TPA Magazine

ผู้เขียน : TPA Magazine

อัพเดท: 17 พ.ย. 2006 09.59 น. บทความนี้มีผู้ชม: 46800 ครั้ง

ในโลกปัจจุบันเราเห็นสิ่งของต่าง ๆ มากมาย ที่ทำด้วยพลาสติกอยู่ในแทบทุกหนทุกแห่ง เรียกได้ว่ามีของใช้ทำด้วยพลาสติกกันตั้งแต่ไม้จิ้มฟันไปจนถึงเรือรบ ที่เป็นเช่นี้เพราะว่าพลาสติกเป็นเครื่องอำนวยความสะดวกที่หาซื้อได้ง่าย และมีราคาไม่แพงมากนัก


ตอนที่ 1

ในโลกปัจจุบันเราเห็นสิ่งของต่าง ๆ มากมาย ที่ทำด้วยพลาสติกอยู่ในแทบทุกหนทุกแห่ง เรียกได้ว่ามีของใช้ทำด้วยพลาสติกกันตั้งแต่ไม้จิ้มฟันไปจนถึงเรือรบ ที่เป็นเช่นี้เพราะว่าพลาสติกเป็นเครื่องอำนวยความสะดวกที่หาซื้อได้ง่าย และมีราคาไม่แพงมากนัก
 
     แต่ใด ๆ ในโลกนี้เมื่อมีคุณมากก็อาจมีโทษมากด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะพลาสติกใกล้ตัว เช่น ขวดใส่น้ำ หลอดดูด ชาม ฯลฯ ใช้กันมากในชีวิตประจำวัน ในขณะที่ผู้ใช้เองก็ไม่ทราบว่าอาจจะมีสารเคมีอันตราย ในพลาสติดเหล่านี้หลุดเข้าสู่ร่างกายโดยไม่รู้ตัว
 
      พาทาเลต (phthalates) เป็นสารเคมีก่อมะเร็งยอดฮิตตัวหนึ่ง ที่มีโอกาสหลุดจากหลุดจากเนื้อพลาสติกเข้าสู่ร่างกายของคนเราได้เสมอ
 
     ผู้เขียนจำได้ว่าเมื่อปีที่แล้วมีนายแพทย์ท่านหนึ่งให้สัมภาษณ์ทางทีวีหลายช่อง ด้วยเรื่องของพาทาเลตว่าพบสารตัวนี้ออกมาจำนวนหนึ่งในของเหลว ที่มีหลอดดูดพลาสติกจุ่มวางแช่อยู่ในตู้เย็น นี่แสดงให้เห็นว่าแม้กระทั่งหลอดดูดในน้ำหรือน้ำผลไม้ ซึ่งจุ่มอยู่ในอุณหภูมิที่คาดไม่ถึงว่าจะมีปัญหาก็ยังไม่ปบอดภัย และก็ไม่เห็นผู้ผลิตภาชนะพลาสติกหรือหน่วยงานอื่นใดที่เกี่ยวข้องสักราย ออกมาแย้งว่าไม่เป็นความจริง
 
     จึงสงสัยอยู่จนทุกวันนี้ว่าพาทาเลตที่ออกจากพลาสติกมาปนอยู่กับน้ำ และอาหารได้นั้นมีจำนวนมากน้อยแค่ไหน ในแต่ละวันเรารับสารตัวนี้ เข้าไปมากแล้วหรือยัง แล้วใครจะช่วยปกป้องผู้บริโภคในเรื่องนี้ได้บ้าง
 
      ในสารพัดข้อสงสัยนี้ยังไม่มีคำตอบ แต่จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับพาทาเลต ให้ท่านผู้อ่านรับทราบเพื่อจะได้รู้รักระวังอันตรายที่แอบแฝงอยู่ใกล้ตัว
 
พาทาเลตอยู่ในพลาสติกใดบ้าง
 
     พาทาเลตมีอยู่ในพลาสติกอ่อนประเภท Soft Vinyl Products มีผสมอยู่ประมาณ 40% โดยน้ำหนัก และพลาสติกประเภทนี้ เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในทุกหนทุกแห่ง ดังนี้
 
  • ภาชนะใส่อาหาร เช่น ขวด ชาม ฟิล์มยึดห่ออาหาร
  • เฟอร์นิเจอร์ เช่น พื้นวอลเปเปอร์
  • เครื่องมือทางการแพทย์ เช่น IV ท่อสำหรับระบาย ถุงใส่เลือด
  • ของสำหรับเด็กเล็ก เช่น ขวดนม ของเล่น ของขบเคี้ยวเล่น
  • ฯลฯ
 
     ปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกา กำหนดให้มีพาทาเลตในพลาสติกได้ไม่เกิน 30%
 
พาทาเลตเป็นอย่างไร
 
พาทาเลตมีสูตรทางเคมีทั่วไปเป็น
     สารเคมีตัวนี้ใช้กันมากในผลิตภัณฑ์พลาสติกประเภทพีวีซีที่เป็น Consumer Products ใช้เป็น Plasticzers คือสารที่ทำให้เกิดความความอ่อนตัวในเนื้อพลาสติก ดังนั้น ผลิตภัณฑ์พลาสติกพีวีซีที่มีความยืดหยุ่นหรืออ่อนตัวได้ ก็จะมีพาทาเลตอยู่ด้วยในเนื้อพลาสติกนั้น
 
พาทาเลตที่ใช้ในวงการพลาสติก มีดังนี้
  • DEHP หรือ Di (2-ethylhexyl) Phthalate ใช้ผสมในพลาสติกพีวีซี เพื่อทำให้เนื้อพลาสติกอ่อนตัวหรือนุ่มขึ้น ได้แก่ ถุงหรือห่อพลาสติก และฟิล์มยืดห่อสำหรับอาหาร ของเล่น เครื่องมือแพทย์ รวมถึงวัสดุในงานก่อสร้าง
     ผู้เชี่ยวชาญจาก Health Care With-out Harm: HCWH ประเทศสหรัฐอเมริกาอธิบายว่า จากการทดสอบผลของพาทาเลตชนิดนี้ ในสัตว์ทดลองในห้องปฏิบัติการหลาย ๆ แห่งได้ผลตรงกันว่า สารนี้จะเป็นอันตรายอย่างร้ายแรงต่อร่างกาย คือ จะไปรับกวนอวัยวะต่าง ๆ ได้แก่ ตับ ไต ปอด ระบบสืบพันธุ์ ฯลฯ รบกวนหนักเข้าเซลล์ในร่างกายก็กลายพันธุ์ ไปเป็นมะเร็งในที่สุด
 
     และมีการวิจัยจาก Center for Disease Control เมื่อ พ.ศ. 2544 ระบุย้ำว่า พาทาเลตเข้าสู่ร่างกายของเราได้แน่นอน โดยผ่านทางกิน หายใจ สัมผัสทางผิวหนัง และจากการถ่ายเลือด
 

     จากจากนี้ยังมีรายงานจาก Consumer Reports ว่าจากการทดสอบเนยแช็ง ที่ห่อหุ้มด้วยฟิล์มยืดห่ออาหารจาก 14 ยี่ห้อใน 14 ประเทศ พบว่ามี DEHP ปนอยู่ในปริมาณสูง คนที่ได้รับประทานเนยแข็งทุกวันก็จะได้ DEHP เป็นของแถมสะสมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยซึ่งเป็นเหตุทำให้ร่างกาย เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งมากขึ้น

 
     และพบว่ามีระดับ DEHP ปานกลางในเนยแข็งที่ห่อด้วยฟิล์มยืดห่ออาหาร ประเภทหดตัวได้ อีกทั้งพบว่ามี DEHP น้อยหรือไม่พบเลยในเนยแข็ง ที่ห่อด้วย Laminated Foll
 
      มีการทดสอบต่อไปอีกว่า เมื่อห่อแฮมเบอร์เกอร์ด้วยฟิล์มยืดห่ออาหารจาก 7 ยี่ห้อใน 7 ประเทศ พบว่ามีการปนเปื้อนของพาทาเลตที่ผิวของแฮมเบอร์เกอร์ จากฟิล์มยึด 2 ใน 7ยี่ห้อนั้น
 
     โดยพบ DEHP ในปริมาณน้อยและเมื่อลองใส่แฮมเบอร์เกอร์ในชามพลาสติก สำหรับใช้กับไมโครเวฟยี่ห้อดัง ๆ แล้วอุ่น ปรากฏว่า ไม่พบสาร DEHP ใด ๆ ออกมา
 
     น่าจะแสดงให้เห็นว่าพาทาเลตจะออกมามากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับอาหารนั้นมีไขมันมากน้อยแค่ไหนและขึ้นอยู่กับคุณภาพ ของพลาสติกที่ใช้ห่ออาหารนั้นด้วย
 
     คือถ้าอาหารมีไขมันมากแล้วห่อด้วยพลาสติกยี่ห้อดังแค่ไหนก็ไม่พ้นที่พาทาเลต จะออกมาปนได้ แต่ถ้าอาหารมีไขมันน้อยหากใช้ภาชนะพลาสติกที่มีคุณภาพดี โอกาสที่พาทาเลตจะหลุดออกมาปนกับอาหารก็จะน้อยเช่นกัน
 
     แต่ไม่ว่าอาหารนั้นมีไขมันด้วยหรือไม่ก็ตาม พาทาเลตก็มีโอกาสหลุดจาก พลาสติกออกมาปนกับอาหารได้เสมอ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะเทคโนโลยีในการผลิตพลาสติกยังไม่ดีพอ
 
     ข้อมูลของสถาบัน HCWH ให้ความเห็นว่า การที่พาทาเลตหลุดออกจากเนื้อพลาสติกในอาหารได้ง่ายนั้น อาจเป็นเพราะว่าโครงสร้างเคมีของ DEHP ไม่มีแขนจับพลาสติกไวนิล จึงมีส่วนหนึ่งที่ DEHP สามารถออกมาจากเนื้อพลาสติกได้
 
  • DINP หรือ Diisononyl Phthalate มีอยู่ในเสื้อชุดทำสวน รองเท้า ของเล่น วัสดุก่อสร้าง
  • DBP หรือ Di-n-butyl Phthalate มีอยู่ในลวดและสายเคเบิ้ล รองเท้า ด้านหลังพรมปูพื้น เส้นขอบสระน้ำ
  • Butyl Benzyl Phthalate มีอยู่ในแผ่นกระเบื้องไวนิล ยานพาพนะที่มีตีนตะขาบสำหรับขนส่งอาหาร หนังฟอกปลอม
  • DOP หรือ Di-n-octyl Phthalate มีอยู่ในวัสดุทำพื้น พรม ผ้าใบ ผ้าคลุมโน๊ตบุ๊ค ถุงใส่เลือด
 
     ในอดีต DOP ในสหรัฐอเมริกาใช้เป็น Plastiticlzers ในผลิตภัณฑ์พลาสติกประมาณถึง 9 ตันในทุก ๆ ปีจนกระทั่งในปี พ.ศ. 2530 เป็นที่สงสัยว่า สารตัวนี้น่าจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็ง เพราะพบว่ามีสารตัวนี้ในเลือดที่บรรจุอยู่ในถุงพลาสติกที่มี Plastiticlzers เป็น DOP จึงมีการหยุดใช้ผลิตในถุงเลือดจนถึงทุกวันนี้
 
  • Di-n-hetyl Phthalate มีอยู่ในชิ้นส่วนรถยนต์ เครื่องมือต่าง ๆ ตะกร้าในเครื่องล้างชาม พื้น ผ้าใบกันน้ำ ผ้ากันตัวไรหรือเห็บ
 
ยุโรปห้ามผลิตของเล่นพลาสติกที่มีพาทาเลต


โดย : กรรณิการ์  โตประเสริฐพงศ์
ขอขอบคุณ : วารสาร For Quality

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที