แพรวา

ผู้เขียน : แพรวา

อัพเดท: 25 พ.ย. 2011 04.06 น. บทความนี้มีผู้ชม: 3579 ครั้ง

งานกู้โรงงานหลังน้ำท่วม มีหลายงานที่ต้องดำเนินการ เพื่อให้ง่าย ก่อนอื่น ผู้จัดการโรงงาน ต้องทำตัวเป็นโปรเจ็คแมนเนเจอร์ ครับ


(ตอนที่ 1เช็คพ้อยท์ของโปรเจ็คแมนเนเจอร์ )

โดย อุดม สลัดทุกข์

ที่ปรึกษาอุตสาหกรรม สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี(ไทย-ญี่ปุ่น)

โครงการ: พัฒนาวิสาหกิจสู่ความเป็นเลิศ

 

เริ่มตรงไหนดี???

งานกู้โรงงานหลังน้ำท่วม มีหลายงานที่ต้องดำเนินการ เพื่อให้ง่าย ก่อนอื่น ผู้จัดการโรงงาน ต้องทำตัวเป็นโปรเจ็คแมนเนเจอร์ ครับ

เช็คพ้อยท์ของโปรเจ็คแมนเนเจอร์

  1. กำหนดวันเปิดทำการที่มีความเป็นไปได้ คร่าวๆ หลายคนอาจจะคิดว่า ยังไม่รู้อะไรเสียหาย เลยว่ามากน้อยแค่ไหน แล้วจะกำหนดได้อย่างไร? ก็บอกตรงนี้เลยครับว่า ให้คิดแบบ ร้ายแรงสุด เหมือนตอนสร้างโรงงานเสร็จใหม่ๆ เราก็กำหนดกันอย่างนี้ ที่เหลือจะเป็นการ นับถอยหลังว่าอะไรควรเสร็จวันไหน ไปจนวันเริ่มกู้
  2. แบ่งทีมคนในโรงงานเป็นทีมๆ และตั้งผู้กำกับ หรือ ผู้จัดการทีม พร้อมกำหนดภาระงาน พร้อมกำหนดว่า ทุกเย็นทุกทีม ต้องเข้าประชุมเพื่อรายงานความคืบหน้า พร้อมปัญหา ที่ต้องการการตัดสินใจหรือต้องการการสนับสนุน
    1. ทีมที่1.ทีมสำรวจเพื่อความปลอดภัย
    2. ทีมที่2.ทีมสนับสนุนด้านข้อมูลอะไหล่ ที่มีทั้งหมดในสโตร์ รวมถึงสารหล่อลื่น ทั้งหมดที่ต้องเตรียม น้อต โบ้ลท์ ที่ต้องใช้ เพราะของเดิมเป็นสนิม
    3. ทีมที่3.ทีมทำความสะอาดเครื่องจักร เป็นทีมที่มาจากฝ่ายผลิต เพราะตอนนี้เครื่อง จักรทำงานไม่ได้ ต้องผันตัวเองมาทำความสะอาด
    4. ทีมที่4.ทีม Overhaul เป็นทีมที่มาจากฝ่ายซ่อมบำรุง พยายามจับคู่กับทีมที่3
    5. ทีมที่5.ทีมรับประกันคุณภาพงาน เป็นทีมที่มาจากฝ่าย QA,QC ทำหน้าที่การันตีว่า เครื่องที่กู้ได้แล้วทำงานปกติ
    6. ทีมจัดซื้อ ที่มาจากสำนักงาน ลำพังจัดซื้อเดิมคงไม่พอ เพราะรายการที่ต้องซื้อมี จำนวนมาก เผลอๆ ต้องแย่งซื้อกันอีก เพราะท่วมก็พร้อมๆกัน กู้โรงงานก็พร้อมๆ กัน ทำให้ความต้องการมีมาก และอาจจะราคาแพงกว่าปกติ เนื่องจากดีมานด์มีมาก กว่าซัพพลาย เหมือนๆช่วงตุนอาหาร ที่บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปหมดชั้นวาง และจากที่ ราคาแพง ทำให้คนซื้อไม่มีอำนาจตัดสินใจ ต้องอาศัยผู้บริหารตัดสินใจอย่าง รวดเร็ว ยามนี้จุดตัดสินใจมีอย่างเดียวครับคือ ไม่ซื้อวันนี้แล้วจะเปิดโรงงานได้ทัน กำหนดไหม หากยังรอได้ก็ไม่เป็นไร แต่หากไม่ซื้อแล้วเปิดโรงงานล่าช้ากว่า กำหนด แบบนี้ไม่ควรทำ
  3. ทำแผนงานการกู้ขนาดใหญ่ติดในห้องประชุม ไม่ต้องสวย แต่เน้นสาระ ขีดเขียนได้ ไว้ ติดตามความคืบหน้า
  4. ผู้บริหาร ให้สแตนบาย หน้างานเพื่อการสั่งการ และตัดสินใจที่รวดเร็ว เน้นวันกำหนดเสร็จ

ทั้งหมดนี้ให้ทำก่อนน้ำลด ไม่ใช่น้ำลดแล้วค่อยมาทำ อย่าลืมว่าการเตรียมการที่ดี มีชัยไปกว่าครึ่ง!!!

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที