ในการดำเนินธุรกิจค้าปลีกขนาดย่อมผู้ประกอบการสามารถเลือกประกอบการได้หลายรูปแบบตามความเหมาะสมของเงินทุนในการประกอบการ ความพร้อมของทรัพยากร ขนาดและประเภทธุรกิจของธุรกิจที่มีความประสงค์จะดำเนินการ ดังนั้นก่อนการเริ่มต้นดำเนินธุรกิจค้าปลีกขนาดย่อม ผู้ประกอบการจะต้องพิจารณาขีดความสามารถของตนเองว่าควรจะดำเนินการจัดตั้งรูปแบบใด
โดยทั่วไปแล้วการดำเนินธุรกิจสามารถจัดตั้งได้ 3 รูปแบบ คือ
1. รูปแบบเจ้าของคนเดียว
2. รูปแบบห้างหุ้นส่วน
3. รูปแบบบริษัทจำกัด
ซึ่งรูปแบบทั้ง 3 นี้ มีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันออกไป ในการตัดสินใจนั้น ไม่มีคำตอบที่ดีที่สุดทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการ ความพร้อมและความเหมาะสมของผู้ประกอบการค้าปลีกขนาดย่อมเป็นหลักและผู้ประกอบการจะต้องพิจารณาปัจจัยในการเลือกรูปแบบของธุรกิจนอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้วข้างต้นดังนี้
1. ความรับผิดชอบและผลประโยชน์ที่จะได้รับ รูปแบบของการประกอบธุรกิจแต่ละรูปแบบมีการจำกัดความรับผิดชอบเกี่ยวกับหนี้สิน และผลกำไรต่างกัน
2. ข้อจำกัดและกฎหมาย การประกอบการธุรกิจค้าปลีกขนาดย่อมแต่ละรูปแบบมีกฎหมายควบคุมการดำเนินการ ถ้าหากผู้ประกอบการมีการพิจาณาแล้วว่าตนเองมีข้อจำกัด เพื่อความเหมาะสมจะต้องศึกษากฎหมายอย่างละเอียดถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจเลือกรูปแบบธุรกิจในการดำเนินการ
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที