นิรนาม

ผู้เขียน : นิรนาม

อัพเดท: 17 ม.ค. 2015 07.41 น. บทความนี้มีผู้ชม: 4296881 ครั้ง

www.thummech.com
เป็นความรู้เกี่ยวกับโลหะในทางทฤษฏี ทั้งโลหะที่เป็นเหล็ก และไม่ใช่เหล็ก
โลหะที่เป็นเหล็กที่จะกล่าวก็คือ เหล็ก และเหล็กกล้า
โลหะที่ไม่ใช่เหล็ก เช่น อลูมิเนียม ทองแดง แมกนีเซียม ฯลฯ
ตัวอย่างที่จะกล่าวในหนังสือเล่มนี้จะกล่าวเกียวกับ
- กรรมวิธีการผลิตโลหะ
- คุณสมบัติของโลหะ
- การวิเคราะห์โครงสร้างโลหะ
- การปรับสภาพของโลหะ
- แนวทางที่จะนำไปใช้ประโยชน์
-ฯลฯ

ลองติดตามผลงานดูนะครับ ติชมกันได้นะ มีคำถามอะไรก็ถามได้ ถ้ารู้ก็จะตอบให้ครับ

เมื่อการพัฒนาทางด้านวัตถุมีสูง มองมุมกลับ การพัฒนาทางด้านจิตใจ ด้านคุณธรรมก็ต้องให้สูงตามไปด้วย

วัตถุประสงค์ที่ทำก็คือ อยากเห็นประเทศของเรามีความทัดเทียม หรือเหนือกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว มีการสร้างเทคโนโลยีเป็นของตัวเอง ไม่ต้องตามใคร


65 โครงสร้าง มาเทนไซต์, ออสเตนไนต์ และโครงสร้างผสม

10.1.5 โครงสร้างมาเทนไซต์

 

      มาเทนไซต์มีความแตกต่างจากภาพจุลภาคในโครงสร้างอื่นที่ปรากฏขึ้น มันมีลักษณะคล้ายกับเข็ม โดยดูได้จากภาพโครงสร้างมาเทนไซต์ดูจากกล้องจุลทรรศน์ ดูที่รูป

  

รูปโครงสร้างมาเทนไซต์ อัตราขยาย 700 เท่า

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

การมองเหล่านั้นคล้ายกับเข็ม จะมองคล้ายกับเข็มขนาดใหญ่ เมื่อเพิ่มกำลังขยาย เลนส์ของกล้องจุลทรรศน์จะมองเห็นภาพรูปเข็มได้ชัดขึ้น

 

 

10.1.6 โครงสร้างออสเตนไนต์

 

      เมื่อเหล็กกล้าเข้าสู่โครงสร้างออสเตนไนต์ และถูกทำให้เป็นโครงสร้างมาเทนไซต์เราจะสังเกตเห็นขนาดเม็ดเกรน และขอบเขตเกรนได้ง่าย แต่ถ้ามันยังอยู่ในโครงสร้างออสเตนไนต์ล่ะ? อาจเกิดความแปลกใจว่า โครงสร้างออสเตนไนต์ของเหล็กกล้าเป็นรูปร่างเช่นไร เพราะเหล็กออสเตนไนต์ยังอยู่ในสถานะที่ร้อนแดง (ประมาณ 930 °C (1700°F)) จนไม่สามารถนำไปส่องดูที่กล้องจุลทรรศน์ได้

 

      แต่ก็สามารถติดตามดูโครงสร้างได้ที่อุณหภูมิห้องได้เช่นกันโดยการเพิ่มธาตุผสมพิเศษที่เหล็กกล้า แล้วใช้เทคนิคในการปรับสภาพความร้อนเช่นเดียวกับที่ใช้ในการผลิตเหล็กคาร์ไบน์ ที่เรียกว่า การเสริมแต่ง (Decorate) ซึ่งทำให้ชั้นขอบเกรนในโครงสร้างออสเตนไนต์มองเห็นได้ชัด

 

      รูปภาพทางจุลภาคของออสเตนไนติก เหล็กกล้าไร้สนิม (Stainless steel) ดูได้ในรูป

 

รูปเหล็กกล้าไร้สนิม 303 โครงสร้างออสเตนไนต์ กำลังขยาย 100 เท่า

 

โครงสร้างคล้ายกับถนนคอนกรีตที่มีการแตกเป็นแผ่น ๆ ความเป็นแผ่นเหล่านี้ จะเห็นน้อยกว่าที่เห็นในโครงสร้างเฟอร์ไรต์ และขอบเกรนของเฟอร์ไรต์มีลักษณะขอบที่มนกลม และมีความต่อเนื่องในความโค้งกว่าโครงสร้างออสเตนไนต์

 

ส่วนขอบเกรนของโครงสร้างออสเตนไนต์ จะปรากฏเป็นแนวตรง และชันมากกว่า ถึงแม้ว่าโครงสร้างจุลภาคของเฟอร์ไรต์ และออสเตนไนต์จะดูคล้ายคลึงกัน แต่พฤติกรรมทางกายภาพของโครงสร้างทั้งสอง มีความแตกต่างกันอย่างมาก

 

รูปโครงสร้างทางจุลภาคออสเตนไนต์

 

 

10.1.7 โครงสร้างผสม

 

      หลายครั้งในโลหะวิทยา เหล็กกล้าที่ผ่านการปรับสภาพทางความร้อนอาจมีการผสมผสานกันของโครงสร้าง ดังตัวอย่างหนึ่งที่แสดงในรูป

 

รูปโครงสร้างมาเทนไซต์ กับไบย์ไนต์

 

รูปโครงสร้างมาเทนไซต์ ไบย์ไนต์ และเฟอรไรต์

 

 

สามารถสังเกตโครงสร้างต่าง ๆ ได้ดังนี้

 

Ø  พื้นที่สีขาวเป็นเฟอร์ไรต์

 

Ø  พื้นที่สีเทาอ่อนเป็นมาเทนไซต์

 

Ø  ชั้นที่ถูกแบ่งบาง ๆ เป็นเพิลไลต์

 

Ø  ส่วนที่ดำมากที่สุดเป็นไบย์ไนต์

 

 

ส่วนโครงสร้างผสมเหล่านี้จะกล่าวถึงรายละเอียด ในบทที่ 13

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

 

“การสะกิดคุ้ยเขี่ย ความผิดพลาดของผู้อื่น, ปมด้อยของผู้อื่น

                     มีแต่จะทำให้เขาเสียใจ และอาจทำให้เสียมิตร
                                                   ส่วนเรา.... ไม่ได้อะไรเลย”

 

 

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที