นิรนาม

ผู้เขียน : นิรนาม

อัพเดท: 17 ม.ค. 2015 07.41 น. บทความนี้มีผู้ชม: 4297130 ครั้ง

www.thummech.com
เป็นความรู้เกี่ยวกับโลหะในทางทฤษฏี ทั้งโลหะที่เป็นเหล็ก และไม่ใช่เหล็ก
โลหะที่เป็นเหล็กที่จะกล่าวก็คือ เหล็ก และเหล็กกล้า
โลหะที่ไม่ใช่เหล็ก เช่น อลูมิเนียม ทองแดง แมกนีเซียม ฯลฯ
ตัวอย่างที่จะกล่าวในหนังสือเล่มนี้จะกล่าวเกียวกับ
- กรรมวิธีการผลิตโลหะ
- คุณสมบัติของโลหะ
- การวิเคราะห์โครงสร้างโลหะ
- การปรับสภาพของโลหะ
- แนวทางที่จะนำไปใช้ประโยชน์
-ฯลฯ

ลองติดตามผลงานดูนะครับ ติชมกันได้นะ มีคำถามอะไรก็ถามได้ ถ้ารู้ก็จะตอบให้ครับ

เมื่อการพัฒนาทางด้านวัตถุมีสูง มองมุมกลับ การพัฒนาทางด้านจิตใจ ด้านคุณธรรมก็ต้องให้สูงตามไปด้วย

วัตถุประสงค์ที่ทำก็คือ อยากเห็นประเทศของเรามีความทัดเทียม หรือเหนือกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว มีการสร้างเทคโนโลยีเป็นของตัวเอง ไม่ต้องตามใคร


12 3.8 การทดสอบความแข็งแบบคนูบ

3.8 การทดสอบความแข็งสร้างรอยขนาดเล็กแบบคนูบ

 

       วิธีการทดสอบแบบ คนูบ (Knoop) คล้ายกับแบบวิคเกอร์ และบางครั้งใช้เครื่องทดสอบแบบเดียวกันได้ แต่ต่างกันที่การใช้แรง, หน่วยที่ใช้ และรูปร่างหัวกด แรงกระทำจะน้อยกว่าการทดสอบแบบวิคเกอร์ โดยแรงที่กระทำค่าน้อยกว่า 4 กิโลกรัม ชิ้นงานบางมากอาจใช้แรงเพียง  25 กรัม เท่านั้น การทดสอบแบบคนูบเป็นการทดสอบรูปแบบที่ใหม่กว่าแบบวิคเกอร์ ดูรูปเครื่องมือ

 

เครื่องทดสอบแบบคนูบ และวิคเกอร์พร้อมกับมีหน้าจอดิจิตอล

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

รูปหัวกดแบบคนูบ

 

รูปหัวกดแบบคนูบ 2

      รูปหัวกดเพชรแบบคนูบไม่เป็นสัณฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสเหมือนแบบวิคเกอร์ สัณฐานของมันเป็นพื้นที่หน้าตัดรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ที่เรียกกันว่า พีระมิดแนวยาว (Elongated pyramid) อัตราส่วนของเส้นทแยงมุมคือ 7 : 1 และความลึกของรอยกดอยู่ที่ 1/30 ของความยาวส่วนยาวสุด ในการทดสอบเราจะวัดเฉพาะด้านที่ยาวที่สุดของรอยกด มุมในแนวยาวมีค่า 172°ในแนวสั้น 130°

 

รูปหัวกดแบบคนูบ

 

รูปเรขาคณิตของรอยกด

 

รูปรอยกดบนชิ้นงาน

                                   

ขั้นตอนในการทดสอบแบบคนูบ มีลักษณะพื้นฐานเดียวกับการทดสอบแบบวิคเกอร์ ต่างกันตรงแรงที่กระทำ, การทำให้เกิดรอยกด การวัดรอยบุ๋ม และสมการ หน่วยวัดความแข็งเรียกง่าย ๆ ว่า “หน่วยคนูบ (Units Knoop)” KHN สมการในการใช้ในการคำนวณมีดังนี้

                                 KHN = 25769_knoop1.JPG                                              (3.3)

กำหนดให้   KHN = การวัดความแข็งแบบคนูบ

F = แรงกระทำ หน่วยเป็น กิโลกรัม

                C = 0.07028 (คือ ค่าคงที่ของหัวกดพีระมิดแนวยาว ที่ได้จากความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ของหัวกดกับความยาวของเส้นทแยงมุมส่วนยาวสุด)

                L = ค่าความยาวรอยกดที่วัดได้ หน่วยเป็นมิลลิเมตร

 

ตัวอย่าง 3.3 ชิ้นงานชนิดหนึ่ง ถูกนำมาเข้าเครื่องทดสอบความแข็งแบบคนูบ เพื่อหาค่าความแข็งในชิ้นงาน ใช้หัวกดเพชรรูปทรงพีระมิดแนวยาว กดลงไปที่ชิ้นงานด้วยแรงกระทำ 3 กิโลกรัม จนชิ้นงานเป็นรอยบุ๋มเป็นรูปพีระมิดแนวยาว สามารถวัดเส้นทแยงมุมส่วนยาวสุดได้ 0.2 มิลลิเมตร ให้หาค่าความแข็งของชิ้นงาน

วิธีทำ  จากโจทย์กำหนดให้เป็นการทดสอบแบบคนูบ F = 3 kg, d = 0.2 mm, KHN =? KHN

นำสมการ (3.3) มาคำนวณ

KHN = 25769_knoop1.JPG

แทนที่โจทย์กำหนดค่ามาลงในสมการ

KHN = 25769_knoop2.JPG     

\ ค่าความแข็งจากเครื่องทดสอบแบบคนูบ  = 106.715 KHN                                         ตอบ

 

3.8.1 ข้อดีของการทดสอบความแข็งจิ๋วแบบคนูบ 

      ข้อดีที่สำคัญของการทดสอบแบบคนูบที่เหนือกว่าการทดสอบแบบวิคเกอร์  และการทดสอบแบบบริเนล มีดังนี้

·       การทดสอบแบบคนูบไม่ทำให้ชิ้นงานทดสอบเสียหาย

·       สามารถทดสอบในชิ้นวัสดุที่บางมาก ๆ ได้

·       สามารถใช้พื้นที่ชิ้นงานทดสอบได้เล็กมาก ๆ ได้

ก็เหมือนวิธีการทดสอบอื่น ๆ ที่กล่าวมาทั้งสองวิธีก่อนหน้านี้ก็คือ พื้นผิวชิ้นงานควรราบเรียบ, แบน, สะอาด และเป็นระนาบ ก่อนที่จะทำการทดสอบ

วิดีโอความรู้ในการทดสอบแบบความแข็งของวัสดุแบบคนูบ และวิคเกอร์

วิดีโอการทดสอบแบบคนูบ และวิคเกอร์เครื่องมือเป็นแบบเดียวกัน

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

“ความคิดเป็นของคน แต่ความสำเร็จเป็นของฟ้า”

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที