นิรนาม

ผู้เขียน : นิรนาม

อัพเดท: 17 ม.ค. 2015 07.41 น. บทความนี้มีผู้ชม: 4368980 ครั้ง

www.thummech.com
เป็นความรู้เกี่ยวกับโลหะในทางทฤษฏี ทั้งโลหะที่เป็นเหล็ก และไม่ใช่เหล็ก
โลหะที่เป็นเหล็กที่จะกล่าวก็คือ เหล็ก และเหล็กกล้า
โลหะที่ไม่ใช่เหล็ก เช่น อลูมิเนียม ทองแดง แมกนีเซียม ฯลฯ
ตัวอย่างที่จะกล่าวในหนังสือเล่มนี้จะกล่าวเกียวกับ
- กรรมวิธีการผลิตโลหะ
- คุณสมบัติของโลหะ
- การวิเคราะห์โครงสร้างโลหะ
- การปรับสภาพของโลหะ
- แนวทางที่จะนำไปใช้ประโยชน์
-ฯลฯ

ลองติดตามผลงานดูนะครับ ติชมกันได้นะ มีคำถามอะไรก็ถามได้ ถ้ารู้ก็จะตอบให้ครับ

เมื่อการพัฒนาทางด้านวัตถุมีสูง มองมุมกลับ การพัฒนาทางด้านจิตใจ ด้านคุณธรรมก็ต้องให้สูงตามไปด้วย

วัตถุประสงค์ที่ทำก็คือ อยากเห็นประเทศของเรามีความทัดเทียม หรือเหนือกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว มีการสร้างเทคโนโลยีเป็นของตัวเอง ไม่ต้องตามใคร


36 เหล็กกล้าไร้สนิม, เหล็กกล้าสปริง,เหล็กกล้าผสมพิเศษ

 

5.3.2.5 เหล็กกล้าไร้สนิม

กลับมาออนไลน์แล้วครับ หลังจากผ่านพ้นอุทกภัยน้ำท่วม

      เหล็กกล้าไร้สนิม หรือเหล็กสแตนเลส เป็นเหล็กกล้าผสมชนิดพิเศษ มีการใช้กันอย่างกว้างขวาง เหล็กกล้าไร้สนิมมีความต้านทานต่อการกัดกร่อนที่สูงมาก จึงมีราคาที่แพงกว่าเหล็กกล้าคาร์บอน และมีความแข็ง ทำให้เครื่องมือตัด ตัดเนื้อเหล็กไม่ค่อยเข้า และถ้าผสมกับธาตุที่ทนต่อการกัดกร่อนด้วยแล้ว ราคาก็จะยิ่งสูงมากขึ้นไปอีก

 

รูปตัวอย่างเหล็กกล้าไร้สนิมที่นำมาใช้ในงานด้านอาหาร

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

      เหล็กกล้าไร้สนิมนิยมนำไปใช้กับงานด้านสุขอนามัย งานเกี่ยวกับกระบวนการอาหาร และท่อส่งสารเคมี

 

รูปท่อเหล็กกล้าไร้สนิมเกรด 316L ใช้เป็นท่อส่งสารเคมี

 

รูปถังขยะทำจากเหล็กกล้าไร้สนิมในงานด้านสุขอนามัย

 

      สาเหตุที่เรียกเหล็กกล้าไร้สนิมก็เนื่องมาจาก การที่ออกซิเจนในอากาศทำปฏิกิริยากับโครเมียมที่ผสมอยู่ในเนื้อเหล็กกล้าไร้สนิม จนเกิดเป็นแผ่นฟิล์มบาง ๆ เคลือบผิวเอาไว้ ตัวเหล็กจึงไม่เป็นสนิมป้องกันความเสียหาย อีกทั้งยังทนทานต่อการกัดกร่อน และไม่สึกหรอง่ายอย่างโลหะทั่วไป การที่เหล็กกล้าไร้สนิมจะเกิดสนิมได้ก็เนื่องมาจากมีการทำลายฟิล์มที่เคลือบจนเกิดเป็นโครเมียมออกไซด์ สนิมจะค่อย ๆ ก่อตัวขึ้นมา ส่วนสาเหตุก็เนื่องมาจากตัวเหล็กเกิดรอยขีดข่วนจนเป็นแผล แล้วรอบ ๆ ตัวเหล็กก็มีความชื้นเกิดขึ้นพอสมควร สนิมจึงเกิดขึ้นได้

      เหล็กกล้าไร้สนิม มีส่วนผสมของโครเมียมที่สูง โดยมีโครเมียมผสมอย่างน้อย 10.5 % และมีธาตุอื่น ๆ เช่น นิกเกิล ปริมาณที่ผสม 4% - 22% นอกจากนี้ยังมีคาร์บอนผสมอยู่เล็กน้อย

 

รูปมีดที่ทำมาจากเหล็กกล้าไร้สนิม

 

เหล็กกล้าไร้สนิมที่ผสมโครเมียมในปริมาณสูง แล้วมีนิกเกิลผสมอยู่ด้วย เพื่อให้ความแข็งยังคงอยู่ ต้องใช้กระบวนการขึ้นรูปเย็นเท่านั้น การขึ้นรูปเย็นจะเกิดสภาพความเป็นแม่เหล็กน้อย ส่วนผสมในเหล็กกล้าไร้สนิมยิ่งมีมากก็ยิ่งเพิ่มความเหนียวให้แก่เหล็ก ปริมาณโครเมียมที่เพิ่มขึ้นทำให้ทนทานต่อการกัดกร่อน  

 

รูปสกรูที่ทำมาจากเหล็กกล้าไร้สนิม

 

รูปน็อต หรือนัตสแตนเลส

 

รูปน็อตสแตนเลสรูปแบบต่าง ๆ

 

      เหล็กกล้าไร้สนิมที่ขายในท้องตลาดทั่วไปมันจะเป็นเกรด 18-8 นั่นหมายความว่ามีโครเมียมผสมอยู่ 18% และมีนิกเกิลผสมอยู่ 8% มีขายตามร้านขายเหล็กทั่วไป ส่วนมาตรฐานที่เรียกใช้กัน ตามมาตรฐาน AISI เช่น 304, 304L, 316, 316L ส่วนผสมจะเป็นตัวกำหนดเกรดของเหล็กกล้าไร้สนิม แต่ละเกรดจะนำมาใช้งานแตกต่างกันออกไป

 

ตัวอย่างชนิดของเหล็กกล้าไร้สนิมที่นิยมใช้

เกรดของเหล็กกล้าไร้สนิม

อธิบาย

เหล็กกล้าไร้สนิมเกรด 302

เป็นวัสดุที่มีใช้งานทั่วไป มีความทนทานต่อการกัดกร่อนมากขึ้น เหมาะจะนำมาทำการกลึงไส, การดึงขึ้นรูป หรือการปั๊มชิ้นงาน สามารถนำไปทำการเชื่อมได้ดี      

เหล็กล้าไร้สนิมเกรด 304

มีคาร์บอนที่ต่ำ เพื่อลดการเกิดการตกตะกอนของคาร์ไบน์ เมื่อเหล็กถูกความร้อนจะเกิดความร้อนขึ้นน้อยกว่าเหล็กกล้าทั่วไปที่ไวต่อความร้อน จึงนิยมนำมาใช้งานในอุณหภูมิสูง สามารถนำมาทำการกลึงไสได้, สามารถขึ้นรูปได้ และนำไปเชื่อมได้

 

เหล็กล้าไร้สนิมเกรด 304L

มีปริมาณคาร์บอนน้อยเป็นพิเศษ เพื่อหลีกเลี่ยงการตกตะกอนของคาร์ไบน์ในขณะทำการเชื่อม มันสามารถทนทานต่อการกัดกร่อนได้ดี มีความสามารถในการกลึงไสประมาณ 44% สามารถดึง หรือปั๊มขึ้นรูปได้ นำไปเชื่อมได้ดีมาก เกรดนี้จึงเหมาะที่จะนำไปเชื่อม

เหล็กล้าไร้สนิมเกรด 316

มีส่วนผสมของโมลิบดีนัมเพื่อความทนทานต่อการกัดกร่อนที่ดีกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกัดกร่อนแบบการเป็นหลุม (Pitting) มีความสามารถในการกลึงไส 45% สามารถนำไปทำการดึงขึ้นรูป หรือการปั๊มขึ้นรูปได้ นำไปเชื่อมได้ดี รอยเชื่อมที่ยากได้ดี

เหล็กล้าไร้สนิมเกรด 316L

มีส่วนผสมของคาร์บอนต่ำกว่าชนิด 316 เพื่อหลีกเลี่ยงการตกตะกอนของคาร์ไบในขณะทำการเชื่อม ความสามารถในการกลึงไส 45% นำไปผ่านการดึงขึ้นรูป หรือปั๊มได้ นำไปทำการเชื่อมได้ดี

ตารางที่ 5.8 เกรดเหล็กกล้าไร้สนิม

 

วิดีโอการผลิตเหล็กกล้าไร้สนิม

 

5.3.2.6 เหล็กกล้าสปริง

 

รูปเหล็กกล้าสปริง

 

      เหล็กกล้าสปริงเป็นเหล็กกล้าแบบพิเศษ จะมีความแข็ง, ความแข็งแกร่ง อีกทั้งมีความยืดหยุ่นอยู่มาก จึงมาใช้ทำเป็นสปริงขด, สปริงแผ่น, สปริงนาฬิกา, มีด ฯลฯ มีส่วนผสมของคาร์บอนอยู่ประมาณ 0.35% - 1.4% ส่วนธาตุอื่น  ๆ ที่เติมลงไปในเหล็กกล้าสปริง เช่น แมงกานีส (มากกว่า 0.8%), โครเมียม, ซิลิกอน, วาเนเดียม หรือโมลิบดีนัม

 

รูปสปริงแผ่น

 

รูปมีดอรัญญิกของไทยทำมาจากเหล็กแหนบรถยนต์

 

      ประโยชน์ของเหล็กกล้าสปริงจะนำไปใช้เป็นส่วนประกอบของ ตัวยึดบานเกล็ดหน้าต่าง, ใบมีดวงเดือนในเครื่องมือกลอุตสาหกรรม, คันเบ็ด, มีดพับ, ตะไบแต่งเล็บ, มีดหั่นขนมปัง, ตลับเมตร (Measuring tapes), ไม้บรรทัดเหล็ก, เกรียงฉาบปูน (Trowels), เกจวัดความหนา (Feeler gauges) และสปริงขนาดเหล็กสำหรับนาฬิกา ดูในรูป 5.25

 

รูปเกจวัดความหนา หรือฟิลเลอร์เกจ ทำจากเหล็กสปริง

 

รูปสายวัดของตลับเมตรที่ทำมาจากเหล็กกล้าสปริง

 

  ประเภทตัวอย่างของเหล็กกล้าสปริง

      ธาตุที่ผสม (%)

ประเภท

C

Si

Mn

S

P

Cr

V

 

อธิบายลักษณะ

EN43

0.50

0.30

0.70

0.015

0.015

 

 

เหล็กสปริงอยู่ในรูปแท่งกลม, เหลี่ยม, แบน และแผ่น ซึ่งสามารถตัดได้ตามความต้องการ เหล็กสปริงนี้ผ่านการอบอ่อน

EN45

0.57

2.00

0.90

0.015

0.015

 

 

เหล็กสปริง ซิลิกอน แมงกานีส ผ่านการชุบแข็งในน้ำมัน มีจำหน่ายแบบแท่งกลม และแบน

EN47

0.50

0.35

0.70

 

 

1.00

0.10

ผ่านการชุบแข็งด้วยน้ำมันอย่างดี ทำให้มีคุณสมบัติทนทานต่อการสึกหรอที่ดี หลังจากผ่านการปรับสภาพทางความร้อน เหล็กสปริงเกรดโครเมียมวาเนเดียม มีใช้งานแบบแท่งกลม และแถบแบน 

CS70

0.70

0.25

0.70

0.015

0.015

 

 

BS1449 ครอบคลุมการใช้งานที่กว้างขวางของเหล็กกล้าสปริง ประกอบไปด้วย เกรด CS70, CS80, CS95 และจำกัดอยู่ที่ CS100 เกรดทั้งหมดเป็น ถูกเก็บในรูปม้วนเหล็กแบน สามารถตัดได้ตามความต้องการ คุณสมบัติเหล่านี้จัดได้ว่าเป็นเหล็กสปริงแข็ง ผ่านการปรับสภาพทางความร้อนมาด้วย

CS80

0.80

0.25

0.70

0.015

0.015

 

 

CS 70 และ EN42 เหล็กกล้าสปริงเกรดนี้มีความหนาตั้งแต่ 4.76 mm (3/16²)  ขึ้นไป

CS95

0.95

0.25

0.70

0.015

0.015

 

 

 

ตารางที่ 5.9 เกรดของเหล็กกล้าสปริง

 

รูปแหนบรถยนต์ทำมาจากเหล็กกล้าสปริง

 

วิดีโอการผลิตแหนบรถยนต์

 

5.3.2.7 เหล็กกล้าผสมสูงประเภทอื่น ๆ

 

      นอกจากที่กล่าวมาทั้งหมดแล้วยังมีเหล็กกล้าผสมประเภทอื่น ๆ ที่นำมาใช้ในงานอุตสาหกรรมดังนี้

Ø ในอุตสาหกรรมไฟฟ้า เป็นเหล็กกล้าพิเศษที่มีการผสมซิลิกอน ที่ถูกนำมาใช้ในเครื่องกำเนิดไฟฟ้า และหม้อแปลง

 

รูปแกนเหล็กของหม้อแปลงที่ทำมาจากเหล็กกล้าผสมซิลิกอน

 

Ø ในจรวด, ขีปนาวุธ, เครื่องยนต์เจ็ท และอุปกรณ์ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ (ซึ่งทำงานที่อุณหภูมิสูง) เหล็กกล้าผสมพิเศษ มีส่วนผสมของ ไททาเนียม (Titanium), โคลัมเบียม (Columbium), นิกเกิล และโครเมียม

 

รูปจรวดขีปนาวุธโครงสร้างทำจากเหล็กกล้าผสมพิเศษ

 

Ø เหล็กกล้าผสมโคบอลต์พิเศษ จะมีโคบอลต์ผสมมากกว่า 30% นำมาใช้ในด้านงานเกี่ยวกับแม่เหล็กไฟฟ้า

 

มีเหล็กกล้าที่มีส่วนผสมพิเศษ มักมีราคาสูงมาก และนำมาใช้งานที่ไม่ธรรมดา เพื่อต้องการความปลอดภัยสูง หรือความต้องการที่พิเศษจริง ๆ

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

“ไม่มีอะไรอ่อนกว่าน้ำ แต่ไม่มีความเข้มแข็งใดทำลายน้ำได้”

 

 

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที