Ann

ผู้เขียน : Ann

อัพเดท: 10 ส.ค. 2011 15.57 น. บทความนี้มีผู้ชม: 5951 ครั้ง

เครื่องอ่านบาร์โค้ด (Barcode reader) เป็นอุปกรณ์ที่ทำการแปลงข้อมูลจากรหัสบาร์โค้ดเป็นสัญญาณดิจิตอลผ่านคอมพิวเตอร์ หลังจากนั้นนำสัญญาณดิจิตอลที่ได้นั้นมาแปลเป็นข้อมูลด้วยการถอดรหัส ให้เป็นตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ที่ถูกบรรจุในข้อมูลนั้น ๆ โดยเครื่องอ่านบาร์โค้ด จะทำหน้าที่ในการผลิตลำแสงซึ่งดูดซึมส่วนที่เป็นแท่งดำทึบ และสะท้อนส่วนที่เป็นช่องว่างระหว่างแท่งสัญญาณที่สะท้อนขึ้นจะแปลงเป็นตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์


เครื่องอ่านบาร์โค้ด (Barcode reader)

เครื่องอ่านบาร์โค้ด

(Barcode reader)

 

141476_6ec06a308ef53a6353bde5ebdeb6c89f.png141476_Barcode-scanner.jpg141476_e4762b88b3092768cc0368b075c8a8d6.png

 
         เครื่องอ่านบาร์โค้ด (Barcode reader) เป็นอุปกรณ์ที่ทำการแปลงข้อมูลจากรหัสบาร์โค้ดเป็นสัญญาณดิจิตอลผ่านคอมพิวเตอร์ หลังจากนั้นนำสัญญาณดิจิตอลที่ได้นั้นมาแปลเป็นข้อมูลด้วยการถอดรหัส ให้เป็นตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ที่ถูกบรรจุในข้อมูลนั้น ๆ โดยเครื่องอ่านบาร์โค้ด จะทำหน้าที่ในการผลิตลำแสงซึ่งดูดซึมส่วนที่เป็นแท่งดำทึบ และสะท้อนส่วนที่เป็นช่องว่างระหว่างแท่งสัญญาณที่สะท้อนขึ้นจะแปลงเป็นตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์

           

          141476_bar2.jpg                        

 

บาร์โค้ด (Barcode) หรือในภาษาไทยเรียกว่า "รหัสแท่ง" คือ การแทนข้อมูลที่เป็นรหัสเลขฐานสอง (Binary codes) ในรูปแบบของแถบสีดำและขาวที่มีความกว้างของแถบที่ต่างกัน ขึ้นอยู่กับตัวเลขที่กำกับอยู่ข้างล่าง การอ่านข้อมูลจะอาศัยหลักการสะท้อนแสง เพื่ออ่านข้อมูลเข้าเก็บในคอมพิวเตอร์โดยตรงไม่ต้องผ่านการกดปุ่มที่แป้นพิมพ์ ระบบนี้เป็นมาตรฐานสากลที่นิยมใช้กันทั่วโลก การนำเข้าข้อมูลจากรหัสแถบของสินค้าเป็นวิธีที่รวดเร็วและความน่าเชื่อถือได้สูงและให้ความสะดวกแก่ผู้ใช้งานได้ดี

 

 หน้าที่ของเครื่องอ่านบาร์โค้ด

1.      หา Elements ที่ถูกต้องของ Bar และ Space

2.      กำหนดส่วนกว้างของแต่ละ Bar และ Space

3.      จัดกลุ่มของบาร์โค้ดที่อ่านเข้ามา 

4.      นำ Element Widths เปรียบเทียบกับรูปแบบตารางบาร์โค้ด

5.      ตรวจสอบ Start/Stop Characters เวลาที่มีการอ่านกลับทิศทาง

6.      ยืนยัน Quiet Zone ทั้งสองข้างของบาร์โค้ด

7.      ยืนยันความถูกต้องของ Check Characters

 

วิธีการอ่านบาร์โค้ด

1.      วิธีการเคลื่อนตัวอ่านสัมผัสกับแท่งบาร์โค้ด เช่น Digital Wand (ปากกาอ่านบาร์โค้ด)

2.      วิธีการอ่านแบบ Scan เช่น QS6000 

3.      วิธีการเคลื่อนตัวบาร์โค้ดเข้ามาอ่าน เช่น Fix Mount คือ Scanner ที่ติดอยู่กับที่

 

ก่อนที่จะมีการหันมานิยมใช้ เครื่องอ่านบาร์โค้ด (Barcode reader) นี้ วิธีเดิมของการตรวจรหัสสินค้า คือ การป้อนข้อมูลผ่านแป้นพิมพ์ ซึ่งวิธีนี้จะทำให้เกิดการผิดพลาดได้ง่ายขึ้น เพราะการจัดเก็บข้อมูลของระบบสินค้าคงคลังจะมีจำนวนหลักค่อนข้างมาก จึงได้มีแนวคิดใหม่ในการนำเครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบระบบมาตรฐานสากลที่นิยมใช้กันทั่วโลกมาใช้งาน เพื่อสะดวกในการเช็ค เครื่องอ่านบาร์โค้ดมีหลายแบบ เช่น  แบบไร้สาย แบบมือจับที่มีสายเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ แบบยึดติดกับที่ (ฝังในแท่นของเครื่องเก็บเงินสดเลย พบเห็นได้ตามจุดบริการขายในร้านอาหาร ร้านสะดวกซื้อ หรือ ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น)

 

อุปกรณ์เครื่องอ่านบาร์โค้ด เหมาะสำหรับที่จะนำมาใช้งานในปัจจุบันเป็นอย่างมาก ซึ่งมีความเหมาะสมกับการทำงานในรูปแบบที่แตกต่างกัน เป็นอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ความน่าเชื่อถือของการทำงานสูง สำนักงานหรือองค์กรจึงนิยมใช้ในการทำงานที่เกี่ยวกับการเก็บข้อมูลจากรหัสบาร์โค้ด บุคคลที่มีหน้าที่ใช้เครื่องอ่านบาร์โค้ดก็คือ พนักงานที่ได้รับมอบหมายในหน้าที่นี้  เพราะสะดวก รวดเร็วง่ายต่อการใช้งาน

 

การติดตั้งของอุปกรณ์เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบมีสาย 

1.      นำสายเครื่องอ่านบาร์โค้ดเสียบเข้ากับช่องเสียบเมาส์คอมพิวเตอร์ และสายจากเครื่องอ่านบาร์โค้ดจะแยกออกเป็นสองหัวใช้อีกหัวที่เหลือเสียบเข้ากับเมาส์

2.      เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมใช้ทันที

3.      ทดลองยิงบาร์โค้ดเข้าเครื่องระบบทำงานจะมีไฟสีแดงส่องออกมาจากปลายเครื่องอ่าน

  

ข้อเสียของเครื่องอ่านบาร์โค้ด

1.      เครื่องอ่านบาร์โค้ดมีข้อจำกัดในการทำงาน เมื่อนำเครื่องอ่านบาร์โค้ดไปใช้งานในสภาพแวดล้อมที่เปียกชื้น คลื่นแสงที่ใช้ในการอ่านจะถูกหักเหได้ง่าย เมื่อแถบบาร์โค้ดมีการเปียกชื้นก็จะทำให้การอ่านข้อมูลในแถบบาร์โค้ดเกิดการผิดพลาดได้

2.      ขณะที่เครื่องกำลังอ่านแถบบาร์โค้ดนั้น จะต้องให้เห็นแถบบาร์โค้ด หากแถบบาร์โค้ดถูกปิดบังเครื่องก็ไม่สามารถที่จะอ่านข้อมูลได้

3.      เครื่องอ่านบาร์โค้ดไม่สามารถที่จะอ่านแถบบาร์โค้ดที่เคลื่อนไหวด้วยความรวดเร็วได้ ดังนั้นหากแถบบาร์โค้ดติดอยู่บนวัตถุที่เคลื่อนไหวด้วยความรวดเร็ว จะส่งผลทำให้ความแม่นยำในการอ่านข้อมูลต่ำลง

 

ประโยชน์ของการใช้งานอุปกรณ์เครื่องอ่านบาร์โค้ด ทำให้เกิด QCDM ต่อองค์กร คือ

          เครื่องอ่านบาร์โค้ดนี้ มีความน่าเชื่อถือ ประสิทธิภาพของการทำงานสูง ทำให้งานที่ออกมาได้ผลที่ถูกต้องมากกว่าการป้อนข้อมูลผ่านแป้นพิมพ์ที่อาจเกิดความผิดพลาดได้ง่าย ข้อมูลที่ได้รับจากเครื่องอ่านบาร์โค้ดสามารถส่งต่อให้กับระบบการทำงาน เพื่อให้กระบวนการทำงานสามารถดำเนินการไปได้อย่างอัตโนมัติ เช่น ระบบเข้า-ออก สำนักงานของพนักงาน เป็นต้น ต้นทุนเครื่องอ่านบาร์โค้ดสูง แต่ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการทำงาน การเก็บข้อมูลด้วยเทคโนโลยีบาร์โค้ดทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการเก็บข้อมูลเนื่องจากการเก็บข้อมูลที่ผิดพลาด เป็นต้น การทำงานก็ง่าย สะดวก รวดเร็ว ประหยัดเวลา และมีความแม่นยำในการเก็บข้อมูล อุปกรณ์ก็มีความทนทาน แข็งแรง และด้วยความที่รวดเร็วมีประสิทธิภาพของข้อมูลก็ยังส่งผลทำให้เกิดรายได้ต่อองค์กรอีกด้วย

 

 

 

 

แหล่งที่มา

http://www.barcodethai.com/onlineth15/index.php?page=shop.browse&category_id=2&option=com_virtuemart&Itemid=27&vmcchk=1&Itemid=27

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที