khwanjai

ผู้เขียน : khwanjai

อัพเดท: 01 ก.พ. 2010 08.44 น. บทความนี้มีผู้ชม: 30221 ครั้ง

พัฒนาการด้านสมองของลูกน้อย


การพัฒนาสมองส่วนบน


        ตอนที่แล้ว เราได้พูดถึงการกระตุ้นพัฒนาการของสมองส่วนหน้า (Frontal lobe) กันแล้ว ในตอนนี้เราจะมาพูดถึงการกระตุ้นพัฒนาการของ สมองตอนบน ดังนี้

2. สมองตอนบน (parietal lobe) จะทำหน้าที่ผสมผสานสัญญาณรับความรู้สึกจากหน่วยรับความรู้สึกทั้งหลายที่ได้รับการกระตุ้นจากภายนอก โดยเป็นจุดควบคุมเกี่ยวกับการรับความรู้สึกสัมผัสต่างๆ  ทั้งทางด้าน ตา หู จมูก ลิ้น กาย ดังนั้นสิ่งแวดล้อมหรือสิ่งที่เด็กได้รับสัมผัส จึงมีส่วนสำคัญมากในการกระตุ้นพัฒนาการของสมองด้านนี้ โดยมีวิธีการ คือ การพัฒนาการด้านการคว้าจับสิ่งของ (gasping) โดยเฉพาะในเด็กทารกตั้งแต่แรกเกิด จนถึง 2 เดือน แม่สามารถกระตุ้นให้เด็กจับนิ้วมือแม่ไว้ในอุ้งมือของเด็ก นอกจากนี้มีวิธีการอื่นๆ อีก ได้แก่ การแขวนโมบายที่มีสีสันสดใส มีเสียง แขวนที่เตียงทารก เพื่อให้มองดูและหันไปมาตามเสียง ซึ่งเป็นการกระตุ้นด้านการมองเห็น และการได้ยิน ส่วนเด็กที่โตขึ้นมาสามารถ ฝึกให้เขาขีดเขียน โดยอาจจะลากต่อตามจุดต่างๆเป็นรูปภาพ หรือให้เขียนหนังสือ ระบายภาพสี เป็นต้น นอกจากนี้ควรกระตุ้นให้เด็กได้วิ่งเล่น คลาน และหมุนตัว เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกาย และการสัมผัส และนอกจากนี้พ่อแม่สามารถกระตุ้นพัฒนาการด้านการรับรู้ด้านอื่นๆ ได้ โดยการฝึกให้เด็กมีการพูดและอ่าน ได้เล่นเกมที่เหมาะสมกับวัยของเด็ก เป็นต้น

ในฉบับหน้าเราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับการกระตุ้นพัฒนาการของสมองด้านข้าง (temporal lobe)......รอติดตามตอนต่อไป..


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที