6.3 เตาบลาสต์ (Blast furnace)
หลังจากการคัดแยกแร่เหล็กออกมาแล้ว กระบวนการต่อไปก็คือ การนำแร่เหล็กไปถลุงภายในเตาบลาสต์ ซึ่งเตาบลาสต์จะทำหน้าที่เปลี่ยนแร่เหล็กให้กลายไปเป็นเหล็กดิบ วัสดุที่ป้อนลงไปในเตาบลาสต์ได้แก่ แร่เหล็ก, ถ่านโค๊ก และหินปูน จะถูกผสมลงไปใน รถลำเลียง (Skip cars)
รูปรถลำเลียงแร่ขึ้นสู่ปากปล่องเตาบลาสต์
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
ที่ด้านบนของเตาบลาสต์ รถลำเลียงขนาดเล็กที่คล้ายกันกับรถรางวิ่งขึ้นทางชันทางลาดเอียง
รูปภายในเตาบลาสต์ อีกรูป
เตาบลาสต์อาจมีความสูงมากกว่า 80 เมตร (250 ฟุต) หรือสูงกว่าตึก 12 ชั้น ตัวเตาบลาสต์มีเส้นผ่านศูนย์กลางภายในประมาณ 10 เมตร (30 ฟุต) ผิวด้านนอกของเตาบลาสต์เป็นชั้นเหล็กกล้าหนา ผนังภายในจะดับด้วยอิฐทนไฟ
ความสามารถของเตาบลาสต์ สามารถบรรจุแร่เหล็กในขณะการหลอมได้ถึง 350 ตัน หลังจากที่หลอมละลายแล้ว ก็สามารถถ่ายเทเหล็กที่หลอมแล้ว ออกมาทุก ๆ 3-5 ชั่วโมง รวมแล้วปีหนึ่งจะสามารถผลิตเหล็กหลอมออกมาได้มากกว่า 80 ล้านตัน
เตาบลาสต์ในขณะที่มันทำงาน มันเป็นสิ่งที่น่าตื่นตาอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลากลางคืน ความร้อนภายในเตา ใช้ความร้อนที่มีอุณหภูมิมากถึง 900 °C ถึง 1300 °C (1600 °F ถึง 2300 °F) อุณหภูมิความร้อนที่มีมากขนาดนี้ก็เพื่อใช้ในการหลอมละลายถ่านโค๊ก, หินปูน และแร่เหล็ก โดยจะมีลมร้อนเป่าที่ด้านล่างของเตาเพื่อช่วยเพิ่มความร้อน
ในตอนแรกถ่านโค๊กจะถูกเผาไหม้ก่อน ต่อมาแร่เหล็กก็ถูกหลอม และหินปูนก็จะถูกหลอมเป็นส่วนสุดท้าย เมื่อทั้งหมดถูกหลอมแล้ว ก็จะเกิดปฏิกิริยาเคมี
ตัวอย่างปฏิกิริยาทางเคมีของแร่เหล็กฮีมาไทต์:
Fe2O3(ของแข็ง) + 3C(ของแข็ง) ==> 2Fe(ของเหลวปนของแข็ง) + 3CO(ก๊าซ)
ส่วนที่หลอมเหลวแล้ว ก็จะเคลื่อนที่อย่างช้า ๆ ไปตามทาง และไหลไปที่อ่างหลอมเหลวที่ก้นเตาบลาสต์
ภายในเตาถลุงมีการเรียงซ้อนตัวกันของอิฐทนไฟ โดยคุณสมบัติของอิฐทนไฟจะต้องทนความร้อนสูง จากการหลอมเหล็ก และจากแก๊สร้อนที่ทำความร้อนซ้ำ ที่ไหลผ่านเข้ามาในเตาบลาสต์
รูปอิฐทนไฟที่นำมาดับเรียงในเตาบลาสต์
รูปตัวอย่างอิฐทนไฟภายในเตาบลาสต์
รูปขี้แร่ที่ออกมาจากเตาบลาสต์ ดูคล้ายกับขี้เถ้าที่ได้จากเตาถ่านทำอาหาร
ส่วนหินปูนจะทำปฏิกิริยาภายในเตาจนเกิดเป็นสารมลทิน ออกมาในรูปของ ขี้แร่ หรือสแล็ก (Slag) โดยสแล็กจะเบากว่าเหล็ก มันจะลอยขึ้นมาอยู่ด้านบน และเกาะเป็นคราบอยู่ด้านบนของเหล็กหลอมในเตาถลุง เหล็กหลอมซึ่งมีน้ำหนักมากกว่า จะไหลไปอยู่ในอ่างหลอมใต้เตาบลาสต์
สแล็ก จะถูกสูบออกไปเก็บสะสมในที่ตักขนาดใหญ่ สแล็กบางชนิดสามารถนำไปขายได้ ประโยชน์ของสแล็กที่นำไปใช้งานมากที่สุดก็คืองานทำฉนวน มันนำไปใช้ในการทำอิฐ ถังบรรจุยางมะตอย (Asphalt) และวางบนน้ำแข็งเพื่อป้องกันน้ำแข็งละลายเร็ว
แก๊สร้อน หรืออากาศร้อนที่อยู่เหนือด้านบนเตาบลาสต์ มันจะถูกทยอยดูดออกมา แล้วถูกกรองให้สะอาดด้วยตัวดูดฝุ่นผง และปรับสภาพแก๊สร้อนด้วยอุปกรณ์พิเศษ จากนั้นก็ถูกลำเลียงไปเก็บสะสมใน เตากระแสอากาศร้อน (Hot-blast stove) แล้วพร้อมที่จะนำไปใช้เป็นตัวเป่าลมร้อนที่ด้านล่างของเตาเพื่อทำความร้อนซ้ำ โดยแก๊สร้อนเหล่านี้จะมีช่องทางวิ่งไหลผ่านช่องเข้าเตาบลาสต์ที่ด้านล่าง ซึ่งมีหนึ่งช่อง หรือหลายช่อง
รูปเตากระแสอากาศร้อน มีหน้าที่เก็บสะสมแก๊สร้อนเพื่อป้อนให้กับเตาบลาสต์
รูปเตากระแสอากาศร้อน ที่อยู่ด้านข้างเตาบลาสต์
รูปร่างของเตากระแสอากาศร้อนจะมีรูปร่างสูง, บาง และเป็นทรงกระบอก ความสูงของเตาอาจจะสูงถึง 37 เมตร (120 ฟุต) มีเส้นผ่านศูนย์กลางถึง 9 เมตร (28 ฟุต) ซึ่งมองดูผิวเผินก็คล้ายกับเตาบลาสต์ขนาดเล็ก
เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ได้จากการพัฒนามาอย่างยาวนานของเตาถลุงเหล็ก ทำให้ทั้งวิศวกรในปัจจุบันสามารถควบคุมภาพรวมของกระบวนการผลิต จากแผงควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ โดยสามารถเปิด-ปิดเตา, ควบคุมการลำเลียงป้อนแร่เหล็ก, ควบคุมอุณหภูมิการหลอม, เรียกดูข้อมูล ฯลฯ ที่ได้จากกระบวนการถลุงจากคอมพิวเตอร์ ภายในห้องทำงาน
รูปแผงควบคุมกระบวนการถลุงเหล็กของเตาบลาสต์
รูปห้องควบคุมเตาบลาสต์ อีกรูป
วิดีโอห้องควบคุมกระบวนการเตาบลาสต์
6.3.1 การปล่อยเหล็กหลอมออกจากเตาบลาสต์ (Tapping the blast furnace)
ทุก ๆ 3-5 ชั่วโมง เหล็กหลอมแล้วบางส่วน จะเริ่มไหลออกมาจากเตาบลาสต์
รูปเหล็กหลอมไหลออกมาจากเตาบลาสต์
รูปการปล่อยเหล็กหลอมออกจากเตาบลาสต์
ช่องไหลของของเหลวจะถูกเปิดที่ก้นเตา และเหล็กหลอมจะทยอยไหลออกมาสู่ รถลำเลียง (Bottle car)
รูป แบบจำลองรถลำเลียงเหล็กหลอมจากเตาบลาสต์
รูปการบรรจุเหล็กหลอม ลงในรถลำเลียง
รถลำเลียงจะดูคล้ายกับเรือดำน้ำ วิ่งไปตามราง มันมีขนาดใหญ่ วัสดุที่บุภายในรถก็เป็นอิฐทนไฟที่สามารถทนความร้อนของเหล็กที่หลอมได้ ทนอุณหภูมิได้อยู่ที่ประมาณ 1400 °C (2600 °F) รถลำเลียงมีหน้าที่ ลำเลียงเหล็กหลอม เพื่อเข้าไปสู่เตาทำเหล็กกล้า
วิดีโอการลำเลียงเหล็กหลอมออกจากเตาบลาสต์
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
“หากเดินตามรอยเท้าคนอื่น ก็ไม่มีวันมีรอยเท้าเป็นของตัวเอง”
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที