นิรนาม

ผู้เขียน : นิรนาม

อัพเดท: 17 ม.ค. 2015 07.41 น. บทความนี้มีผู้ชม: 4292320 ครั้ง

www.thummech.com
เป็นความรู้เกี่ยวกับโลหะในทางทฤษฏี ทั้งโลหะที่เป็นเหล็ก และไม่ใช่เหล็ก
โลหะที่เป็นเหล็กที่จะกล่าวก็คือ เหล็ก และเหล็กกล้า
โลหะที่ไม่ใช่เหล็ก เช่น อลูมิเนียม ทองแดง แมกนีเซียม ฯลฯ
ตัวอย่างที่จะกล่าวในหนังสือเล่มนี้จะกล่าวเกียวกับ
- กรรมวิธีการผลิตโลหะ
- คุณสมบัติของโลหะ
- การวิเคราะห์โครงสร้างโลหะ
- การปรับสภาพของโลหะ
- แนวทางที่จะนำไปใช้ประโยชน์
-ฯลฯ

ลองติดตามผลงานดูนะครับ ติชมกันได้นะ มีคำถามอะไรก็ถามได้ ถ้ารู้ก็จะตอบให้ครับ

เมื่อการพัฒนาทางด้านวัตถุมีสูง มองมุมกลับ การพัฒนาทางด้านจิตใจ ด้านคุณธรรมก็ต้องให้สูงตามไปด้วย

วัตถุประสงค์ที่ทำก็คือ อยากเห็นประเทศของเรามีความทัดเทียม หรือเหนือกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว มีการสร้างเทคโนโลยีเป็นของตัวเอง ไม่ต้องตามใคร


40 ชนิดของแร่เหล็ก, กระบวนการจัดการแร่เหล็ก

6.2.2 ชนิดของแร่เหล็ก

 

ชนิดของแร่เหล็กอยู่มากมายดูในตารางที่ 6.1

 

ชนิดแร่เหล็ก

ส่วนประกอบทางเคมีที่อยู่ในแร่

 

แจสเปอร์ (Jasper)

มีหลากหลาย

 

ไซเดอร์ไรต์ (Siderite)

FeCO3

 

ทาโคไนต์ (Taconite)

มีหลากหลาย

 

ไพไรต์ (Pyrite)

FeS

 

แมกนีไทต์ (Magnetite)

Fe3O4

 

ไลมอนไนต์ (Limonite)

Fe4O3

 

ฮีมาไทต์ (Hematite)

Fe2O3

 

ตารางที่ 6.1 ประเภทของแร่เหล็ก

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

แร่เหล็กที่นิยมนำมาถลุง และมีค่ามากที่สุดก็คือ แร่ฮีมาไทต์ และ แร่ทาโคไนต์ ส่วนแร่เหล็กชนิดอื่นมีบ้างแต่ไม่เท่าแร่สองชนิดนี้

       แร่ฮีมาไทต์ ซึ่งมีลักษณะเป็นสีแดง เป็นแร่ที่มีค่า เพราะว่ามีเปอร์เซ็นต์ของเหล็กเป็นส่วนประกอบที่สูงมาก

       ส่วน แร่ทาโคไนต์ ก็เป็นแร่เหล็กอีกชนิดหนึ่งที่น่าสนใจที่สุด ครั้งหนึ่ง ทาโคไนต์ถูกคิดว่าไร้ค่า เพราะว่ามันมีธาตุเหล็กผสมอยู่เพียง 20-30% เท่านั้น กระบวนการคัดแยกแร่มีต้นทุนสูง

      แต่ในปัจจุบัน เนื่องด้วยเทคโนโลยีเหมืองแร่มีความทันสมัยขึ้น มีการปรับปรุงกระบวนการผลิตที่ทำให้ทาโคไนต์บริสุทธิ์ จึงมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น ทำให้แร่ทาโคไนต์เป็นที่น่าสนใจในการนำมาถลุงแร่หนึ่งเลยทีเดียว  

      เทคโนโลยีในการคัดแยกแร่ทาโคไนต์ หลังจากทาโคไนต์ถูกบดเป็นผง และแยกออกจากสารมลทินแล้ว มันจะถูกเทไปที่ บอลดรัม (Balling drum)

 

รูปบอลดรัมที่นำมาแยกสารมลทินที่ยังคงค้างอยู่ในทาโคไนต์ให้บริสุทธิ์มากขึ้น

 

หลังจากนั้น ก็จะนำทาโคไนต์ไปผสมกับบินเดอร์ (Binder) หรือกาว (Glue) และม้วนเป็นก้อนขนาดเล็ก มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 10 มิลลิเมตร

 

รูปกองแร่ทาโคไนต์

 

หลังจากผ่านการอบ จะมันแข็งตัว แล้วจะส่งไปเตรียมถลุง ซึ่งจะกล่าวในหัวข้อต่อ ๆ ไป  มันสะดวกมากกว่าที่จับแร่ที่มีเม็ดกลมแทนที่จะเป็นผง

 

6.2.3 กระบวนการจัดการกับแร่เหล็ก

 

รูปกระบวนการคัดแยกแร่เหล็ก

 

      ณ โรงงานถลุง  แร่ที่ได้มาจากเหมืองจะต้องผ่านกระบวนการที่มากมาย เริ่มแรก ก็คือกระบวนการย่อยแร่ จากขนาดก้อนใหญ่ ให้มีขนาดเล็กลง โดยใช้ เครื่องบดอัด (Crushers)

 

รูปก้อนแร่

 

รูปแสดงให้เห็นถึงภายในของเครื่องบดอัด

 

รูปเครื่องบดอัดแร่ หรือหิน

 

วิดีโอแสดงกระบวนการย่อยแร่

 

หลังจากผ่านการบดอัด จนได้แร่เป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้ว กระบวนการต่อไปก็จะส่งเข้าสู่โรงรีด เพื่อให้แร่ที่ผ่านการบดอัด ถูกทำให้กลายเป็น เม็ดกลม (Ball mill)

 

รูปแสดงภาพภายในการบดให้เป็นเม็ดกลม

 

วิดีโอแอนิเมชันการทำเม็ดแร่กลม

 

รูปเครื่องบดแร่ให้เป็นเม็ดกลม

 

รูปโรงบดย่อยแร่ให้เป็นเม็ดกลม

 

วิดีโอเครื่องบดแร่เป็นเม็ดกลม

 

วิดีโอการทำแร่เป็นเม็ดกลม

 

ลูกกลิ้ง หรือลูกบอลที่ใช้หมุนเพื่อการบดแร่ ทำมาจากเหล็กกล้าแข็ง ในการบดจะลดน้ำหนักของก้อนแร่ให้มีขนาดเล็กที่สุด ก่อนที่จะนำไปใส่ในเตาหลอมโลหะ

      หลังจากการบด และการย่อย แร่ให้เล็ก จนเหมือนกับน้ำตาล หรือน้ำแข็งเกล็ด จากนั้นก็ผ่านการคัดแยกสิ่งเป็นมลทินออกไป โดยการใช้แม่เหล็กดูดแยกแร่เหล็กออกมา  

 

รูปเครื่องแยกแร่เหล็กออกโดยการใช้แม่เหล็กดูดแยก

 

วิดีโอแสดงการทำงานของเครื่องแยกแร่เหล็กออกมา

 

แรงดึงดูดของแม่เหล็กที่มากจะดึงแร่เหล็ก แยกออกจากผงมลทินโดยการหมุน แล้วแม่เหล็กก็ดูดแร่เหล็กออกมา

จากนั้น ก็นำแร่ที่ได้นำไป ลอยเซลล์ (Flotation cell) ก็เพื่อแยกเศษผงที่เหลืออยู่ในแร่เหล็กออกมา

 

รูปถังน้ำแยกแร่เหล็กละเอียด

 

วิธีการก็คือ ใช้น้ำ และเครื่องปั่น เพื่อทำให้เกิดฟอง ฟองจะนำสารมลทินขึ้นด้านบน และถูกตักออกด้วยใบพาย สารมลทินก็จะแยกออกมาจากแร่เหล็ก ภายหลังที่ผ่านกระบวนการแยกแร่ด้วยแม่เหล็ก และนำไปลอยเซลล์แล้ว แร่เหล็กจะมีความบริสุทธิ์มากขึ้น บางครั้งอาจมากถึง 70% ซึ่งแร่เหล็กก็พร้อมที่จะนำเข้าสู่กระบวนการถลุงเหล็กในเตาหลอมต่อไป

 

วิดีโอการแยกแร่ทอง (วิธีการคล้ายกับแร่เหล็ก) โดยใช้น้ำในการช่วยแยกแร่

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

“อ่านหนังสือโดยไม่ค้นคิด การอ่านจะไม่ได้อะไร

ค้นคิดโดยไม่ได้อ่านหนังสือ การค้นคิดจะเปล่าประโยชน์”

 

 

 

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที