จิรารัตน์

ผู้เขียน : จิรารัตน์

อัพเดท: 06 ก.ค. 2012 10.04 น. บทความนี้มีผู้ชม: 5284 ครั้ง

ต้นไม้ทีคิวเอ็ม (อ.กิติศักดิ์ พลอยพานิชเจริญ)


ต้นไม้ TQM

 

 

 

อาจารย์ กิติศักดิ์  พลอยพานิชเจริญ แห่งคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ผู้เชี่ยวชาญด้านการควบคุมคุณภาพคนหนึ่งของเมื่องไทย ได้จินตนาการ “ระบบบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร” ว่าเปรียบเสมือน “ต้นไม้”ซึ่งต้องมีองค์ประกอบต่างๆดังแสดงในรูป กล่าวคือ

 

ถือว่า ”ปรัชญาและแนวความคิดพื้นฐานของทีคิวเอ็มเป็นรากแก้วที่ดูดน้ำและอาหารมาหล่อเลี้ยงต้นไม้ให้เจริญเติบโต “ระบบมาตรฐานวิธีการทำงาน (Standard Operation หรือ Procedure IOS-9000)”เป็นลำต้นที่รองรับกิ่งก้านและใบให้ยืนหยัดอยู่ได้อย่างมั่นคง “ระบบบริหารเข็มมุ่ง”(Hoshin Kanri & PDCA)” เป็นกิ่งก้านที่นำพาน้ำและอาหารไปแจกจ่ายส่งให้แก่ใบ ให้เกิดความชุ่มชื้นเขียวชอุ่ม ส่วน “เทคนิค,เครื่องมือ,และกิจกรรมกลุ่มย่อย”เป็นเสมือนใบที่ชูช่อรับแสงแดด-อ๊อกซิเจนทำให้เกิด “การสังเคราะห์แสง”อันเป็นที่มาของ “ชีวิตและชีวาของต้นไม้” และสร้างความสดชื่นคึกคักให้แก่ผู้พบเห็น

            แม้ว่า อ.กิติศักดิ์ จะเริ่มต้นความเชี่ยวชาญที่มีชื่อเสียงของตนเองจาก “การควบคุมคุณภาพเชิงสถิติ (Statistical Quality Control)”ซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากปรมาจารย์ชาวญี่ปุ่น แต่จากประสบการณ์ในการให้คำแนะนำปรึกษาแก่โรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่งในประเทศไทยมาจนถึงปัจจุบัน อ.กิติศักดิ์ กลับพบว่า “การเข้าใจปรัชญาและแนวความคิดของทีคิวเอ็มโดยผู้บริหารระดับสูง” เป็นรากแก้วที่สำคัญและเป็นจุดเริ่มต้นที่จำเป็นที่สุดในการนำระบบบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กรเข้ามาใช้ให้ประสบความสำเส็จ

            ผมได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับ “ผู้รู้จริง-ทำจริง” เรื่องที่คิวเอ็มในประเทศไทยหลายท่าน ซึ่งล้วนมีความเห็นตรงกันว่า “ความล้นเหลวในพยายามปรับปรุงคุณภาพของสินค้าของวิสาหกิจไทยที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เป็นเพราะผู้บริหารระดับสูงให้ความสนใจแต่เพียง “เทคนิค” หรือไมก็ “กิจกรรมกลุ่มย่อย”ซึ่งเป็นการผลักภาระการปรับปรุงคุณภาพไปให้แก่ผู้ปฏิบัติงานระดับล่างในสายการผลิต โดยที่พวกเขา(ผู้บริหารระดับสูง)ยังมิได้เข้าใจแนวความคิดของทีคิวเอ็มอย่างลึกซึ่งครบถ้วน ทั้งยังละเลยการสร้างระบบบริหารคุณภาพท่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีชีวิตชีวา อันเป็นภาระกิจสำคัญของพวกเขา”

            บทสรุปจากประสบการณ์ที่ผ่านมาดังกล่าวคงจะเป็น “ข้อพึงสังวรณ์” ที่มีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้บริหารระดับสูงในวิสาหกิจที่ตั้งใจจะนำระบบบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กรเข้ามาใช้

 

อ้างอิง: TQM LIVING HANDBOOK  An Executive Summary  ดร.วีรพจน์ ลือประสิทธิ์สกุล  พิมพ์ครั้งที่ 1 บริษัท โทเรอินเตอร์ เนชั่นแนลเทรดดิ้ง จำกัด


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที