ปรารพ

ผู้เขียน : ปรารพ

อัพเดท: 15 ก.ค. 2009 10.18 น. บทความนี้มีผู้ชม: 9062 ครั้ง

งานออกแบบเพิ่มมูลค่าให้ขยะขวดแก้ว


1

กระแสรักษ์โลก ยังคงแรงอยู่ในทุกวันนี้ อาจจะถึงเวลาตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมกันอย่างจริงจัง วันนี้จึงนำบทความจาก TCDCCONNECT.COM มาฝากนะครับ

แกรนิตแก้ว “แก้วสิงห์” : งานออกแบบเพิ่มมูลค่าให้ขยะขวดแก้ว
July 9th, 2009
kaewsing-1.jpg

วัฒน ทิพย์วีรนันท์ ทายาทรุ่นที่ 2 ของห้างหุ้นส่วนจำกัดแก้วสิงห์ ผู้ประกอบการรับซื้อขวดแก้วรีไซเคิล เพื่อขายต่อยังโรงหลอมแก้วขนาดใหญ่ ชีวิตเขาเห็นขวดแก้วจำนวนมหาศาลถูกซื้อมา-ขายไปอยู่นาน จึงคิดอยากเพิ่มมูลค่าให้ขยะเหลือใช้เหล่านี้

จากเศษแก้วมาเป็นแกรนิตแก้ว
เริ่มต้นจากการวิจัยเพื่อสร้างสรรค์วัสดุใหม่ ซึ่งกระบวนการนี้ต้องอาศัยความรู้ความชำนาญเฉพาะด้าน วัฒนออกตระเวนขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานด้านวิทยาศาสตร์ของรัฐหลายแห่ง

“ตอนแรกผมไปติดต่อกรมวิทยาศาสตร์บริการ แต่เขาไม่มีเวลาทำให้ ผมก็หาไปเรื่อยๆ จนไปเจอที่ MTEC (ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ) ผมนำเศษแก้วเข้าไปให้เขาดู พูดคุยทำความเข้าใจกันพักใหญ่ ในที่สุดก็ได้ ดร.อนุชา วรรณก้อน กับ ดร.วรพงษ์ เทียมสอน มาดูแลโครงการวิจัยให้”

“ครั้งแรกพวกเราไม่ได้มุ่งมาที่แกรนิต เราทดลองไปเรื่อยว่าเศษแก้วพวกนี้จะเป็นอะไรได้บ้าง แรกๆ ได้เป็นโมเสสแก้วสีชิ้นเล็กๆ เหมือนที่ไว้ปูผนังห้องน้ำ ดีไซน์สวยถูกใจ แต่ว่าจดสิทธิบัตรไม่ได้ เพราะมีคนทำเยอะแล้ว”

อย่างไรก็ดีในเมื่อลงทุนทำงานวิจัยไปแล้ว วัฒนและทีมนักวิจัยก็มุ่งมั่นที่จะสร้างสิ่งใหม่ขึ้นมา สุดท้ายก็มาลงตัวที่แกรนิตแก้ว ซึ่งกว่าจะได้มาเป็นแกรนิตแก้วรีไซเคิล 100 % นี้ ก็ต้องผ่านกระบวนการทดลอง-แก้ไขอยู่นานพอควร

kaewsing-2.jpg

ความเป็นไปได้ในเชิงพาณิชย์
วัฒนกล่าวว่า แกรนิตแก้วยังอยู่ในช่วงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น เขาจึงยังไม่ได้ลงลึกที่แผนการตลาด แต่ก็ได้วางแนวคิดไว้แล้ว

“ข้อดีของวัสดุนี้คือสามารถนำไปใช้แทนที่แกรนิตธรรมชาติที่มีราคาแพงได้ แกรนิตแก้วของเราผ่านการทดสอบความแข็งแรงแล้ว ได้เกินมาตรฐานทุกอย่าง ทุกวันนี้เราสามารถขายในราคาที่ถูกกว่ามากนะครับ ในขนาดที่เท่ากัน”

“แต่คงยากที่จะไปแข่งขันกับผู้ผลิตรายใหญ่ในตลาดแมส ผมคิดว่าเราต้องมุ่งเจาะตลาดเฉพาะกลุ่ม เช่น กลุ่มที่เชื่อในเรื่องการอนุรักษ์สภาพแวดล้อม”

วัฒนมองว่าการเจาะตลาดเฉพาะกลุ่มนี้มีลู่ทางไปได้ โดยเขาได้นำแกรนิตแก้วไปเปิดตัวกับทาง MTEC ในรายการ ‘ฉลาดล้ำกับงานวิจัยไทย’ เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ทางหนึ่ง นอกจากนั้น ก็ใช้วิธีสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ โดยนำแบรนด์ “แก้วสิงห์” ไปผูกกับธุรกิจคอเดียวกัน

“ผมติดต่อ อ.สิงห์ อินทรชูโต ให้ลองนำแกรนิตแก้วไปใช้ในงานออกแบบของแบรนด์ OSISU เพราะทางนั้นเขามุ่งเน้นงานจากวัสดุรีไซเคิลอยู่แล้ว ซึ่งที่ผ่านมาก็ทำให้มีคนรู้จัก “แก้วสิงห์” เพิ่มขึ้นไม่น้อย”

kaewsing-3.jpg 

อนาคตในฐานะธุรกิจนวัตกรรม
เคยมีคนบอกกับวัฒนว่า ถ้างานวิจัยชิ้นนี้เกิดขึ้นที่สหรัฐอเมริกา ผู้ประกอบการอย่างเขาจะไม่ต้องแบกรับความเสี่ยงเต็มตัว เพราะรัฐจะให้การสนับสนุน

อ่านต่อ....................



ขอบคุณบทความดีๆ จาก www.tcdcconnect.com นะครับ
ยังมีบทความดีๆ เสริมสร้างแรงบันดาลใจอีกมากมาย ลองเข้าไปอ่านนะ
กัน นะครับ

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที