นิรนาม

ผู้เขียน : นิรนาม

อัพเดท: 17 ม.ค. 2015 07.41 น. บทความนี้มีผู้ชม: 4298041 ครั้ง

www.thummech.com
เป็นความรู้เกี่ยวกับโลหะในทางทฤษฏี ทั้งโลหะที่เป็นเหล็ก และไม่ใช่เหล็ก
โลหะที่เป็นเหล็กที่จะกล่าวก็คือ เหล็ก และเหล็กกล้า
โลหะที่ไม่ใช่เหล็ก เช่น อลูมิเนียม ทองแดง แมกนีเซียม ฯลฯ
ตัวอย่างที่จะกล่าวในหนังสือเล่มนี้จะกล่าวเกียวกับ
- กรรมวิธีการผลิตโลหะ
- คุณสมบัติของโลหะ
- การวิเคราะห์โครงสร้างโลหะ
- การปรับสภาพของโลหะ
- แนวทางที่จะนำไปใช้ประโยชน์
-ฯลฯ

ลองติดตามผลงานดูนะครับ ติชมกันได้นะ มีคำถามอะไรก็ถามได้ ถ้ารู้ก็จะตอบให้ครับ

เมื่อการพัฒนาทางด้านวัตถุมีสูง มองมุมกลับ การพัฒนาทางด้านจิตใจ ด้านคุณธรรมก็ต้องให้สูงตามไปด้วย

วัตถุประสงค์ที่ทำก็คือ อยากเห็นประเทศของเรามีความทัดเทียม หรือเหนือกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว มีการสร้างเทคโนโลยีเป็นของตัวเอง ไม่ต้องตามใคร


2.7 ของผสม, สารละลาย และชนิดของสารละลาย

2.7 ของผสม (Mixtures)

 

       ของผสมเป็นธาตุที่มีสองธาตุ หรือมากกว่า มาผสมกันทางกายภาพ แต่ไม่ได้เชื่อมโยงผสมกันทางเคมี จึงไม่ได้ผสมเป็นเนื้อเดียวกัน ผสมกันในรูปแบบง่าย ๆ ดูในรูป

 

รูปทรายกับกรวดคือตัวอย่างง่าย ๆ ของของผสมที่เห็นได้ในชีวิตประจำวัน

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

ในรูป ไม่มีพันธะทางเคมีระหว่างอะตอม หรือโมเลกุล เป็นการผสมกันทางกายภาพ แต่ไม่ใช่ทางเคมี

 

      ความแตกต่างระหว่างของผสม และสารประกอบ ของผสมสามารถแยกธาตุที่มันไม่ได้เชื่อมโยงกันทางเคมีออกจากกันได้ง่าย เช่น วิธีกรอง, คัดแยก ฯลฯ ในขณะที่ธาตุในสารประกอบเป็นการเชื่อมต่อกันทางเคมีไม่สามารถแยกได้ด้วยวิธีธรรมดา

 

2.8 สารละลาย (Solutions)

 

      สารละลายเป็นส่วนผสมชนิดพิเศษ การละลายค่อนข้างละเอียด เมื่อธาตุสองชนิดผสมกัน และกลายเป็นสารละลาย ธาตุตัวหนึ่งจะเป็น ตัวกดขี่ (Dictator) และอีกหนึ่งธาตุก็คือ ตัวถูกกดขึ่ (Submissive)

      วัสดุทำละลาย หรือตัวกดขี่รู้จักในทางวิชาการว่า ตัวทำละลาย (Solvent) ส่วนตัวถูกกระทำ หรือตัวถูกกดขี่ เรียกว่า ตัวถูกละลาย (Solute)

      ตัวกดขี่ จะทำการละลายสาร หรือธาตุอื่น ๆ จนเป็นสารละลาย จะพบได้ว่าตัวทำละลายอาจจะละลายไปพร้อมกัน หรือไม่ละลายไปพร้อมกันกับสารก็ได้

      ตัวทำละลายในสารละลายของเหลว สามารถละลายสารที่เป็นของแข็ง หรือของเหลวอย่างใดอย่างหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น น้ำเกลือ หรือน้ำเชื่อม หลังจากเกลือ หรือน้ำตาลละลายในน้ำแล้ว ก็จะมองออกยากว่านั่นคือ น้ำหรือน้ำเชื่อมหรือน้ำเกลือ น้ำเป็นของเหลวเป็นตัวทำละลาย ทำหน้าที่ละลายน้ำตาล หรือเกลือ  

 

รูปน้ำเกลือเป็นสารละลาย ถ้าไม่มีสลากบอก หรือมองด้วยตาก็จะบอกยากว่าเป็นน้ำ หรือน้ำเกลือ

 

            โดยทั่วไปแล้วสารละลาย กับตัวทำละลายจะมีความคล้ายคลึงกันมาก แต่สารบางชนิดจะมีความแตกต่างกันในรายละเอียดปลีกย่อย เมื่อนำไปทำปฏิกิริยากับตัวถูกละลาย แต่ก็ไม่เกินไปกว่าการนำไปใช้งาน

 

2.8.1ชนิดของสารละลาย

 

        โดยทั่วไปจะจำแนกสารละลายแบ่งออกไปตามสถานะ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด ก็คือ สารละลายของแข็ง สารละลายของเหลว และสารละลายแก๊ส ตัวทำละลายจะต้องมีสถานะเช่นเดียวกับสถานะของสารละลาย กล่าวคือ

 

·       สารละลายของแข็ง ตัวทำละลายจะต้องเป็นของแข็ง

·       สารละลายของเหลว ตัวทำละลายจะต้องเป็นของเหลว และ

·       สารละลายแก๊ส ตัวทำละลายจะต้องเป็นแก๊ส

 

ส่วนตัวถูกละลายในสารละลายทั้ง 3 ชนิดนั้น อาจเป็นได้ทั้งของแข็ง ของเหลว และแก๊สได้

       มาดูตัวอย่างสารละลายที่สามารถพบเห็นในชีวิตประจำวันได้ ดังนี้

 

ประเภทสารละลาย

ประเภทตัวถูกละลาย

ตัวอย่าง

สารละลายของแก๊ส

แก๊สในแก๊ส

 

แก๊ส N2, O2, CO2 และแก๊สอื่น ๆ ที่อยู่ในอากาศ

ของเหลวในแก๊ส


ละอองน้ำในอากาศ

สารละลายของเหลว

แก๊สในของเหลว

 

 

แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)ที่ละลายภายใต้ความดันในน้ำอัดลม

แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)ในน้ำ เราพิจารณาเฉพาะคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นแก๊สเท่านั้น เราจะไม่พิจารณาคาร์บอนไดออกไซด์บางส่วนที่ทำปฏิกิริยากับน้ำ แล้วให้ H2CO3 ซึ่งถือว่าไม่เป็นการละลาย แต่เป็นการทำปฏิกิริยาของน้ำกับคาร์บอนไดออกไซด์

ของเหลวในของเหลว

 

เอทานอล (CH3CH2OH) ที่ละลายอยู่ในน้ำเช่น เบียร์เป็นเครื่องดื่มพวกแอลกอฮอล์ชนิดหนึ่งที่มีปริมาณเอทานอลที่ละลายอยู่
เป็น % v/v

ของแข็งในของเหลว

เกลือ (โซเดียมคลอไรด์, NaCl) ในน้ำ

ในรูปเป็นเกลือที่ทะเลสาบมรณะ (Dead sea) ที่มีความเค็มมาก ๆ 

สารละลายของแข็ง

 

 

ของแข็งในของแข็ง

 

 

 

ทองเหลือง  (คือทองแดงผสมกับสังกะสี, Cu+Zn) ได้จากการให้ความร้อน จนทั้งสองผสมกัน แต่ไม่ทำปฏิกิริยาต่อกัน        

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

“ผู้ชนะไม่เคยท้อ และผู้ที่ท้อก็ไม่เคยชนะ”

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที