นิรนาม

ผู้เขียน : นิรนาม

อัพเดท: 17 ม.ค. 2015 07.41 น. บทความนี้มีผู้ชม: 4296956 ครั้ง

www.thummech.com
เป็นความรู้เกี่ยวกับโลหะในทางทฤษฏี ทั้งโลหะที่เป็นเหล็ก และไม่ใช่เหล็ก
โลหะที่เป็นเหล็กที่จะกล่าวก็คือ เหล็ก และเหล็กกล้า
โลหะที่ไม่ใช่เหล็ก เช่น อลูมิเนียม ทองแดง แมกนีเซียม ฯลฯ
ตัวอย่างที่จะกล่าวในหนังสือเล่มนี้จะกล่าวเกียวกับ
- กรรมวิธีการผลิตโลหะ
- คุณสมบัติของโลหะ
- การวิเคราะห์โครงสร้างโลหะ
- การปรับสภาพของโลหะ
- แนวทางที่จะนำไปใช้ประโยชน์
-ฯลฯ

ลองติดตามผลงานดูนะครับ ติชมกันได้นะ มีคำถามอะไรก็ถามได้ ถ้ารู้ก็จะตอบให้ครับ

เมื่อการพัฒนาทางด้านวัตถุมีสูง มองมุมกลับ การพัฒนาทางด้านจิตใจ ด้านคุณธรรมก็ต้องให้สูงตามไปด้วย

วัตถุประสงค์ที่ทำก็คือ อยากเห็นประเทศของเรามีความทัดเทียม หรือเหนือกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว มีการสร้างเทคโนโลยีเป็นของตัวเอง ไม่ต้องตามใคร


79 ตอบคุณ Ekakrat Gmail, การเปรียบเทียบแผนภาพการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิคงที่

 

ตอบคุณ Ekakrat Gmail

 

ข้อความจากอีเมล์ “สนใจหนังสือโลหะ มีจำหน่ายรึป่าวครับ”

 

 

 

ก่อนอื่นขอบคุณครับที่ติดตามอ่าน งานเขียนผมอ่าน และเข้าใจง่ายไหมครับ?

 

ณ เวลานี้ผมยังไม่ได้คิดที่จะทำขายครับ แต่อนาคตไม่แน่ครับ เพราะการเขียนหนังสือจะต้องมีอะไรมากกว่านี้ครับ เช่น เขียนรูป, กราฟ, ตาราง หรือถ่ายภาพเอง (ตอนนี้ใส่ลิงค์ให้ตามดูจากเว็บต่าง ๆ อยู่ครับ นอกจากว่าหาไม่มีจริง ๆ ถึงจะวาดเอง)  การเขียนให้ออกมาหนึ่งเล่มนั้นต้องรวบรวมหนังสือหลากหลายเล่มเพื่อมากลั่นกรอง อีกทั้งใช้ประสบการณ์ที่มีอีกครับ ตอนนี้ผมยังไม่ค่อยมีเวลาเท่าไหร่ครับ แต่ต่อไปในอนาคตไม่แน่ครับ (ยังมีหนังสืออีกหลายเล่มเตรียมเอาไว้รอให้อ่านอยู่ครับ) ถ้ามีคำถามอะไรถามได้นะครับ ถ้าทราบก็จะตอบให้ครับ

 

อาจจะทำออกมาให้อ่านช้าไปซักนิดนึง เพราะว่าผมมีงานเยอะ แต่พยายามจะทำให้อ่านให้ได้อาทิตย์ละตอน ขอบคุณครับที่ติดตามอ่าน

 

เฉพาะเรื่องของเหล็ก ยังเหลืออีก 2 บทก็จบแล้วครับ ต่อจากเหล็กก็เป็นเรื่องของโลหะที่ไม่ใช่เหล็กครับ  

 

เร็ว ๆ นี้ จะลงหนังสือ และบทความ ให้อ่านในเฟสบุ๊ค หรือเว็บไซต์ กำลังจัดทำ และเรียบเรียงอยู่ ในเฟสบุ๊คจะไม่ซ้ำกับที่นี่ครับ

 

 

 

 

 

13.12 การเปรียบเทียบแผนภาพการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิคงที่

 

 

 

      ผลของการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิคงที่ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นกับเหล็กอย่างกว้างขวาง ซึ่งปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะขึ้นอยู่กับ ชนิดของเหล็กกล้า, อัตราการให้ความร้อน และความเย็นที่ใช้

 

      เมื่อการเปลี่ยนแปลงของแนวเส้นเวลาถูกลากไปถึงเส้นโค้งตัวซีที่พล็อตในแผนภาพไอที ก็จะทำให้สามารถพยากรณ์โครงสร้างของเหล็กกล้าที่จุดเปลี่ยนแปลงได้ตลอดทั้งแนวเส้นเวลา ถ้าทำออกมาหลายแผนภาพก็สามารถนำมาใช้เปรียบเทียบกันได้

 

 

 

      เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ภายในเหล็กกล้าที่แตกต่างกัน จะเป็นไปตามกระบวนการชุบแข็ง รวมไปถึงเวลา, อุณหภูมิ และการผสมเจือ ที่ทำให้พร้อมเกิดการเปลี่ยนแปลง

 

 

 

ด้านล่างนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งตัวอย่างของเหล็กกล้าที่มีมากมายที่จะนำมาเปรียบเทียบกัน

 

 

 

ชิ้นงานตัวอย่างเปรียบเทียบของเหล็กกล้า เอไอเอสไอ 1340 (เหล็กกล้าผสมแมงกานีส)

 

 

 

รูปตัวอย่างการใช้งานเหล็กกล้า เอไอเอสไอ 1340

 

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

 

 

ตัวอย่างที่ 13.1 สมมตินำชิ้นงานตัวอย่างของเหล็กกล้า เอไอเอสไอ 1340 ไปให้ความร้อนจะอุณหภูมิขึ้นไปถึง 870 °C (1600 °F) และทำให้เย็นทีละน้อยไปจนถึงอุณหภูมิ 650°C (1200 °F) ใช้เวลากว่า 10 นาที จากนั้นก็นำไปชุบแข็งจนอุณหภูมิไปถึงอุณหภูมิห้อง เวลาที่ใช้ 5 วินาที กระบวนการตามแผนภาพไอทีดูได้ในรูปด้านล่าง

 

 

 

รูปแผนภาพของเหล็กกล้า 1340 เหล็กกล้าเปลี่ยนแปลงเป็นเพิลไลต์หยาบระหว่างกระบวนการชุบแข็ง

 

 

 

การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดเกิดขึ้นในอาณาบริเวณเพิลไลต์หยาบ ดังนั้นทำให้เหล็กกล้าได้เปลี่ยนแปลงไปสู่ เพิลไลต์หยาบ 100% มีค่าความแข็งต่ำกว่า 15 Rc

 

 

 

ข้อน่าสังเกต ชิ้นงานตัวอย่างเมื่อถูกนำไปทำการชุบแข็งอย่างรวดเร็ว ก็ทำให้เหล็กกล้าพ้นออกจากอาณาบริเวณของการเปลี่ยนแปลงแบบทันทีเช่นกัน

 

 

 

ตัวอย่างที่ 13.2 มาสมมติกันต่อ นำชิ้นงานชิ้นที่สองซึ่งก็เป็นเหล็กกล้า เอไอเอสไอ 1340 เช่นเดิม เมื่อความร้อนขึ้นไปถึง 870°C (1600 °F) จากนั้นก็ให้เย็นตัวจนไปถึงอุณหภูมิที่ 538°C (1000 °F) ใช้เวลา 4 ชั่วโมง แล้วนำไปก็ทำการชุบแข็งไปจนถึงอุณหภูมิห้องใช้เวลา 5 วินาที

 

 

 

 

 

รูปการเปลี่ยนแปลงในแผนภาพไอทีเป็น เพิลไลต์หยาบ 100% โครงสร้างของเหล็กกล้าเปลี่ยนแปลงอย่างสำเร็จ ทันทีที่ไปถึงจุด B2

 

 

 

      แนวเส้นเวลาที่พล็อตตามสภาวะเหล่านี้ที่แสดงในรูปด้านบน การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดจะเกิดขึ้นในบริเวณเพิลไลต์หยาบ ทำให้โครงสร้างนี้กลายเป็น เพิลไลต์หยาบ 100% ค่าความแข็งอยู่ต่ำกว่า 15 Rc 

 

 

 

จากรูปตัวอย่างของแผนภาพไอทีในรูปทั้งสองด้านบน ใช้ชิ้นงานตัวอย่างชนิดของเหล็กกล้าเดียวกัน แต่แตกต่างในกระบวนการที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

 

 

 

จากแผนภาพทั้งสองด้านบน แนวเส้นเวลาผ่านบริเวณของการเปลี่ยนแปลงที่เกือบจะเป็นจุดเดียวกัน (A2 และ B2) อ้างถึงรูปตัวอย่างที่ 13.2 ทันทีที่แนวเส้นเวลาไปถึงจุด B2 ในทางทฤษฏี จะเกิดการเปลี่ยนแปลงเกือบทั้งหมด

 

 

 

      เพราะฉะนั้น การแบ่งอาณาบริเวณกระบวนการทำความเย็น (บอกได้โดยเส้นทั้งสองระหว่างจุด B2 และ B3) ไม่มีอะไรที่ไปบังคับในการเปลี่ยนแปลงช่วงสุดท้ายชิ้นงานตัวอย่างจึงเกิดการชุบแข็งอย่างทันที หลังจากที่การเปลี่ยนแปลงเสร็จสิ้น จึงทำให้ชิ้นงานตัวอย่างทั้งคู่เป็นโครงสร้างที่เหมือนกัน

 

 

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“หลับตานิ่ง ๆ หายใจเข้าออกช้า ๆ ลึก ๆ สักสามนาที

 

เมื่อรู้สึกว่าอะไรที่อยู่ตรงหน้ามันช่างยากเหลือเกิน”

 

 

 

 

 

 

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที