แพรวา

ผู้เขียน : แพรวา

อัพเดท: 25 พ.ย. 2011 17.26 น. บทความนี้มีผู้ชม: 4590 ครั้ง

จากการไฟฟ้านครหลวง(กฟน.)


โดยการไฟฟ้านครหลวง

คำเตือนและข้อแนะนำเพื่อความปลอดภัย จากการไฟฟ้านครหลวง(กฟน.)

เรื่อง อันตรายจากไฟฟ้าหลังน้ำลด

 

คำเตือนและข้อแนะนำเพื่อความปลอดภัย จากการไฟฟ้านครหลวง(กฟน.) เรื่อง อันตรายจากไฟฟ้าหลังน้ำลด มีดังนี้

1. ก่อนเข้าบ้าน หรือบริเวณบ้านต้องแนใจว่าได้ปลดเมนสวิตช์ หรือตัดไฟส่วนของชั้นล่างทั้งหมดออกแล้ว เพราะไม่ทราบว่ามีไฟรั่วที่ใดบ้าง

2. หากยังมิได้ตัดไฟหรือไม่แน่ใจ ไม่ควรสัมผัสวัสดุที่เป็นโลหะใดๆ ไม่ว่าจะเป็นกลอนลูกบิดประตู รั้วโลหะ กริ่งหน้าบ้าน ประตูอัตโนมัติ เป็นต้น

3. การเข้าบ้านให้ปลอดภัย แนะนำให้เตรียมไฟฉาย สวมถุงมือยางชนิดหนา อาจใช้ถุงมือผ้าสวมทับด้วยถุงมือยางชนิดบางก็ได้) และถ้ายังมีน้ำขัง แนะนำให้ใส่รองเท้าบูทยางที่ไม่มีรูรั่ว เพื่อให้สามารถเข้าไปปลดเมนสวิตช์เพื่อตัดไฟได้

4. เมื่อสามารถเข้าบ้านไปตัดไฟทั้งหมดได้แล้ว แนะนำดังนี้

ก. สำรวจการใช้ไฟฟ้าบริเวณบ้านในส่วนชั้นล่างทั้งหมด ว่ามีการต่อใช้ไฟฟ้าอะไรบ้าง รวมทั้งไฟรั้ว ไฟสนาม ไฟแสงสว่าง ปั๊มน้ำ แอร์ ตู้เย็น ประตูอัตโนมัติ บ่อเลี้ยงปลา ฯลฯ อุปกรณ์เหล่านี้ ต้องถอดปลั๊กออก หรือ ปลดที่สวิตช์ หรือ เบรกเกอร์เพื่อตัดการจ่ายไฟออกทั้งหมด (ควรทดสอบซ้ำด้วยการใช้ไขควงลองไฟ)

ข. อุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดที่ชื้นหรือผ่านน้ำท่วมข้างต้น ห้ามใช้งานโดยเด็ดขาด มิฉะนั้นอาจเกิดความร้อนจนถึงเพลิงไหม้ หรือไฟฟ้าดูดในระหว่างใช้งานได้

5. การฉีดน้ำ หรือชำระล้างทำความสะอาดบริเวณน้ำท่วม ต้องทำหลังจากได้ตัดการจ่ายไฟทั้งหมดออกก่อนแล้วเท่านั้น และต้องไม่ทำให้ส่วนที่สำคัญของอุปกรณ์ไฟฟ้าต้องเปียกหรือทำให้เสียหายมากขึ้น ยกเว้นได้ตัดสินใจว่าอุปกรณ์นั้นต้องเปลี่ยนใหม่อยู่แล้ว (หากใช้เครื่องฉีดน้ำไฟฟ้าที่รับไฟจากแหล่งจ่ายอื่นต้องมีการป้องกันหรือต่อผ่านเครื่องตัดไฟรั่ว)

6. ในส่วนของวงจรไฟฟ้า เช่น เต้ารับ สวิตช์ สายไฟฟ้าที่ชื้นเพราะถูกน้ำท่วม หากเป็นไปได้ แนะนำให้เปลี่ยนใหม่จะปลอดภัยที่สุด มิฉะนั้นต้องทำให้แห้ง และทำความสะอาดตัวนำ และหน้าสัมผัสโลหะต่างๆ โดยขจัดสิ่งสกปรกและคราบสนิมออก ขั้วต่อสายต่าง ๆ ต้องถอดทำความสะอาดแล้วขันใหม่ (อาจฉีดสเปรย์กันสนิมและไล่ความชื้นด้วยน้ำยาที่เหมาะสมและไม่มีผลต่อพลาสติก) ฉนวนสายไฟต้องไม่เสื่อมสภาพ และควรทดสอบทางไฟฟ้า เช่น ทดสอบสภาพฉนวนไฟฟ้าก่อนจ่ายไฟด้วย

7. อุปกรณ์ป้องกันและควบคุมต่างๆ ที่ทำหน้าที่ที่สำคัญ เช่น เบรกเกอร์ เครื่องตัดไฟรั่ว เมนสวิตช์ แผงสวิตช์ อุปกรณ์หรี่ไฟ แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ หากถูกน้ำท่วม แนะนำให้เปลี่ยนใหม่

8. อุปกรณ์ไฟฟ้า หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ แนะนำให้ตรวจสอบและซ่อมโดยปรึกษากับ บริษัทผู้ผลิต หรือตัวแทนจำหน่าย หรือผู้ที่เชี่ยวชาญโดยเฉพาะในอุปกรณ์นั้นๆ

หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสอบถาม วิศวกรจิตอาสา ชมรมวิศวกรการไฟฟ้านครหลวง (วศ.กฟน.) โทร. 02-256-3222 begin_of_the_skype_highlighting 02-256-3222 end_of_the_skype_highlighting

ที่มา: ชมรมวิศวกรการไฟฟ้านครหลวง https://twitter.com/MEA_Engineers

และ  www.kindaiproject.net  ศูนย์ความรู้กินไำ้ด้


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที