khwanjai

ผู้เขียน : khwanjai

อัพเดท: 05 ก.พ. 2010 09.21 น. บทความนี้มีผู้ชม: 42721 ครั้ง

ตอนที่ 1


คุณเป็นคนสไตล์ 7 หรือเปล่า?

 ผู้เขียนขอขอบคุณ คุณผู้อ่านทุกท่านที่ติดตามกันมาตลอดค่อนข้างเยอะ แต่มีผู้อ่านบางท่านเสนอแนะว่า
อยากจะให้ผู้เขียน เขียนบรรยายเกี่ยวกับศาสตร์ของเอ็นเนียแกรมมากกว่านี้ และเวลาเขียนก็ไม่ต้อง high light สี ผู้เขียนก็ขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ด้วย
 
      ตอนที่ผู้เขียนรู้จักเอ็นเนียแกรมครั้งแรก ก็ได้จาการอ่านวารสารฉบับหนึ่ง ตอนนั้นก็รู้สึกงงๆ และทึ่งในศาตร์นี้มาก ผู้เขียนจึงได้มีซื้อหนังสือมาอ่านหลายเล่ม ทั้งหนังสือที่มีขายในประเทศไทย และต่างประเทศ หลายเล่ม หลังจากที่ผู้เขียนได้ศึกษา ก็ได้มีการนำศาสตร์ดังกล่าวมาตรวจสอบพฤติกรรมของคนในที่ทำงาน และบุคคลใกล้ชิดก็พบว่า >80% พฤติกรรมของบุคคลคนนั้น เป็นไปตามลักษณะเอ็นเนียแกรมของเขา
 
       ตอนแรกตั้งใจว่าจะเขียนนำเสนอใหม่ ให้มีที่มาที่ไปที่ชัดเจน ตามข้อเสนอแนะของคุณผู้อ่าน แต่ไหนๆก็เขียนมาหลายตอนจนใกล้จะครบ 9 สไตล์ แล้ว ก็เขียนให้จบแล้วก็แล้วกัน ค่อนๆเขียนหัวข้ออื่นๆที่เกี่ยวกับเอ็นเนียแกรมใหม่ทีหลัง ผ
 
        มาถึงลักษณะของคนสไตลที่ 7 คนสไตล์นี้ มีนิสัยร่าเริง  เป็นกันเอง มีไอเดียในการทำงานต่างๆมากมาย ถ้ามีการ comment เรื่องงานเขาก็จะมีการพูดในเชิง positive มากกว่า  negative รวมทั้งเขามองโลกในแง่ดีด้วย แม้ว่าบางครั้งตัวเองจะอะไรผิดพลาด ก็จะมีข้ออ้างให้กับตัวเองที่ฟังดูดีได้ แต่ถ้าสถานการณ์นั้นมันเคร่งเครียดมาก คนสไตล์นี้ก็มักจะพูดอะไรขำๆ เพื่อลดความตึงเครียดของคนในองค์กร เช่น  " คูณ ฺB  เป็นผู้จัดการศูนย์คุณภาพของหน่วยงานแห่งหนึ่ง และในที่ประชุมกำลังเคร่งเครียดกับการเตรียมรับมือกับการมาตรวจรับรองคุณภาพจากสถาบันที่มาตรวจรับรอง ซึ่งตอนท้ายของที่ประชุม เขาก็พูดขึ้นว่า พวกเราทุกคนพร้อมแล้ว พร้อมที่จะสอบตก " ซึ่งก็สร้างเสียหัวเราะจากสถานการณ์ที่ดูตึงเครียดได้ ทันที
 
       ขอยกตัวอย่างการทำงานอีกตัวอย่างหนึ่งของคนสไตล์ 7 เช่น คุณ C  ได้มีการนำเสนอเกี่ยวแผนยุทธศาสตร์การทำงานของโรงพยาบาล ตามแนวทาง Balance Score Card คุณ C คิดว่าตัวเองค่อนข้าง
จะรู้เรื่องในแผนงานและแนวทางที่กำหนดไว้อย่างดี เนื่องจากคนไตล์นี้จะมีความสามารถในการประมวลผลข้อมูลจำนวนมากได้  และเรียนรู้ได้เร็ว รวมทั้งมีความมั่นใจในตัวเองค่อนข้างสูง ดังนั้นเขาจึงไม่ค่อนฟังข้อเสนอแนะของคนอื่นสักเท่าไหร่ เพราะคิดว่าสิ่งที่ตัวเองทำนั้นดีที่สุดแล้ว ยกเว้น คนที่มา comment มีผลต่อชีวิตการทำงานของเขา เขาจึงยอมเปลี่ยนแปลง

      ดังนั้นถ้าคุณเจอคน ประเภทนี้ในที่ทำงานหรือที่ประชุม คุณอย่างพยายาม comment การทำงานเขามานัก หรือแสดงควมไม่เห็นด้วยในที่ประชุมอย่างเปิดเผย เพราะเขาจะรู้เสีย self และโต้ตอบคุณกลับแบบเสียความรู้สึกกันได้
 
               ลักษณะการทำงานของคนสไตล์ 7 สามารถทำงานได้หลายๆในวลาเดียวกัน หรือรับอาสางานหลายๆอย่างมาทำ เพราะเขาคิดว่าตัวเองมีความสามารถ รับงานหลายอย่างๆได้ แต่ท้ายที่สุดแล้ว เขาก็ยังทำงานไม่เสร็จ และที่เลวร้ายไปกว่านั้นก็คือ แทนที่เขาจะพยายามทำงานเดิมให้ เสร็จสมบรูณ์ กับดองงานนั้นไว้ และมีงานใหม่ๆที่เกิดจากไอเดียของตัวเองออกมาเรื่อยๆ  เมื่อทำการเปรียบเทียบการทำงานกับคนสไตล์ 5 ที่คิดแล้ว ...จะทำ...คิดใหม่อีก..แล้วถึงจะทำ  แต่คนสไต์นี้คิดแล้วก็สั่งให้คนอื่น ทำ....ทำ...ทำ...ทำ เหมือนกับยิงปืนรัวใส่คนอื่น ซึ่งอาจจะไม่ตรงเป้าอีกต่างหาก ลูกน้องก็ได้แต่ทำ...ทำ..ทำ อย่างเหน็ดเหนื่อยจากงานที่หัวหน้ายิงมาให้แบบไม่พักกระสุน!!! และอีกอย่างงานที่หัวหน้าสั่งก็ไม่ชัดเจน ไม่อธิบายรายละเอียดของงานให้เห็นภาพชัด
 
               แนวทางการพัฒนาตนเองของคนสไตล์นี้คือ การยอมรับความคิดเห็นของคนอื่น การฝึกทำงานให้เสร็จเป็นอย่างๆไม่คิดฟุ้งซ่าน...และปรับคิดของตัวเองเสียใหม่ว่า คนเราไม่ได้เก่งไปทุกเรื่อยมีอีกหลายคนที่เก่งกว่าเรา จงรับฟังความคิดของเขา แล้วนำมาวิคราะห์โดยใช้เหตุผลที่ชัดเจน และนำปรับใช้ แค่นี้ คุณก็กลายเป็นคนที่ perfect ขึ้นอีกเยอะ
 
            ตอนหน้าห้ามพลาดนะค่ะ เราจะมาพูดถึงคนสไตล์ 8 และมาดูกันว่า ทำไมเขาหรือเธอ were born to be the leader..
 
 
 
 

 

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที