61 การใช้ และการอ่านเฟสไดอะแกรมเหล็กกล้า-คาร์บอน
9.3 การใช้ และการอ่านเฟสไดอะแกรมของเหล็กกล้าผสมคาร์บอน
แผนผังเฟสไดอะแกรมในงานโลหะนั้น มีอยู่หลายรูปแบบ แผนผังเฟสไดอะแกรมเหล็ก-คาร์บอนก็เป็นหนึ่งในผังไดอะแกรมนั้นซึ่งถูกนำมาใช้งานมากที่สุด หัวข้อนี้เราจะได้เรียนรู้วิธีการอ่านเฟสไดอะแกรมของเหล็กกล้า-คาร์บอน โดยมีวิธีการอ่านจากขั้นตอน แต่ละข้อด้านล่าง
วิดีโอตัวอย่างปฏิบัติการให้ความร้อนแก่เหล็กเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเฟสในเหล็กกล้า
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
1. เราลองสมมติว่ามีเหล็กกล้าที่อุณหภูมิห้อง และมีคาร์บอนผสมอยู่ 0.4% แสดงให้เห็นที่จุด A ในรูป
รูปโครงสร้างจุลภาคเหล็กกล้าผสมคาร์บอน 0.4%
รูปผังไดอะแกรมเหล็ก-คาร์บอนที่แสดงเส้นทางเดินของเหล็กกล้าผสมคาร์บอน 0.4% เมื่อถูกให้ความร้อนจนอุณหภูมิสูงขึ้น โดยเหล็กจะยังไม่ถูกปรับสภาพทางความร้อนหรือชุบแข็งมาก่อน
2. เมื่ออยู่ที่อุณหภูมิห้อง สภาวะเหล็กยังอยู่ใต้ แนวเส้นอุณหภูมิของการเปลี่ยนรูปด้านต่ำ ยังไม่เป็นเหล็กรูปแบบออสเตนไนต์ ส่วนผสมคาร์บอนนี้ (จุด A) จะอยู่ตรงกลางระหว่าง เส้นเฟอร์ไรต์ 100% และเส้นเพิลไลต์ 100% ซึ่งสามารถประมาณการได้ว่าเหล็กมีรูปแบบเฟอร์ไรต์ครึ่งหนึ่ง (50%) และมีเพิลไลต์ครึ่งหนึ่ง (50%) ดูรูปด้านล่าง
รูปจุด A
3. ต่อมา สมมติว่าโลหะถูกให้ความร้อนเพิ่มขึ้นประมาณ 540°C (1,000°F) ตำแหน่งจุด B ยังอยู่ที่ แนวเส้นอุณหภูมิของการเปลี่ยนรูปด้านต่ำ มันยังไม่เกิดรูปแบบออสเตนไนต์ จุด B จะอยู่ใกล้แนวเส้นเฟอร์ไรต์ 100% มากกว่า เส้นเพิลไลต์ 100% แต่เส้นเฟอร์ไรต์ 100% จะโค้งไปทางด้านขวาเล็กน้อย ทำให้มีการประมาณโครงสร้างว่าเป็นโครงสร้างที่ประกอบไปด้วย เฟอร์ไรต์ 49%-50% และเพิลไลต์ 50%-51% ดูรูปด้านล่าง
รูปจุด B
4. สมมติว่าโลหะถูกให้ความร้อนเพิ่มขึ้นอีก จนอุณหภูมิสูงถึง 720°C (1,330°F) กำหนดให้เป็นจุด C อุณหภูมิจุดนี้ โครงสร้างเป็น เฟอร์ไรต์ 48% และเพิลไลต์ 52% (จุด C เฟอร์ไรต์จะน้อยกว่าเพิลไลต์) ตอนนี้ในบางส่วนของโลหะเริ่มเกิดการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุณหภูมิเหนือกว่า 720°C เพิลไลต์จะเริ่มแปรเปลี่ยนไปเป็นออสเตนไนต์ (ในทางทฤษฏี เพิลไลต์ทั้งหมดจะเปลี่ยนเป็นออสเตนไนต์อย่างฉับพลันเมื่อเข้าใกล้อุณหภูมิ 720°C) ในทางปฏิบัติ การเปลี่ยนแปลงจะเริ่มเกิดขึ้นและทยอยเปลี่ยนแปลงเมื่ออุณหภูมิใกล้ 720°C
รูปจุด C
5. โลหะยังถูกให้ความร้อนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนอุณหภูมิสูงถึง 740°C (1360°F) ที่จุด D เพิลไลต์ทั้งหมดมีการเปลี่ยนไปเป็นออสเตนไนต์ โครงสร้างตอนนี้ประมาณการได้ว่ามีเฟอร์ไรต์ 48% และออสเตนไนต์ 52% (เพิลไลต์เปลี่ยนไปเป็นออสเตนไนต์หมดแล้ว)
รูปจุด D
6. อุณหภูมิยังคงสูงขึ้นมาที่ 760 °C (1400°F) กำหนดให้เป็นจุด E บริเวณนี้จะค่อนข้างอยู่ใกล้แนวขอบเส้นออสเตนไนต์ 100% มากกว่าเฟอร์ไรต์ 100% ดังนั้น เหล็กจึงมีส่วนประกอบของออสเตนไนต์มากว่าเฟอร์ไรต์ ประมาณค่าอยู่ที่ ออสเตนไนต์ 63% และเฟอร์ไรต์อยู่ที่ 37%
รูปจุด E
7. ตอนนี้เหล็กกล้าอุณหภูมิสูงไปถึง แนวเส้นอุณหภูมิของการเปลี่ยนรูปด้านสูง ที่จุด F ประมาณ 790°C (1450°F) เกือบทั้งหมดของเหล็กเกิดการเปลี่ยนแปลงไปเป็นออสเตนไนต์อย่างสมบูรณ์ ยังคงเหลือเป็นเฟอร์ไรต์เพียงเล็กน้อยทางด้านซ้ายมือ แต่อีกไม่นานก็จะเปลี่ยนไปทั้งหมด จุดนี้ประมาณค่าออสเตนไนต์อยู่ที่ 90% และเฟอร์ไรต์ 10%
รูปจุด F
8. ที่อุณหภูมิ 840°C (1,550°F) เหล็กที่จุด G มีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ออสเตนไนต์อย่างสมบูรณ์ ไม่มีเฟอร์ไรต์ หรือเพิลไลต์เหลืออยู่เลย มันเป็นออสเตนไนต์ 100%
รูปจุด G
ถึงแม้ว่าจะให้ความร้อนเพิ่มขึ้นไปอีก เหล็กก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้าง มันยังคงเป็นออสเตนไนต์ 100%
เมื่อศึกษาถึงการเพิ่มอุณหภูมิของเหล็กกล้าไปแล้ว ทีนี้มาศึกษาเหล็กกล้าจากอุณหภูมิที่สูงค่อย ๆ ลดอุณหภูมิลง ซึ่งเป็นปฏิกิริยาย้อนกลับ
โดยใช้ตัวอย่างเดิม นั่นก็คือคือเหล็กกล้าผสมคาร์บอน 0.4% ที่ให้ความร้อนสูงจนเป็นโครงสร้างออสเตนไนต์ 100% โดยการปล่อยให้เหล็กเย็นตัวลงอย่างช้า ๆ
รูปปฏิกิริยาย้อนกลับผังไดอะแกรมของเหล็กกล้าผสมคาร์บอน 0.4% จากความร้อนสูงถูกปล่อยให้เย็นตัวลงไปจนถึงอุณหภูมิห้อง เหล็กยังไม่ได้ผ่านการปรับสภาพทางความร้อน หรือการชุบแข็งมาก่อน
เหล็กกล้าถูกปล่อยให้เย็นตัวอย่างช้า ๆ กลับไปสู่อุณหภูมิห้อง จากอุณหภูมิสูงค่อยลงมาเรื่อย ๆ
-
ผ่านจุด G (840°C: โครงสร้างออสเตนไนต์ 100%)
-
ผ่านจุด F (790°C: ออสเตนไนต์ 90% และเฟอร์ไรต์ 10%)
-
ผ่านจุด E (760°C: ออสเตนไนต์ 63% และเฟอร์ไรต์อยู่ที่ 37%)
-
ลงไปเรื่อย ๆ จนถึงจุด D (740°C: เฟอร์ไรต์ 48% และออสเตนไนต์ 52%)
-
ผ่านจุด C (720°C)
-
ผ่านจุด B (540°C: เฟอร์ไรต์ 49%-50% และเพิลไลต์ 50%-51%)
-
สุดท้ายลงไปจนถึงอุณหภูมิห้อง จุด A (ประมาณ 30°C) มันจะเปลี่ยนแปลงกลับคืนไปเป็นโครงสร้างเฟอร์ไรต์ / เพิลไลต์ และไม่มีออสแตนไนต์เหลืออยู่ ซึ่งเป็นการย้อนลำดับกัน
ส่วนเหล็กกล้าคาร์บอนที่มีจำนวนเปอร์เซ็นต์คาร์บอนผสมในสัดส่วนอื่น ๆ ก็จะพิจารณาไปในแนวทางเดียวกันนี้ ค่อย ๆ ศึกษากันไปนะ
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
“เราจะเห็นค่าความอบอุ่น
ก็ต่อเมื่อเราผ่านความเหน็บหนาวมาแล้ว”
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที
- ตอนที่ 1 : บทที่ 1 การนำทฤษฏีโลหะไปใช้งาน
- ตอนที่ 2 : 1.2 ประโยชน์ของโลหะวิทยาในภาคอุตสาหกรรม
- ตอนที่ 3 : 1.3 ผู้ที่เหมาะจะนำไปใช้ กับสิ่งที่พบในหนังสือเล่มนี้ (จบบทที่ 1)
- ตอนที่ 4 : บทที่ 2 พื้นฐานเคมีในโลหะวิทยา 2.1-2.3
- ตอนที่ 5 : 2.4 โมเลกุล ,เกรน และผลึก, สารประกอบ
- ตอนที่ 6 : 2.7 ของผสม, สารละลาย และชนิดของสารละลาย
- ตอนที่ 7 : สารละลายของแข็ง (จบบทที่ 2)
- ตอนที่ 8 : ภาค 2 คุณสมบัติของโลหะ / บทที่ 3 ความแข็ง
- ตอนที่ 9 : 9 3.4 หน่วยของความแข็ง, 3.5 วิธีการทดสอบความแข็ง, 3.6 กรรมวิธีทดสอบความแข็งแบบบริเนล
- ตอนที่ 10 : 10 3.6.1 ขั้นตอนการทดสอบความแข็งแบบบริเนล
- ตอนที่ 11 : 11 การทดสอบความแข็งแบบวิคเกอร์
- ตอนที่ 12 : 12 3.8 การทดสอบความแข็งแบบคนูบ
- ตอนที่ 13 : 13 3.9 วิธีการทดสอบความแข็งแบบร็อคเวล
- ตอนที่ 14 : 14. การแบ่งสเกลร็อคเวล
- ตอนที่ 15 : 15. 3.10 วิธีการทดสอบความแข็งแบบร็อคเวลอย่างคร่าว ๆ
- ตอนที่ 16 : 17 3.11 วิธีการทดสอบความแข็งแบบชอร์ เชโรสโคป และแบบโซโนเดอร์
- ตอนที่ 17 : 3.13 การทดสอบความแข็งแบบโมห์สเกล และตะไบ
- ตอนที่ 18 : 18 การเปรียบเทียบค่าความแข็ง (จบบทที่ 3)
- ตอนที่ 19 : บทที่ 4 คุณสมบัติโลหะ
- ตอนที่ 20 : 20 ความแข็งแกร่ง ,ความเค้น
- ตอนที่ 21 : 21 ความแข็งแกร่งต่อการดึง, การอัด, การเฉือน
- ตอนที่ 22 : 22 ความแข็งแกร่งต่อการบิด, การโค้งงอ
- ตอนที่ 23 : ความทนทานต่อการล้าตัว และการกระแทก
- ตอนที่ 24 : 24 คุณสมบัติที่สัมพันธ์กันระหว่างความเค้น /ความเครียด
- ตอนที่ 25 : 25 โมดูลัสความยืดหยุ่น
- ตอนที่ 26 : 26 ขอบเขตความยืดหยุ่น, การคืบคลาน และอัตราส่วนพอยส์สัน
- ตอนที่ 27 : 27 คุณสมบัติทางเคมี และคุณสมบัติทางไฟฟ้า
- ตอนที่ 28 : 28 คุณสมบัติทางแม่เหล็ก และทางความร้อน
- ตอนที่ 29 : 29 จุดหลอมเหลว, ความจุความร้อน และความร้อนจำเพาะ
- ตอนที่ 30 : 30 คุณสมบัติอื่น ๆ ของวัสดุ(จบบทที่ 4)
- ตอนที่ 31 : 31 บทที่ 5 เหล็กกล้า
- ตอนที่ 32 : 32 ธาตุต่าง ๆ ที่นำมาผสมในเหล็ก, ชนิดของเหล็กกล้า
- ตอนที่ 33 : 33 เหล็กกล้าคาร์บอน
- ตอนที่ 34 : 34 เหล็กกล้าผสม
- ตอนที่ 35 : 35 เหล็กกล้าโครงสร้าง, เหล็กกล้ามาราจิง, เหล็กกล้าเครื่องมือ
- ตอนที่ 36 : 36 เหล็กกล้าไร้สนิม, เหล็กกล้าสปริง,เหล็กกล้าผสมพิเศษ
- ตอนที่ 37 : 37 เหล็กหล่อ
- ตอนที่ 38 : 38 เหล็กหล่อสีขาว, เหล็กหล่อมัลลีเบิล, เหล็กหล่อเหนียว, เหล็กบริสุทธิ์ (จบบทที่ 5)
- ตอนที่ 39 : 39 บทที่ 6 การถลุงเหล็ก
- ตอนที่ 40 : 40 ชนิดของแร่เหล็ก, กระบวนการจัดการแร่เหล็ก
- ตอนที่ 41 : 41 เตาบลาสต์
- ตอนที่ 42 : 42 การผลิตเหล็กกล้าด้วย เตาออกซิเจนพื้นฐาน
- ตอนที่ 43 : 43 เตาอาร์คไฟฟ้า
- ตอนที่ 44 : 44 เตาโอเพนฮาร์ท
- ตอนที่ 45 : 45 การทำเหล็กอินก็อท
- ตอนที่ 46 : 46 โรงรีดเหล็ก
- ตอนที่ 47 : 47 การจัดวางลูกรีด
- ตอนที่ 48 : 48 รีดเหล็กเป็นแผ่นแบน แท่ง และท่อนกลม กับการผลิตต่อเนื่อง
- ตอนที่ 49 : 49 การผลิตเหล็กหล่อด้วยเตาคิวโพล่า
- ตอนที่ 50 : 50 เตาเหนี่ยวนำไฟฟ้า และการควบคุมมลภาวะ (จบบทที่ 6)
- ตอนที่ 51 : 51 บทที่ 7 โครงสร้างผลึก
- ตอนที่ 52 : 52 สเปซแลตทิซแบบบีซีซี, เอฟซีซี
- ตอนที่ 53 : 53 สเปซแลตทีซ ซีพีเฮช, บีซีที, โครงสร้างสเปซแลตทีซในเหล็ก
- ตอนที่ 54 : 54อุณหภูมิเปลี่ยนรูป, การเติบโตของผลึก
- ตอนที่ 55 : 55 ขนาดเกรนกับช่วงเวลาทำความเย็น (จบบทที่ 7)
- ตอนที่ 56 : 56 บทที่ 8 การพัง และการเสียรูปของโลหะ
- ตอนที่ 57 : 57 โลหะเหนียว พังแบบถูกเฉือน
- ตอนที่ 58 : 58 ผลของขนาดผลึก และการเพิ่มความแข็งในงาน (จบบทที่ 8)
- ตอนที่ 59 : 59 บทที่ 9 แผนผังเหล็กคาร์บอน
- ตอนที่ 60 : 60 เฟสไดอะแกรมของเหล็ก-คาร์บอน
- ตอนที่ 61 : 61 การใช้ และการอ่านเฟสไดอะแกรมเหล็กกล้า-คาร์บอน
- ตอนที่ 62 : 62 การเปลี่ยนแปลงไปสู่มาเทนไซต์ ,โครงสร้างเหล็กกล้าในบริเวณต่าง ๆ
- ตอนที่ 63 : 63 บริเวณเปลี่ยนรูป, อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงกับคุณสมบัติทางกล, ปรับปรุงความแข็งให้ดีขึ้น (จบบทที่ 9)
- ตอนที่ 64 : 64 บทที่ 10 การวิเคราะห์โครงสร้างจุลภาค
- ตอนที่ 65 : 65 โครงสร้าง มาเทนไซต์, ออสเตนไนต์ และโครงสร้างผสม
- ตอนที่ 66 : 66 การเตรียมชิ้นงานก่อนส่องกล้องจุลทรรศน์ (จบบทที่ 10)
- ตอนที่ 67 : 67 บทที่ 11 การปรับสภาพทางความร้อน และการชุบแข็ง
- ตอนที่ 68 : 68 เทคนิคและ สารตัวกลางชุบแข็ง
- ตอนที่ 69 : 69 อุณหภูมิสารตัวกลาง, เทคนิคการชุบแข็ง (จบบทที่ 11)
- ตอนที่ 70 : 70 บทที่ 12 การอบอ่อน และการอบปกติ
- ตอนที่ 71 : 71 ตอบคำถามจากอีเมล์, ผลที่ได้จากการอบ, การอบอ่อนเต็ม
- ตอนที่ 72 : 72 การอบอ่อนหลังการขึ้นรูปเย็น, การเปลี่ยนเป็นคาร์ไบต์เม็ดกลม, การอบปกติ (จบบทที่ 12)
- ตอนที่ 73 : 73 บทที่ 13 ผังไดอะแกรมการเปลี่ยนแปลงแบบอุณหภูมิคงที่
- ตอนที่ 74 : 74 เส้นอุณหภูมิเวลา, การนำไปใช้ และอาณาบริเวนในแผนภาพไอที
- ตอนที่ 75 : 75 อาณาบริเวณต่าง ๆ ในแผนภาพไอที
- ตอนที่ 76 : 76 การใช้แผนภาพไอทีเพื่อระบุเหล็กกล้า
- ตอนที่ 77 : 77 แผนภาพไอทีทางอุตสาหกรรม, การเปรียบเทียบแผนภาพไอทีอุตสาหกรรม
- ตอนที่ 78 : 78 การคิดค่าความแข็งจากแผนภาพ, การพล็อตแผนภาพ
- ตอนที่ 79 : 79 ตอบคุณ Ekakrat Gmail, การเปรียบเทียบแผนภาพการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิคงที่
- ตอนที่ 80 : 81 ตัวอย่างเปรียบเทียบแผนภาพการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิคงที่ (จบบทที่ 13)
- ตอนที่ 81 : 80 บทที่ 14 การอบคืนตัว / ความจริงของการศึกษาไทย
- ตอนที่ 82 : 82 กลไกการอบคืนตัว, คำถามก่อนทำการอบคืนตัว
- ตอนที่ 83 : 83 ประเภทการอบคืนตัว
- ตอนที่ 84 : 84 ออสเทมเปอร์ริ่ง , การชุบแข็ง และการอบคืนตัวความร้อนคงที่ (จบบทที่ 14)
- ตอนที่ 85 : 85 บทที่ 15 การชุบผิวแข็ง
- ตอนที่ 86 : 86 การชุบผิวแข็งเครื่องมือ เครื่องกล และวิธีการพื้นฐาน
- ตอนที่ 87 : 87 กระบวนการชุบผิวแข็ง