มานพ

ผู้เขียน : มานพ

อัพเดท: 10 พ.ค. 2014 20.17 น. บทความนี้มีผู้ชม: 459608 ครั้ง

เป็นผู้ประกอบการธุรกิจเองเป็นสิ่งที่คนทุกคนภาคภูมิใจ แต่รู้ไว้ว่า มันยาก ถ้าเข้ามาทำแบบสุ่มสี่สุ่มห้า เพราะธุรกิจแต่ละประเภทแต่ละธุรกิจ มีวิธีทางสู่ความสำเร็จแตกต่างกันแต่มนง่ายถ้าอ่านเรื่องนี้ มีหลายตอนติดตามอ่านตลอด แล้วท่านจะรู้ว่าเถ้าแก่มืออาชีพเป็นง่ายนิดเดียว


ขอเป็นนักวิจัยแบบเถ้าแก่ ตอนที่3

Ethnography  เป็นอีกกระบวนการหนึ่งที่ผู้ประกอบการในฐานะเถ้าแก่ร้านจะต้องเข้าใจถึงวิธีการที่จะให้ได้มาของข้อมูลบางอย่างในการประกอบการตัดสินใจว่าจะวางแผนนำสินค้าอะไรมาขายในร้าน  โดยอาศัยเข้าไปสังเกตการณ์ และใช้เวลาร่วมกับชาวบ้านกลุ่มเป้าหมายที่มีความเป็นไปได้ที่จะซื้อสินค้าและบริการจากเราจากสิ่งแวดล้อมที่เขาใช้ชีวิตอยู่จริงๆ วิธีนี้เหมาะสมที่สุดกับกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่จำเป็นต้องใช้ในชีวิตจริงหรือสินค้าที่เป็นปัจจัยสี่  เช่น ชาวบ้านกลุ่มเป้าหมายชอบเดินเท้าไปทำนา ชอบแบกกระติบข้าวเหนียวใส่หลัง  ชอบอาบน้ำตอนกลางคืนที่ท่าน้ำ  เวลาว่างจะหาบน้ำจากแม่น้ำมาใส่ตุ่มหรือโอ่ง  และยารักษาโรค  เสื้อผ้าที่พวกเขาใช้อยู่เป็นประจำ  หรือแม้กระทั่งอุปกรณ์สื่อสาร  เถ้าแก่จะต้องสังเกตพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์กันอย่างใกล้ชิด  ส่วนหลักเกณฑ์การพิจารณาหลัก ๆ  คือสังเกตกิริยาอาการและพฤติกรรมที่แสดงออกมาเมื่อใช้ผลิตภัณฑ์ว่าเกิดปัญหาความไม่สะดวกสบาย  ขัดกับความรู้สึกเหมือนพวกเขาขาดอะไรบางอย่างไป  หรือแม้กระทั่งว่าขั้นตอนของการใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีความยุ่งยากสลับซับซ้อนจนพวกเขาเกิดความรู้สึกน่ารำคาญใจหรือไม่  วิธีนี้ยังเหมาะสำหรับสินค้าที่เป็นผลิตภัณฑ์ตามฤดูกาลอีกด้วยเช่น  ในฤดูแล้งชาวบ้านที่ไม่มีน้ำประปาส่วนใหญ่จะใช้ไม้คานหาบปี๊บโลหะเพื่อเป็นภาชนะบรรจุน้ำจากแม่น้ำประจำหมู่บ้านมาใส่ตุ่มหรือโอ่งที่บ้านของตนเพราะจะได้มีน้ำสะอาดไว้อุปโภคหรือบริโภคในครัวเรือน  ทั้งนี้เนื่องจากไม่มีน้ำฝน  การสังเกตการณ์ และใช้เวลาร่วมกับชาวบ้านกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นกลวิธีของกระบวนการนี้  ให้สังเกตสีหน้า  ท่าทาง  ความรู้สึกตลอดจนอายุ  วัย  เพศของผู้ที่ทำการหาบว่ามีความรู้สึกอย่างไร  มีความสุขหรือทุกข์แค่ไหนจากการหาบน้ำ  ไม้คานและปี๊บเป็นอุปสรรคในการหาบหรือไม่  ลองตั้งคำถามในใจเราเองว่าถ้าพวกเขามีเงินพอที่จะซื้อรถเข็นน้ำเพื่อบรรจุภาชนะใส่น้ำแทนการหาบที่พวกเขาทำกันเป็นกิจวัตรอยู่นี่จะขัดต่อวิถีชีวิตและประเพณีของพวกเขาหรือไม่  มีพิธีกรรมสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการหาบน้ำหรือเปล่า อ่านดูแล้วมันเหมือนจะยาก  แต่ในทางความเป็นจริงเราอาจถือเป็นโอกาสเยี่ยมเยียนลูกค้าประจำได้เช่น  หาเวลาว่างที่เราคิดว่าลูกค้าของเราจะใช้ชีวิตแบบปกติ  เข้าไปหาถึงที่บ้านขอนั่งเล่น เอากับข้าวไปร่วมขอข้าวกิน พูดคุยไต่ถามเรื่องราวทั่วไป  ในบ้านเขาเพื่อนบ้านเขารวมถึงผลิตภัณฑ์ที่เป็นสินค้าที่พวกเขากำลังใช้อยู่หรือซื้อจากเราไปว่ามีส่วนใด  สมรรถนะพื้นฐานเป็นไปตามความคาดหวังหรือไม่ มีความพึงพอใจในรูปลักษณ์  สี  ความคงทนและความปลอดภัย  สุดท้ายที่ขาดไม่ได้คือจะต้องทราบให้ได้ว่า มีความคาดหวังหรือต้องการอะไรจากตัวผลิตภัณฑ์อีกบ้างเพื่อคุณภาพชีวิตหรือความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของชาวบ้านที่เป็นลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย ทั้งนี้เพื่อทราบความต้องการและความคาดหวังอะไรบางอย่างจากตัวผลิตภัณฑ์จากชาวบ้านที่เป็นลูกค้ากลุ่มเป้าหมายโดยตรงซึ่งคู่แข่งของเราไม่ทราบมาก่อนหรือที่เราเรียกทับศัพท์ว่าช่องว่างทางการตลาด(Market  Spaces)  เพราะช่องว่างที่ว่านี้คู่แข่งของเรามองข้ามหากเรารีบเติมเต็มก่อนที่คู่แข่งของเราจะดำเนินการก่อนและถ้าเป็นช่องว่างที่คู่แข่งไม่มีศักยภาพพอที่จะตอบสนองได้แต่เรามีสามารถดำเนินการตอบสนองความต้องการที่เหมาะสมของชาวบ้านที่เป็นลูกค้ากลุ่มเป้าหมายนี้ได้  ส่วนแบ่งการตลาดจะเป็นของเรามากขึ้น  นอกจากนี้การเข้าพบผู้ใหญ่บ้าน  ปราชญ์ชาวบ้านเพื่อขอข้อมูลบางอย่างจากการดำเนินชีวิตของลูกบ้านรวมทั้งขอทราบความเชื่อ  ทัศนคติ  พฤติกรรม  ค่านิยมและวัฒนธรรมประเพณีที่ชาวบ้านกลุ่มเป้าหมายปฏิบัติตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันจนยึดเป็นบรรทัดฐานทางสังคม  เราจะสามารถทราบและสังเกตการดำเนินไปของชีวิต  กิจวัตรประจำวัน ว่าเป็นอย่างไร  มีพฤติกรรมใดน่าสนใจ  เพราะเรากำลังสังเกตพฤติกรรมการใช้ชีวิตแบบคนจริง  เหตุการณ์จริง  จาก  สถานที่จริง  รวมทั้งยังสามารถเห็นการวาง  การเก็บ  การใช้ของเครื่องใช้ส่วนตัวภายในบ้านเพื่อทราบ รูปแบบการดำเนินชีวิต  วิธีนี้จำเป็นต้องใช้เวลามากแต่จะทำให้เถ้าแก่สามารถได้ข้อมูลหรือสารสนเทศจริงและน่าเชื่อถือที่สุด  ทันกับยุคสมัยจากกระบวนการนี้  สำหรับนำมาวางแผนทำการค้าและตัดสินใจดำเนินการต่าง ๆ  ทางธุรกิจเพื่อความสำเร็จ  Ethnography เหมาะกับค่านิยมแบบไทยที่ว่ามาถึงเรือนชานต้องต้อนรับ  รูปแบบการใช้ชีวิตแบบชาวบ้านชนบทเป็นอีกวิธีที่ผู้ประกอบการในฐานะเถ้าแก่สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้ากลุ่มเป้าหมายที่เป็นชาวบ้านได้เป็นอย่างดี  ลงทุนน้อย เป็นอีกหนึ่งกรรมวิธีที่ใช้ติดตามกระบวนการหลังการขายสินค้าและบริการ  แต่ไม่เหมาะกับเมืองใหญ่ ๆ  หรือชาวต่างประเทศที่จะต้องนัดหมายก่อนจึงมาเยี่ยมได้

          วิธีดังกล่าวมีนักวิชาการศึกษาอย่างเป็นระบบเรียกอีกอย่างว่า  การวิจัยแบบชาติพันธุ์วรรณนา หรือ  Ethnography   เป็นการศึกษาข้อเท็จจริงแบบภาคสนาม  เป็นเครื่องมือของการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อทราบความต้องการและเห็นลักษณะที่ได้จากการสังเกตุบางประการของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายที่เป็นชาวบ้านมาออกแบบและทำการผลิตผลิตภัณฑ์ได้ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้มากที่สุด  เพราะสิ่งที่ลูกค้าคาดหวังในตัวผลิตภัณฑ์(สินค้าและบริการ)คือคุณภาพ    

 

 

 

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที