TPA Magazine

ผู้เขียน : TPA Magazine

อัพเดท: 17 พ.ย. 2006 09.59 น. บทความนี้มีผู้ชม: 46314 ครั้ง

ในโลกปัจจุบันเราเห็นสิ่งของต่าง ๆ มากมาย ที่ทำด้วยพลาสติกอยู่ในแทบทุกหนทุกแห่ง เรียกได้ว่ามีของใช้ทำด้วยพลาสติกกันตั้งแต่ไม้จิ้มฟันไปจนถึงเรือรบ ที่เป็นเช่นี้เพราะว่าพลาสติกเป็นเครื่องอำนวยความสะดวกที่หาซื้อได้ง่าย และมีราคาไม่แพงมากนัก


ตอนที่ 2

ยุโรปห้ามผลิตของเล่นพลาสติกที่มีพาทาเลต
 
     เป็นเพราะ Plastiticlzers ที่เป็นพาทาเลตหลายตัวที่ใช้เพื่อทำให้เนื้อพลาสติกนุ่ม ในผลืตภัณฑ์ของเล่นพลาสติกพีวีซี เช่น ของเล่นที่มีเสียงดังรัว ของเคี้ยวเล่น สำหรับเด็กเล็ก จึงเป็นไปได้ว่าในขณะที่เด็กดูดหรือเคี้ยวของเล่นที่ทำด้วยพลาสติก ดังกล่าว อาจะกลืนพวก Plastiticlzers เหล่านี้เข้าไปด้วย
 
     European Commission: EC จึงออกข้อห้ามเกี่ยวกับของเล่นที่ทำจากพลาสติกพีวีซี ที่มีพาทาเลตเป็นส่วนประกอบอยู่ด้วย โดยเริ่มประกาศบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 1 ธันวาคม 2542
 
     ดังนั้น ผู้ประกอบการใดจะนำเข้าของเล่นพลาสติกเข้าไปขายในตลาดยุโรป ก็ต้องปฏิบัติตามข้อบังคะบนี้ด้วย
 
ขวดนมพลาสติก
 
     ขวดนมพลาสติกที่มียี่ห้อเป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย ส่วนใหญ่ทำด้วยโพลิคาร์บอเนต ไม่ใช่พลาสติกที่ค่อนข้างจะปลอดภัยเนื่องจากไม่มี Plastiticlzers ที่เป็นพาทาเลตอยู่ด้วย
 
     "แล้วสารอื่นในเนื้อพลาสติกโพลิคาร์บอเนตของขวดนม จะมีโอกาสออกมาปนกับอาหารหรือไม่?"
 
     คำตอบนี้พอจะได้จากข้อมูลของ American Plastics Council ซึ่งรายงานไว้ว่าในปี พ.ศ. 2542 คณะกรรมการอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกา สรุปการทดสอบหาสารซึ่งใช้เป็นวัตถุดิบคือ ไบฟีนอลเอ (BPA) จากภาชนะพลาสติกโพลิคาร์บอเนตสำหรับใส่อาหารและขวดนมว่า "เมื่อทดสอบขวดนมที่ทำด้วยโพลิคาร์บอเนตในสภาวะต่าง ๆ ปรากฏว่าไม่พบ BPA ออกมาจากขวดนม"
 
     ซึ่งไปตรงกับที่หน่วยงานราชการของประเทศอังกฤษลองทดสอบ ขวดนมโพลิคาร์บอเนตโดยวิธีล้างสเตอไรซ์ บรรจุน้ำและทำให้ร้อนด้วยไมโครเวฟหลาย ๆ ครั้ง ผลปรากฏว่าไม่พบ BPA ในน้ำในแต่ละครั้งเช่นกัน
 
     และก็ไม่พบ BPA ในอาหารหรือน้ำผลไม้ในการทดสอบหลาย ๆ รอบ โดยในแต่ละรอบของการทดลองก็มีการล้างหลาย ๆ ครั้ง แสดงว่าน่าจะใช้พลาสติกที่ทำจากโพลิคาร์บอเนตได้อย่างปลอดภัย
 
ป้องกันอันตรายจากพลาสติกได้อย่างไร
     แม้ว่าจะมีของใช้ที่ทำด้วยพลาสติกอยู่รอบ ๆ ตัว แต่เพื่อสุขภาพที่ดีแบบยั่งยืน เราก็ควรใช้ความพยายามหลีกเลี่ยงการใช้พลาสติกในชีวติประจำวันออกไปบ้าง
 
     คือควรพยายามทำให้สารเคมีในเนื้อพลาสติกเข้าสู่ร่างกายน้อย ๆ เข้าไว้ หรือเป็นแบบไม่ต่อเนื่อง เพื่อให้เซลล์ในร่างกายได้รับการรบกวนให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้
 
คำแนะนำต่อไปนี้เรียบเรียงจาก Aerias AQS IAQ Resource Center
 
     1.  พยายามใช้ของที่ผลิตจากธรรมชาติในชีวิตประจำวันแทนของใช้ที่ทำจาำกพลาสติก เช่น ใช้ชั้นวางของที่ทำจากไม้แทนชั้นพลาสติก ใช้ถูงผ้าใส่ของ แทนถุงพลาสติก เป็นต้น
 
     2.  ใช้อุปกรณ์ในครัวทำจากแก้ว หรือเซรามิก หรือโลหะ
 
     3.  อย่าใช้ภาชนะพลาสติกใส่อาหารสำหรับอุ่นหรือปรุงอาหารประเภทไขมัน เช่น เนย กะทิ ในเตาไมโีครเวฟ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอย่าฝช้ฟิมล์ยืดห่ออาหาร ที่มีไขมันปนอยู่ หรืออย่าอุ่น ทำให้ร้อนกับอาหารที่ยังห่อด้วยฟิมล์ยืดในเตาไมโครเวฟ เพราะสารเคมีพวก Plasticizers ปนกับอาหารได้
 
     4.  ถึงแม้ว่าจะมีพลาสติกนานาชนิด ที่ได้รับการออกแบบมาให้ใส่อาหาร เพื่อสามารถเก็บไว้ได้ในช่องแข็งในตู้เย็น หรือใช้กับเตาไมโครเวฟได้ หรือแม้กระทั่งใช้เป็นชั้นวางถ้วยชามในเครื่องล้างจานก็ตาม แต่ก็ถือว่าพลาสติกเหล่านี้เป็นพลาสติกใช้แล้วกลับมาใช้อีก จึงไม่ใช่พลาสติกใหม่ย่อมต้องมีเสื่อมไปเรื่อย ๆ Plasticizers ก็อาจจะออกมาเรื่อย ๆ ได้เหมือนกัน
 
     5.  ต้องแน่ใจว่าพลาสติกที่ใช้อุ่นอาหารนั้น ระบุแน่ชัดว่าเป็น Microwave Safe
 
     6.  ห้ามใช้พลาสติกซึ่งเป็นถาด หรือ กล่องพลาสติกสำหรับแช่แข็งที่เคยใช้แล้วมาสัมผัสกับอาหารโดยตรงอีก เพราะเมื่อปล่อยให้พลาสติกเหล่านั้น อุ่นขึ้นแม้จะเป็นอุณหภูมิปกติทั่ว ๆ ไปก็ตาม อาจมีสารพลาสติกออกมาได้
 
     7.  ห้ามอุ่นอาหารหรือละลายน้ำแข็งในอาหารที่ห่อด้วยพลาสติกใด ๆ เช่น ถุงพลาสติก ฟิล์มยืดห่ออาหาร ฯลฯ
 
     8.  แนะนำให้ซื้อเนื้อสัตว์จากคนแล่เนื้อโดยตรงและห่อเนื้อด้วยกระดาษ
 
     9.  ซื้อเนยแข็งจากวงล้อเฉพาะ และห่อด้วยกระดาษก่อนใส่ถุงพลาสติก
 
     10. ให้ใช้ฟิล์มยืดห่ออาหารที่ทำด้วยโพลิเอทิลีนแทนพีวีซี เพราะผลิตภัณฑ์โพลิเอทิลีนไม่ใส่ plasticizers
 
     11.  หลีกเลี่ยงการใช้พลาสติกพีวิซีที่เป็น #3 Recycling Code แต่หากเป็น #1 และ #2 Plastics น่าจะปลอดภัยกว่า เพราะเป็นพลาสติกที่ปราศจากคลอรีน
 
     12.  ถ้าซื้อเนยแข็งหรืออาหารที่มีไขมันซึ่งห่อด้วยฟิล์มยืด ให้แล่ส่วนที่สัมผัสกับฟิล์มยืดออกไป
 
     13.  สำหรบท่อส่งผ่านอาหารใด ๆ เช่น ท่อส่งนม ท่อส่งน้ำผลไม้ ควรใช้ท่อที่ทำจากวัสดุธรรมชาติแทนท่อพีวีซี เพื่อหลีกเลี่ยงสารเคมีปะปนมากับอาหาร
 
     14. ใช้ภาชนะสำหรับอาหารจานด่วนที่ทำจากพืชต่าง ๆ แทนภาชนะพลาสติก ทุกวันนี้ในสหรัฐอเมริกามีการใช้ข้าวโพด ข้าวสาลี ฯลฯ มาทำภาชนะใส่อาหาร ในประเทศไทยก็มีทำกันบ้างแล้ว โดยใช้มันสำปะหลังมาดัดแปลงทำเป็นถ้วยชามแต่ยังมีการใช้ไม่แพร่หลายนัก เพราะราคายังค่อนข้างแพงอยู่
 
     หลายปีที่ผ่านมา เรื่องของพลาสติกที่ใกล้ตัวเรา โดยเฉพาะพลาสติกที่ต้องสัมผัสกับอาหาร เพื่อรักษาให้อาหารสดอยู่เสมอนั้น มีข้อถกเถียงในเรื่องความปลอดภัยจากการใช้อยู่เสมอ มีทั้งกลุ่มต่อต้าน และสนับสนุนให้ใช้
 
     นักวิชาการบางท่านก็บอกว่า ทดสอบแล้วเจอสารจากพลาสติกปนเปื้อนเข้ามาในอาหาร ในขณะที่ผู้ผลิตก็อ้างว่าผลวิจัยพบว่าใช้พลาสติกแล้วมีความปลอดภัย ที่เจอสารเคมีในพลาสติกปนเปื้อนออกมานั้น ก็เป็นเพราะผู้ใช้ขาดความรู้ ความเข้าใจ และนำไปใช้แบบผิดประเภท คือไม่รู้จักใช้ให้เหมาะสมกับงาน เช่น ใช้ภาชนะพลาสติกที่ไม่เหมาะกับอาหารไขมัน เลยทำให้มีการละลายของสารเคมีในเนื้อพลาสติกนั้น ๆ  ออกมาปนกับอาหารได้ เป็นต้น
 
     เมื่อเป็นเช่นนั้นในฐานะผู้ใช้อย่างเราก็ต้องระวังตนเองด้วยการรู้จักใช้พลาสติก อย่างรู้เท่าทัน หรือรู้จักหลีกเลี่ยงไปใช้สิ่งของอื่นที่ปลอดภัยกว่า
 
     แต่ถ้าไม่สามารถเลี่ยงได้จริง ๆ เดาว่ากลืนกินหรือหายใจเอาสารพลาสติกเข้าไปในตัวเราเข้าบ้างแล้ว ขอแนะนำให้ใช้วิธีขับสารพิษออกจากร่างกายไปบ้าง เช่น ออกกำลังกายเพื่อให้ของเสียทั้งหลายออกทางเหงื่อมาก ๆ หรือล้างพิษ ซึ่งมีสารพัดวิธีด้วยกัน มาช่วยอีกทางหนึ่ง
 
     วันนี้ท่านระวังการใช้พลาสติกแล้วหรือยัง


โดย : กรรณิการ์ โตประเสริฐพงศ์
ขอขอบคุณ : วารสาร For Quality

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที