ผมจั่วหัวข้อนี้ด้วยการนำส่วนหนึ่งของบทความที่แล้วมาเกริ่นก่อน และกำลังจะบอกพวกเราว่า ผมลืมเครื่องมือในการวิเคราะห์ที่น่าสนใจอีกเครื่องมือหนึ่ง นั่นคือ การวิเคราะห์หาสาเหตุ เชิงเปรียบเทียบ
ที่มา
เรามักพบว่าในโรงงานหลายโรงงานด้วยกันมีเครื่องจักรที่ทำงานอย่างเดียวกัน หลายเครื่อง มีที่ซื้อมาพร้อมกัน และ ไม่พร้อมกัน จึงทำให้เกิดความแตกต่างในด้านเครื่องจักร หรือคุณภาพที่ออกมา และเมื่อเครื่องจักรเริ่มเก่า พนักงานมักวิเคราะห์ว่าเครื่องจักรเก่า และมักไม่นำไปสู่การแก้ไขและปรับปรุง
แนวคิด
เครื่องจักรเก่า มักขาดการดูแลที่ดี ดังนั้นเพื่อกู้สภาพเครื่องจักรเก่าให้คืนสภาพเดิมจึงสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการปรับปรุงได้
แนวทาง
ศึกษาวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบครับ ด้วยการให้กลุ่มแก้ไขปัญหา ศึกษาสภาพเครื่องจักรเชิงเปรียบเทียบ กับเครื่องจักรที่มีสภาพที่ดี หรือเครื่องจักรประเภทเดียวกันแต่ให้ผลงานที่ต่างกันทั้งในแง่คุณภาพและผลผลิต โดยให้ลิสรายการทั้งหมดที่เกี่ยวข้องของอุปกรณ์ สภาพต่างๆ มาเปรียบเทียบกัน เมื่อลงไปดูของจริง เราก็จะพบจุดที่เป็นปัญหา และสามารถนำไปสู่มาตรการในการแก้ไข หรือปรับปรุงได้
อนึ่ง เครื่องจักรที่เราซื้อมานั้น วิศวกรจำเป็นต้องปรับปรุง เปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมกับสภาพการใช้งานด้วย ไม่เช่นนั้น เราก็จะเรียกวิศกรที่ใช้เครื่องจักรโดยไม่ปรับปรุงอะไรเลยว่า วิศวกรแคทตาล็อก
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที