พยัพ

ผู้เขียน : พยัพ

อัพเดท: 12 พ.ย. 2013 15.02 น. บทความนี้มีผู้ชม: 152324 ครั้ง

ทำไม TPM จึงน่าสนใจสำหรับอุตสาหกรรม


แนวคิดสู่ความสำเร็จของ TPM เป็นอย่างไร

 

ตอนที่ 3: แนวคิดสู่ความสำเร็จของ TPM เป็นอย่างไร

                ปัจจัยสู่ความสำเร็จของ TPM ที่จะก่อให้เกิดระบบการผลิตที่ให้ประสิทธิผลสูงที่สุดแก่โรงงานได้นั้นทางผู้เชี่ยวชาญของ JIPM ได้เขียนเป็นสมการไว้จะประกอบด้วย

              TPM = การพัฒนาความคิดเบื้องต้นของTPM + การพัฒนาด้วยโปรแกรมของ TPM                        

                            (กลยุทธ์+กิจกรรม) + วิธีการและเทคนิคที่ใช้ในการดำเนินงาน

1.การพัฒนาความคิดเบื้องต้นของTPM

               ก่อนที่จะนำ TPM เข้ามาใช้เราต้องให้ความรู้ความเข้าใจกับพนักงานทุกคนตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงจนถึงพนักงานปฏิบัติการระดับล่างสุดในองค์กรทำให้ความคิดเหล่านี้เกิดขึ้นในใจของทุกๆคนร่วมกันจนถึงขั้นอยากทำจึงจะทำให้การดำเนินกิจกรรมเป็นไปได้อย่างราบรื่นซึ่งประกอบด้วย

1.             การสร้างความเข้มแข็งให้บริษัท มุ่งเน้นการกำจัดอุบัติเหตุ ของเสีย เครื่องจักรเสียให้เป็นศูนย์                                             

2.             การใช้ปรัชญาเชิงป้องกันด้วย PM (การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน)CM(การบำรุงรักษาเชิงแก้ไขดัดแปลง)MP (การป้องกันการบำรุงรักษา)

3.             พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมจัดองค์กรเป็นกลุ่มย่อยแบบทับซ้อนอย่างเป็นระบบทำกิจกรรม AM โดยพนักงานปฏิบัติการ

4.             ทำให้งานเดินตลอดเหมือนเป็นอัตโนมัติและเป็นโรงงานที่ใช้คนงานน้อย

5.             ทำให้ทุกคนเข้าใจว่า TPM คืองานประจำของทุกๆคนที่ควรจะทำตามตำแหน่งหน้าที่ความรับผิดชอบแต่ขณะนี้มีบางอย่างยังไม่ได้ทำดังนั้นTPMจึงไม่ใช่งานเพิ่ม

6.             เป้าหมายเดียวกันไม่จำเป็นต้องทำแบบเดียวกัน(คิดนอกกรอบ)

 

 

 

2.การพัฒนาโรงงานด้วยโปรแกรมของ TPM

       เนื่องจากโรงงานจะมีปัญหาและอุปสรรคไม่แตกต่างกันมากนักการดำเนินกิจกรรมของ TPM จึงมีการออกแบบขั้นตอน วิธีการ ให้เหมาะสมกับปัญหาและอุปสรรคของโรงงานโดยจัดทำเป็นโปรแกรมสำเร็จไว้ให้เพื่อง่ายต่อการดำเนินงานประกอบด้วย

2.1      การบริหารเชิงกลยุทธ์  

การทำสิ่งใหม่ๆที่ยังไม่คุ้นเคยหรือยังไม่เคยทำมาก่อนเป็นเรื่องยากสำหรับพนักงานดังนั้นจึงต้องมีการ

สร้างแรงจูงใจ ชี้แนะหรือนำทางให้พนักงานสามารถมองเห็นการดำเนินงานของ TPM ได้ง่ายขึ้นมิฉะนั้นพนักงานจะไม่ให้ความร่วมมือหรือเกิดการต่อต้านการทำกิจกรรมขึ้นมาซึ่งประกอบด้วย

           1.การกำหนดนโยบายและเป้าหมายให้ชัดเจน

           2.การวางแผนงานหลัก(Master Plan)ให้เห็นแนวทาง ขั้นตอนและระยะเวลาการดำเนินงานชัดเจน

          3.การสร้างระบบส่งเสริมกิจกรรมเพื่อสนับสนุนให้เกิดความก้าวหน้าตามแผนงาน

          4.นิยามการสูญเสียที่เกิดขึ้นในโรงงานทั้งหมดให้ชัดเจน

          5.ใช้ 8 เสากิจกรรม(8 Pillar)ในการพัฒนา TPM ให้ประสบความสำเร็จ

          6.พัฒนาความสามารถบุคลากรเพื่อยกระดับให้สูงขึ้นทุกๆคน

          7.วัดผลกิจกรรมที่ทำแล้วก่อนที่จะขึ้นไปทำกิจกรรมในขั้นตอนต่อไป

      2.2 การดำเนินกิจกรรม 

          เมื่อพนักงานทุกคนมีความรู้ความเข้าใจและมีจิตใจที่จะพัฒนายกระดับความสามารถของตนเองและหมู่คณะที่ทำงานร่วมกันเพื่อขจัดปัญหาและอุปสรรคในการทำงานของหมู่คณะและโรงงานให้หมดไปโดยเชื่อว่าปรัชญาของ TPM จะสามารถนำทางไปสู่ความสำเร็จได้ซึ่งประกอบด้วย

          1.พนักงานทุกคนตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงลงมาถึงระดับปฏิบัติการต้องมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม

          2.แต่ละเสากิจกรรมต้องดำเนินการพัฒนาตามขั้นตอน โดยเริ่มจากการค้นหาจุดบกพร่องและการ

            สูญเสีย  การแก้ไขและฟื้นฟูกลับสู่สภาพเดิม  การปรับปรุงให้ดีขึ้น  การบำรุงรักษาให้มีสมรรถนะ

          พร้อมใช้งานตลอดเวลา    การป้องกันล่วงหน้าไม่ให้เกิดปัญหาหรือเกิดซ้ำ แต่ละเสากิจกรรมมีระบบ

          เชื่อมโยงสัมพันธ์กันและมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง(Kaizen)

        3.กิจกรรมที่ทำต้องมีการทดสอบเป็นขั้นตอน

        4.กิจกรรมทุกขั้นตอนต้องได้รับการตรวจขั้นสุดท้ายโดยผู้บริหารระดับสูง

3.วิธีการและเทคนิคที่ใช้ในการดำเนินกิจกรรม    

      ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำงานในปัจจุบัน การที่จะแก้ไขปัญหาหรือปรับปรุงการทำงานของคนและเครื่องจักรอุปกรณ์ให้สำเร็จลุล่วงไปได้นั้นถ้ามีเครื่องมือหรือวิธีการใหม่ๆช่วยก็จะทำให้เราสามารถมองเห็นปัญหาและหาแนวทางแก้ไขหรือปรับปรุงการทำงานได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

   3.1 เครื่องมือที่ใช้ในการบริหารและส่งเสริมการทำกิจกรรม

         เครื่องมือที่นิยมนำมาใช้ในการบริหารและส่งเสริมการทำกิจกรรม TPM ให้ประสบความสำเร็จ

 ประกอบด้วย

          - Policy Management / P D C A

          - C A P Do

          - Overlapping Small Group

          - Step Implementation

          - Activity Board,OPL,Metting

    3.2 วิธีการและเทคนิคที่ใช้ในการแก้ปัญหาและหาทางออกให้ 

         วิธีการและเทคนิคที่นิยมนำมาใช้ในการทำกิจกรรม TPM ให้ประสบความสำเร็จประกอบด้วย

           - Why Why Analysis

           - QC Technique

           - PM Analysis

           - IE Method

           -  VE Method

           - อื่นๆตามความเหมาะสมกับปัญหา

     ดังนั้นการพัฒนาความคิดของพนักงานก่อนนำTPMเข้ามาใช้จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งผู้บริหารระดับสูงและคณะกรรมการบริหารโรงงาน นับว่าเป็นบุคลากรชุดแรกที่จะต้องศึกษาหาประสบการณ์ ดูงาน การทำกิจกรรมTPM ของโรงงานอื่นๆที่ประสบความสำเร็จมาแล้ว เพื่อประเมินศักยภาพของโรงงานตัวเองว่าจะสามารถพัฒนาความคิดของพนักงานให้มีคุณสมบัติเหมาะสมกับการนำ TPM เข้ามาใช้หรือไม่เพียงใดแล้วจึงค่อยตัดสินใจดำเนินการ

     ถ้าผู้บริหารโรงงานมั่นใจว่าจะสามารถพัฒนาพนักงานทุกคนในองค์กรตามแนวทางที่กล่าวมาแล้วทั้ง 3 ปัจจัยคือ การพัฒนาความคิดเบื้องต้นของTPM + การพัฒนาด้วยโปรแกรมของ TPM (กลยุทธ์+กิจกรรม) + วิธีการและเทคนิคที่ใช้ในการดำเนินงาน ทำให้พนักงานมีทัศนคติที่ดีต่อTPM และเข้าใจดีว่าปรัชญาของ TPM จะสามารถช่วยให้การทำงานของเขา สะดวก สบาย รวดเร็ว ปลอดภัยและมีประสิทธิผลสูงขึ้นไม่ใช่คิดแต่ว่าทุกวันนี้ก็ทำงานกันยุ่งอยู่แล้วผิดพลาดสูญเสียไปบ้างโรงงานก็ยังอยู่ได้มีกำไรทำไมต้องเอาTPMมาเพิ่มงานให้อีกแต่ให้มีความคิดว่าเราน่าจะทำงานได้ดีกว่านี้อีกโดยใช้ความสามารถของทุกๆคนที่มีอยู่แล้วร่วมกับปรัชญาของTPM พัฒนาตนเองจนถึงขั้นทำให้ทุกคนอยากทำไม่ใช่ถูกบังคับให้ทำ การดำเนินกิจกรรมTPM จึงจะประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน แต่ถ้ายังไม่มั่นใจก็หาเวลาไปศึกษาดูงานโรงงานที่เขานำ TPM เข้ามาใช้ก่อนก็จะเข้าใจดีว่าทำไมโรงงานที่นำ TPM มาใช้จนประสบความสำเร็จจึงต้องใช้ที่ปรึกษาที่มีความรู้และประสบการณ์ด้าน TPM เข้ามาช่วยไม่ว่าจะเป็นที่ปรึกษาภายในประเทศ หรือต่างประเทศเช่นญี่ปุ่นก็ตาม  ในปี 2555 นี้โรงงานอุตสาหกรรมไทยที่ได้รับผลกระทบจากมหาอุทกภัย 2554 คงต้องใช้เวลาในการฟื้นฟูโรงงานกันระยะหนึ่งทีเดียว แต่ถ้าโรงงานใดนำTPMมาใช้ก่อนจนพนักงานมีความรู้และทักษะในการทำกิจกรรม TPM มาแล้วระยะหนึ่ง การฟื้นฟูโรงงานก็คงจะใช้เวลาไม่มากนักในการนำโรงงานกลับมาผลิตสินค้าส่งลูกค้าที่รอเราอยู่ได้เหมือนเดิม

                                                                                                                                             พยัพ มาลัยศรี

                                                                                                                            ที่ปรึกษาอุตสาหกรรม ส.ส.ท.

                                                           

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที