Kaizen Man

ผู้เขียน : Kaizen Man

อัพเดท: 01 พ.ย. 2006 10.51 น. บทความนี้มีผู้ชม: 81715 ครั้ง

“Creative & Idea Kaizen” แปลจากวารสารรายเดือน “Soi to Kufu” ของ Japan Human Relations Association สมาคมที่ให้คำปรึกษาเรื่องไคเซ็นทั้งในและนอกประเทศญี่ปุ่นมานานนับสิบปี
* ช่วยให้พนักงานในองค์กรรู้จัก กิจกรรมไคเซ็นที่ถูกต้อง
* ส่งเสริมให้พนักงานทำไคเซ็นอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพองค์กรด้วยตัวอย่างการทำกิจกรรมไคเซ็น, แนวคิด ปรัชญา, ทรรศนะผู้บริหารต่อกิจกรรมไคเซ็น นำเสนอในรูปแบบที่อ่านง่าย เข้าใจง่าย


เกิดสมดุลของงาน เมื่อทำให้ Muri, Muda และ Mura หมดไป


     ทำช่วงที่เป็นภูเขาของงานให้ต่ำลง แล้วถมช่วงที่เป็นแอ่งให้ตื้นขึ้น 
    
งานในแต่ละวันแต่ละเดือนนั้นเราไม่สามารถกำหนดปริมาณได้เท่า ๆ กันซึ่งจะมีทั้งเวลาที่ว่างและเวลาที่ยุ่งควบคู่กันไป
     เวลาที่ยุ่งนั้นทั้งคนและอุปกรณ์มักจะเกิดอาการดันทุรังเพื่อให้งานลุล่วงไปค่อนข้างจะทำแบบ Mur (ทำจนเกินกำลัง) ในช่วงเวลานี้อาจจะมีการเพิ่มจำนวนพนักงานด้วย
     แต่ว่าในช่วงที่มีเวลาว่างนั้นทั้งคนและอุปกรณ์ก็จะอยู่ในเงื่อนไขที่ว่าไม่ได้ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนั่นก็คือ Muda (ไม่เกิดประโยชน์)นั่นเอง 
     หากมีเวลายุ่ง ๆ และเวลาว่างบ่อย ๆ ซ้ำ ๆ แล้วก็จะทำให้มี Muri และ Muda ซ้ำ ๆ ขึ้น.Muri กับ Muda ผสมปนเปกันแล้ว เรียกว่า Mura นั่นเอง 
     เท่าที่เป็นไปได้นั้นก็ควรจะทำให้ภูเขาของช่วงเวลายุ่งนั้นต่ำลงบ้าง ในเวลาเดียวกันก็ควรถมแอ่งของช่วงเวลาว่าง ๆ ซึ่งเป็นการปรับระดับ ถ้าทำอย่างนี้แล้วนั้นในทุก ๆ วันทุก ๆ เดือนความสามารถของคนและอุปกรณ์จะไม่มี Muda, Muri ทำให้เป็นค่าเฉลี่ยแล้วก็จะสามารถใช้ประโยชน์ได้ ผลที่ได้ก็คือจะไม่มี Mura นั่นเอง ที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นก็คือการปรับสมดลของการทำงานนั่นเอง 
     ถ้าทำการปรับสมดุลแล้ว Muri, Muda และ Muraก็จะไม่มี แต่ในความเป็นจริงแล้วนั้นไม่เป็นไปตามที่เราคิดไว้นัก ต่อจากนี้ไปก็จะบรรยายถึงมาตรการป้องกันที่มักจะเกิดขึ้น

การปรับสมดุลตามแผนการผลิต
    
เมื่อไม่เป็นไปตามแผนทำให้ในสต็อกมีสินค้ามากขึ้น
     วิธีการปรับสมดุลความชำนาญในการผลิตนั้น (เวลาว่างผลิตเตรียมไว้) คือ วิธีทำเตรียมเอาไว้นั่นเอง เราจะยกตัวอย่างบริษัทผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องฮีตเตอร์นั่นมันเป็นสินค้าที่ขายได้ตามฤดูกาลหรือจะคาดคะเนปรากฏการณ์ธรรมชาติในระยะยาว (ปีนี้จะขายได้เพียงเท่านี้) กับการคาดคะเนการผลิต
     เพื่อรอรับหน้าหนาวที่จะมาอย่างแน่นอนนั้น จึงผลิตในจำนวนมาก แต่ทว่าการคาดคะเนของคนส่วนใหญ่นั้นเกิดความผิดพลาดขึ้นนั่น ก็คือหน้าหนาวนี้ไม่ถึงกับหนาวจัดนักเป็นผลให้สินค้าที่ผลิตเตรียมไว้กว่าครึ่งต้องเหลือค้างสต็อก

     ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องวางแผนการผลิต ก็จะเกิดความคาดเคลื่อนจากเป้าหมายขึ้น จากนั้นก็ต้องรอให้ผ่านพ้นไปถึงหน้าหนาวอีกปี แต่ว่าในการเก็บรักษาสินค้านั้นก็ต้องมีเงื่อนไขที่ไม่ดีก็คือเรื่องการผุพังเกิดขึ้น
ยังไม่พอเมื่อถึงปีถัดไปสินค้าก็จะเก่าราคาก็จะตกลงอย่างมาก สรุปแล้ว นั่นก็คือสินค้าไร้คุณภาพในสต็อกนั่นเอง

     การคาดคะเนระยะยาวนั้นมีความเสี่ยงมาก แล้วการคาดคะเนระยะกระชั้นชิดละ 
     จะทำอย่างไรดีถึงจะไม่ทำการผลิตสินค้าไม่มีคุณภาพค้างสต็อกเกิดขึ้น นั่นก็คือเราจะคาดคะเนแผนระยะกระชั้นชิดขึ้น 
     พูดถึงตัวอย่างก่อนหน้านี้นั้น (ตัวอย่างการผลิตฮีตเตอร์) ในช่วงเวลาที่จวนเจียนมาก ๆ เช่นประมาณปลายฤดูใบไม้ร่วง (หน้าหนาวนี้น่าจะขายได้ปริมาณเท่านี้) เราจะคาดคะเนอย่างทะลุปรุโปร่งแล้วก็ผลิตออกมา
การวางแผนการผลิตนั้น ถ้าจะอาศัย การคาดคะเนจากข้อมูลเมื่อ 1 ปีที่ผ่านมานั้น ย่อมจะไม่ดีเท่าการวางแผนโดยตรงเพราะว่าจะสามารถรู้ถึงความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภค จึงสามารถวางแผนการผลิตได้อย่างใกล้เคียง
ค่อนข้างมีความเป็นไปได้ที่เราจะหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่จะผลิตสินค้าที่จะค้างสต็อกได้ แต่ทว่า ถ้าเริ่มการผลิตที่ล่าช้านั้น จะส่งผลให้ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการทำงานล่วงเวลาของพนักงาน รวมทั้งต้องเพิ่มพนักงานอีกด้วย และไม่สามารถหลีกเลี่ยงการมีสมาธิกับงานในช่วงเวลาอันสั้นได้

     การคาดคะเนระยะยาว บวกกับการคาดคะเนระยะสั้น
    
การคิดหาวิธีที่จะหลีกเลี่ยงสินค้าไม่มีคุณภาพค้างสต็อกนั้น บริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าลงมือดำเนินตามนโยบายที่ว่า
     ในอนาคตนั้น ในช่วงฤดูใบไม้ผลิจะมีการวางแผนในช่วงเวลายาว ก็คือจะทำการผลิตให้ได้ตามเป้าที่วางไว้ให้เสร็จสิ้นในเดือนตุลาคมหลังจากนั้นก็เพียงรอเวลาส่งสินค้าออกขายเท่านั้น
     แต่เราจะเปลี่ยนแปลงใหม่ในเดือนตุลาคมนั้นให้ผลิตคิดเป็น 70 เปอร์เซ็นต์ของยอดทั้งหมดที่ตั้งไว้แล้ว ในเดือนพฤศจิกายน เดือนธันวาคม ปีต่อมาของเดือนมกราคม ดูแนวโน้มของตลาด ว่าจะผลิตเพิ่มหรือลดการผลิตหรือไม่ก็ประมาณจำนวนที่จะต้องผลิต ปรับให้เหมาะสมแล้วจึงผลิตนั่นเอง

     จากอานิสงค์ของวิธีการนี้ทำให้จำนวนสินค้าไม่มีคุณภาพค้างสต็อกค่อนข้างที่จะสามารถทำให้ลดจำนวนลงได้ อนึ่ง เดือนพฤศจิกายน เดือนธันวาคม เดือนมกราคมถึงแม้จะไม่ได้ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอันก็ตาม (muda) นอกจากช่วงเวลานี้ จนถึงเดือนตุลาคมนั้นก็สามารถที่จะรักษาการปรับสมดุลการผลิตไว้ได้
     การคาดคะเนในระยะเวลานานนั้นจะสามารถทำให้ช่วงเวลาการผลิตนั้นยาว สามารถปรับสมดุลการผลิตได้แต่ว่าจะไม่ตอบสนองกับการเปลี่ยนแปลงของตลาด
     การคาดคะเนในช่วงเวลากระชั้นชิดค่อนข้างที่จะเข้าใจความเป็นไปได้ของความต้องการของตลาดได้เป็นอย่างดี แต่ทว่าเวลาในการผลิตสินค่าก็จะสั้นตามไปด้วย



ท่านสามารถติดตามเรื่องราวของ Creative & Idea Kaizen
ได้ที่ http://www.tpa.or.th/tpatext/kaizen.php
หรือ ติดต่อที่แผนกวารสารวิชาการ
สมาคมส่งเสริทเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)
โทร. 0-2258-0320 ต่อ 1740 (คุณจารุภา)


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที