ขนิษฐา

ผู้เขียน : ขนิษฐา

อัพเดท: 13 มี.ค. 2007 14.31 น. บทความนี้มีผู้ชม: 929200 ครั้ง

สร้างเสริมการเรียนรู้ โดย นักศึกษามหาวิทยาลัยศรีปทุม ชั้นปีที่ 1


ทำไมถึงต้องมี(ซื้อ)บ้าน

นักศึกษา  นายเสกสรร   คำสม

                   ความหมายและองค์ประกอบของลักษณะที่อยู่อาศัย

 

                ความหมายของคำว่า    ที่อยู่อาศัยหรือบ้าน    ได้มีผู้ให้คำจำกัดความไว้มากมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถานได้ให้ความหมายของคำว่า   “บ้าน”     ไว้ว่าเป็นคำนาม   หมายถึงที่อยู่  บริเวณที่ตั้งเรือนอยู่   ถิ่นที่มนุษย์อยู่   คำว่า   บ้านในเอกสารการวิจัยครั้งนี้   ก็ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า   บ้านหมายถึงสิ่งปลูกสร้าง   เป็นที่อยู่อาศัย   ที่นับทั้งตัวอาคารและบริเวณที่อาคารตั้งอยู่   บ้าน   หมายถึง   โครงสร้างที่ถูกใช้เพื่อการอยู่อาศัยของมนุษย์   บ้านเป็นหนึ่งในปัจจัย   4   เป็นความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ในการดำรงชีวิต

                หากจะมององค์ประกอบของลักษณะที่อยู่อาศัยที่สำคัญแล้ว   คงสามารถเชื่อมโยงได้กับแนวความคิดในการที่อยู่อาศัยได้    เพราะปัจจัยในการเลือกที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคนั้น   ก็คือ  องค์ประกอบของลักษณะที่อยู่อาศัยที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญนั่นเอง

                Jay   Siehel  (Hirch   1973  :  56-57)    ได้กล่าวถึงหลักเกณฑ์ในการเลือกที่อยู่อาศัยว่ามีปัจจัย   3  ประการคือ

1.       ความสะดวกในการเข้าถึง

2.       คุณภาพของสิ่งแวดล้อม  เช่น  ลักษณะทางสังคมของชุมชน  สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ   บริการสาธารณะสำหรับชุมชน  ความพึงพอใจได้รับจากที่ตั้งนั้น  เป็นต้น

3.       ลักษณะที่ดินที่ใช้ในการปลูกบ้านและทำเลที่ตั้ง

 

William   Alonso   (Murphy   1975  :  435)    กล่าวว่าการเลือกบริเวณที่อยู่อาศัยในเมืองมี

ความสัมพันธ์กับราคาที่ดิน   กล่าวคือ   บริเวณใจกลางเมือง   ราคาที่ดินจะสูงกว่าบริเวณอื่น ๆ   ดังนั้น   การสร้างที่อยู่อาศัยในเมืองจึงจำเป็นต้องลงทุนสูง    ในขณะเดียวกันราคาที่ดินจะค่อย ๆ  ลดลง   ตามระยะทางที่ห่างออกไปจากตัวเมือง  ทำให้การลงทุนด้านที่อยู่อาศัยลดลงด้วย    แต่ราคาที่ดินยังผันแปรกับค่าขนส่ง   คือระยะทางไกล   ราคาที่ดินถูกลงก็จริง   แต่จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางสูงขึ้น   ดังนั้น   ผู้ที่มีรายได้สูงย่อมมีโอกาสเลือกที่อยู่นอกเมือง   ขณะที่ผู้มีรายได้ต่ำต้องอาศัยแออัดในเมือง    Alonso     ได้กล่าวสรุปว่าการเลือกบริเวณที่อยู่อาศัยควรพิจารณาปัจจัย  3  ประการ  คือ

1.       ราคาของที่อยู่อาศัยซึ่งสัมพันธ์กับรายได้   และความสามารถในการจ่ายสำหรับที่อยู่

อาศัย

                2.   รูปแบบของที่อยู่อาศัย   ที่ก่อให้เกิดความพอใจแก่ผู้อยู่อาศัย   ซึ่งจะสัมพันธ์กับขนาด

      ครอบครัว  และสถานภาพสมรสด้วย

                3.   ที่ตั้งของที่อยู่อาศัยจะสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม   และระยะห่างจากที่ทำงานด้วย  ภาย

       นอกซึ่งได้แก่   ลักษณะทางกายภาพและสิ่งแวดล้อมของพื้นที่นั้น ๆ

                จากแนวคิดและทฤษฎีต่าง ๆ  ที่กล่าวมาในข้างต้นเราพอจะสรุปองค์ประกอบที่สำคัญของที่อยู่อาศัยออกได้ดังนี้

1.       ทำเลที่ตั้ง

2.       ลักษณะของตัวอาคาร

3.       สภาพแวดล้อมชุมชน

4.       ราคา

 

      มนุษย์กับความต้องการที่อยู่อาศัย

                ที่อยู่อาศัยเป็นสถาปัตยกรรมที่สนองความต้องการพื้นฐาน  ในการดำรงชีวิตของมนุษย์  โดยทั่วไปและพฤติกรรมการอยู่อาศัยของมนุษย์มีความต้องการพื้นฐานน้อยที่สุด   คือ   กิน   นอน  พักผ่อน   ดังนั้นรูปแบบของที่อยู่อาศัยจึงถูกสร้างขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการพื้นฐานดังกล่าวในเบื้องต้น

                ที่อยู่อาศัยเป็นสินค้าที่สามารถตอบสนองความต้องการมนุษย์ได  3  ทางคือ

1.       ตอบสนองความต้องการทางด้านร่างกาย

กล่าวคือ   บ้านเป็นหนึ่งในปัจจัย  4   ที่มีความสำคัญ   จำเป็นต่อการดำรงชีพพื้นฐานของ

มนุษย์เป็นที่ที่ใช้สำหรับ   การกินอยู่   หลับนอน   คอยคุ้มแดดคุ้มฝน   เป็นที่สำหรับคุ้มครองปก

ป้องร่างกายมนุษย์ให้รอดพ้นจากอันตราย   เพื่อให้การดำรงชีวิตอยู่ได้ตามปกติสุข

2.       ตอบสนองความต้องการทางสังคม

กล่าวคือ     บ้านเป็นเครื่องแสดงสถานภาพทางสังคม    บ่งชี้ถึงความเป็นผู้มีหลักแหล่ง  

สามารถสร้างความยอมรับ   ความเชื่อมั่นกับผู้คนในสังคม    เป็นเครื่องบ่งบอกถึงฐานะและระดับในสังคม  เนื่องจากมนุษย์เป็นสัตว์สังคม

3.       ตอบสนองความต้องการทางจิตใจ

กล่าวคือ     เป็นเครื่องบ่งบอกตัวหนึ่งถึงความสำเร็จในชีวิตของตน   ผู้ที่มีบ้านจะรู้สึกถึง

ความมีเกียรติ   มีฐานะ   และเป็นส่วนหนึ่งที่จะตอบสนองความรู้สึกของตนเองในด้านความสำเร็จและความสมหวังในชีวิต

                ดังนั้น   การมีที่อยู่อาศัยหรือบ้าน   จึงเสมือนหนึ่งเป็นภาพสะท้อนของบันไดไปสู่ความสำเร็จในชีวิตมนุษย์

 

สาเหตุที่ประชาชนต้องการซื้อบ้าน    (Housing   Want)

                ประชาชนต้องการซื้อบ้าน   ด้วยสาเหตุที่แตกต่างกันหลายประการ   ซึ่งอาจจำแนกได้   ดังต่อไปนี้

1.       ความต้องการซื้อบ้านด้วยความจำเป็นหลัก

การซื้อด้วยความจำเป็นหลัก   ได้แก่   การซื้อหาที่อยู่อาศัยเพื่อเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง  

ทั้งนี้เพื่อการอยู่อาศัยของตนเองและครอบครัว   ส่วนใหญ่การซื้อประเภทนี้มักจะเป็นการซื้อที่อยู่อาศัยเป็นบ้านหลังแรก   (first  time  home  buying)  อาจยังไม่มีข้อจำกัดมากนัก   ไม่ว่าในด้านใด ๆ   ก็ตาม   อาจเนื่องจากติดปัญหาในด้านกำลังเงินที่มีอยู่

2.       ความต้องการซื้อบ้าน ซื้อด้วยเหตุจูงใจพิเศษ

ความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยประเภทนี้  ผู้ซื้อมักจะซื้อเพื่อสนองตอบความต้องการพิเศษอื่น ๆ   โดยมักจะซื้อบ้านเพิ่มเติมจากบ้านหลังแรก   หรือบ้านหลังหลักของครอบครัว   ทั้งนี้ด้วยจุดมุ่งหมายแตกต่างกัน   เช่น  เพื่อการอยู่อาศัยและพักผ่อนหย่อนใจชั่วคราว   ได้แก่  บ้านกึ่งรีสอร์ท   หรือบ้านพักอากาศ    การซื้อเพื่อการรับรองแขกและญาติมิตร

3.       การซื้อบ้านเพื่อเลื่อนชั้นที่อยู่อาศัยหรือเลื่อนคุณภาพชีวิต

ที่อยู่อาศัย   นอกจากจะเป็นปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นของชีวิตแล้ว   ยังจะเป็นเครื่องชี้วัดคุณ

ภาพของชีวิต   รวมทั้งฐานะทางสังคมและเศรษฐกิจของประชาชนด้วย   ดังนั้น   ประชาชนโดยทั่วไปถึงแม้ว่าจะมีบ้านอยู่แล้ว   แต่ก็ยังจะพยายามยกฐานะของตนเอง   หรือเลื่อนชั้นตนเองขึ้น   โดยการแสวงหาบ้านที่มีคุณภาพสูงขึ้นไปตามลำดับ   ตามกำลังเงินที่จะซื้อได้   เช่น   อาจเปลี่ยนจากห้องชุดเป็นทาวน์เฮาส์   เป็นบ้านเดี่ยว   และเป็นคฤหาสน์ในที่สุด

 

 

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที