นิรนาม

ผู้เขียน : นิรนาม

อัพเดท: 17 ม.ค. 2015 07.41 น. บทความนี้มีผู้ชม: 4359968 ครั้ง

www.thummech.com
เป็นความรู้เกี่ยวกับโลหะในทางทฤษฏี ทั้งโลหะที่เป็นเหล็ก และไม่ใช่เหล็ก
โลหะที่เป็นเหล็กที่จะกล่าวก็คือ เหล็ก และเหล็กกล้า
โลหะที่ไม่ใช่เหล็ก เช่น อลูมิเนียม ทองแดง แมกนีเซียม ฯลฯ
ตัวอย่างที่จะกล่าวในหนังสือเล่มนี้จะกล่าวเกียวกับ
- กรรมวิธีการผลิตโลหะ
- คุณสมบัติของโลหะ
- การวิเคราะห์โครงสร้างโลหะ
- การปรับสภาพของโลหะ
- แนวทางที่จะนำไปใช้ประโยชน์
-ฯลฯ

ลองติดตามผลงานดูนะครับ ติชมกันได้นะ มีคำถามอะไรก็ถามได้ ถ้ารู้ก็จะตอบให้ครับ

เมื่อการพัฒนาทางด้านวัตถุมีสูง มองมุมกลับ การพัฒนาทางด้านจิตใจ ด้านคุณธรรมก็ต้องให้สูงตามไปด้วย

วัตถุประสงค์ที่ทำก็คือ อยากเห็นประเทศของเรามีความทัดเทียม หรือเหนือกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว มีการสร้างเทคโนโลยีเป็นของตัวเอง ไม่ต้องตามใคร


10 3.6.1 ขั้นตอนการทดสอบความแข็งแบบบริเนล

3.6.1 ขั้นตอนการทดสอบความแข็งแบบบริเนล

 

ในการทดสอบความแข็งแบบบริเนลมีขั้นตอนดังนี้

 

รูปขั้นตอนการกดลูกบอลโลหะ

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

วิดีโอการทดสอบแบบบริเนล

 

วิดีโอการทดสอบแบบบริเนล 2

 

วิดีโอแสดงการทดสอบบริเนลแบบอัตโนมัติ (เครื่องทดสอบสมัยใหม่) ในโรงงานอุตสาหกรรม

 

1.  นำโลหะตัวอย่างมาวางบนทั่งวางชิ้นงาน

2.  นำหัวกดลูกบอลเหล็กแข็ง ค่อย ๆ นำเข้าไปกดกับชิ้นงาน การทำงานกดจะมีทั้งอัตโนมัติ และควบคุมด้วยมือ แรงที่ใช้ในการกดอัดไปที่ชิ้นงานมีค่าประมาณ 30000 N (3000 kg) หัวกดลูกบอลซึ่งแข็งกว่าชิ้นงานก็จะทำให้ชิ้นงานมีรอยบุ๋มลงไป

3.  หลังจากที่ลูกบอลได้ทำรอยบุ๋มตามต้องการแล้ว ให้นำหัวกดออก และนำชิ้นงานออกมาวัดดูจากรูปด้านล่าง

 

รูปตัวอย่างชิ้นงานที่มีรอยบุ๋มของลูกบอลที่ถูกทดสอบความแข็งแบบบริเนล

 

รูป กล้องจุลทรรศน์บริเนล ใช้ร่วมกันกับการทดสอบความแข็ง

 

รูปรอยบุ๋มที่วัดจากกล้องจุลทรรศน์ที่มีสเกลเปรียบเทียบของลูกบอลบนชิ้นงานที่ทดสอบความแข็ง

 

รูปกล้องจุลทรรศน์สมัยใหม่ที่ใช้ส่องรอยบุ๋มจากการทดสอบความแข็ง

 

รูปการวัดรอยบุ๋มสมัยใหม่ที่ส่งมาที่จอคอมพิวเตอร์เพื่อหาค่าความแข็ง

 

4.  นำกล้องจุลทรรศน์พร้อมกับเลนส์ที่มีขีดสเกลเปรียบเทียบ นำไปส่องเส้นผ่านศูนย์กลางรอยบุ๋ม ของชิ้นงานตัวอย่าง เพื่อวัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเป็นมิลลิเมตร ค่าที่ได้จากการวัดจะเปลี่ยนไปเป็นค่าของความแข็ง ด้วยการคำนวณค่าความแข็งจากสมการข้างล่างนี้

 

รูปการใช้ลูกบอลทดสอบในความแข็งแบบบริเนล

 

รูปลูกบอลโลหะที่ทำการทดสอบ

 

                       BH      25769_untitled.JPG            (3.1)

กำหนดให้

        BH = ค่าความแข็งแบบบริเนล (หน่วย BHN)

        F = แรงที่ใช้ในการกด (ปกติแล้วแรงที่ใช้กดอยู่ที่ 3000 kg)

        D = ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของลูกบอลกด (ปกติแล้วเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ที่ 10 mm)

        d = ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของรอยกดบนชิ้นงาน (mm)

 

ตัวอย่าง 3.1 ชิ้นงานตัวอย่างแท่งหนึ่ง ถูกนำเข้าเครื่องทดสอบแบบบริเนล เพื่อหาค่าความแข็งในชิ้นงาน ใช้ลูกบอลกดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 มิลลิเมตร ป้อนแรงให้กระทำกับชิ้นงาน 3000 กิโลกรัม ค้างไว้ 15 วินาที จนชิ้นงานเป็นรอยบุ๋มลงไปจนสามารถวัดเส้นผ่านศูนย์กลางรอยบุ๋มได้ 2.25 มิลลิเมตร จงคำนวณหาค่าความแข็งในหน่วย BHN

 

วิธีทำ  จากโจทย์กำหนดให้ D = 10 mm, d = 2.25 mm, F = 3000 kg, BH = ? BHN

นำสมการ (3.1) มาคำนวณ

BH = 25769_untitled.JPG

แทนค่าลงในสมการ

= 25769_untitled1.JPG

                                

\ ค่าความแข็งจากเครื่องทดสอบบริเนล   = 743.310 BHN                                          ตอบ

 

หรืออีกวิธีคือการใช้ตารางเปรียบเทียบความแข็งกับรอยบุ๋ม ดูได้ในตารางที่ 3.1 ในตารางมีอยู่สามแถว แถวด้านซ้ายมือจะเป็นเส้นผ่านศูนย์กลางของรอยบุ๋ม ส่วนทางด้านขวาเป็นค่าของความแข็งในหน่วย BHN (Brinell Hardness Number)

 

ตารางเปรียบเทียบค่าความแข็งแบบบริเนล

ใช้แรงกด 3000 กิโลกรัม, ลูกบอลกดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 มิลลิเมตร

เส้นผ่านศูนย์กลางรอยบุ๋มในชิ้นงาน

ค่าความแข็ง

 BHN

เส้นผ่านศูนย์กลางรอยบุ๋มในชิ้นงาน

ค่าความแข็ง

 BHN

เส้นผ่านศูนย์กลางรอยบุ๋มในชิ้นงาน

ค่าความแข็ง

 BHN

2.25

745

3.05

401

3.80

255

230

710

3.10

388

3.85

248

2.33

682

3.15

375

3.90

241

2.40

653

3.20

363

3.95

239

2.45

627

3.25

352

4.00

229

2.55

578

3.30

341

4.05

223

2.60

555

3.35

331

4.10

217

2.65

534

3.40

321

4.15

212

2.70

514

3.45

311

4.25

203

2.75

495

3.50

302

4.35

192

2.80

477

3.55

293

4.40

187

2.85

461

3.60

285

4.50

179

2.90

444

3.65

277

4.60

170

2.95

432

370

269

4.65

1.66

3.00

415

3.73

262

4.80

156

ตารางที่ 3.1 ตารางเปรียบเทียบค่าความแข็งแบบบริเนล

 

      วิธีการทดสอบความแข็งแบบบริเนล ทั่วไปแล้วนำมาใช้ทดสอบกับเหล็กกล้า หรือโลหะอื่น ๆ ที่ไม่ค่อยแข็งมากรอยบุ๋มที่ได้จะนำมาคำนวณ หรือเทียบกับตารางจะให้ค่าที่มีความแม่นยำมากว่า วัสดุที่ค่อนข้างมีความแข็ง

ตารางข้างล่างนี้แสดงตัวอย่างของวัสดุที่ได้จากการทดสอบความแข็งแบบบริเนล

 

ตัวอย่างวัสดุที่วัดค่าความแข็งจากวิธีบริเนล

เหล็กแผ่นรีดเย็น (Cold rolled sheet) (ไม่ผ่านการชุบแข็ง)

150 BHN

เหล็กกล้าชุบแข็ง

600 BHN

เหล็กกล้าไร้สนิม (Stainless steel) (ไม่ผ่านการชุบแข็ง)

150 BHN

เหล็กหล่อ

200 BHN

เหล็กดัด(Wrought iron)

100 BHN

อลูมิเนียม

100 BHN

ทองแดงอบอ่อน (Annealed copper)

45 BHN

ทองเหลือง

120 BHN

แมกนีเซียม

60 BHN

ตารางที่ 3.2 ตารางแสดงตัวอย่างวัสดุที่ผ่านการทดสอบความแข็งแบบบริเนล

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

“ไม่มีใครชอบคำติเตียน ไม่มีใครชอบคำนินทา
ไม่มีใครชอบคำด่า
แต่ทั้งหมดนั้นทำให้คนได้ดีมามากต่อมากแล้ว”

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที