SIMMPRO CMMS

ผู้เขียน : SIMMPRO CMMS

อัพเดท: 09 ส.ค. 2010 17.21 น. บทความนี้มีผู้ชม: 29478 ครั้ง

3 ข้อ ถ้าคิดจะเป็นผู้เชี่ยวชาญระบบงานซ่อมบำรุง


ข้อที่ 1 งานฉุกเฉิน Barkdown maintenance BM

คงเป็นเรื่องล้าสมัย ถ้า SIMMPRO Blog. จะเขียนเชิญชวนให้ทุกท่านได้ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ในการบริหารระบบงานซ่อมบำรุง แทนการบริหารในรูปแบบกระดาษและการใช้ความจำอย่างในอดีตที่ผ่านมา เพราะถ้าจะเขียน Blog. ในลักษณะนั้นคงจะต้องเริ่มเขียนเมื่อซัก 5-10 ปีที่แล้ว เพราะปัจจุบัน การนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (cmms software) มาใช้ในการบริหารระบบบำรุงรักษา ไม่ได้เป็นเรื่องใหม่หรือแปลกประหลาดพิสดาร อย่างในอดีต แต่การนำ cmms software(CMMS- Computerized Maintenance Management System) มีการใช้งานเป็นเรื่องปกติและธรรมดามากในปัจจุบัน

ดังนั้นจุดประสงค์ในการเขียน SIMMPRO Blog. จะเน้นหนักไปทางที่ว่า ทำอย่างไรให้การใช้งาน โปรแกรม SIMMPRO ให้เกิดประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลมากที่สุด

ในบทความนี้จะเริ่มต้นจากการทำความเข้าใจ จุดประสงค์ในการพัฒนาโปรแกรม SIMMPRO ว่ามีหลักการและความคิดอย่างไร?

3 ข้อสำหรับผู้เชี่ยวชาญ SIMMPRO 

         คำว่า “ผู้เชี่ยวชาญ” ในที่นี้หมายถึง ผู้ที่มีคุณลักษณะที่จะทำให้ SIMMPRO แสดงประสิทธิภาพการใช้งานได้อย่างสูงที่สุด และก่อนที่จะกล่าวถึง 3 ข้อที่ผู้เชี่ยวชาญ SIMMPRO ควรจะต้องมีเป็นอย่างไร ผมขอเริ่มจากความเข้าใจถึงประเภทของงานในระบบการบริหารการซ่อมบำรุงให้เข้าใจตรงกันก่อน

       ในการซ่อมบำรุงเครื่องจักรนั้น ประเภทของงานซ่อมได้ถูกจัดแบ่งออกเป็นหลายชนิด หลายประเภท ตามความเข้าใจหรือความคิด และการประดิษฎ์คำต่างๆทำให้ ประเภทของการซ่อมบำรุงมีหลากหลายประเภท/ชนิด/ลักษณะ เช่น งานบริการ งานซ่อมจากภายนอก งานซ่อมฉุกเฉิน งานPreventive maintenance  งานPredictive maintenance งานCondition base maintenance งานMaintenance prevention หรืองานอื่นๆอีกมากมาย

         แต่ในที่นี้ผมจะขอแยกงานซ่อมบำรุงทั้งหมดที่มีออกเป็น 3 ชนิด ตามลักษณะของงานที่หน่วยงานซ่อมบำรุงดำเนินการ โดยแยกออกเป็นดังนี้

        1 งานซ่อมบำรุงฉุกเฉิน-งานซ่อมที่ไม่ได้คาดการณ์หรือวางแผนไว้ล่วงหน้า

เราเรียกงานในลักษณะนี้ว่า BM ( Barkdown Maintenance ) งานซ่อมบำรุงในลักษณะนี้ตามชื่อเรียกก็สื่อความหมายแล้วว่า Breakdown คือการซ่อมบำรุงที่เกิดขึ้นปัจจุบันทันด่วนโดยไม่มีการวางแผนหรือคาดการณ์ไว้ล่วงหน้า ซึ่งคงจะเป็นที่คุ้นเคยกันดีหรืออาจจะเป็นงานหลักของหน่วยงานซ่อมบำรุงของท่านก็ได้ งาน BM นี้เป็นงานที่สร้างความเสียหายให้กับบริษัท/โรงงานเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นงานที่ไม่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า เมื่อเครื่องจักรเกิดเสียหายหรือหยุดการทำงานขึ้นมาแบบกระทันหัน ย่อมส่งผลกระทบต่อการผลิตของโรงงานเป็นอย่างมาก และเป็นลูกโซ่ต่อเนื่องไปยังหน่วยงานต่างๆ ดังนั้นในการบริหารระบบงานซ่อมบำรุง จึงมุ่งเน้นที่จะลดหรือป้องกันไม่ให้เกิดการหยุดของเครื่องจักรแบบฉุกเฉิน BM การใช้โปรแกรม SIMMPRO ก็เช่นเดียวกัน

 “เคยมีคนพุดว่า การซ่อมบำรุงที่ดีคือ การป้องกันไม่ให้เครื่องจักรเสียฉุกเฉิน หรือ BM=0″

สำหรับความเห็นของผมนั้น ผมว่าเป็นแนวความคิดที่ดีแต่ดูจะสุดโต่งเกินไป เพราะการจัดการด้านการซ่อมบำรุง ควรจะมีมุมมองให้ครบทุกด้าน การที่โรงงาน/บริษัทจะลงทุนทรัพยากรทั้ง กำลังคน/กำลังเงิน/หรือแม้แต่ยอมที่จะลดกำลังการผลิตเพื่อให้ BM=0นั้น ความคุ้มค่าของสิ่งที่ลงทุนกับผลประโยชน์ที่ได้รับคืนมาบางทีแล้วดูจะไม่คุ้มค่า ในสายตาหรือมุมมองของ SIMMPRO นั้นถือว่างาน BM เป็นงานที่ยอมให้เกิดขึ้นได้ แต่ต้องจัดการให้งาน BM อยู่ในระดับที่ควบคุมได้ ทำให้งานฉุกเฉิน (บางทีก็กลายเป็นงานฉุกระหุก) เป็นงานที่อยู่ภายใต้การควบคุมและการบริหารของ SIMMPRO ดังนั้น ข้อที่1 ที่ผู้เชี่ยวชาญ SIMMPRO จะต้องมีคือ “ความสามารถในการจัดการงาน BM ให้สามารถควบคุมได้”

และเราจะควบคุมงาน BM ได้อย่างไร?

ถึงตรงนี้คำถามนี้คงเกิดขึ้นในความคิดของท่าน  ในการบริหารหรือการควมคุม BM นั้น SIMMPRO ได้มีแนวความคิดดังนี้

” ประสิทธิภาพต่อการจัดการด้าน BM คือความพร้อม หรือ จัดการ BM ด้วยความพร้อม”

การออกแบบ SIMMPRO ให้สามารถสร้างความพร้อมในการรับมือกับ BM

ในการออกแบบโปรแกรม SIMMPRO จะเริ่มต้นจาก การรับใบแจ้งซ่อม  work-require (WR) แล้วจึงจะสามารถออกเป็นใบสั่งซ่อม work order (WO)ได้ ข้อมูลที่รับจากใบแจ้งซ่อม จะเป็นข้อมูลที่ผู้แจ้งซ่อมแจ้งเข้ามาในการแจ้งซ่อมนั้นจะแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของผู้ใช้เครื่องจักร

 

หน้าจอการบันทึกข้อมูลการแจ้งซ่อม

หน้าจอการบันทึกข้อมูลการแจ้งซ่อม

 หรือ Operator ว่ามีความเข้าใจต่อสภาวะการทำงานของเครื่องจักรหรือไม่ การแจ้งซ่อมนั้นตรงตามจุดที่เกิดปัญหาหรือมีความถูกต้องมากน้อยเพียงใด การที่หน่วยงานผู้ใช้เครื่องจักร หรือ operator จำเป็นต้องมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการทำงานของเครื่องจักร (นอกเหนือจากความรู้ในการควบคุมเครื่องจักรที่ oprerator ทุกคนต้องมีอยู่แล้ว) ข้อมูลความแตกต่างระหว่างการแจ้งงานเข้ามากับปัญหาที่เกิดขึ้นจริงกับเครื่องจักร จะถูกนำมาประมวณผลเพื่อให้เข้าใจสภาวะของ operator

ซึ่งผู้เชี่ยวชาญ SIMMPRO จะต้องสามารถแยกแยะและกำหนดลักษณะของปัญหาดังกล่าวได้ ซึ่งเมื่อสามารถทำการแยกแยะและกำหนดลักษณะของปัญหาแล้ว จะต้องทำการจัดเตรียมการ Training หรือให้ความรู้/ความเข้าใจที่ถูกต้องต่อลักษณะการทำงานของเครื่องจักรให้แก่ operator ซึ่งงานในลักษณะดังกล่าวหลายๆแห่งได้นำระบบ การบำรุงรักษาด้วยตัวเอง (Autonomous Maintenance) มาประกอบและบวกเข้ากับ OPL ( One Point Lesson)-การเรียนรู้หนึ่งประเด็น ซึ่งประสิทธิภาพของงาน จะวัดได้จากความรู้ความเข้าใจในการแจ้งซ่อมของ operator  ซึ่งจะส่งผลต่อการเพิ่มความสามารถในการจัดการ BM ด้วยความพร้อมอีกทางหนึ่ง

รูปแบบ OPL
รูปแบบ OPL 

 

 

 

 

opl-011

 

การทดสอบการนำเสนอ OPL

การทดสอบการนำเสนอ OPL

 

-ในคุณสมบัติของผู้เชี่ยวชาญ SIMMPRO ในหัวข้อ “การจัดการ BM ด้วยความพร้อม” ยังไม่สิ้นสุดแค่การวิเคราะห์ใบแจ้งซ่อมจาก operator เท่านั้น งานของผู้เชี่ยวชาญ SIMMPRO ยังครอบคลุมไปถึง “การจัดทำมาตราฐานการซ่อม” เมื่อเกิด BM ขึ้นมา

แล้วเราจะหาข้อมูลมาตราฐานการซ่อมมาจากไหน?

ในระบบใบสั่งงาน Work order (WO) ของ SIMMPRO นอกเหนือจากการบันทึกผลหลังการซ่อม ค่าใช้จ่ายในการซ่อม ค่าแรงงานและอะไหล่ที่เปลี่ยน  สิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันก็คือ การระบุสาเหตุการเสีย และ ระบุวิธีการแก้ไข

 

 

ระบุ สาเหตุการเสีย และ วิธีการแก้ไข

ระบุ สาเหตุการเสีย และ วิธีการแก้ไข

ข้อมูลของการบันทึกผลการซ่อม สาเหตุการเสีย และ วิธีการแก้ไข จะถูกนำมาวิเคราะห์เพื่อให้ ผู้เชี่ยวชาญ SIMMPRO สามารถวิเคราะห์ถึงความแม่นยำในการซ่อม ระยะเวลาที่ใช้ในการซ่อม อะไหล่ที่ใช้ รวมทั้งจำแนกสาเหตุและวิธีการแก้ไข มาทำการจัดสร้างเป็น “มาตราฐานการซ่อมของหน่วยงานวิศวกรรม/ซ่อมบำรุง” มาตราฐานการซ่อมจะต้องถูกถ่ายทอดในหน่วยงานวิศวกรรม/ซ่อมบำรุง ให้กับผู้ปฎิบัติงานซ่อม โดยผ่าน OPL หรือเอกสารมาตราฐานงานซ่อมบำรุง และหัวหน้าซ่อมบำรุงที่รับผิดชอบ จะได้ถ่ายทอดให้กับพนักงานซ่อมบำรุงในหน่วยงานของตน เช่น หน่วยงานไฟฟ้า เครื่องกล เครื่องมือวัด เป็นต้น

“มาตราฐานการซ่อมบำรุง” จะช่วยให้การจัดการด้านงาน การเสียฉุกเฉิน BM ของเครื่องจักรได้อย่างมีมีประสิทธิภาพและสามารถประเมินภาพรวมของ ประสิทธิภาพงานของแต่ละหน่วยงานซ่อมบำรุง

โดยสรุปแล้ว ผู้เชี่ยวชาญ SIMMPRO ข้อที่1นี้ จะต้องมีคือ “จัดการ BM ด้วยความพร้อม”

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที