TPA Magazine

ผู้เขียน : TPA Magazine

อัพเดท: 28 พ.ย. 2006 09.59 น. บทความนี้มีผู้ชม: 23804 ครั้ง

คำพูดที่ว่า ปรับตัวก่อน ได้เปรียบ ยังคงใช้ได้ดีจนกระทั่งทุกวันนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อโลก ธุรกิจในปัจจุบันก้าวเข้าสู่ยุคการค้าเสรี การแข่งขันทางการค้ามีความรุนแรงมากขึ้น ทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศ


ตอนที่ 1

คำพูดที่ว่า ปรับตัวก่อน ได้เปรียบ ยังคงใช้ได้ดีจนกระทั่งทุกวันนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อโลก ธุรกิจในปัจจุบันก้าวเข้าสู่ยุคการค้าเสรี การแข่งขันทางการค้ามีความรุนแรงมากขึ้น ทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศ ภายใต้สภาวการณ์เช่นนี้ ผู้ประกอบการจำเป็นต้อง พัฒนาองค์กรในทุกด้าน โดยเฉพาะกระบวนการผลิต เืพื่อให้มีศักยภาพสอดคล้องตาม มาตรฐานสากล และเป็นที่ยอมรับในระดับโลก ซึ่งแนวทางที่สำคัญประการหนึ่ง ในการเพิ่มขีดความสามารถของกระบวนการผลิต คือ การสอบเทียบ (calibration) เครื่องมือ
 
     การสอบเทียบเป็นกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ และ้เป็นกระบวนการหนึ่งในระบบมาตรวิทยา (metrology) ซึ่ง Internation Organization for Standardzation ได้ให้คำนิยามไว้ใน VIM 6.13 ว่า Set of operation that establish, under specifled conditions, the relationship between values of quantities indicated by a measuring instrument or measuringsystem, or values represented by a material measure or a reference material, and the corresponding values realized by standards.
 
ทำไมต้องสอบเทียบ
 
     คำถามยอดฮิตที่มีคนตั้งคำถามมากมายว่าทำไมต้องทำการสอบเทียบเครื่องมือวัด ก่อนอื่นต้องขอยกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนและใกล้ตัวเราที่สุด เช่น นาฬิกาข้อมือ ที่ใช้กันอยู่ทุกวัน เคยสังเกตบ้างไหมว่า ในตอนที่ซื้อนาฬิกามา เราจะทำการปรับตั้งเวลา ให้ถูกต้องกับเวลามาตรฐาน แต่่เมื่อใช้ไปซักพัก นาฬิกาอาจบอกเวลาช้าหรือเร็วกว่าปกติ ทั้งที่แบตเตอร์รี่ของนาฬิกายังอยู่ในสภาพที่สามารถใช้งานได้ดี นอกจากนี้บ่อยครั้งที่ ต้องทำการตรวจสอบว่านาฬิกายังคงบอกเวลาที่ถูกต้องอยู่หรือไม่ โดยอาจเทียบกับเวลาเคารพธงชาตื 08.00 น. หรือ 18.00 น. หรือเทียบกับเวลามาตรฐาน ที่หมายเลขโทรศัพท์ 181 ซึ่งการตรวจสอบนี้จะกระทำเป็นระยะ ๆ เำพื่อให้แน่ใจว่า นาฬิกาของเรายังคงบอกเวลาได้ถูกต้องอยู่เสมอ ทั้งนี้เนื่องจากว่าถ้านาฬิกาสามารถบอกเวลา ได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ ย่อมจะไม่กระืทบต่อกิจกรรมและการดำเนินชีวิตประจำวัน และยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยสนับสนุนให้การดำเนินงานต่าง ๆ ประสพความสำเร็จได้อย่างราบรื่น เช่น การประชุม การนัดหมาย หรือการปฏิบัติงานต่าง ๆ เป็นต้น
 
     เครื่องมือวัดที่ใช้ในกระบวนการผลิตของภาคอุตสหกรรมก็เช่นกัน โรงงานอุตสหกรรมก็จะมี กระบวนการในการตรวจสอบและสอบเทียบเครื่องมือวัดให้มีความถูกต้องตามขอบข่าย ความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้และกำหนดไว้ เพื่อให้ได้มาตรฐาาก่อนนำออกจำหน่าย เมื่อภาคอุตสาหกรรมอื่น ๆ สั่งซื้อเครื่องมือดังกล่าว ก็จะำได้รับรองผลการตรวจสอบ (inspection certificate) หรือใบรับรองผลการสอบเทียบ (colibration certificate) เครื่องมือวัดนั้น ๆ มาด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อตกลงในการสั่งซื้อ โดนในใบรับรองผลการตรวจสอบหรือผลการสอบเทียบจะระบุสมบัติเฉพาัะต่าง ๆ ของเครื่องมือ เช่น พิสัยการวัด (range) ค่าความละเอียด (resolution) ค่าความถูกต้อง (accuracy) และสภาวะแวดล้อม ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้นที่เครื่องมือสามารถทำงานได้ เป็นต้น
 

     แต่เครื่องมือถูกนำไปใช้งานระยะหนึ่ง อายุของส่วนประกอบและเครื่องมือวัดที่ใช้งาน อาจมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งความเปลี่ยนแปลงหรือความคลาดเคลื่อนของผลการวัดที่เกิดขึ้นนี้ อาจเกิดจากการ Drift หรือการลอยเลื่อน (มอก. 235 เล่ม 14) หมายถึง การแปรผันอย่างช้า ๆ ตามเวลาของลักษณะทางมาตรวิทยาของเครื่องมือวัด อันเนื่องมาจากสภาวะแวดล้อมต่าง ๆ เช่น อุณหภูมิ ไฟฟ้า เคมี หรือช่างกล เป็นต้น นอกจากนี้ ผ๔้ใช้งานเครื่องมือวัดจะต้องตระหนักอยู่เสมอว่า การเสื่อมสภาพของเครื่องมือวัด ยังสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งจากการใช้งานและการเก็บรักษาอีกด้วย ฉะนั้น เมื่อเครื่องมือวัดอยู่ในสภาวะดังกล่าว สิ่งที่ตามมาคือเึครื่องมือวัดที่เึคยบอกค่าการวัดที่ถูกต้อง อาจบอกค่าที่คลาดเคลื่อนไปจากเดิม ส่งผลให้ผลการวัดที่ได้รับไม่น่าเชื่อถือ หรือหากนำเครื่องมือดีงกล่าวไปใช้งานในกระบวนการผลิตย่อมส่งผลกระทบต่อคุณภาพของ การออกแบบและกระบวนการผลิต การ Drift หรือการเปลี่ยนแปลงของเครื่องมือวัด ไม่สามารถกำจัดได้ แต่สามารถที่จะตรวจพบและแก้ไขได้โดยผ่านกระบวนการสอบเทียบ ด้วยการใช้ตัวมาตรฐานการวัดที่สามารถสอบกลับได้สู่มาตรฐานแห่งชาติเพื่อสอบเทียบ ให้กับเครื่องมือวัดที่ใช้ในกระบวนการผลิต

 

     ดังนั้นการสอบ เทียบจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญ ที่ช่วยสร้างความมั่นใจในผลการวัดของเครื่องมือวัดทุก ๆ ประ้เภท ไม่ว่าจะเป็น เครื่องมือวัดที่ใช้ในกระบวนการผลิต การทดสอบ และการวิเคราะห์ต่าง ๆ เพราะองค์ประกอบ ที่สำคัญที่สุดในการที่จะทำให้ผลการวัดที่เกิดขึ้นเป็นที่เชื่อถือได้ คือการใช้เึครื่องมือวัด ที่มีความถูกต้องและแม่นยำ เหมาะสมกับการปฏิบัติงานนั่นเอง


องค์ประกอบของการสอบเทียบเครื่องมือวัด
 
     องค์ประกอบของการสอบเทียบเครื่องมือวัด ที่กำหนดไว้ในมาตรฐาน IOS/IEC 17/025 ประกอบด้วย 4 ส่วนใหญ่ ๆ คือเครื่องมือวัดอ้่างอิง (reference standards equipment) ห้องปฏิบัติการสอบเทียบ (laboratory) บุคลากรผู้ทำหน้าที่ในการสอบเทียบ (personnel) และวิธีการสอบเทียบ (method)

องค์ประกอบที่กล่าวมานี้ เป็นปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลให้การสอบเทียบมีความถูกต้อง แม่นยำ ด้วยเหตุผลดังต่ิอไปนี้
 
     1. การเลือกเครื่องมืิอมาตรฐาน ISO 10012-1 กล่าวไว้ว่า เครื่องมือมาตรฐานที่นำมาเพื่อ ให้เครื่องมือวัดอื่น ๆ ได้ใช้เปรียบเทียบ จะต้องมีความถูกต้องสูงกว่าึความถูกต้อง ของเครื่องมือที่รับการสอบเทียบ 3 เท่าขึ้นไป (ISO 10012) และที่สำคัญคือ เครื่องมือวัดนั้นจะต้องมีความสามารถสอบกลับได้ (traceability) สู่มาตรฐานการวัดแห่งชาติ หรือหน่วยมูลฐาน (SI Units)
 
     2. หัวใจสำคัญของการสอบเทียบที่ขาดไม่ได้คือ การสอบกลับได้ผลการวัด เนื่องจากจะเป็นสิ่งแสดงถึงลำดับความสัมพันธ์ที่จะทำให้การสอบเทียบเครื่องมือบรรลุผล โดยการใช้มาตรฐานที่มีความถูกต้องสูงกว่า นั่นหมายความว่าผลของการวัดจะต้องสามาุรถ แสดงถึงการส่งต่ิอความถูกต้องของการวัดที่ยอมรับได้ ถ่ายทอดผ่านห้ิองปฏิบัติการหลายระดับ จนถึงผู้ใช้งาน ซึ่งสามารถอธิบายได้ดังตัวอย่างต่อไปนี้

3. การควบคุมสภาวะแวดล้อมห้องปฏิบัติการให้มีความเหมาะสม ทั้งในด้านอุณหภูมิ ความชื้น แสงสว่าง และการสั่นสะเทือน จะส่งผลต่ิอประสิทธิภาพและความถูกต้องของการสอบเทียบ
 
     4. ความสามารถของบุคลากร จะต้องได้รับการศึกษา ฝึกอบรม และสั่งสมประสบการณ์ ในเกณฑ์ที่จะสามารถให้ผลการสอบเทียบที่ถูกต้องได้ เนื่องจากบุคลากรเหล่านี้จะต้องทำหน้าที่ ในการสอบเทียบรวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลและการประเมินความไม่แน่นอนของการวัด
 

     5. การเลือกใข้วิธีการที่เหมาะสม เำีพราะการเลือกวิธีการสอบเทียบที่เหมาะสม จะทำให้ได้ความถูกต้องของการตรวจสอบเทียบที่ต้องการ รวมทั้งมีความสะดวกและค่าใช้จ่ายต่ำ ปัจจุบันมีวิธีการสอบเทียบมากมาย เช่นวิธีการสอบเทียบตามมารตฐาน ISO, ASTM, DIN และ JIS เป็นต้น



โปรดติดตามตอนต่อไป



โดย : ธ.ธัญญรัตน์ และอนุสรณ์  ทนหมื่นไวย
ขอขอบคุณ : วารสาร For Quality

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที