17 3.11 วิธีการทดสอบความแข็งแบบชอร์ เชโรสโคป และแบบโซโนเดอร์
3.11 วิธีการทดสอบความแข็งแบบชอร์ เชโรสโคป
การทดสอบความแข็งแบบชอร์ เชโรสโคบ (Shore Scleroscope) เป็นวิธีการแตกต่างจากวิธีการอื่น ไม่มีหัวกดที่พื้นผิวชิ้นงาน ด้วยหัวกดเพชร หรือหัวกดลูกบอล แต่จะมีลูกค้อนเล็ก ๆ ปล่อยลงไปที่ชิ้นงานให้มันกระทบชิ้นงาน สะท้อนผิวชิ้นงาน แล้วดูการกระเด้งกระดอนขึ้นของลูกค้อน ตัวอย่างของเครื่องชอร์ เชโรสโคบแสดงในรูป
วิดีโอการทดสอบแบบชอร์ เชโรสโคบ
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
รูปเครื่องทดสอบแบบชอร์ เชโรสโคบ
3.11.1 ขั้นตอนการทดสอบความแข็งแบบชอร์ เชโรสโคบ
นำชิ้นงานทดสอบไปวางที่ทั่งวางงาน ยกลูกค้อนเหล็ก หรือค้อนกระทบให้ขึ้นไปที่ความสูง 10 นิ้ว (25.4 เซนติเมตร) ทดสอบโดยการปล่อยลูกค้อนให้ตกกระแทกที่ชิ้นงานทดสอบ และลูกค้อนจะกระเด้งขึ้น คิดความแข็งจากความสูงของการกระเด้งขึ้นในครั้งแรก ลูกค้อนมีน้ำหนัก 40เกรน (Grain) 3 กรัม (น้อยกว่า 0.001 ปอนด์)
ความสูงของการกระเด้งขึ้นครั้งแรกที่แสดงในเครื่องชอร์ เชโรสโคบ โดยดูจากสเกลวัดของเครื่อง สามารถการอ่านค่าวัดที่หน้าปัดนาฬิกาวัด
รูปภายในของเครื่อง
ความสูงจากการกระเด้งขึ้นนี้จะถูกเปลี่ยนไปเป็นค่าความแข็ง ในหน่วยของ ชอร์ (Shore) ตัวอย่าง ถ้าลูกค้อนกระเด้งครั้งแรกสูง 6 1/4 หลังจากกระแทกกับชิ้นทดสอบ ความแข็งที่อ่านได้ 100 ชอร์ ถ้าค้อนกระเด้งขึ้น 3 1/8 อ่านค่าความแข็งได้ 50 ชอร์ ถ้าลูกค้อนตกกระแทกชิ้นทดสอบ และไม่กระเด้ง ค่าความแข็งจะอ่านค่าได้ 0 ชอร์
ชิ้นงานที่ทดสอบถ้าพื้นผิวไม่ดีขรุขระ สกปรก จะมีผลต่อการเคลื่อนที่ของลูกค้อน ฉะนั้น ต้องให้ชิ้นงานก่อนทำการทดสอบควรที่จะมีพื้นผิวราบเรียบ, แบน, สะอาด และเป็นระนาบ การควบคุมพื้นผิวให้มีคุณภาพจะมีความสำคัญกว่าวิธีการอื่น ๆ ที่กล่าวมา
3.11.2 ข้อได้เปรียบของการทดสอบความแข็งแบบชอร์ เชโรสโคบ
· ไม่เกิดรอยกับชิ้นงาน เพราะอาศัยการกระเด้งขึ้นเพื่ออ่านค่าทดสอบ
· เครื่องทดสอบมีขนาดเล็ก และพกไปมาได้สะดวก มันสามารถเคลื่อนย้ายได้รอบโรงงาน ซึ่งต่างกับการทดสอบแบบร็อคเวล และบริเนลที่มีขนาดใหญ่ การเคลื่อนย้ายไม่สะดวก
3.12 กรรมวิธีการทดสอบความแข็งแบบโซโนเดอร์
วิธีการทดสอบความแข็งแบบโซโนเดอร์ (Sonodur) เป็นความแตกต่างจากการทดสอบแบบอื่นอย่างมาก การทดสอบแบบนี้ มีหลักการหาความแข็งจากการทำให้ชิ้นงานเกิด ความถี่เรโซแนนท์ธรรมชาติ (Natural resonant frequency) ที่ชิ้นโลหะ
3.12.1 ขั้นตอนการทดสอบแบบโซโนเดอร์
ในการทำการทดสอบความแข็งแบบโซโนเดอร์ จะมี แท่งสนามแม่เหล็กเข้มข้น (Magnetostrictive) มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.75 มิลลิเมตร กดทาบที่ชิ้นทดสอบก่อนที่จะทำการทดสอบ มีคอยล์ไฟฟ้า เมื่อปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้าที่คอยล์ทำให้เกิดการสั่นสะเทือนที่แท่ง และเกิดความถี่ที่ซึ่งสั่นสะเทือนสูงมากที่ชิ้นงาน การหาค่าความแข็งโดยการคำนวณในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่เครื่องทดสอบ ความถี่ที่เรียกว่า ความถี่ก้อง หรือเรโซแนนท์ (Resonant frequency) วัสดุที่แข็ง จะให้ความถี่เรโซแนนท์ที่สูง
ค่าความถี่เรโซแนนท์ จะถูกเปลี่ยนไปเป็นค่าความแข็งที่เครื่องทดสอบโซโนเดอร์ แล้วถูกแปลงค่าหน่วยของความถี่ไปเป็นหน่วย BHN
3.12.2 ข้อได้เปรียบของการทดสอบความแข็งแบบโซโนเดอร์
เครื่องทดสอบโซโนเดอร์มีขนาดเล็ก และพกพาได้ อีกทั้งยังมีให้ผลตอบสนองที่เร็ว และไม่ทำให้ชิ้นงานทดสอบเกิดความเสียหาย วิธีการทดสอบความแข็งแบบโซโนเดอร์ เป็นเทคโนโลยีการทดสอบที่ใหม่ และทำงานได้อย่างแม่นยำมาก
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
เพราะแสวงหา มิใช่เพราะรอคอย เพราะเชี่ยวชาญ มิใช่เพราะโอกาส
เพราะสามารถ มิใช่เพราะโชคช่วย ดังนี้แล้ว "ลิขิตฟ้าหรือจะสู้มานะตน"
ขงเบ้ง
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที
- ตอนที่ 1 : บทที่ 1 การนำทฤษฏีโลหะไปใช้งาน
- ตอนที่ 2 : 1.2 ประโยชน์ของโลหะวิทยาในภาคอุตสาหกรรม
- ตอนที่ 3 : 1.3 ผู้ที่เหมาะจะนำไปใช้ กับสิ่งที่พบในหนังสือเล่มนี้ (จบบทที่ 1)
- ตอนที่ 4 : บทที่ 2 พื้นฐานเคมีในโลหะวิทยา 2.1-2.3
- ตอนที่ 5 : 2.4 โมเลกุล ,เกรน และผลึก, สารประกอบ
- ตอนที่ 6 : 2.7 ของผสม, สารละลาย และชนิดของสารละลาย
- ตอนที่ 7 : สารละลายของแข็ง (จบบทที่ 2)
- ตอนที่ 8 : ภาค 2 คุณสมบัติของโลหะ / บทที่ 3 ความแข็ง
- ตอนที่ 9 : 9 3.4 หน่วยของความแข็ง, 3.5 วิธีการทดสอบความแข็ง, 3.6 กรรมวิธีทดสอบความแข็งแบบบริเนล
- ตอนที่ 10 : 10 3.6.1 ขั้นตอนการทดสอบความแข็งแบบบริเนล
- ตอนที่ 11 : 11 การทดสอบความแข็งแบบวิคเกอร์
- ตอนที่ 12 : 12 3.8 การทดสอบความแข็งแบบคนูบ
- ตอนที่ 13 : 13 3.9 วิธีการทดสอบความแข็งแบบร็อคเวล
- ตอนที่ 14 : 14. การแบ่งสเกลร็อคเวล
- ตอนที่ 15 : 15. 3.10 วิธีการทดสอบความแข็งแบบร็อคเวลอย่างคร่าว ๆ
- ตอนที่ 16 : 17 3.11 วิธีการทดสอบความแข็งแบบชอร์ เชโรสโคป และแบบโซโนเดอร์
- ตอนที่ 17 : 3.13 การทดสอบความแข็งแบบโมห์สเกล และตะไบ
- ตอนที่ 18 : 18 การเปรียบเทียบค่าความแข็ง (จบบทที่ 3)
- ตอนที่ 19 : บทที่ 4 คุณสมบัติโลหะ
- ตอนที่ 20 : 20 ความแข็งแกร่ง ,ความเค้น
- ตอนที่ 21 : 21 ความแข็งแกร่งต่อการดึง, การอัด, การเฉือน
- ตอนที่ 22 : 22 ความแข็งแกร่งต่อการบิด, การโค้งงอ
- ตอนที่ 23 : ความทนทานต่อการล้าตัว และการกระแทก
- ตอนที่ 24 : 24 คุณสมบัติที่สัมพันธ์กันระหว่างความเค้น /ความเครียด
- ตอนที่ 25 : 25 โมดูลัสความยืดหยุ่น
- ตอนที่ 26 : 26 ขอบเขตความยืดหยุ่น, การคืบคลาน และอัตราส่วนพอยส์สัน
- ตอนที่ 27 : 27 คุณสมบัติทางเคมี และคุณสมบัติทางไฟฟ้า
- ตอนที่ 28 : 28 คุณสมบัติทางแม่เหล็ก และทางความร้อน
- ตอนที่ 29 : 29 จุดหลอมเหลว, ความจุความร้อน และความร้อนจำเพาะ
- ตอนที่ 30 : 30 คุณสมบัติอื่น ๆ ของวัสดุ(จบบทที่ 4)
- ตอนที่ 31 : 31 บทที่ 5 เหล็กกล้า
- ตอนที่ 32 : 32 ธาตุต่าง ๆ ที่นำมาผสมในเหล็ก, ชนิดของเหล็กกล้า
- ตอนที่ 33 : 33 เหล็กกล้าคาร์บอน
- ตอนที่ 34 : 34 เหล็กกล้าผสม
- ตอนที่ 35 : 35 เหล็กกล้าโครงสร้าง, เหล็กกล้ามาราจิง, เหล็กกล้าเครื่องมือ
- ตอนที่ 36 : 36 เหล็กกล้าไร้สนิม, เหล็กกล้าสปริง,เหล็กกล้าผสมพิเศษ
- ตอนที่ 37 : 37 เหล็กหล่อ
- ตอนที่ 38 : 38 เหล็กหล่อสีขาว, เหล็กหล่อมัลลีเบิล, เหล็กหล่อเหนียว, เหล็กบริสุทธิ์ (จบบทที่ 5)
- ตอนที่ 39 : 39 บทที่ 6 การถลุงเหล็ก
- ตอนที่ 40 : 40 ชนิดของแร่เหล็ก, กระบวนการจัดการแร่เหล็ก
- ตอนที่ 41 : 41 เตาบลาสต์
- ตอนที่ 42 : 42 การผลิตเหล็กกล้าด้วย เตาออกซิเจนพื้นฐาน
- ตอนที่ 43 : 43 เตาอาร์คไฟฟ้า
- ตอนที่ 44 : 44 เตาโอเพนฮาร์ท
- ตอนที่ 45 : 45 การทำเหล็กอินก็อท
- ตอนที่ 46 : 46 โรงรีดเหล็ก
- ตอนที่ 47 : 47 การจัดวางลูกรีด
- ตอนที่ 48 : 48 รีดเหล็กเป็นแผ่นแบน แท่ง และท่อนกลม กับการผลิตต่อเนื่อง
- ตอนที่ 49 : 49 การผลิตเหล็กหล่อด้วยเตาคิวโพล่า
- ตอนที่ 50 : 50 เตาเหนี่ยวนำไฟฟ้า และการควบคุมมลภาวะ (จบบทที่ 6)
- ตอนที่ 51 : 51 บทที่ 7 โครงสร้างผลึก
- ตอนที่ 52 : 52 สเปซแลตทิซแบบบีซีซี, เอฟซีซี
- ตอนที่ 53 : 53 สเปซแลตทีซ ซีพีเฮช, บีซีที, โครงสร้างสเปซแลตทีซในเหล็ก
- ตอนที่ 54 : 54อุณหภูมิเปลี่ยนรูป, การเติบโตของผลึก
- ตอนที่ 55 : 55 ขนาดเกรนกับช่วงเวลาทำความเย็น (จบบทที่ 7)
- ตอนที่ 56 : 56 บทที่ 8 การพัง และการเสียรูปของโลหะ
- ตอนที่ 57 : 57 โลหะเหนียว พังแบบถูกเฉือน
- ตอนที่ 58 : 58 ผลของขนาดผลึก และการเพิ่มความแข็งในงาน (จบบทที่ 8)
- ตอนที่ 59 : 59 บทที่ 9 แผนผังเหล็กคาร์บอน
- ตอนที่ 60 : 60 เฟสไดอะแกรมของเหล็ก-คาร์บอน
- ตอนที่ 61 : 61 การใช้ และการอ่านเฟสไดอะแกรมเหล็กกล้า-คาร์บอน
- ตอนที่ 62 : 62 การเปลี่ยนแปลงไปสู่มาเทนไซต์ ,โครงสร้างเหล็กกล้าในบริเวณต่าง ๆ
- ตอนที่ 63 : 63 บริเวณเปลี่ยนรูป, อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงกับคุณสมบัติทางกล, ปรับปรุงความแข็งให้ดีขึ้น (จบบทที่ 9)
- ตอนที่ 64 : 64 บทที่ 10 การวิเคราะห์โครงสร้างจุลภาค
- ตอนที่ 65 : 65 โครงสร้าง มาเทนไซต์, ออสเตนไนต์ และโครงสร้างผสม
- ตอนที่ 66 : 66 การเตรียมชิ้นงานก่อนส่องกล้องจุลทรรศน์ (จบบทที่ 10)
- ตอนที่ 67 : 67 บทที่ 11 การปรับสภาพทางความร้อน และการชุบแข็ง
- ตอนที่ 68 : 68 เทคนิคและ สารตัวกลางชุบแข็ง
- ตอนที่ 69 : 69 อุณหภูมิสารตัวกลาง, เทคนิคการชุบแข็ง (จบบทที่ 11)
- ตอนที่ 70 : 70 บทที่ 12 การอบอ่อน และการอบปกติ
- ตอนที่ 71 : 71 ตอบคำถามจากอีเมล์, ผลที่ได้จากการอบ, การอบอ่อนเต็ม
- ตอนที่ 72 : 72 การอบอ่อนหลังการขึ้นรูปเย็น, การเปลี่ยนเป็นคาร์ไบต์เม็ดกลม, การอบปกติ (จบบทที่ 12)
- ตอนที่ 73 : 73 บทที่ 13 ผังไดอะแกรมการเปลี่ยนแปลงแบบอุณหภูมิคงที่
- ตอนที่ 74 : 74 เส้นอุณหภูมิเวลา, การนำไปใช้ และอาณาบริเวนในแผนภาพไอที
- ตอนที่ 75 : 75 อาณาบริเวณต่าง ๆ ในแผนภาพไอที
- ตอนที่ 76 : 76 การใช้แผนภาพไอทีเพื่อระบุเหล็กกล้า
- ตอนที่ 77 : 77 แผนภาพไอทีทางอุตสาหกรรม, การเปรียบเทียบแผนภาพไอทีอุตสาหกรรม
- ตอนที่ 78 : 78 การคิดค่าความแข็งจากแผนภาพ, การพล็อตแผนภาพ
- ตอนที่ 79 : 79 ตอบคุณ Ekakrat Gmail, การเปรียบเทียบแผนภาพการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิคงที่
- ตอนที่ 80 : 81 ตัวอย่างเปรียบเทียบแผนภาพการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิคงที่ (จบบทที่ 13)
- ตอนที่ 81 : 80 บทที่ 14 การอบคืนตัว / ความจริงของการศึกษาไทย
- ตอนที่ 82 : 82 กลไกการอบคืนตัว, คำถามก่อนทำการอบคืนตัว
- ตอนที่ 83 : 83 ประเภทการอบคืนตัว
- ตอนที่ 84 : 84 ออสเทมเปอร์ริ่ง , การชุบแข็ง และการอบคืนตัวความร้อนคงที่ (จบบทที่ 14)
- ตอนที่ 85 : 85 บทที่ 15 การชุบผิวแข็ง
- ตอนที่ 86 : 86 การชุบผิวแข็งเครื่องมือ เครื่องกล และวิธีการพื้นฐาน
- ตอนที่ 87 : 87 กระบวนการชุบผิวแข็ง