดือนเริ่มจากเดือน
..มกราคม
จนถึงเดือนธันวาคม
..ตามความสำเร็จของกลุ่มงาน
ในฝ่าย / ส่วน / แผนก
.รวมถึงบริษัทในเครือ(ถ้ามี) (ต้องบันทึกวิธีการแก้ไขในข้อผิดพลาดนั้นๆด้วย
.ข้อนี้จะต้องตั้งกรรมการกลางเป็นผู้บันทึก) สรุปผลที่ได้เป็น 3 ตารางเพื่อรวบรวมจุดอ่อน/ปัญหา/ข้อบกพร่อง
ของ 1. ตัวผู้บริหาร 2.ผู้ใต้บังคับบัญชา/ลูกน้อง 3. องค์กร
ประโยชน์ที่จะได้รับ: 1. เพื่อทราบถึงจุดอ่อนของ
. ระบบ / ผู้ปฏิบัติงาน / ผู้บริหาร 2. เพื่อเป็นแนวทาง
ในการแก้ไข/ปรับปรุงองค์กร 3. เพื่อหากลยุทธ์
ในการป้องกันปัญหาที่เกี่ยวกับ
. ระบบ / ผู้ปฏิบัติงาน / ผู้บริหาร
ที่อาจจะเกิดขึ้นอีก 4. การบันทึก
ข้อผิดพลาด/ปัญหา
จะได้รับผลสำเร็จก็ต้อง
.พร้อมใจกันทำทั้งองค์กร
.ทำให้เกิดความสามัคคีในองค์กร 5. สร้างขวัญกำลังใจให้กับทุกๆคนในองค์กรว่าปัญหาที่เกิดขึ้น
.ทุกๆคนมีส่วนร่วมและพร้อมใจกันแก้ไข
.เพราะมีผลกระทบโดยรวม
..และต้องไม่สร้างปัญหาเหล่านั้นอีก
หลังจากที่ได้จุดอ่อน
และจุดแข็ง
ขององค์กรแล้วให้ตั้งธง
สรุปเป็นคำภีร์บันทึกจุดแข็งจุดอ่อน
วิธีการปฏิบัติการตั้งธง..จุดแข็ง/จุดอ่อนขององค์กร:
1. จัด workshop หาจุดแข็งทั้งหมดในองค์กร
2. จัด workshop หาจุดอ่อนทั้งหมดในองค์กร
3. จัดประชุมเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลและผลที่ได้ว่า
.เป็นจริงตามที่สรุปมาหรือไม่
?
4. ตั้งจุดแข็งเป็น
ธงชัยแรกที่จะนำพาองค์กรให้บรรลุเป้าหมาย
5. ตั้งจุดอ่อนเป็น
แรงผลักดันโดย
วิเคราะห์ปัญหาพร้อมหาวิธีการแก้ปัญหา
ติดตามผลและบันทึก
.นำผลที่ได้มาตั้งเป็นข้อกำหนด
วิธีป้องกันปัญหา
และวิธีการปฏิบัติ
นำมาแปลเปลี่ยนเป็นแรงสนับสนุนและจุดแข็ง ขององค์กรต่อไป (ต้องให้กรรมการ
ติดตามผลตลอด)
บทส่งท้ายตอนที่ 9 นี้: ข้อให้ทุกท่านโชคดีในการค้นหาจุดแข็ง/จุดอ่อน และอย่ามองจุดอ่อนทุกๆจุดว่า
เป็น ปัญหาเสมอไป
แต่จงมองและหาทางเปลี่ยนจุดอ่อนนั้นให้เป็นแรงขับเคลื่อนให้ได้
นั้นคือ สุดยอดผู้นำตัวจริง
ในตอนที่ 10 น่าจะเป็นตอนสุดท้ายของการเตรียมตัวก่อนที่จะเข้าโปรแกรมการเปลี่ยนแปลงของความเป็นเลิศของผู้บริหารโรงงาน(องค์กร)
ภายใน 30 วัน
29 มีนาคม 2552
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที