มานพ

ผู้เขียน : มานพ

อัพเดท: 10 พ.ค. 2014 20.17 น. บทความนี้มีผู้ชม: 459744 ครั้ง

เป็นผู้ประกอบการธุรกิจเองเป็นสิ่งที่คนทุกคนภาคภูมิใจ แต่รู้ไว้ว่า มันยาก ถ้าเข้ามาทำแบบสุ่มสี่สุ่มห้า เพราะธุรกิจแต่ละประเภทแต่ละธุรกิจ มีวิธีทางสู่ความสำเร็จแตกต่างกันแต่มนง่ายถ้าอ่านเรื่องนี้ มีหลายตอนติดตามอ่านตลอด แล้วท่านจะรู้ว่าเถ้าแก่มืออาชีพเป็นง่ายนิดเดียว


การทอนเงินแบบเถ้าแก่

             การทอนเงิน  จะเกิดหลังจากที่มีการซื้อ  การขายซึ่งเป็นกิจกรรมที่เราพบเห็นแทบทุกวันเพราะสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนเราใช้เงินตรา  แทนเบี้ยจากอดีต  ดังนั้น  จึงมีการกำหนดอัตราที่แน่นอนและการค้าขายเป็นการหาเลี้ยงชีพอย่างหนึ่งที่หลีกเลี่ยงการทอนเงินไม่ได้  การทอนเงินเป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจของคนค้าขาย  เพราะเมื่อมีผู้ซื้อจ่ายมันมากกว่ามูลค่าของสินค้า  การทอนเงินจะต้องเกิดขึ้นเสมอ 

และเถ้าแก่ร้านทุกคนไม่อาจหลีกเลี่ยงกระบวนการนี้ 

            การขาดทุนหรือเสียชื่อเสียงจะเกิดขึ้น  ถ้าหากการทอนเงินผิดพลาด  กล่าวคือ  ทอนเงินขาดไปลูกค้าจะไม่พอใจ เสียงบ่นที่ตามมา  “อะไรวะ  ทอนเงินแค่นี้ยังทอนผิด”  การทวงถามจะตามมา และ  ทอนเงินเกินไป   เสียงหัวเราะ(ในใจ) “เถ้าแก่ร้านนี้โง่  ฉิบ.........  ทอนเงินเกินให้เรา”  แล้วลูกค้าตัวดีคนนี้จะรีบหายเข้ากลีบเมฆในบัดดล   

            ธรรมชาติของคนมักไม่ค่อยนับตังทอน  เมื่อมีการทอนเงินน้อยเกินไปเช่น  เหรียญบาทจำนวนมาก แบ็งย่อย  จำนวนมาก  หรืออาจเพราะรีบ  การนับจะนับเคร่าๆ  ขอให้มีจำนวนแบ็งครบ

            แต่ส่วนใหญ่ที่เจอ  จะมาโวยหลังจากออกจากร้านไปแล้วเมื่อเถ้าแก่ทอนเงินขาดไป   ปัญหาใหญ่ขนาดที่หนังสือเล่มอื่น ๆ และตำราวิชาการหลายเล่มไม่ได้พูดถึง  คือ  เรื่องนี้ล่ะ 

            ดูตัวอย่าง   

ลูกค้า   เถ้าแก่ / เจ๊  /เฮีย / น้อง / พี่  เมื่อกี้ทอนผิด  ผมให้ใบร้อยซื้อ  แฟบ  27  บาท  ทอน  53  บาทขาดแบ็งยี่ใบนึง 

เถ้าแก่  แล้วลื้อ  คุณ / นาย / เอง / หนู  ไม่นับก่อนละ   อูยทอนครบ  ไม่จริง    

ลูกค้า  .........................

เถ้าแก่  .................................

            เรื่องนี้มักเป็นข้อพิพาทเมื่อเป็นแบ็งร้อย  ไม่ใช่แบ็ง  ยี่สิบที่ว่า     เรื่องนี้ถ้าเกิดขึ้นไม่เพียงแต่นำผลเสียตามมา  ไม่ว่าความผิดจะเป็นเถ้าแก่เอง  หรือ  ลูกค้าโกงไม่สามารถพิสูจน์ได้  เมื่อออกจากร้านไปแล้ว  ถ้าในกรณีที่เถ้าแก่ผิด  คิดหรือว่าลูกค้าคนนี้จะกลับมาอุดหนุนกิจการอีก  ฝันไปเถอะพี่ (เถ้าแก่)  

           แต่เรื่องนี้เกิดขึ้น  ผู้อ่านในฐานะว่าที่  หรือเถ้าแก่  คิดอย่างไร           

           การทอนเงินเป็นเรื่องสำคัญและเป็นเรื่องละเอียดอ่อนมาก   ซึ่งถ้าหากผิดพลาดจะก่อให้เกิดผลเสียหายตามมา  ไม่เพียงแต่เรื่องข้างต้น 

           ดังนั้นถ้า  มีการเตรียมตัวก่อนเปิดร้านในส่วนของเก๊ะสตางค์   ก่อนจะเป็นเรื่อง ดี  อันความจริงการทอนเงินเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที