ตอนที่ 98
วันที่ 26
Emptiness Management (4)
สังขาร
..เป็นระบบการคิดปรุงแต่ง ทางจิต โดยมีเจตนา เป็นตัวแยกแยะสิ่งที่รับความรู้สึกและจดจำเพื่อ ปรุงแต่งคุณภาพของจิต ให้เป็น
.กุศลหรือคุณธรรม
อกุศลหรือกิเลส และอัพยากฤตหรือสภาพกลางๆ
.เกี่ยวกับความว่างเปล่าอย่างไร?
.สัมพันธ์กับปรัชญาและนิยามของ Emptiness Management และเกิดผลอะไร?
.
ตอบตามลำดับดังนี้ :
คุณยงยุทธ์ : เมื่อกำหนดรับรู้จากการสัมผัสและอารมณ์
..ก็เกิดการปรุงแต่งภายในจิต
.โดยแยกแยะได้ว่าเป็นสิ่งว่างเปล่าหรือไม่ก็ตาม
..จิตแปรความว่าเป็นอะไรโดย
.ตอบสนองตามผัสสะหรือตามจิตที่ปรุงแต่งในทุกขณะ
..ความว่างเปล่าของการปรุงแต่งสามารถสร้างแรงกดดัน
ได้ตามจิต คุณวุฒิชัย : ถึงแม้ว่าเป็นสภาพของจิตปรุงแต่งก็ตาม
.จิตก็ยังเป็นนายของธาตุคือกาย
.เห็นตรงหรือไม่ก็ย่อมเป็นนายอยู่ตลอดไป
.จะเป็นความว่างเปล่าหรือไม่เป็นขึ้นกับเจตนา
คุณสุชาติ : เจตนาเป็นตัวกำหนดความว่างเปล่าตามการปรุงแต่งของจิต
.ถึงแม้จิตปรุงแต่งมาไม่ตรงตามผัสสะ
แต่เจตนาเป็นตัวบอกให้การปรุงแต่งนั้นดีหรือไม่ดี
.สิ้นสุดที่สติและปัญญา
.การฝึกสังขารเชิงบวก
.ย่อมช่วยให้มีสภาพปรากฏของจิตที่เป็น ทาน กรุณา มุทิตา
..การทำสมาธิย่อมนำมาซึ่งธาตุหรือกายที่อุดมด้วยปัญญา
วิญญาณ
..เป็นการรับรู้สิ่งที่เป็นความรู้แจ้ง
ทางอารมณ์มีการแยกแยะการรับรู้อารมณ์เหล่านั้น
ผ่านทางอายตนะ6 คือ หู ตา จมูก ลิ้น กาย และใจ แปลงผ่านสื่อสัมพันธ์ ออกมาทางอารมณ์
เช่นอายตนะจาก การมองเห็นด้วย..ตา
เมื่อสัมผัสกับ..รูปแล้ว
สื่อและส่งถึงประสาท
เข้าสู่..ใจ
.จึงแปลงออกมาเป็นอารมณ์ ซึ่งเปรียบเสมือนผลของสังขารธรรม
.เป็นจิตที่รับรู้ถึง รูป เวทนา สัญญา และสังขาร
..ในส่วนรูปที่มากระทบ หู ตา จมูก ลิ้น และกาย และสูงสุดของการรับรู้คือ
.นิพพาน
.เกี่ยวกับความว่างเปล่าอย่างไร?
.สัมพันธ์กับปรัชญาและนิยามของ Emptiness Management และเกิดผลอะไร?
.
ตอบตามลำดับดังนี้ :
คุณยงยุทธ์ : สิ่งที่กำหนดให้รู้ถึงอารมณ์นั้นๆ..
ต้องเป็นสิ่งที่มากระทบกับประสาทสัมผัสหรือ หู ตา จมูก ลิ้น กาย และใจ
.ซึ่งไม่เป็นสิ่งว่างเปล่าแต่เป็นความจริงที่สัมผัสและจับต้องได้
สามารถถ่ายทอดได้
คุณวุฒิชัย : อายตนะ6 เป็นทางรับ..แปลง
และส่งผ่านไปถึงกันโดยขั้นสุดท้ายจะแปลงออกมาเป็นอารมณ์และการแสดงออกทาง
.กาย แต่ใจที่จิตสามารถควบคุมได้ก็จะไม่แสดงออก
.ซึ่งสามารถแปลงกลับมาควบคุมกายก็ได้
คุณสุชาติ : ผมว่าสุดท้ายหรือผลลัพธ์ของสังขารธรรม
.นั้นวิเศษสุดจริงๆนั่นคือ
.ทางแห่งการหลุดพ้นได้ด้วยวิญญาณ
.ที่หลุดจากสังขารธรรม
.คือ นิพพาน
สาเหตุของทุกข์
.ที่มาจาก
..เกิด แก่ เจ็บ - ตาย
.เกี่ยวกับความว่างเปล่าอย่างไร?
.สัมพันธ์กับปรัชญาและนิยามของ Emptiness Management และเกิดผลอะไร?
..การพบกับสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา - การพลัดพรากจากของรัก - ความไม่สมหวังในสิ่งต้องการ
.เกี่ยวกับความว่างเปล่าอย่างไร?
.สัมพันธ์กับปรัชญาและนิยามของ Emptiness Management และเกิดผลอะไร? ตอบตามลำดับดังนี้ :
คุณยงยุทธ์ : การเกิด แก่ เจ็บ ไม่ใช่ความว่างเปล่า
.แต่
ตาย..คือความว่างเปล่าปราศจาก..สังขาร
ส่วนวิญญาณ จะสัมผัสได้หรือไม่
ก็แล้วแต่ จิต.....การทำงานที่ไม่อยู่ภายใต้การเจริญภาวนา..ศีล..สมาธิและปัญญา
จำเป็นต้องสร้างสภาวะหนึ่งๆควบคุม
คุณวุฒิชัย : การเกิด แก่ เจ็บ ตาย
เป็นไปตามสังขารธรรมถึง
.แม้ว่าไม่มีความว่างเปล่าให้เห็นแต่การปรุงแต่งควบคุมได้ด้วยจิต
.
คุณสุชาติ : ร่างกายคือธาตุที่เป็นไปตาม
สังขารซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามเวลา
ส่วนความว่างเปล่าควบคุมโดยจิต
.การทำงานที่ควบคุมจิตได้
ก็เท่ากับควบคุมทุกข์ได้ด้วย
สังขารธรรม
คือไตรลักษณ์ ได้แก่ อนิจจตา ทุกขตา และ อนัตตตา
.
อนิจจตา
.หรืออนิจจลักษณะ
.คือความไม่เที่ยงของขันธ์
.สิ่งที่เกิดกระทบกับขันธ์
อาการที่เกิดขึ้นคงอยู่และเสื่อมลงกับขันธ์
.เกี่ยวกับความว่างเปล่าอย่างไร?
.สัมพันธ์กับปรัชญาและนิยามของ Emptiness Management และเกิดผลอะไร?
ทุกขตา
.เป็นทุกขลักษณะ
..เป็นทุกข์ของขันธ์ที่ถูกเปลี่ยนแปลงไป ทำให้เกิดการขัดแย้งกับความรู้สึกจนเกิดความไม่คงที่ของขันธ์และปัจจัยปรุงแต่
..เกี่ยวกับความว่างเปล่าอย่างไร?
.สัมพันธ์กับปรัชญาและนิยามของ Emptiness Management และเกิดผลอะไร?
อนัตตตา
..เป็นอนัตตลักษณะ
.การไม่มีตัวตน หลุดจากขันธ์ ไม่มีสิ่งกระทบขันธ์ จึงไม่ทุกข์และไม่มีอำนาจจึงไม่มีผลที่จะมาพึ่งพิงขันธ์
เกี่ยวกับความว่างเปล่าอย่างไร?
.สัมพันธ์กับปรัชญาและนิยามของ Emptiness Management และเกิดผลอะไร?
.
ตอบตามลำดับดังนี้ :
คุณยงยุทธ์ , คุณวุฒิชัย และคุณสุชาติ : ตอบปัญหาร่วมกันสรุปว่า
อนิจจตา : เป็นความไม่เที่ยงของขันธ์
เป็นได้ทั้งความว่างเปล่าและไม่ใช่ความว่างเปล่า
.เป็นได้ทั้งสิ่งเที่ยงแท้และสิ่งไม่เที่ยง
ทุกขตา : เมื่อใดที่ขันธ์เกิดความขัดแย้งกับจิตปรุงแต่งก็ทำให้เกิดทุกข์
.ซึ่งย่อมไม่เกิดความว่างเปล่า
แต่ก็มีความสงบแขวงอยู่เมื่อขันธ์และจิต มาบรรจบพอดีที่
.ศีล-สมาธิ-ปัญญา
.มีจิต ที่ตั้งอยู่ใน สมาธิ
อนัตตตา : เป็นทางเดียวที่ไปสู่ความว่างเปล่า และการไม่มีตัวตน
นั่นคือหลุดออกจากขันธ์
////////////////////////////////////////
14/4/2554
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที