ตอนที่ 97
วันที่ 26
Emptiness Management (3)
Case study : บจ.พัฒนากิจออโตพาร์ท
.ต้องการใช้หลักของ Emptiness Management มาใช่ร่วมกับแผนกลยุทธ์หลักขององค์การ
.โดยให้ความหมายว่าเป็นการทำงานที่
ไม่เกิดของเสียหายในการผลิต / ระบบการสื่อสารภายในถูกต้องแม่นยำ / ยอมให้เกิดความคลาดเคลื่อนของการผลิตได้แค่ 0.5 % ( ผลิต200เสีย1)
.. มีคุณวุฒิชัย เป็นผู้จัดการผ่ายผลิต และคุณสุชาติเป็นหัวหน้าสายการผลิต A
.คุณยงยุทธ์ CEO ขององค์การได้เรียกประชุมจัดแผนยุทธศาสตร์การบริหาร
.องค์การ/องค์กร
โดยใช้พุทธศาสตร์
.ร่วมกับแผนกลยุทธ์หลักองค์การ
..มีจุดประสงค์หลักของแผนคือ
.เพื่อลดความเครียดในการทำงาน เกิดการประสานงานในระหว่างผู้ร่วมงาน และช่วยสร้างกัลยาณมิตรในหมู่ผู้ร่วมงาน
.สร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน
.และอื่นๆอีก
? ตามแผนที่องค์การที่ปรารถนา
.ซึ่งบางอย่างก็ยังหาคำตอบไม่ได้
คุณยงยุทธ์ ได้ศึกษาหลักการเบื้องต้นจาก case study ของ บจ.อินทราชัย เป็นตัวอย่าง
.จึงเกิดความคิดที่จะใช้หลักพุทธศาสตร์มาประยุกต์กับสายการบริหารงาน
โดยใช้หลักของ
Emptiness Management
ทดลองใช้ในสายการผลิต A เป็นการนำร่องก่อน
.ซึ่งผลที่ได้จะนำไปขยายปรับใช้ในแผนการบริหารหลักขององค์การต่อไป
เริ่มจากการ
กำหนดปรัชญาของ
Emptiness Management
. คือความรู้ที่ใช้บริหารมนุษย์
ได้จากการมีปัญญาและการทำงานจนรู้จริง
และความจริงที่การทำงานต้องอยู่ภายใต้สภาวะกดดันหนึ่งๆ
.ซึ่งสามารถถ่ายทอด และปลดปล่อยออกมาได้
คุณยงยุทธ์
..ชี้แจงวัตถุประสงค์ของแผนให้ คุณวุฒิชัย และคุณสุชาติ ได้รับทราบรายละเอียดทั้งหมด
..โดยเริ่มดำเนินงานตามแผนดังนี้
1. คุณยงยุทธ์
.ให้คุณวุฒิชัย และคุณสุชาติเรียนรู้หลักเบื้องต้นของ Emptiness Management ด้วยการยกตัวอย่างการหาความสัมพันธ์ของ
ทุกข์
กับ
ความว่างเปล่า
และช่วยกันคิดว่าจะสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับ
. Emptiness Management
..ได้อย่างไร/ เมื่อใด/เกี่ยวข้องกันตรงไหน
.ด้วยการระดมสมองหาคำตอบตาม5ขั้นตอน
ที่ได้กล่าวมาในบทที่แล้ว
.!
.เริ่มจาก
คุณยงยุทธ์ : ใครมีคำถามและข้อสงสัยอะไรบ้างครับ ?
คุณวุฒิชัย : Emptiness Management เกี่ยวข้องกับการทำงานแบบไคเซ็นหรือไม่อย่างไรครับ ?
และจะเหมาะกับองค์กรของเราหรือครับ ?
คุณยงยุทธ์ :
..คำตอบอยู่ที่ผลสรุปความสัมพันธ์ระหว่างทุกข์
กับ
ความว่างเปล่า
ที่เรากำลังจะช่วยกันหาคำตอบไงครับ !
คุณสุชาติ : แล้วจะมีผลต่อการทำ5ส
ในองค์กรของเราบ้างไหมครับ ?
คุณยงยุทธ์ :
..แน่นอนครับ
คำตอบจะได้ทราบต่อไป !....และผมขอสรุปในเบื้องต้น
..
2. สรุปว่า
เลือกจตุราริยสัจ หรือ อริยสัจสี่
..เฉพาะในข้อ
ทุกข์
ว่าเกี่ยวข้องกับความว่างเปล่าได้อย่างไรตรงไหน?.....และจากความหมายของทุกข์
เกี่ยวข้องโดยตรงกับสังขารคือสภาพร่างกาย 5 ส่วน
..กับเหตุของทุกข์
.และไตรลักษณ์
.กำหนดความสัมพันธ์ของ ทุกข์
กับ
ความว่างเปล่า ในสิ่งที่เป็นทุกข์คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อนิจจลักษณะ ทุกขลักษณะ และอนัตตลักษณะ
3. ตอบคำถามในขั้นตอนในข้อที่ 2 และ 3
..จากความหมายของทุกข์
ทบทวนนิยามและปรัชญา
นิยามของ Emptiness Management ที่กำหนดไว้
คือความรู้ที่ใช้บริหารมนุษย์
ได้จากการมีปัญญาและการทำงานจนรู้จริง
และความจริงที่การทำงาน ต้องอยู่ภายใต้สภาวะกดดันหนึ่งๆ
.ซึ่งสามารถถ่ายทอด และปลดปล่อยออกมาได้
รูป
.เป็นส่วนประกอบของธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ
ร่างกายคือ ขน ฟัน เล็บ ผม หนัง กระดูก และโลหิตเป็นต้น
..เกี่ยวกับความว่างเปล่าอย่างไร?
.สัมพันธ์กับปรัชญาและนิยามของ Emptiness Management และเกิดผลอะไร?
.ตอบตามลำดับดังนี้
คุณยงยุทธ์ : รูปเกี่ยวกับความว่างเปล่าคือ
เป็นสิ่งตรงข้ามกัน
.กล่าวคือ ถ้ามีรูปก็ไม่มีความว่างเปล่าในขณะที่
.ความว่างเปล่าอยู่ที่ใดก็ต้องไม่เห็นรูปอยู่ที่นั้น
..มีความเกี่ยวพันธ์กับนิยามคือ
รูปต้องทนกับสภาพการทำงานภายใต้ความกดดันหนึ่งๆอย่างแน่นอน
ผู้บริหารทรัพยากรมนุษย์ต้องทราบข้อนี้ดี
คุณวุฒิชัย : รูปเกี่ยวกับความว่างเปล่าก็ต่อเมื่อธาตุทั้ง 4 ย่อยสลายไป
.การมีปัญญาและความอดทนก็สามารถทำงานในสภาพกดดันหนึ่งๆได้
ภายใต้ข้อกำหนดหนึ่งๆที่ตกลงกันและยอมรับกันได้
คุณสุชาติ : รูปจะอยู่ร่วมกับความว่างเปล่าได้ก็ต่อเมื่อธาตุทั้ง 4 มีความสมดุลกัน
.ไม่เบียดเบียนกัน
.ในสภาวะของธาตุทั้ง 4 ความว่างเปล่าจะมีอยู่
เพียงในจิตตราบที่รูปยังแสดงอยู่
.ผู้ที่ควบคุมจิตได้ก็เท่ากับควบคุมธาตุทั้ง 4 ได้
เวทนา
.เป็นระบบรับรู้ความรู้สึก และอารมณ์
จากประสาทสัมผัส หู ตา จมูก ลิ้น กาย และใจ
.เกี่ยวกับความว่างเปล่าอย่างไร?
.สัมพันธ์กับปรัชญาและนิยามของ Emptiness Management และเกิดผลอะไร?
.ตอบตามลำดับดังนี้
คุณยงยุทธ์ : เมื่อตาไม่เห็น หูไม่ยินเสียง กายมิได้สัมผัส และใจไม่มีสิ่งรบกวนใดๆก็คือ
เกิดความว่างเปล่า
การรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสสามารถถ่ายทอดออกมาได้โดยอาการกิริยาและ
.สื่อที่ร่างกายสามารถส่งผ่านออกมาได้
คุณวุฒิชัย : อารมณ์ที่แสดงออกมาจากมนุษย์ที่ทำงานด้วยสภาวะหนึ่งๆ
คือสิ่งที่ยังปลดปล่อยออกมายังไม่หมด
สิ่งที่แสดงออกมาจากประสาทสัมผัสจะยงคงขึ้นอยู่ความจริงใน
จิตที่สงบและว่างเปล่าด้วยการทำสมาธิ
ด้วยการเจริญสติและปัญญา
คุณสุชาติ : ความว่างเปล่าคือสิ่งที่สัมผัสไม่ได้ทางความรู้สึก และอารมณ์
ประสาทสัมผัส หู ตา จมูก ลิ้น กาย และใจ ช่วยให้รับรู้ถึงความว่างเปล่าแต่ก็มิใช่ทางที่แท้จริงเสมอไป
..ขึ้นอยู่ที่จิต
สัญญา
.เป็นการกำหนดให้รับรู้ในอารมณ์และมีความรู้สึกในอารมณ์รับรู้ใน
.รูป รส กลิ่น เสียง หนาว ร้อน และยินดี
.เกี่ยวกับความว่างเปล่าอย่างไร?
.สัมพันธ์กับปรัชญาและนิยามของ Emptiness Management และเกิดผลอะไร?
คุณยงยุทธ์ : สิ่งที่กำหนดให้รู้ถึงอารมณ์นั้นๆ..
ต้องเป็นสิ่งที่มากระทบกับประสาทสัมผัส
.ซึ่งไม่มีความว่างเปล่าและเป็นความจริงที่สัมผัสได้ จับต้องและถ่ายทอดได้
คุณวุฒิชัย : รูป รส กลิ่น เสียง หนาว ร้อน โกรธ และยินดี
.ได้รับจากการสัมผัสสิ่งที่มีตัวตน
ความว่างเปล่าไม่ช่วยให้เกิดการสัมผัสเหล่านั้นได้
.เพียงแต่เมื่อตัวตนได้สัมผัสสิ่งกำหนดอารมณ์เหล่านั้นแล้ว
.จิตจะปล่อยวางได้หรือไม่
คุณสุชาติ : มีเพียงรูปเท่านั้นที่สัมผัสได้ทางกาย
.ถ้าเราไม่รับสิ่งกระทบอารมณ์อื่นๆ
..ถึงจะรู้ก็สามารถสร้างความว่างเปล่าได้
.โดยจิต
////////////////////////////////////////
12/4/2554
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที